หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ป่วยกายป่วยใจ จากภัยโรคคิดไป  (อ่าน 1809 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 11 ตุลาคม 2556, 03:01:11 PM »

Permalink: ป่วยกายป่วยใจ จากภัยโรคคิดไป



ป่วยกาย ป่วยใจ จากภัยโรคคิดไปเอง (Hypochondriasis)

ไฮโปคอนดิเอซีด (Hypochondriasis) เป็นโรคจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการหมกมุ่นในเรื่องสุขภาพของตัวเองเกินไป
 กลัวอยู่ตลอดเวลาว่า จะป่วยเป็นโรคร้ายแรง หรือมีโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคไต เอดส์ ไมเกรน โรคหัวใจ โรคปอด เป็นต้น แฝงอยู่

ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอวัยวะภายในร่างกาย โดยเฉพาะที่ศีรษะ คอ ท้อง และหน้าอกทำงานผิดปกติไปจากเดิม
ทั้งที่จริงๆแล้วความเจ็บป่วยอาจจะไม่มีอยู่จริง หรืออาจจะมีแต่เล็กน้อยไม่ใช่เรื่องร้ายแรง เช่น มีอาการอ่อนเพลีย
 ไม่มีแรง ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม มึนงง ปวดศีรษะ ท้องอืด ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น แต่ผู้ป่วยจะจับอาการเล็กๆ น้อยๆ
ของร่างกายมาคิดเป็นเรื่องใหญ่โต และไปหาแพทย์เพื่อขอรับการรักษา

อาการทั้งหมดนี้เป็นความผิดปกติทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยไม่ได้แกล้งทำเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนใกล้ชิดแต่อย่างใด
เขารู้สึกว่าตัวเองปวดจริงๆ แต่ว่าสาเหตุที่ทำให้ปวดไม่มีจริง เหมือนคนไข้บอกหมอว่า ได้ยินเสียงแว่วๆ หมอก็บอกว่า
หมอเชื่อว่าคุณได้ยินจริงๆ แต่เสียงนั้นไม่มีอยู่จริง

“คนไข้กลุ่มนี้ มักไปพบแพทย์หลายแห่ง ตรวจหลายอย่าง แต่แม้จะได้การยืนยันจากแพทย์แล้วว่า ไม่พบโรคหรือความผิดปกติใดๆ
 แต่ผู้ป่วยจะยังเชื่อว่า ตนป่วยเป็นโรคที่แพทย์ยังตรวจไม่พบอยู่อีก”

สังเกตโรคสังเกตอาการ

หากสังเกตตัวเอง และคนรอบข้างพบว่า มีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ให้รู้ไว้เลยว่า มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีดค่อนข้างสูง

มีความคิด หรือหมกมุ่นอยู่กับความกลัวว่าตนเองจะป่วยด้วยโรคร้ายแรงอยู่ตลอดเวลา
ความรู้สึกกังวลไม่หายไป แม้จะได้รับการตรวจรักษาอย่างละเอียด และได้รับการยืนยันจากแพทย์แล้วว่าไม่พบโรคนั้นแล้วก็ตาม
ความรู้สึกนี้ ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ การงานเริ่มบกพร่อง ญาติพี่น้องเอือมระอา
 มีปัญหาเกี่ยวกับการเข้าสังคม

เป็นมานานติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน และมีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยิ่งกลัวยิ่งเป็นโรคคิดไปเอง

เกิดจากการแปลความรู้สึกของร่างกายผิด เมื่อมีความผิดปกติของการทำงานในร่างกายเกิดขึ้น
 คนไข้กลุ่มนี้มักแปลความหมายของความผิดปกตินั้นร้ายแรงมากกว่าคนทั่วไป
 รวมไปถึงมีความอดทนต่อความรู้สึกไม่ปกติของร่างกายต่ำกว่าคนปกติ

เกิดจากการใช้บทบาทของผู้ป่วย (Sick role) เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาหรือสถานการณ์ที่แก้ไขไม่ได้
 ผู้ป่วยจะเรียนรู้ที่จะใช้บทบาทผู้ป่วยเพื่อเอาตัวรอดจากเหตุการณ์นั้นๆ

เกิดจากโรคแทรกซ้อนทางจิตวิทยาอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า เครียด โรคกังวลไปทั่ว แต่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว
 จึงแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองออกมาไม่ถูก และคิดว่าตัวเองป่วย

เกิดจากความกดดันบางอย่าง เชื่อว่าผู้ป่วยขาดความภูมิใจในตนเอง และรู้สึกว่าไม่ได้รับการยอมรับ
มีความผิดหวัง จึงใช้กลไกทางจิตชนิดที่เรียกว่าเก็บกด แสดงออกมาเป็นอาการผิดปกติทางกาย

 เพื่อปกปิดสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ
ตรวจสุขภาพกาย+ใจใช่หรือไม่โรคคิดไปเอง

อย่างไรก็ตามคนไข้ที่มาพบหมอด้วยอาการในขั้นต้น อาจไม่ได้เป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีดทุกคน
 ซึ่งก่อนที่เราจะสรุปว่าเขาเป็นโรคนี้หรือไม่ เราต้องมีการวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุก่อน
โดยมีแนวทางวินิจฉัยสองขั้นตอนคือ

วินิจฉัยแยกโรคทางกาย สามารถตรวจได้จากเครื่องมือทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น โรคเอดส์ โรคมะเร็งเม็ดเลือด
 โรคผิดปกติทางต่อมไร้ท่อ โรคเอสแอลอี เป็นต้น

“ปกติคนไข้พวกนี้จะยินดีให้ความร่วมมือ เพราะเขาเองชอบมาโรงพยาบาลอยู่แล้ว
จนเมื่อตรวจอย่างละเอียดแล้วไม่พบว่าป่วยเป็นโรคอะไร ก็จะนำผู้ป่วยเข้าสู่การตรวจวินิจฉัยทางจิตเวชเป็นลำดับต่อไป”

วินิจฉัยโรคทางจิตเวชอื่นๆ บางทีคนไข้ที่มาหาหมอ อาจเป็นโรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคไฮโปคอนดิเอซีด
 อาจเป็นโรคซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล รวมถึงโรคจิตเภทชนิดอื่นๆ ซึ่งสามารถ รักษาได้โดยการใช้ยา
แต่เมื่อตรวจจนแน่ใจแล้วว่า คนไข้ไม่ได้ป่วยด้วยโรคจิตเวชชนิดอื่นๆ อย่างที่กล่าวมา เราจึงวินิจฉัยว่า
 คนไข้ป่วยเป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีด ซึ่งโรคนี้รักษาไม่หาย

เหตุผลที่โรคนี้รักษาไม่หาย เป็นเพราะคนไข้ไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วยเป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีด
 แต่คิดว่าตัวเองป่วยด้วยโรคทางกายอื่นๆ จึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการรักษา
 นอกจากนี้คนที่เป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีดมักมีการตอบสนองต่อการใช้ยาไม่ค่อยดี
เนื่องจากเขาไม่ยอมรับ อย่างคนไข้บางคนที่เป็นโรคนี้ และมีความรู้มาก ศึกษามาเยอะ ก็จะต่อต้านการรักษาของหมอ

สารพัดวิธีดูแลผู้ป่วยใกล้ตัว

แนวทางในการรักษาของแพทย์ที่ใช้รักษาโรคโรคไฮโปคอนดิเอซีดในปัจจุบันคือ การรักษาแบบจิตบำบัด
โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยเป็นหลัก เพื่อให้เขาสามารถปรับตัว ใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีคุณภาพ
และเหมาะสม ไม่หมกมุ่นอยู่กับความคิดของตัวเองจนมากเกินไป

ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาไม่จำเป็นต้องมาพบจิตแพทย์ก็ได้ แต่แค่ให้มีหมอสักคนคือหมอเวชปฏิบัติทั่วไปก็ได้
 คอยรับฟังเขาพูดเรื่องความป่วยไข้อย่างน้อยเดือนละครั้ง และคอยปรามเวลาเขาจะขอตรวจพิเศษต่างๆที่ไม่จำเป็น
 คล้ายกับว่าพยายามใส่ใจในอาการป่วยของเขา อาการของคนไข้ก็จะทรงตัวไม่ป่วยด้วยโรคอื่นๆเพิ่ม

สิ่งสำคัญที่ญาติๆผู้ป่วยควรทำความเข้าใจคือ ต้องพยายามเปลี่ยนทัศนคติ จากความรู้สึกรำคาญมาเป็นสงสารแทน
 เปลี่ยนจากโทสะมาเป็นเมตตา ต้องคิดอยู่ตลอดว่าเขาป่วย เขาต้องการเรา

ดูแลผู้ป่วยโรคคิดไปเองอย่างไรดี

ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าและสดชื่น เช่น รำกระบอง เต้นแอโรบิค เป็นต้น
ปลูกต้นไม้ การได้เห็นสีเขียวของต้นไม้จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และอารมณ์ดีขึ้น

อ่านหนังสือ เช่น หนังสือธรรมะ หนังสือตลก นิยายที่เนื้อหาไม่หนักเกินไปนัก
 ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ได้ความเพลิดเพลินแล้วยังได้ความรู้เพิ่มเติมอีกมากมาย
หาโอกาสไปเที่ยว การได้ไปเปลี่ยนบรรยากาศในสถานที่ใหม่ๆ สามารถลดความวิตกกังวลที่จากเรื่องต่างๆ
ในชีวิตประจำวันที่ตกตะกอนอยู่ในใจ ได้ เช่น ไปทะเล ภูเขา น้ำตก เป็นต้น

ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว การพูดคุยปรึกษาหารือ ทานอาหารร่วมกัน ก็สามารถช่วยให้ความตึงเครียด วิตกกังวล
และโรคซึมเศร้าที่เป็นอยู่ทุเลาลงได้

“โรคจิตเภทส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้โดยการทำความเข้าใจกับตนเอง คือ เราต้องมีความหยั่งรู้ในอารมณ์ของตัวเอง
เช่น รู้ว่าเวลานี้ตัวเองวิตกกังวลไม่สบายใจ ก็บอกว่าตัวเองวิตกกังวล ไม่โกหกตัวเอง ยิ่งถ้าเรามีความหยั่งรู้ในตัวเอง
 เราก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิตเวชน้อยลง”


บทความโดย นิตยสารชีวจิต

บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: