คะแนนน้ำใจ 1677
กระทู้: 120
ออฟไลน์
หนุ่มภูธร...ผู้ผิดหวังจากการเป็นครู
|
|
« เมื่อ: 11 มิถุนายน 2562, 10:06:48 PM » |
|
Permalink: เรื่องของ"เดือน"....ความหมายที่เราไม่รู้.
....กลับมานั่งประจำการแล้วครับ ....หลังจากหายไปค่อนข้างนาน ก็ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งนะครับที่ทิ้งโต๊ะงานไปเสียนานเลย ไม่พูดพร่ำทำเพลง เรามาเริ่มเรื่องของ"เดือน"ในปฏิทินดีกว่าครับผม....
....ว่ากันว่ามนุษย์นั้นรู้จักการทำและการดูปฏิทินมาตั้งแต่ก่อนที่จะรู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรซะอีกนะครับ โดยสังเกตจากการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว จากนั้นก็นำก้อนหินมาวางเรียงกันไว้ เป็นสัญลักษณ์บอกช่วงเวลา อย่างเช่น Stonehenge ที่อังกฤษ หรือชาวสุเมเรียนผู้ครองดินแดน เมโสโปเตเมียเมื่อกว่า ๓,๗๐๐ ปีก่อน ค.ศ. ได้แบ่งช่วงเวลา ๑ ปี ออกเป็น ๑๒ เดือน และกำหนดให้วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ (Vernal Equinox) เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่งระยะเวลากลางวัน ยาวนานเท่ากับกลางคืน ซึ่งต่อมาชาวไอยคุปต์นำความรู้นี้ไปพัฒนาต่อยอดอีกมากมาย
....ส่วนทางฟากฝั่งยุโรป เมื่อราว ๒,๗๐๐ ปีก่อน กษัตริย์ผู้สร้างกรุงโรมได้กำหนดปฏิทินแบบจันทรคติ ขึ้นโดยกำหนดให้ ๑ ปีมี ๑๐ เดือน หรือ ๓๐๔ วัน (แต่ละเดือนมีจำนวนวันแตกต่างไปจากปฏิทินในยุคนี้) นับจากมีนาคมเป็นเดือนเริ่มต้นปีใหม่ไปจนถึงธันวาคม คือ Martius, Aprilis, Maius, Junius, Quintilis, Sextilis, September, October, November และ December ๔ เดือนแรก มาจากชื่อเทพเจ้าและชื่ออื่นๆ ส่วน ๖ เดือนหลังมาจากคำเรียกเลข ตามลำดับ Quintus = ๕, Sextus = ๖, Septem = ๗, Octo = ๘, Novem = ๙, Decem = ๑๐ ปฏิทินนี้เป็นที่รู้จักและใช้ต่อกันเรื่อยมาจนถึงประมาณ ๗๓๘ ปีก่อนคริสตกาล จากนั้นเดือน January และ February ได้ถูกเพิ่มขึ้นโดยกษัตริย์โรมันนามว่า "Numa Pompilius" ทำให้เดือน October เลื่อนไปอยู่เดือนที่สิบ (อันที่จริงแล้ว Octo แปลว่าแปด)
....ต่อมา "จูเลียส ซีซาร์(Julius Caesar)" ผู้นำคนใหม่ของโรมันได้เล็งเห็นถึงความผิดปกติของปฏิทิน จึงได้สั่งให้เลิกทำการคำนวณเดือนจากการนับดวงจันทร์เหมือนที่เคยใช้กันมา พร้อมกับได้เปลี่ยน ไปใช้วันที่ ๑ ของเดือน January เป็นวันแรกของปี นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนชื่อเดือน Quintilis เป็น July ซึ่งมาจากคำว่า Julius Caesar เพื่อเป็นเกียรติแก่พระองค์ ปฏิทินจูเลียตยังได้กำหนดเอาไว้ อีกว่าให้เดือนคี่มี ๓๑ วัน เดือนคู่มี ๓๐ วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์มี ๒๙ วันในปีปกติสุรทิน และมี ๓๐ วันในปีอธิกสุรทิน (คำว่า ปีปกติสุรทิน หมายความว่าเป็นปีปฏิทินที่มีจำนวนวัน ๓๖๕ วัน และ ปีอธิกสุรทินหมายความว่าเป็นปีปฏิทินที่มีจำนวนวัน ๓๖๖ วัน) ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อจาก Sextilis เป็น August เพื่อเป็นเกียรติแด่ "Augustus Caesar"
ความหมายของเดือนแต่ละเดือนในภาษาอังกฤษ.... - January หรือ มกราคม ถูกเพิ่มมาทีหลังพร้อมกับเดือน กุมภาพันธ์ คำว่า January มาจากชื่อของเทพเจ้า Janus ซึ่งเป็นเทพ ๒ หน้า หน้าหนึ่งมองไปในอดีต อีกหน้ามองไปสู่อนาคต ซึ่งเป็นช่วงที่คนเราต้องมองย้อนสิ่งที่ตนทำ และมองไปข้างหน้าเฝ้ารอคอยปีใหม่ - February หรือ กุมภาพันธ์ มาจากคำภาษาละตินที่แปลว่า ‘ชะล้าง' ซึ่งเป็นเดือนที่คนต้องชะล้างตัวเองให้สะอาดรอรับปีใหม่ - March หรือ มีนาคม เป็นเดือนแรกของปี ก็เป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งคำว่า March นั้นมีที่มาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งสงครามที่ชื่อว่า Mars เนื่องจากว่าชาวโรมันน่ะทำสงครามกันบ่อยนั่นเอง - April หรือ เมษายน มาจากภาษาละตินที่มีความหมายว่า "เปิดรับ" เนื่องจากผลผลิตที่หว่านไปในช่วงเดือนมีนาคมจะมาได้ผลเดือนนี้ - May หรือ พฤษภาคม มาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งการเจริญเติบโต ที่มีชื่อว่า Maia เพราะพวกโรมันเชื่อว่า Maia จะช่วยคุ้มครองพืชพันธุ์ ให้เติบโตอุดมสมบูรณ์ดี - June หรือ มิถุนายน เป็นชื่อที่ตั้งเป็นเกียรติแก่เทพเจ้า Juno ราชินีแห่งสรวงสวรรค์และการแต่งงาน อาจเป็นได้ว่า ชาวโรมันแต่งงานกันมากในเดือนนี้ เพราะเป็นช่วงที่อุดมสมบูรณ์ - July หรือ กรกฎาคม มาจากชื่อของจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ Julius Caesar - August หรือ สิงหาคม ก็ตั้งชื่อตามหลานชายของ Julius ที่ชื่อ Caesar Augustus เพราะว่าเขาอยากมีชื่อเสียงเหมือน Julius บ้าง จึงตั้งชื่อเดือนนี้ โดยใช้ชื่อของเขา เดิมทีเดือนสิงหาคมมีแค่ ๓๐ วันซึ่งน้อยกว่าเดือนของ Julius แต่ Augustus เพิ่มวันให้เดือนของตน โดยเอาวันจากเดือนกุมภาพันธ์มาหนึ่งวัน เพื่อให้ตนเท่าเทียมกัน Julius - September หรือ กันยายน มาจากคำภาษาละตินว่า Septem ซึ่งแปลว่า ๗ และเดือนนี้ก็เป็นเดือนที่ ๗ - October หรือ ตุลาคม ก็มาจากคำภาษาละตินที่แปลว่า ๘ ซึ่งคือคำว่า Octo - November หรือ พฤศจิกายน ก็มาจากคำที่แปลว่า ๙ คือคำว่า Novem - December หรือ ธันวาคม ก็แน่นอนมาจากคำว่า Decem ที่แปลว่า ๑๐
....ด้านที่มาของชื่อเดือนของไทย สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงคิดตั้งชื่อเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยทรงใช้ตำราจักรราศี หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี ประกอบด้วย ๑๒ ราศี ตามวิชาโหราศาสตร์มาใช้กำหนดชื่อเดือนทั้ง ๑๒ เดือน แบ่งเดือนที่มี ๓๐ วัน และเดือนที่มี ๓๑ วัน ให้ชัดเจน ด้วยการลงท้ายเดือนต่างกัน คือ คำว่า "ยน" และ "คม" ส่วนคำนำหน้านั้นมาจากชื่อราศีที่ปรากฏในชวงเวลานั้นๆ เป็นวิธีนำคำ ๒ คำมา "สมาส" กัน คำต้นเป็นชื่อราศี คำหลังคือคำว่า "อาคม" และ "อายน" แปลว่า "การมาถึง" เริ่มตั้งแต่...
- มกราคม คือ มกร (มังกร) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมังกร - กุมภาพันธ์ คือ กุมภ์ (หม้อ) + อาพนธ แปลว่า การมาถึงของราศีกุมภ์ - มีนาคม คือ มีน (ปลา) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมีน - เมษายน คือ เมษ (แกะ) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีเมษ - พฤษภาคม คือ พฤษภ (วัว,โค) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีพฤษภ - มิถุนายน คือ มิถุน (ชายหญิงคู่) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีมิถุน - กรกฎาคม คือ กรกฎ (ปู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีกรกฎ - สิงหาคม คือ สิงห (สิงห์) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีสิงห์ - กันยายน คือ กันย (สาวพรหมจารี) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีกันย์ - ตุลาคม คือ ตุล (ตาชั่ง ตราชู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีตุล - พฤศจิกายน คือ พิจิก, พฤศจิก (แมงป่อง) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีพิจิก - ธันวาคม คือ ธนู (ธนู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีธนู
....อีกทั้งกำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ของไทย คือเดือนเมษายน เดือน ๔ ทางสุริยคติ แต่เป็นเดือน ๕ ทางจันทรคติ ใช้มาจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๓ จากนั้นวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๔ จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่แบบสากลนิยมปีแรกของไทย อนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงใช้คำว่า "ปฏิทิน" แทน "ประติทิน" มาโดยตลอด ลงไว้ในประกาศวิธีนับวัน เดือน ปี ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๕ นั่นเองครับ....
....สำหรับวันนี้ก็จำต้องขอตัวลาก่อนนะครับ สวัสดีครับผม....
ฅนภูธร, น้องจ๋า น้องจ๋าจ้า, ญิบสลิล ณ นคร, อุทัย มีสีสรรพ์, น้องขวัญ น้องขวัญ น้องขวัญนะจ๊ะ, Charthaisong Worrakron, นริศ วีระกุล, สาครินทร์ หิรัญเดช, น้องมีน น้องมีน น้องมีนนะจ๊ะ, หมอจุ๋ม จุ๋มจิ๋ม จิ๋มจุ๋ม, หมอกริชครับ...คมกริช... คมกริช, รชนิชล น้ำค้างหยดเดียว, ผู้พัน ใหม่ ไม่หวานแล้ว (จืดสนิท), chewin57, พิมพ์อุบล
|