You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดความบันเทิงโคลง (ผู้ดูแล: ครภูธน®)เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์
หน้า: [1] 2 3 ... 9   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์  (อ่าน 24077 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« เมื่อ: 25 ธันวาคม 2565, 11:37:22 AM »

Permalink: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์















....เสียงใสหวานแว่วร้อง.......... แก้วรอ    พี่เอย
     หนูพุ่มพวงดวงจันทร์ขอ.......เกี่ยวก้อง
     เพลงแรกเริ่มสมคลอ...........ครวญคล่อง    วาวแวว
     ดาวแจ่มจำรัสจ้อง..............ทั่วท้องทิศไทย...

....ครูไวพจน์แต่งให้..................เปิดตัว  ศิษย์นา
    หางเครื่องมีแววหัว................เก่งร้อง
    สาวชาวไร่ระรัว....................หมายมั่น   หมั่นเฮย
    เพียรท่องจำคำร้อง................อ่านได้วังเวง.....

....เพลงดังมีมากล้น..................ชวนฟัง
    มอง”ทุ่งนางคอย”ยัง..............เหม่อร้อง
   “นอนฟังเครื่องไฟ”ชัง..............”พี่ จอ หลาย(ใจ)”นา
   “อีกหน่อยก็ลืม”ห้อง..............."(คืน)นี้เมื่อปีกลาย”….

....”(หัว)ใจถวายวัด”เข็ดแล้ว.........”รักคุด”
    “หนูไม่เอา”ขอหยุด................”นางห้อง”
    “สาวนาสั่งแฟน””ขุด...............ดินแช่ง”   ชักนา    
    “ฉันเปล่านาเขา(มาเอง)”ข้อง.....”(หนู)ไม่รู้”แฟนใคร....

....”(ผู้)ชายในฝัน”หล่อล้น............โดนใจ
     แต่”เงินนะมีไหม”...................จ่ายได้
    “ทีเด็ดพุ่มพวง”ใคร..................ขอ”กล่อม”     เพลงนา
    “ขาอ่อนขาอูฐ”ให้...................”พี่จ๋าหนาวไหม”....

....หลงไหล”สยามเมืองยิ้ม”............พิมพ์ใจ
   “(ไก่)ตื่น”“เอกลักษณ์ไทย”..........”ตำส้ม”
   “ซับ(น้ำ)ตาพี่”มันไหล...............ว่าเผ็ด  พริกนา
   “สั่งรักฝากดาว”ก้ม....................ต่ำบ้างเมินหมาง....

....”นางบังเงา”เพื่อเลี้ยง................ลูกรัก
    “อายแสงนีออน”จัก..................เบิ่งได้
     คนมีค่ามากนัก.......................ดูแม่   น้องนา
     เหมือนดั่งเพลงบอกไว้..............นี่”โลกของผึ้ง”

….”รำพึง”บทส่งท้าย.....................ตำนาน
    หญิงแกร่งมาสืบสาน..................นักร้อง
    กายเจ็บป่วยแทบคลาน................ฝันฝ่า   สู้นา
    สิบสาม มิ.ย. (2535)ต้อง............พ่ายแพ้ความตาย....            



พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม 2504 – 13 มิถุนายน 2535) ชื่อจริงว่า รำพึง จิตรหาญ (ชื่อเล่น ผึ้ง) ผู้ชอบร้องเพลงเป็นชีวิตใจ และเธอก็เหมือนนักร้องคนอื่นที่ใช้เวทีประกวดร้องเพลงงานวัดเป็นหนทางเข้าสู่วงการ โดยใช้ชื่อว่า ผึ้ง สองพี่น้อง, ผึ้ง ณ ไร่อ้อย

...พ.ศ. 2518 ขณะมีอายุได้ 15 พุ่มพวงร้องเพลง “สาวสวนแตง” ของผ่องศรี วรนุช และชนะเลิศนักร้องฝ่ายหญิงที่งานวัดท่าเรือ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี รำพึง จิตรหาญ-พ่อของพุ่มพวง จึงพาเธอไปฝากเป็น “หางเครื่อง” ในวงดนตรีของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ที่มาทำแสดงที่วัดท่ามะกาในเวลานั้น
พุ่มพวงทดลองร้องเพลงหน้าเวที ครั้งแรกในงานประจำปี ที่ตลาดลำนารายณ์ อำเภอไชยบาดาลจังหวัดลพบุรี ต่อมาไวพจน์แต่งเพลง “แก้วรอพี่” ให้พุ่มพวงร้องบันทึกเสียงเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า “น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ”
พุ่มพวง เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นเมื่อไปทำงานกับบริษัท เสกสรรค์ จำกัด ของประจวบ จำปาทอง  แต่ที่เรียกว่า “โด่งดัง” คือ พ.ศ. 2525 เมื่อมาอยู่บริษัท อโซน่าโปรโมชั่น โดยมี ลพ บุรีรัตน์ (ชื่อจริง วิเชียร คำเจริญ)  ครูเพลงชื่อดังแต่งเพลงให้, ประยงค์ ชื่นเย็น และอเนก รุ่งเรือง เรียบเรียงดนตรี ทำให้เพลง สาวนาสั่งแฟน, นัดพบหน้าอำเภอ, กระแซะเข้ามาซิ, อื้อหือ…หล่อจัง, ห่างหน่อยถอยนิด ฯลฯ ดังระเบิดไปทั่วประเทศ

พุ่มพวงเริ่มอาชีพ “นักแสดง” ผลงานเรื่องแรกชองเธอคือ “สงครามเพลง” ของฉลอง ภักดีวิจิตร มีเพลงประกอบชื่อ “ดาวเรืองราวโรย” ที่ลพ บุรีรัตน์เป็นผู้แต่งให้พุ่มพวงร้องในเรื่อง  
ผ่าโลกบันเทิง (พ.ศ. 2526), สาวนาสั่งแฟน (พ.ศ. 2527), มนต์รักนักเพลง (พ.ศ. 2528),   อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง (พ.ศ. 2528) ฯลฯ

วงดนตรีของพุ่มพวง เปิดคอนเสิร์ตการกุศลหน้าพระพักตร์พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ (พระอิสริยยศขณะนั้น) ที่ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี เมื่อปี 2529 ซึ่งถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการลูกทุ่งไทย

รางวัล
•   รางวัลเสาอากาศทองคำทองคำ เพลง "อกสาวเหนือสะอื้น" (ผลงาน - ธีระพล แสนสุข) (2521)
•   รางวัลกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 1 เพลง "สาวนาสั่งแฟน" ( ผลงาน - วิเชียร คำเจริญ) (2532)
•   รางวัลกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 เพลง "สยามเมืองยิ้ม" (วิเชียร คำเจริญ) (2534)[7]
•   ยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็น "ปริยศิลปิน" ศิลปินอันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน 15 ส.ค. 2552[22]

พุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ เสาอากาศทองคำพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จากเพลง “อกสาวเหนือสะอื้น” นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้ร้องเพลง “ส้มตำ” พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

มีนาคม พ.ศ. 2534 พุ่มพวงป่วยเป็นโรคไต อาการรุนแรงจนต้องส่งตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาล ต่อมามีการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลแพทย์ตรวจพบว่า พุ่มพวงป่วยเป็นโรค “เอสแอลดี” หรือโรคลูปัส

วันที่ 13 มิถุนายน 2535 พุ่มพวงที่มีอาการป่วยเรื้อรังและญาติๆ เดินทางไปนมัสการพระพุทธชินราช ที่วัดพระศรีมหาธาตุ จ.พิษณุโลก พุ่มพวงเกิดหมดสติกะทันหันจนต้องนำส่งโรงพยาบาล แต่อาการก็ไม่ดีขึ้นสุดท้ายเธอก็เสียชีวิตลงในค่ำคืนนั้น

งานศพของพุ่มพวง จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีแฟนเพลงนับแสนเดินทางจากทั่วประเทศมาอำลานักร้องในดวงใจของพวกเขา ที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ คงเหลือแต่ผลงานเพลงของเธอที่ฝากไว้ให้แฟนๆ

ซึ่งเป็นเพลงของพุ่มพวง นำเสนอภาพใหม่ของ “คนบ้านนอก” ที่ต่างไปจากเดิมที่ มักจะอมทุกข์, เจียมตัว, ไม่ค่อยมีหวัง,ถ้าเป็นผู้หญิงก็น้ำตาเช็ดหัวเข่า ฟูมฟาย ท้อแท้ ฯลฯ แต่ “คนบ้านนอก” ในเพลงของพุ่มพวง มีความมุ่งมั่น พร้อมจะฝ่าฟันต่อสู้ให้ถึงจุดหมาย แม้จะลำบาก, เจ็บปวด ฯลฯ ดังที่เธอเคยบอกเราว่า
“เมื่อสุริยนย่ำสนธยา จะกลับบ้านนาตอนชื่อเสียงเรามี จะยากจะจน ถึงอดจะทนเต็มที่ นักร้องบ้านนอก คนนี้จะกล่อมน้องพี่ และแฟนเพลง…”


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2565, 06:58:52 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน รูปโคลง
 
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #2 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2565, 05:40:07 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน รูปโคลงสี่ @สุรพล สมบัติเจริญ
                              
  

 

                               เพลงแซวสาวนุ่งสั้น            ชวนมอง      เสียวไส้      
                             โดดเด่นพาจับจอง                ส่องท้า
                             คนงามแต่งเสริมของ              ปลอมใหม่     สวยนา
                              ชมชื่นกันระฟ้า                    ชื่อก้องสุรพล




สุรพล สมบัติเจริญ หรือ พันจ่าอากาศโท ลำดวน สมบัติเจริญ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511) เป็นคนจังหวัดสุพรรณบุรีโดยกำเนิด เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของเพลงดัง "16 ปีแห่งความหลัง"

ลำดวน สมบัติเจริญ อาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 125 ถนนนางพิม ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ฐานะทางครอบครัวแต่เดิมค่อนข้างดี คุณพ่อรับราชการอยู่แผนกสรรพากรจังหวัด ชื่อ เปลื้อง สมบัติเจริญ ส่วนคุณแม่ชื่อ วงศ์ นอกจากเป็นแม่บ้านแล้วยังค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในบ้านกลางใจเมืองสุพรรณ สุรพลเป็นบุตรชาย คนที่ 2 ในบรรดาพี่น้องท้องเดียวกัน 6 คน

จบชั้นประถมจาก โรงเรียนประสาทวิทย์ ก็มาเรียนที่โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัยจนจบมัธยมปีที่ 6 เมื่อเรียน จบที่สุพรรณบุรีคุณพ่อก็จัดส่งสุรพลเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
แต่สุรพลก็เรียนได้เพียงปีครึ่งก็ต้องลาออกเพราะใจไม่รักแต่ด้วยไม่อยากขัดใจคุณพ่อ การเรียนก็เลยไม่ดี เขาไปสมัครเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสุพรรณกงลิเสีย เสี้ยว เป็นโรงเรียนจีน แต่สอนอยู่ได้แค่ครึ่งปีก็ลาออก ด้วยใจไม่ได้รักอาชีพนี้อย่างจริงจัง

เขาได้สมัครเข้าไปเป็นนักเรียนจ่าพยาบาล อยู่ที่โรงเรียนพยาบาล กรมแพทย์ทหารเรือ กองทัพเรือ ตั้งอยู่ที่ปากคลองมอญ (ปัจจุบัน เป็นศูนย์ทันตกรรม กรมแพทย์ทหารเรือ) ด้วยความที่ชื่นชอบการร้องเพลงเป็นอย่างยิ่ง จึงหนีออกไปร้องเพลงยามค่ำคืนอยู่บ่อยครั้ง แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อชะตาเขาพลิกผกผัน หลังจากเขาได้หนีราชการทหารเรือ จนได้รับโทษถูกคุมขัง เขาได้กลายเป็นขวัญใจของนักโทษ ด้วยการร้องเพลงกล่อมก่อนนอน เมื่อได้รับอิสรภาพ สุรพลได้ทิ้งเส้นทางทหารเรือ สุรพลมีโอกาสได้ร้องเพลงในงานสังสรรค์กองทัพอากาศ น้ำเสียงของเขาได้โดนใจ เรืออากาศเอกปราโมทย์ วัณณะพงษ์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งค่ายมวยและหัวหน้าคณะนักมวยของกองทัพอากาศชื่อ ค่ายมวยเลือดชาวฟ้า ดังนั้นในวันรุ่งขึ้น สุรพล สมบัติเจริญจึงถูกเรียกตัวให้เข้าพบ และยื่นโอกาสให้เขาได้เข้าไปรับราชการประจำกองกองดุริยางค์ทหารอากาศ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาได้รับความรู้เกี่ยวกับการดนตรีและร้องเพลง ซึ่งการกระทำนี้จึงเป็นจุดพลิกผันครั้งสำคัญของชีวิต ที่ทำให้ สุรพล สมบัติเจริญ ได้ถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ว่าเป็น "ราชาเพลงลูกทุ่งไทย"

ในปี พ.ศ. 2496 เพลง 'น้ำตาลาวเวียง' เป็นเพลงแรกที่ได้บันทึกเสียง แต่เพลงที่ทำให้เป็นที่รู้จักทั่วไปคือเพลง 'ชูชกสองกุมาร' หลังจากนั้นชื่อเสียงของสุรพล ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น และมีผลงานชุดใหม่ออกมาเรื่อย ๆ เช่น 'สาวสวนแตง' 'เป็นโสดทำไม' 'ของปลอม' ' หนาวจะตายอยู่แล้ว' 'หัวใจผมว่าง' 'สวยจริงน้อง' 'ขันหมากมาแล้ว' 'น้ำตาจ่าโท' 'มอง' และ อีกหลายเพลง

และทำให้คนรู้จักความเป็น "สุรพล สมบัติเจริญ" อย่างแท้จริงในเวลาต่อมาก็คือเพลง "ลืมไม่ลง" และเมื่อชื่อเสียงเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป สุรพลจึงมีงานร้องเพลง นอกสังกัดถี่ขึ้นเป็นลำดับ อาทิ ร่วมร้องกับวง "แมมโบ้ร็อค" ของ เจือ รังแรงจิตร วง "บางกอกช่ะช่ะช่ะ" ของ ชุติมา สุวรรณรัตน์ และ สมพงษ์ วงษ์รักไทย ส่วนวงดนตรีที่สุรพลร้องด้วยมากที่สุดคือ วง " ชุมนุมศิลปิน " ของ จำรัส วิภาตะวัตร

สุรพล สมบัติเจริญ มีความเคารพต่อคุณประสาน ศิลป์จารุ (ทองแป๊ะ) เป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้ผลักดันให้สุรพลมีความมุ่งมั่นในวงการลูกทุ่งยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคุณประสานเป็นผู้นำเพลงของสุรพลไปเปิดในสถานีวิทยุกระจายเสียงวรจักร ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวเพลงลูกทุ่งในสถานีวิทยุเป็นครั้งแรกในสมัยนั้น
และเป็นจุดเริ่มต้นให้เพลงลูกทุ่งได้รับการยอมรับ และมีการพัฒนาเป็นอย่างมากมาจนถึงปัจจุบัน

ตลอดชีวิตของการเป็นนักร้อง สาเหตุที่ทำให้ "สุรพล" ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาเพลงลูกทุ่ง เพราะความอัจฉริยะในตัวเองที่สามารถแต่งเพลง และยังคงเป็นที่จดจำจนทุกวันนี้ก็มี อาทิ ลืมไม่ลง , ดำเนินจ๋า , แซ่ซี้อ้ายลื้อเจ็กนั้ง , หัวใจเดาะ , สาวสวนแตง , น้ำตาจ่าโท , สนุกเกอร์ , นุ่งสั้น , จราจรหญิง , เสน่ห์บางกอก และ 16 ปีแห่งความหลัง เป็นต้น

นอกจากจะแต่งเอง ร้องเอง "สุรพล" ยังทำหน้าที่ครูแต่งเพลงให้คนอื่นร้องจนโด่งดังอีกด้วย อย่างเช่น ผ่องศรี วรนุช , ก้าน แก้วสุพรรณ, ไพรวัลย์ ลูกเพชร , ละอองดาว สกาวเดือน , ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย , เมืองมนต์ สมบัติเจริญ, กังวาลไพร ลูกเพชร , ก้องไพร ลูกเพชร เป็นต้น

"สุรพล สมบัติเจริญ" ถูกลอบยิงเสียชีวิต หลังจากการแสดงบนเวทีที่วิกแสงจันทร์ บริเวณริมถนนมาลัยแมน ตรงข้ามวัดหนองปลาไหล ต.ทุ่งกระพังโหม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511 (เวลา 01.00 น. ของวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511) เมื่ออายุเพียง 37 ปี


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #3 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2565, 06:08:51 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน รูปโคลง
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #4 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2565, 05:54:31 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน รูปโคลงสี่ @สายัณห์ สัญญา



        

.."ฉันรักเธอเท่าฟ้า".............อากาศ          
  จอง"ไก่จ๋า"มาพลาด...........ล่มแล้ว
  "บุพเพฯ"ไม่แคล้วคลาด.......งานแต่ง      
  คนซื่อเสียงแหบแจ้ว.........แจ่มจ้อง"สายัณห์"    

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 12292
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่นมีความคิดสร้างสรรค์
กระทู้: 1,370
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« ตอบ #5 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2565, 09:02:50 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน รูปโคลง
@ ดุจอาทิตย์รุ่งแจ้ง...............แสงงาม
พลังสว่างชูชีพวาม.................อร่ามกล้า
เดือนดาวเด่นประดับยาม.......เย็นค่ำ
แสงส่องเชิญชวนท้า..............ท่องหล้าดับเข็ญ

@ เป็นลมโหมกระหน่ำร้าย....เลวทราม
บปล่อยคอยคุกคาม..............ขุ่นแค้น
ฝนเสริมส่งชีพงาม.................วามทั่ว
กระทำผ่านกาลนาน แม้น......ไม่ได้ใครชม




โคลง ๒ บทนี้ ตั้งใจแต่งให้มี
๑) เอก ๗ โท ๔ ตามเกณฑ์
๒) มี สัมผัสสระ หรือ สัมผัสอักษร ระหว่างวรรค
เพื่อเป็นแนวสำหรับผู้อยาก ลับสมอง
๓) ส่งสัมผัสระหว่างบท
ซึ่งจะรับสัมผัสได้ที่วรรคแรกของบทถัดไป
ในตำแหน่งคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓
๔) คำท้ายสุดของบท แสดงทั้งแบบ
ใช้ เสียงจัตวา ตามที่ว่ากันว่า ไพเราะ
กับใช้ เสียงสามัญ ที่เกณฑ์ก็ยินยอมกัน

หวังเป็นประโยชน์บ้างนะครับ
บันทึกการเข้า



รวมบทกลอนของ  share  คลิกเลยครับ
http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,6282.msg18780/topicseen.html#msg18780
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #6 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2565, 08:22:22 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน รูปโคลงสี่ @พระพุทธเลิศหล้านภาลัย


พระพุทธเลิศหล้า...........นภาลัย
เสริมส่งศาสตร์นิสัย.......  เอ่ยเอื้อน
ยุคทองท่องขานขัย.........ขับกล่อม   เสภา
จอมร่ายบทกวีเลื้อน.........ร่ำร้องละคร
 


พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367; ครองราชย์ 8 กันยายน พ.ศ. 2352 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นกษัตริย์องค์ที่สองของสยามในสมัยราชวงศ์จักรี ปกครองระหว่าง พ.ศ. 2352 ถึง พ.ศ. 2367 ในปี พ.ศ. 2352 เจ้าฟ้าฉิมหรือกรมหลวงอิศรสุนทรพระราชโอรสองค์โตสืบราชบัลลังก์ต่อจากรัชกาลที่ 1 พระราชบิดาผู้สถาปนาราชวงศ์จักรีเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชสมัยของพระองค์สงบสุข ปราศจากความขัดแย้ง รัชสมัยของพระองค์เป็น "ยุคทองของวรรณคดี" เนื่องจากพระองค์ทรงอุปถัมภ์กวีหลายคนในราชสำนัก และพระองค์เองก็มีชื่อเสียงในฐานะกวีและศิลปิน กวีที่โดดเด่นที่สุดในราชสำนักคือสุนทรภู่

พระปรีชาสามารถ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้

ด้านกวีนิพนธ์
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น
    พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่น ๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย สังข์ศิลป์ชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้

ด้านประติมากรรม
    นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งของไทยด้วยพระองค์เอง ซึ่งลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 2 นี้เอง ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว ยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย

ด้านดนตรี
    กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า" แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน" เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่าคืนหนึ่งหลังจากได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ได้ เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้
   
   ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ UNESCO ได้ประกาศยกย่องให้พระองค์ ทรงเป็น “บุคคลสำคัญของโลกด้านวัฒนธรรม”  
    ทางราชการไทยได้กำหนดหนดให้วันคล้ายวันพระ บรมราชสมภพของพระองค์ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ
 ยุคทองของวรรณคดีและศิลปกรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นศิลปินเอกในทุกแขนง ตั้งแต่วรรณคดีไปจนถึง การช่างแกะสลักทั้งปวง บรรดาพระราชนิพนธ์และ ศิลปวัตถุอันเป็นฝีพระหัตถ์ เป็นเครื่องยืนยัน พระอัจฉริยภาพทางด้านนี้ของพระองค์ได้เป็นอย่างดี



จอม
คำนาม
1.ยอดของสิ่งที่มีฐานใหญ่ค่อย ๆ เรียวเล็กขึ้นไปตอนปลาย.
            "จอมเขา จอมปลวก"
2.ผู้เป็นยอดในหมู่.
            "จอมปราชญ์ จอมโจร"

เสียงเลื้อน หมายถึงเสียงอะไร
              น. เสียงอ่านหรือสวดทำนองเสนาะ เช่น เสียงเลื้อนเสียงขับ (จารึกพ่อขุนรามคำแหง)
  



บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 มกราคม 2566, 06:54:03 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน รูปโคลงสี่ @ฮันนี่ ศรีอีสาน



สาวนอนหนาวที่น้ำ...........ตาลาน  ร่วงหล่น

ฮันนี่ศรีอีสาน ................เริ่มร้อง

กาฬสินถิ่นสถาน.............บ้านช่อง   นางเอย

ซาวปี่มารฮากน้อง...........ด่าวดิ้นสิ้นใจ
ชื่อ   สุพิณ เหมวิจิตร 22 ตุลาคม พ.ศ. 2514  จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
เสียชีวิต   26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 (20 ปี) จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

สาเหตุเสียชีวิต   อุบัติเหตุทางรถยนต์
การศึกษา   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
อาชีพ   นักร้อง
มีชื่อเสียงจาก   น้ำตาหล่นบนที่นอน    วอนพี่มีรักเดียว     สาวกาฬสินธุ์​​
ผลงานเด่น   "น้ำตาหล่นบนที่นอน"  "ฝันรัก ฝันร้าย"  "ขอแล้วไม่แต่ง"
                  "สาวกาฬสินธุ์"  "สาวนาผวารัก"  "วอนพี่มีรักเดียว"
นักร้องแนว   ลูกทุ่ง​หมอลำ
บิดามารดา   
คำภา เหมวิจิตร (บิดา)
มี เหมวิจิตร (มารดา)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง   ลูกทุ่ง  ● หมอลำ
ช่วงปี   พ.ศ. 2529 - 2535
ค่ายเพลง   เยนาวี่ โปรโมชั่น
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #8 เมื่อ: 03 มกราคม 2566, 03:49:30 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน รูปโคลงสี่ @ไวพจน์ เพชรสุพรรณ แนวเพลงพื้นบ้าน


ไวพจน์เพชรเก่งก้อง...........  สุพรรณ  
เพลงฉ่อยอีแซวสรร  .............. พ่อร้อง
โสตเสียงท่องขานขัน ...........     ใสแจ่ม   จริงเฮย
แถมต่อตอบกลอนน้อง  .............    เกี่ยวเกี้ยวพัลวัน

ผลงานด้านเพลงพื้นบ้านภาคกลาง
      เพลงอีแซว เป็นเพลงประจำถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีอายุกว่า 100 ปี แต่เดิมนิยมเล่นในลักษณะเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหญิง โดยใช้ภาษาเรียบง่าย ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นเพลงปฏิพากย์ ร้องโต้ตอบกัน และมีความยาวมากขึ้น มีลักษณะสนุกสนาน สามารถเล่นได้ในทุกโอกาส

ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (7 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 12 มกราคม พ.ศ. 2565) มีชื่อจริงว่า พาน สกุลนี เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งและเพลงแหล่ ชื่อดังระดับตำนานของประเทศไทย และอยู่ในวงการมานานหลายสิบปี โดยสร้างผลงานเพลงออกมามากมายนับไม่ถ้วน นอกจากนั้นก็ยังมีความเชี่ยวชาญด้านเพลงพื้นเมืองภาคกลางและได้สร้างผลงานเพลงประเภทนี้ออกมามากมาย
ไวพจน์ มีความสามารถด้านการแต่งเพลงและได้แต่งเพลงดังให้กับนักร้องหลายคน ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างพุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีลูกทุ่งคนที่ 2 ด้วย
ไวพจน์ เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่โรงพยาบาลตากสิน เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565 ภายหลังจากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 สิริอายุ 79 ปี
วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 14.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพไวพจน์ เพชรสุพรรณ ณ เมรุชั่วคราว วัดวังน้ำเย็น อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
 เกียรติยศ
•   ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) พ.ศ. 2540
•   เข็มพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ พ.ศ. 2514
•   รางวัลนักร้องดีเด่นจากงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยทั้ง 2 ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. 2532 จากเพลง สาละวันรำวง และ พ.ศ. 2534 จากเพลง แตงเถาตาย
•   รางวัลพระพิฆเนศทองคำพระราชทาน
               เครื่องราชอิสริยาภรณ์
•   พ.ศ. 2541 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)
 
 
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #9 เมื่อ: 04 มกราคม 2566, 06:55:17 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน รูปโคลงสี่ @ไวพจน์ เพชรสุพรรณ แนวลูกทุ่ง


แลรวงแผงใคร่ซื้อ .....    แตงโม  
เจอแม่ขายสวยโส  .......  พ่อเกี้ยว
ไว.......พจน์เสียวแผล่บผัวโชว์    .........  พลองใหญ่
แตงแม่เถาตายเลี้ยว......   ไม่ตื้อ....กลัวหัวโน

ผลงานด้านนักร้องลูกทุ่ง
ราชาเพลงแหล่
ไวพจน์ เป็นผู้มีความสามารถรอบตัว เพราะนอกจากจะร้องเพลงลูกทุ่งได้ยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีความสามารถเล่นเพลงพื้นบ้านได้เกือบทุกชนิดทั้งเพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ เล่นได้หมดและเล่นได้ดีขนาดโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวีได้ โดยเฉพาะการแหล่ ทุกคนในวงการล้วนยกย่องให้ไวพจน์เป็น " ราชาเพลงแหล่ " เพราะมีเพลงแหล่บันทึกแผ่นเสียงมากที่สุดในประเทศไทย ทั้งยังสามารถแหล่ด้นกลอนสดได้อย่างไม่ติดขัด
ในจำนวนนักร้องลูกทุ่งอาวุโส ไวพจน์ มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงมากที่สุดถึงประมาณ 2,000 เพลง และยังคงผลิตผลงานออกมาเพิ่มเติมในระดับที่ถี่กว่าคนอื่น ทั้งเพลงที่ครูเพลงแต่งให้และแต่งเองร้องเอง ไวพจน์ เพชรสุพรรณยังสามารถแต่งเพลงสร้างชื่อให้ลูกศิษย์มาแล้วมากมาย โดยศิษย์เอกที่โด่งดังของไวพจน์มี ขวัญจิต ศรีประจันต์, เพชร โพธาราม (เพลง ต.ช.ด.ขอร้อง) และ พุ่มพวง ดวงจันทร์ (เพลงแก้วรอพี่ , นักร้องบ้านนอก) นอกจากนั้นก็ยังเป็นหมอทำขวัญซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นหมอทำขวัญอันดับหนึ่งของเมืองไทยในปัจจุบัน
ผลงานเพลงดัง ได้แก่  แตงเถาตาย,  หนุ่มนารอนาง ,สาละวันรำวง, ฟังข่าวทิดแก้ว, ใส่กลอนหรือเปล่า, สายเปลสายใจ , ไวพจน์ลาบวช ,นาคสั่งสีกา , วังแม่ลูกอ่อน พระรถเมรี ฯลฯ
ผลงานแสดงภาพยนตร์  ได้แก่ ไทยน้อย (ปี 2512), สาละวัน (ปี 2512), จอมบึง (ปี 2513), อยากดัง (ปี 2513), ไทยใหญ่ (ปี 2513), มนต์รักป่าซาง (ปี 2514), ชาละวัน (ปี 2515), มนต์เพลงลูกทุ่ง (ปี 2522), เทพเจ้าบ้านบางปูน (ปี 2525), นักเพลงผู้ยิ่งใหญ่ (ปี 2527), เลือดแค้น เล็กนกใน (ปี 2533) , มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (ปี 2545), เหลือแหล่ (ปี 2554)


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #10 เมื่อ: 05 มกราคม 2566, 01:09:58 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน รูปโคลงสี่ @ชินกร ไกรลาศ


      ยอ..ยศพระลอหล่อล้ำ.......  เกินใคร   ไกรลาศ            
            รบเก่งชนเกรงภัย ........  พ่อกล้า
            นารีชื่นชมใจ ...........   ไหวหวั่น   นวลนาง
            ปรางแห่แลดูหน้า..........กล่าวก้องอวยชัย   ชินกร  


ชิน ฝ้ายเทศ เป็นที่รู้จักในชื่อ ชินกร ไกรลาศ (1 เมษายน พ.ศ. 2489 — 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560) เป็นนักร้องลูกทุ่งที่ประยุกต์เพลงพื้นบ้านมาผสมผสานกับการแสดงดนตรีลูกทุ่งในหลายลักษณะ ทั้งลำตัด เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงอีแซว และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) ประจำปีพุทธศักราช 2541

    ชินกร ไกรลาศ เกิดวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2489 ที่จังหวัดสุโขทัย สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดคุ้งยาง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ได้รับปริญญาดุษฏีกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิต จากวิทยาลัยครูธนบุรี มีความสนใจในเพลงพื้นบ้านตั้งแต่ยังเยาว์วัยโดยเป็นนักร้องเพลงเชียร์รำวง พร้อมกับมีเพื่อนรักกันมากเขาชื่อ ทิว สุโขทัย หลังจากนั้นได้ชมการแสดงของครูพยงค์ มุกดา จึงไปสมัครเป็นนักร้อง มีผลงานเพลงบันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกในเพลง “ลูกทุ่งรำลึก” จนมีชื่อเสียงในการขับร้องเพลงลูกทุ่งมาตามลำดับ มีผลงานเพลงสร้างชื่อได้แก่ เพลงยอยศพระลอ, เพชฌฆาตใจ, เพชรร่วงในสลัม แต่ผลงานที่ผู้คนจดจำได้ดีคือแนวการแหล่อันเป็นเอกลักษณ์
ชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับสุชาดา ฝ้ายเทศ มีบุตรด้วยกัน 1 คน ธิดา 2 คน
    ชินกรเป็นนักร้องลูกทุ่งที่ประยุกต์เพลงพื้นบ้านมาผสมผสานกับการแสดงดนตรีลูกทุ่งพื้นบ้าน ในหลายลักษณะ ทั้งลำตัด เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงอีแซว และต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) ประจำปีพุทธศักราช 2541

    ผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียง ยอยศพระลอ, เพชรร่วงในสลัม,  เพชฌฆาตใจ, บ้านไร่น่ารัก, กลองยาวชินกร, ลูกทุ่งเสี่ยงเทียน, นางหลายใจ, รจนา, ริมไกรลาศ, ลูกโจรกลับใจ, , ชะละวัน, เห่ฉลิมพลี, ใจพ่อใจแม่, บัวตูมบัวบาน, ความรักเหมือนยาขม, ทุ่งร้างนางลีม, ตัวไกลใจเหงา, รักที่ถูกลีม, รักเก้อ, แฟนใคร, บ้านใกล้, รือนเคียง , แฟนเดิม, น้ำตาไอ้ก้อง, รักจริงหรือเปล่า, ฟ้าร้องให้
อัลบั้มพิเศษ   เพลงเฉลิมพระเกียรติองค์ราชา (2548)
ผลงานภาพยนตร์ที่เคยแสดง ชาติลำชี ปี พุทธศักราช 2512, เมืองแม่หม้าย ปี พุทธศักราช 2512, กิ่งแก้ว ปี พุทธศักราช 2513, รักนิรันดร์ ปี พุทธศักราช 2513, สิงห์สาวเสือ ปี พุทธศักราช 2513, เงินจางนางจร ปี พุทธศักราช 2513, จอมบึง ปี พุทธศักราช 2513,เสน่ห์ลูกทุ่ง ปี พุทธศักราช 2513 ฯลฯ
ผลงานละคร อยู่กับก๋ง ช่อง 3 ปี 2536, พ่อ ตอน เพลงของพ่อ ช่อง 5 ปี 2542, สวนอาหารบานใจ (รับเชิญ) ช่อง 7 ปี 2555
คอนเสิร์ต คอนเสิร์ต ด้วยพลังและกำลังใจ เพื่อโลกใบเดียวกัน FESPIC Games Bangkok '99 (2542), คอนเสิร์ต 38 ปี มิตร ชัยบัญชา (2551), คอนเสิร์ต รำลึก 30 ปี ล้อต๊อก ตลก 4 แผ่นดิน (2555), คอนเสิร์ต ลูกทุ่งจ๋ามหาสนุก (2555), คอนเสิร์ต ครบรอบ 8 ปี อินฟินิตี้, ความสุข (2557), คอนเสิร์ต & ลีลาศการกุศล (2557), คอนเสิร์ต รัตนโกสินทร์ (2557), คอนเสิร์ต เพลงแบบประภาส 2 (2558),คอนเสิร์ต 40 ปี อุมาพร (2559)

รางวัล
ชนะเลิศการประกวดดนตรีลูกทุ่งไทยในงานวชิราวุธานุสรณ์ ปี 2513
รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากการขับร้องเพลงยอยศพระลอ ปี 2514
ได้รับพระราชทานรางวัลเชิดชูเกียรตินักร้องลูกทุ่งดีเด่น ในงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 1 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี 2532
ได้รับพระราชทานรางวัลนักร้องเพลงไทยผู้ออกเสียงภาษาไทยถูกต้อง เนื่องในงานสัมมนาการใช้ภาษาไทยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 2 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล
ได้รับพระราชทานรางวัลเชิดชูเกียรตินักร้องลูกทุ่งดีเด่น ในงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี 2534
ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ปี 2537

อาการป่วยและการเสียชีวิต
ชินกร ไกรลาศ ป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และได้รักษาอาการอย่างต่อเนื่อง โดยการตัดลำไส้ออก และทำการรักษาด้วยคีโม จนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ชินกรได้มีอาการอาเจียน คลื่นไส้ เดินไม่ได้ ครอบครัวนำตัวส่งโรงพยาบาลศิริราช ต่อมา เวลา 10.40 น ของวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ชินกรก็เสียชีวิตลงด้วยอาการติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง ซึ่งสันนิษฐานว่า มาจากเชื้อมะเร็งที่ได้รักษาไปจนหายแล้ว พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2538 –https://ibb.co/TTDJYDS   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
พ.ศ. 2541 –https://ibb.co/300xyhJ   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #11 เมื่อ: 05 มกราคม 2566, 11:15:36 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน รูปโคลงสี่ @ครูสุนทราภรณ์


.....เริงลีลาศเร่าร้อน......... ลีลา... ฮาเฮ

      สามช่าพาเพลินนา..... ท่าเกื้อ

      กัวราช่ามองหา........    อารายเล่า...เอาเรื่อง

      ฟูเฟื่องคุณครูเอื้อ....   เชื่อชี้สุนทรา....อาภรณ์

รายละเอียดชีวประวัติ    https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD_%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #12 เมื่อ: 06 มกราคม 2566, 09:01:55 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ทูล ทองใจ



.....นางรองนองหลั่งน้ำ......... ตาไหล
  
     เดือนต่ำดาวตกใน........... ป่าหล้า

     สวรรค์ล่มตรมฤทัย.......... ขาดวิ่น
  
      (โปรดเถิดดวงใจ)ยินย่ำหนำใจข้า .............  บ่าวร้อง(ทูล)ทองใจ.....


ทูล ทองใจ (1 มีนาคม พ.ศ. 2472 - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) มีชื่อจริงว่า น้อย ทองใจ เป็นนักร้องเพลงไทยสากลชายชาวไทย โดยเขานั้นมีฉายาในวงการว่า "เจ้าชายแห่งรัตติกาล" และ "พ่อระฆังฝังเพชร"
ประวัติ
ทูล ทองใจเกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2472 ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ภายหลังครอบครัวของเขาได้ย้ายไปอยู่ที่อำเภอแม่กลอง พ่อของเขาเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ใช้สกุล "แซ่กิม" ต่อมาพ่อของเขาได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น "ทองใจ" ส่วนแม่ของเขามีชื่อว่า "นิ่ม ทองใจ" ทูลเป็นลูกคนที่ 3 ในบรรดาลูกทั้ง 4 คน
เวลาต่อมาพ่อของเขาได้เสียชีวิตตั้งแต่ทูลและพี่น้องของเขายังเล็ก ส่วนแม่ของเขาจึงได้สมรสใหม่และได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลมหาชัย และมีลูกด้วยกันอีก 1 คนเป็นผู้หญิง ทูลได้ช่วยเลี้ยงน้อง, ช่วยแม่ขายของ และหาบน้ำขาย
ทูลจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 เขาชื่นชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก ต่อมาเขาขึ้นเวทีร้องเพลงประกวดครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี เพลงที่ชื่นชอบเป็นพิเศษในช่วงนั้นคือ "ค่ำแล้วในฤดูหนาว" ของครูล้วน ควันธรรม และเพลง "หยาดฟ้ามาดิน" ของครูสมยศ ทัศนพันธ์ เขาไปประกวดที่เวทีไหน เขาจะนำ 2 เพลงนี้ขึ้นไปร้องประกวดเสมอและชนะเลิศทุกครั้ง ในเวลาต่อมาเขาจึงได้รับเกียรติให้เป็นกรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลงด้วยวัยเพียง 19 ปี ทำให้เขาภูมิใจไม่เคยลืม หลังจากนั้นครูชาญชัย บัวบังศร แนะนำให้ทูลไปร้องเพลงอยู่ที่ห้องอาหารจังหวัดภูเก็ต
ในเวลาต่อมา ทูลได้เข้ารับราชการเป็นทหาร สังกัด ขส.ทบ. ความสามารถในการร้องเพลงของเขานั้นทำให้เขาได้เป็นนักร้องประจำวง "ลูกมาตุลี" ซึ่งเป็นวงดนตรีชื่อดังของกรมการขนส่งทหารบกในสมัยนั้น
เมื่อออกจากวงลูกมาตุลีของ ขส.ทบ. ขณะนั้นมียศสิบเอก ครูสิทธิ์ โมรากรานต์ นำไปพบกับครูเบญจมินทร์ โดยครูเบญจมินทร์แต่งเพลงแรกให้ทูลนั่นคือเพลง "พี่ทุยหน้าทื่อ" ในปี พ.ศ. 2499 ซึ่งเพลงนี้ถูกนำไปร้องสลับหน้าม่านโรงละครอยู่เป็นปี ต่อมาเพลง "กลิ่นปรางนางหอม" ก็ปล่อยในปีเดียวกัน
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500  หลังจากที่ครูเบญจมินทร์เดินทางกลับจากประเทศเกาหลี จึงได้นำเพลง "โปรดเถิดดวงใจ" ให้ทูลได้ร้อง หลังจากที่ปล่อยเพลงนี้ออกมา ชื่อเสียงของทูลก็เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย
เวลาต่อมาครูเบญจมินทร์แต่งเพลงให้ทูลร้องอีก เช่น ปรารถนา, ในฝัน ฯลฯ แต่เนื่องจากครูเบญจมินทร์มีงานหนัก ทั้งงานด้านดนตรีและงานภาพยนตร์ จึงฝากทูลให้ครูมงคลอุปการะต่อ และได้ครูไพบูลย์ บุตรขัน ช่วยแต่งเพลงให้อีก เช่น น้ำตาเทียน, มนต์เมืองเหนือ, เดือนต่ำดาวตก, นกเขาขันฉันครวญ, รังรักในจินตนาการ, เสียงดุเหว่าแว่ว ฯลฯ ทำให้ชื่อเสียงของทูลนั้นได้โด่งดังจนถึงประเทศลาว เป็นดาวค้างฟ้ามาตั้งแต่บัดนั้น

สิ้นอายุขัย
ทูลเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2538 ด้วยอาการความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก สิริรวมอายุได้ 65 ปี 11 เดือน
ด้วยความรักและแรงศรัทธาของแฟนเพลงที่มีต่อเสียงเพลง จึงได้ร่วมกันสร้างอนุสรณ์ที่ระลึก หุ่นทูล ทองใจขึ้นที่บ้านเกิดสมุทรสงคราม ในท่ายืน มือขวาถือไมค์ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์บ้านดนตรี วัดภุมรินทร์กุฎีทอง ต.สวนหลวง จ.สมุทรสงคราม

เกียรติยศ
ทูล ทองใจ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง
•   รักใครไม่เท่าน้อง (พ.ศ. 2509)
•   นางรอง(พ.ศ. 2514) ผลงานครูพยงค์ มุกดา
•   อยากบอกรักแต่ไม่กล้า(พ.ศ. 2522) ผลงานของมงคล อมาตยกุล
ได้รับรางวัลพระราชทานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย ในปี พ.ศ. 2532  จากเพลง
•   น้ำตาเทียน ของครูไพบูลย์ บุตรขัน
•   โปรดเถิดดวงใจ ของครูเบญจมินทร์
เพลง นิราศเวียงพิงค์ ของ สิทธิ์ โมรากรานต์
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #13 เมื่อ: 08 มกราคม 2566, 04:19:53 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @อ๊อด คีรีบูน




(หากรัก).เหมือนเมฆลอยล่องฟ้า.................ไกลตา  
                    ขอเป่นนกเหินเวหา  .......... ไป่ปั้น
                    เมฆาล่องลอยลา.........       ลิบล่อง    
                    แรงอ่อนจรลดชั้น  .........     จ่นต้องลงมา

                    หากรักราเริ่มร้อง..............  ครวญเพลง
                    หวานแว่วลูกคอระเบง...........สั่นสร้าง
                    ใจจิตพ่อกลัวเกรง..........     เกิดต่อ
                    จดจ่อธรรมดับล้าง.............  ร่างสิ้น อ๊อด คีรีบูน

ประวัติอ๊อดคีรีบูน เจ้าของเสียงหวานฉายาลูกคอ 7 ชั้น
– ชื่อ รณชัย ถมยาปริวัฒน์ ชื่อเล่น อ๊อด ชื่อในวงการ อ๊อด คีรีบูน เกิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2507 จาก กรุงเทพฯ จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจาก คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมรสกับ เอ้ก ปภัสรา ถมยาปริวัฒน์ มีลูกสาว 1 คน ชื่อ เอิ๊ก ชมนวรรณ ถมยาปริวัฒน์
เริ่มต้นเข้าวงการในปี พ.ศ. 2527 ด้วยการเป็นหนึ่งในนักร้องวง คีรีบูน โดยมีผลงานเป็นอัลบั้มเพลงคู่แนวลูกกรุงอย่าง รวมดาว, พบดาว และ นพเก้า ก่อนที่จะมีผลงานอัลบั้มเดี่ยวนับสิบชุดถูกทยอยปล่อยออกมาหลังจากวง คีรีบูน ได้ยุบไป โดยมีผลงานเพลงฮิตอย่าง รอวันฉันรักเธอ กลายเป็นเพลงดังของนักร้องหนุ่ม นอกจากนี้เขายังเคยมีผลงานทางด้านการแสดงเป็นพระเอกหนังเรื่อง ความรักของคุณฉุย ในปี พ.ศ. 2532 หลังจากนั้นไม่นานเจ้าตัวก็ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนสอนดนตรี คีรีบูน จีเนียส มิวสิก
เกือบ 40 ปีมาแล้วที่ “อ๊อด คีรีบูน” เป็นนักร้อง นักดนตรีที่มีผลงานเพลงที่มีชื่อเสียงอย่าง ”หากรัก” “รอวันฉันรักเธอ” ได้ปวารณาตัวรับใช้พระพุทธศาสนาด้วยการเป็นโยมอุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิดพระสงฆ์สาย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ชีวิตใต้ร่มใบบุญพระพุทธศาสนาและการหมั่นเพียรทำความดีของเขา ทำให้แม้ในช่วงที่มีชื่อเสียงโด่งดังถึงขีดสุด เขาก็ไม่ได้หลงระเริงไปกับคำสรรเสริญเยินยอส่วนในช่วงที่ต้องประสบปัญหา หรือแม้แต่บางครั้งที่ชีวิตเฉียดใกล้ความตาย เขาก็รอดปลอดภัยได้ราวปาฏิหาริย์
อ๊อด เสียชีวิตอย่างสงบ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ในวัยเพียง 57 ปี ด้วยโรคมะเร็งสมอง หลังต่อสู้กับโรคร้ายมานานกว่า 5 ปี
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #14 เมื่อ: 08 มกราคม 2566, 04:37:06 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโครงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์
เพลงเพราะมากค่ะ
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1] 2 3 ... 9   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: