-/> อากาศแปรปรวน กับการดูแลสุขภาพ

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: อากาศแปรปรวน กับการดูแลสุขภาพ  (อ่าน 3731 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,135
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 02 มิถุนายน 2557, 08:00:55 AM »

Permalink: อากาศแปรปรวน กับการดูแลสุขภาพ





อุณหภูมิร้อนเย็นกับการดูแลสุขภาพ
หากต้องเผชิญสภาพอากาศที่แปรปรวนตั้งแต่เช้าจดเย็น เพื่อป้องกันการป่วยไข้ คุณคงต้องหาวิธีการต่างๆ
ที่ช่วยปรับอุณหภูมิของร่างกายให้เหมาะสม เพื่อรับมือกับอุณหภูมิที่ขึ้นลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้






คุณรู้จักอุณหภูมิในร่างกายดีแค่ไหน
การที่เราสามารถรับรู้อุณหภูมิต่างๆ ได้ เพราะร่างกายมีตัวรับอุณหภูมิซึ่งอยู่ทั่วตัวเรา ซึ่งก็คือชั้นผิวหนัง
ส่วนการที่สามารถปรับอุณหภูมิที่เหมาะสมได้ เพราะในร่างกายของเรามีศูนย์กลางการควบคุมอุณหภูมิ
ที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนสำคัญที่เชื่อมระหว่างระบบประสาทกับระบบต่อมไร้ท่อ เซลล์
ประสาทสมองบริเวณนี้สร้างฮอร์โมนประสาทหลายชนิด ไปควบคุมการสร้างฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง มีหน้าที่
ควบคุมกระบวนการพฤติกรรมของร่างกาย เช่น อุณหภูมิ ความดันเลือด อารมณ์ การเต้นของหัวใจ
ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย (Metabolism)
ไฮโปทาลามัส เป็นส่วนที่มีความไวต่อการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกาย
โดยที่ด้านหน้าของไฮโปทาลามัสจะเป็นส่วนควบคุมการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย
ในขณะที่ด้านหลังจะมีหน้าที่ควบคุมการผลิตความร้อน
ถ้าเป็นเช่นนั้นในเมื่อร่างกายของเราสามารถควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมเองได้
แล้วทำไมอุณหภูมิร่างกายของเราจึงยังมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอยู่บ่อยๆ หรือในบางครั้งที่เราไม่สบายและเป็นไข ้เราจะมีอุณหภูมิใน
ร่างกายสูงหรือต่ำกว่าปกตินั้นเป็นเพราะอะไร ชักสงสัยกันแล้วใช่ไหม...

ตัวการของอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป
ตามปกติอุณหภูมิของร่างกายคนเรามีค่าเฉลี่ยประมาณ 37 องศาเซลเซียส แต่ค่านี้ไม่คงที่ และจะ
เปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ในแต่ละวัน ซึ่งปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในร่างกายของเรา
มีอยู่ด้วยกัน 9 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

1. อายุ อุณหภูมิร่างกายของคนเราในแต่ละวัยจะแตกต่างกันไป เช่น อุณหภูมิร่างกายของเด็ก
จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามสภาวะแวดล้อม เนื่องจากศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายยังทำงานไม่เต็มที่เมื่อเทียบกับวัยผู้ใหญ่
ส่วนในผู้สูงอายุเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและไขมันมีน้อย อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด เลือดจึงมาเลี้ยงผิวหนังลดลง
ทำให้อุณหภูมิร่างกายต่ำ เสี่ยงต่อภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ (Hypothermia) ได้ง่าย
2. ฮอร์โมน เพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายมากกว่าเพศชาย ในรอบของการมีประจำเดือน
ซึ่งเป็นระยะที่มีการตกไข่ จะมีการหลั่งฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (Progesterone) ทำให้อุณหภูมิภายใน
ร่างกายเพิ่มขึ้นอีก 0.5 องศาเซลเซียส
3. ความเครียด ผู้ที่มีความเครียดจะทำให้ไปกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System)
เพิ่มการหลั่งสาร Epinephrine และ Nor epinephrine ซึ่งจะเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ (BMR: Basal Metabolic Rate)
จึงมีผลทำให้มีการผลิตความร้อนเพิ่มมากขึ้น
4. สภาพแวดล้อม อุณหภูมิที่เย็นจัดหรือร้อนจัดของสภาพแวดล้อม สามารถเพิ่มหรือลดอุณหภูมิของ
ร่างกายได้ ถ้าร่างกายของเราสัมผัสอุณหภูมิแวดล้อมที่เย็นหรือร้อนนั้นเป็นเวลานาน
5. การออกกำลังกายอย่างหนัก ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อ (Muscular Activity)
และอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ (BMR) เพิ่มขึ้น ทำให้มีการผลิตความร้อนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นตาม
6. เชื้อโรค กระบวนการติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสเชื้อราและอื่นๆ
 ส่งผลให้มีการหลั่งสารก่อไข้หรือ Endogenous Pyrogens ทำให้อุณหภูมิร่างกายเราสูงขึ้น
7. ภาวะโภชนาการ คนผอมมากจะมีเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังน้อยและมีไขมันน้อย
 ส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าคนที่มีรูปร่างอ้วนซึ่งมีชั้นไขมันเยอะกว่าได้
8. การดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น สามารถทำให้อุณหภูมิภายในช่องปากเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย




9. ช่วงเวลาระหว่างวัน อุณหภูมิร่างกายปกติจะลดลงถึงจุดต่ำสุด (ประมาณ 35.5 องศาเซลเซียส)
ระหว่างเวลา 03.00 น. จากนั้นจะพุ่งสูงขึ้นในช่วงเช้า และลดต่ำลงชั่วครู่ในช่วงบ่าย ประมาณเวลา 15.00 น.
(จึงเหมาะสำหรับการงีบ) และจะขึ้นถึงจุดสูงสุดอีกครั้งในเวลาประมาณ 19.00 น.
ก่อนจะลดลงอีกครั้งซึ่งเป็นการส่งสัญญาณทางกายบอกว่าถึงเวลานอนแล้ว

ฤดูกาลกับสุขภาพร่างกาย
อิทธิพลของฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว และช่วงรอยต่อระหว่างฤดูกาลที่มีผลทำให้
ร่างกายของเราแปรปรวน และหากปรับตัวไม่ได้จะเกิดเสียสมดุล ทำให้เจ็บป่วย ทั้งความร้อนและความเย็นที่สัมผัสกายเรา
จึงมีผลต่อสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนเราจึงต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับฤดูกาลต่างๆ
 และรู้ถึงวิธีการรักษาตามสมดุลธาตุแบบไทยๆ ได้แก่
ฤดูร้อน จะเจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ ความร้อนส่งผลให้ร่างกาย มีอาการตัวร้อน ปวดศีรษะ วิงเวียน
อ่อนเพลีย คอแห้งปากแห้ง กระหายน้ำ ร้อนใน ท้องผูก ปัสสาวะน้อยและมีสีเหลืองจัด
หรืออาจเกิดเป็นเม็ดผดขึ้นตามร่างกาย ่
ฤดูฝน จะเจ็บป่วยด้วยธาตุลม ความเย็นที่มีมากเกินไปทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ครั่นเนื้อ
ครั่นตัว เป็นไข้หวัดได้
ฤดูหนาว จะเจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ และทำให้มีอาการผิวแห้ง มึนศีรษะ น้ำมูกไหล ขัดยอก
 ขยับเขยื้อนร่างกายไม่สะดวก ท้องอืด
การรักษาโดยใช้ฮอร์โมน อาศัยหลักการที่ว่า ฮอร์โมนชนิดใดที่ส่งเสริมให้เซลล์มะเร็งเจริญได้ดี
แพทย์อาจใช้ยาเพื่อลดหรือเปลี่ยนคุณสมบัติการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนนั้นๆ ให้ผิดออกไป
 บางครั้งอาจใช้วิธีผ่าตัดเอาอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนนั้นออกไป

อิทธิพลที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นผลพวงจากอุณหภูมิที่มีผลต่อสุขภาพซึ่งเป็นเรื่องที่เราสามารถ
ป้องกันและรักษาได้ หากรู้จักปรับตัวและแก้ไขให้เหมาะสมด้วยการกินอาหารให้ครบหมวดหมู่ตามหลัก
You are what you eat นั่นเอง



KBeautifullife



บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,135
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 พฤษภาคม 2563, 09:19:23 AM »

Permalink: Re: อากาศแปรปรวน กับการดูแลสุขภาพ
2121
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: