หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: โรค สะเก็ดเงิน  (อ่าน 1477 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,127
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 10 มีนาคม 2558, 08:47:42 AM »

Permalink: โรค สะเก็ดเงิน





โรคเรื้อรัง... สะเก็ดเงิน



โรคสะเก็ดเงินคืออะไร
สะเก็ดเงิน (psoriasis) เป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อย เป็นได้ทุกเพศทุกวัย พบราวร้อยละ ๒ ของประชากรทั่วไป
อาจมีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องเพราะมักพบประวัติครอบครัว
โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้
โรคนี้มักเริ่มเป็นในช่วงวัยรุ่นตอนปลายและช่วงอายุ ๔๐-๕๐ ปี เพศหญิงและชายพบได้เท่าๆ กัน
โรคนี้อาจเป็นน้อยจนผู้ป่วยเองอาจไม่สังเกตเห็น แต่บางรายเป็นมากจนถึงขั้นต้องเข้านอนโรงพยาบาล
 และอาจมีอาการคันร่วมด้วยหรือไม่มีก็ได้
ร้อยละ ๕ ของผู้ป่วยสะเก็ดเงินจะมีอาการปวดข้อ และข้ออักเสบร่วมด้วย

ลักษณะของโรคสะเก็ดเงิน
โรคสะเก็ดเงินของผิวหนังมีลักษณะเป็นปื้นนูนแดง มีขุยหนาสีขาวเงิน ขอบเขตของผื่นสังเกตเห็นชัดเจน
มักเป็นผื่นทั้ง ๒ ข้างของร่างกายเท่าๆ กัน (ภาพที่ ๑) ถ้าเป็นที่บริเวณซอกพับ (เช่น รักแร้ ขาหนีบ) อาจไม่ค่อยเป็นขุย

ตำแหน่งที่พบผื่นของโรคสะเก็ดเงินบ่อยคือ ข้อศอก หัวเข่า บางรายเป็นที่สะดือ ร่องก้น หรือหนังศีรษะ แต่ก็อาจเป็นที่ตำแหน่งอื่นๆ
ของร่างกายโดยมีลักษณะที่ต่างกันออก   
                                                                             
สามารถแบ่งโรคสะเก็ดเงินตามลักษณะอาการแสดงดังนี้ คือ                                                                                       
    โรคสะเก็ดเงินชนิดปื้นหนาเป็นเรื้อรัง พบบ่อยที่ข้อศอก หัวเข่า หรือหลังส่วนล่าง                                         
     โรคสะเก็ดเงินที่ซอกพับ ปื้นมักเรียบไม่มีขุย                                                                                       
    โรคสะเก็ดเงินบริเวณหนังศีรษะ                                                                                                                                 
    โรคสะเก็ดเงินรูปหยดน้ำ เป็นผื่นเล็กๆ จำนวนมากคล้ายหยดน้ำ มักกำเริบขึ้นรวดเร็ว                                                                   
    โรคสะเก็ดเงินที่คาบเกี่ยวกับโรคเซ็บเดิร์ม (sebopsoriasis) มักเป็นที่หนังศีรษะ ใบหน้า หู และหน้าอก                                                                                                   
    โรคสะเก็ดเงินของฝ่ามือ ฝ่าเท้า                                                                                                                     
    โรคสะเก็ดเงินของเล็บ เล็บจะมีหลุมเล็กๆ เล็บร่อนเผยอ เล็บเหลือง เล็บเป็นลูกคลื่น (ภาพที่ ๒)
    โรคสะเก็ดเงินของช่องปาก มีขุยลอกในปาก ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินของผิวหนังอย่างรุนแรงมักพบบ่อย                                                                                                                                                           
    โรคสะเก็ดเงินชนิดเป็นตุ่มหนอง อาจเป็นทั่วร่างกาย หรือเป็นเฉพาะที่ฝ่ามือฝ่าเท้า                                                 
    โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นแดง พบผื่นแดงทั่วตัว                                                                                                       
    โรคสะเก็ดเงินที่ข้อ มีอาการปวดบวมของข้อร่วมด้วย


รู้จักโรคสะเก็ดเงิน
๑. หลังจากผื่นสะเก็ดเงินที่ผิวหนังหาย อาจมีรอยด่างดำ ด่างขาว ซึ่งจะค่อยๆ จางหายไป และโรคนี้ไม่ทำให้เกิดแผลเป็นที่ผิวหนัง 
๒. สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องคือ                                                                               
• พันธุกรรม ประมาณร้อยละ ๕๐ ของผู้ป่วยอาจมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้เช่นกัน                                                           
• พบว่าความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจอาจกระตุ้นให้สะเก็ดเงินกำเริบ                                                                               
• การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น สเตร็ป (ต่อมทอนซิลอักเสบ) อาจกระตุ้นให้เกิดโรคสะเก็ดเงินรูปหยดน้ำ การติดเชื้อยีสต์
อาจทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงินชนิดเป็นที่ซอกพับ การติดเชื้อเกลื้อนอาจก่อโรคสะเก็ดเงินชนิดที่คาบเกี่ยวกับโรคเซ็บเดิร์มที่หนังศีรษะ                                                                                                                                         
• การบาดเจ็บสัมผัสเสียดสีที่ผิวหนัง เช่น นุ่งกางเกงคับๆ อาจมีส่วนทำให้เป็นปื้นขึ้นมา
• มียาหลายตัวที่อาจกระตุ้นโรคสะเก็ดเงิน เช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า (lithium)
ยาลดความดันโลหิต (beta blockers) ยาต้านมาลาเรีย (hydroxychloroquine)
ยาแก้ปวดประเภทที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs
หรือเรียกย่อว่า NSAIDs) นอกจากนั้น ถ้ามีการใช้สตีรอยด์ทั้งในรูปยาทายากินอยู่ก่อนแล้ว การหยุดยาอาจทำให้ผื่นกำเริบ
๓. โดยทั่วไปรังสียูวีในแสงแดดมักทำให้อาการดีขึ้น
๔. พบว่าโรคอ้วน และภาวะดื้อต่ออินซูลินที่นอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานแล้ว ยังอาจมีส่วนทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบขึ้น
    ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินหลายคนเป็นคนอ้วนหรือเป็นโรคอ้วน โรคสะเก็ดเงินยังเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis)
ที่อาจนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอก และกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดในสมองแตก
๕. การดื่มแอลกอฮอล์สัมพันธ์กับการเกิดโรคสะเก็ดเงินชนิดที่กำเริบมาก ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้ควรงดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
๖. ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาโรคนี้ให้หายขาดและไม่กลับเป็นซ้ำได้ แต่ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ก็อาจทำให้อาการของโรคบรรเทาลงได้มาก อย่างไรก็ตาม โรคสะเก็ดเงินรูปหยดน้ำอาจมีการกำเริบแค่ครั้งเดียว และไม่กลับเป็นอีกเลยก็ได้ 

ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินควรทำใจให้ยอมรับสภาพของโรคนี้ รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ควรเชื่อว่ามียาหรือมีสมุนไพรใดๆ
ที่วิเศษพอที่จะรักษาโรคนี้ให้หายขาดตลอดชีวิตได้ และควรเรียนรู้ที่จะอยู่กับโรคนี้โดยไม่วิตกกังวลจนเกินควร
เพราะความเครียดก็อาจมีส่วนกระตุ้นให้โรคนี้กำเริบขึ้นได้

 
ที่มา หมอชาวบ้าน


บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: