หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคดึงผมตัวเอง  (อ่าน 2010 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 16 ตุลาคม 2556, 08:45:51 AM »

Permalink: โรคดึงผมตัวเอง


โรคดึงผมตัวเอง
ถาม
อยากเรียนถามคุณหมอ เนื่องจากว่าดิฉันชอบดึงผมตัวเองจนหัวล้านดึงมาเป็นระยะเวลานาน
ตั้งแต่อายุ13 จนตอนนี้จะ23 ปีแล้ว

เลิกไม่ได้สักที เคยหยุดได้สักพักแต่ก็กลับมาดึงไหม่ พอเริ่มยาวก็จะดึง จนผมหายไปหมด
เคยโกนผมหลายครั้งมากแต่ก็ไม่ช่วยให้เลิกดึงได้
จะดึงช่วงตอนจะนอน จะคิดอะไรไปเรื่อย ๆ แล้วก็ดึงไปด้วยบางคืนถึงขั้นนอนไม่หลับดึงจนแหว่งไปหมด
ดึงในช่วงตอนอ่านหนังสือ และก็ตอนดูทีวี พยายามห้ามใจตัวเองอยู่หลายครั้ง แต่สักพักก็จะดึงต่อ
หลายครั้งมากพอดึงไปแล้วแล้วกลับ มามองตัวเองในกระจก
 คิดว่าตัวเองทำอะไรไป ทำให้เครียดมาก เหมือนมันยิ่งเครียดก็ยิ่งดึง

 ยิ่งกังวลเรื่องว่ากลัวจะหัวล้านก็จะยิ่งดึง
ตอนนี้ดิฉันก็ยังเป็นอยู่ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี รู้สึกเครียดมาก บางทีรู้สึกหมดกำลังใจจนไม่อยากจะทำอะไรเลย
เคยร้องไห้เพราะไม่รู้จะทำอย่างไรกับตัวเอง กลัวจนบางครั้งไม่อยากไปเจอหน้าพ่อแม่และคนรอบข้างเพราะเขา
คอยเตือนอยู่ตลอดเวลาว่าให้เลิก แต่ก็เลิกไม่ได้ เคยคิดอยากเข้าไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษา
 แต่ดิฉันก็คิดว่ามันอยู่ที่ตัวดิฉันเอง ต้องพยายามห้ามใจตัวเองให้ได้ แต่ดิฉันไม่เคยทำได้สักที
อยากได้รับคำแนะนำดี ๆ จากคุณหมอว่าดิฉันควรจะทำอย่างไรดีให้อาการดึงผมมันทุเลาลงได้
ขอความกรุณาแนะนำด้วยค่ะ
———-
ตอบ
ภาวะที่คุณเล่ามาเกี่ยวกับอาการดึงผมตัวเอง ทางการแพทย์มีชื่อเรียกว่า Trichotillomania
พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ อาการจะมีมากขึ้นตอนที่เครียดหรือวิตกกังวลอย่างที่คุณเล่ามาจริงๆ ค่ะ
สำหรับการรักษาเบื้องต้น อยากแนะนำให้คุณสังเกตว่าอาการจะเป็นมาที่สถานที่ใด เวลาไหน มีอะไรเป็นตัวประตุ้น
 ถ้าพอรู้แล้วอยากแนะนำให้คุณปรับพฤติกรรมดังต่อไปนี้ค่ะ เมื่อไปอยู่ในสถานการณ์หรือสถานที่ที่อาการจะมีมาก
 อาจหาหมวกมาใส่ป้องกันไม่ไห้ตัวเองดึงผม หรือ ใส่ถุงมือเพื่อกันไม่ให้ดึงผม บางคนก็หาครีมอะไรมาทาที่นิ้วไว้ค่ะ
จะได้รู้สึกแปลกแล้ว ไม่ไปดึงผม แต่จะทำอย่างนี้ได้ต้องใช้ความสม่ำเสมอทำทุกวัน ทุกครั้งที่ไปอยู่ในสถานการณ์นั้น
 และที่สำคัญคือเต็มใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองแต่อย่างไรก็ตาม แนะนำว่า
คุณควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินอย่างละเอียดนะคะ เพราะบางคนมีโรคอื่นร่วมด้วยกับโรคนี้
เช่น โรคซึมเศร้า หรือ โรคในกลุ่มวิตกกังวล

พญ. นิดา ลิ้มสุวรรณ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ รพ.รามาธิบดี



บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: