You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดอาชีพบทความ นานาสาระ (ผู้ดูแล: พงศธร)สมุนไพรโบราณ "พญาสัตบรรณ"
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: สมุนไพรโบราณ "พญาสัตบรรณ"  (อ่าน 2215 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 661
กระทู้: 193
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2556, 09:15:13 PM »

Permalink: สมุนไพรโบราณ "พญาสัตบรรณ"


ชื่อทั่วไป : พญาสัตบรรณ
ชื่ออื่น : ตีนเป็ดบก, ตีนเป็ด, หัสบรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris R.Br
ชื่อวงศ์ : Apocynaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
            ไม้ยืนต้น สูงถึง 30 ม. เปลือกต้นสีเทา มียางขาวมาก กิ่งแตกออกรอบข้อ ใบเดี่ยว เรียงรอบๆข้อละ 6-9 ใบ รูปขอบขนานแกมใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-6 ซม. กว้าง 5-18 ซม. ปลายทู่กลม หรือเว้าเล็กน้อย
ดอกช่ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกออกเป็นสีขาวแกมเหลือง ผลเป็นฝัก ออกเป็นคู่ รูปกลมยาว


สรรพคุณ

            ราก ขับผายลม แก้ไข้เพื่อดี
เปลือก แก้ไข้เพื่อดีพิการ สมานลำไส้ แก้บิด ขับพยาธิไส้เดือน แก้ไข้หวัดแก้หลอดลมอักเสบ แก้ไข้ แก้ท้องร่วง แก้โรคลำไส้ ช่วยเจริญอาหาร ขับระดู ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับน้ำนม รักษามาลาเรีย แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ไอ รักษาเบาหวาน
ใบ แก้ไข้หวัด แก้ไข้ตัวร้อน
ดอก แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้เหนือ แก้โลหิตพิการ
กระพี้ ขับโลหิตให้ตก
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ทำให้ท้องเดิน แก้เลือดลม แก้กระษัย แก้ริดสีดวง รักษาโรคบิด แก้โรคท้องร่วงเรื้อรัง สมานลำไส้ ขับพยาธิไส้เดือน ขับระดู แก้ไข้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคตับ แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับน้ำนม รักษามาลาเรีย แก้ไอ รักษาเบาหวาน พอกดับพิษต่างๆ รักษาโรคลักปิดลักเปิด รักษาแผลเน่าเปื่อย แก้ปวดหู บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหารหลังเจ็บป่วย ขับลมในลำไส้แก้โรคมะเร็ง


สารเคมี :
            akuammadine,akuammicinealstonine,?-amyrin,arginine, asperagine,picralinal,picraline, picraline deacetyl, scholaricine,scholarine,strictamine,syringic acid,threonine , tryptophan,vallesamine,vanillic acid


ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

           ยับยั้งพยาธิไส้เดือน ยับยั้งโรคที่เกิดจากเชื้อ Leishmania ต้านมาลาเรีย ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านยีสต์ ยับยั้งเอนไซม์ glutamate – oxaloacetate – transminase ยับยั้งเอนไซม์ glutamate – pyruvate – transminase กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ มีฤทธิ์เหมือนฮีสตามีน ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด แก้ไอ ยับยั้งเอนไซม์ phosphadiesterase ยับยั้งเนื้องอก ยับยั้งการแก่ ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase กระตุ้นการสร้าง collagen กดประสาทส่วนกลางทำให้ขนลุก ยับยั้งการเจริญของพืช
การทดสอบความเป็นพิษพบว่า สารสกัดเปลือกต้นพญาสัตตบรรณด้วยเอธานอล 50% เมื่อป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักรขนาด 10 ก/กก และ 3 ก/กก ตามลำดับ ไม่เป็นพิษ ถ้าฉีดสารสกัดเดียวกันนี้เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทนได้สูงสุดก่อนมีอาการเป็นพิษเท่ากับ 1ก/กก


ที่มา pharmacy.msu.ac.th

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: