หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: อวกาศน่ารู้ ตอน ดาราจักร  (อ่าน 1204 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 1676
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 120
ออฟไลน์ ออฟไลน์
หนุ่มภูธร...ผู้ผิดหวังจากการเป็นครู
อีเมล์
   
« เมื่อ: 03 มีนาคม 2562, 09:59:06 PM »

Permalink: อวกาศน่ารู้ ตอน ดาราจักร

....วันนี้เราก็จะมาปิดฉบับเรื่องอวกาศกันนะครับ ก่อนจะเตรียมตัวขึ้นหัวข้อใหม่
รับพระราชพิธีที่ทุกๆท่านรอคอยกันนะครับผม....เอาเป็นว่าเข้าเรื่องเลยละกันครับ...

....ดาราจักร(แกแล็คซี่ - galaxy)เป็นที่รวมของดาว กระจุกดาว เนบิวลา(nebula) ฝุ่น ก๊าซ และที่ว่าง
และระบบสุริยะจะอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก(Milky way galaxy) โดยดาราจักจะมีลักษณะใหญ่ ๓ ประการคือ
ดาราจักวงรี ดาราจักรกังหัน และดาราจักอสัญฐาน
....กาแลคซีของเราหรือกาแลคซีทางช้างเผือก ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณหนึ่งแสนล้านดวง
ดึงดูดซึ่งกันและกัน ทำให้อยู่ในระบบเดียวกันได้ มีความหนาประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีแสง
และมีเส้นผ่นศูนย์กลางประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีแสง ส่วนดวงอาทิตย์ของเรา อยู่ที่แขนของกาแลคซี
 ห่งจากใจกลางประมาณ ๓๐,๐๐๐ ปีแสง กาแลคซีของเราความยาวส่วนที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
 มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๗๕,๐๐๐ ปีแสง (๗.๑ X ๑,๐๑๑ km) แต่ค่าที่วัดได้จากเครื่องมือ
ทางวิทยาศาสตร์ อาจยาวมากกว่านี้ถึง ๓ เท่า มีมวล ๔ X ๑๐๑๑ เท่า ของมวลดวงอาทิตย์
 โดยดวงอาทิตย์ของเราอยู่ห่างจากศูนย์กลางกาแลคซีประมาณ ๒๖,๑๐๐ ปีแสง (๒.๕X๑,๐๑๗ km)
....ซึ่งในช่วงหัวค่ำในฤดูหนาว หรือช่วงใกล้รุ่งสางในฤดูร้อน เราสามารถมองเห็นทางช้างเผือกได้ด้วยตาเปล่า
 ทอดยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ สวยงามมากครับ....

....ความหมายของดาราจักร ดาราจักร คือ ที่รวมของดาว กระจุกดาว เนบิวลา ฝุ่น ก๊าซ และที่ว่าง
โดยจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป อาณาจักรที่เราอาศัยอยู่นี้เรียกว่า อาณาจักรทางช้างเผือก (Milky Way)
ในปี พ.ศ. ๒๑๕๒ กาลิเลโอ ได้สำรวจท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์ แล้วพบว่า ทางช้างเผือก
ประกอบด้วยดาวจำนวนมากมาย ปรากฎอยู่ใกล้กันจนไม่สามารถมองให้แยกออกจากกันได้
ภายหลังได้มีการศึกษาพบบริเวณสว่างของก๊าซและฝุ่นในอวกาศ ตลอดบริเวณที่มืดจนปิดบัง
แสงสว่างของดาวอื่น โดยเรียกบริเวณนั้นว่า เนบิวลาสว่างและเนบิวมืดตามลำดับ

และยิ่งศึกษามากขึ้นก็พบว่าไม่สามารถประเมินรูปร่างได้ และในเอกภพจะมีจำนวนดาราจักรอยู่มาก
จนประมาณได้ถึง หมื่นล้านดาราจักร ดาราจักรช้างเผือกเป็นระบบที่แบนมาก
กล่าวคือ มีความหนาน้อยเมื่อเทียบกับความกว้าง โดยที่ส่วนนูนตรงกลางประมาณ ๓,๕๐๐ พาร์เซก
 และส่วนที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางประมาณได้กับระยะที่ดวงอาทิตย์อยู่จะหนาประมาณ ๑,๕๐๐ พาร์เซก
ในขณะที่ความกว้างของดาราจักร์ประมาณได้ถึง ๕๐,๐๐๐ พาร์เซก

....ดาราจักรจะมีดาวกว่าแสนล้านดวงและก๊าซ ฝุ่น สสารที่มากพอจะให้กำเนิดดาวได้หลายพันล้านดวง
 และในเอกภพนี้มีดาราจักรมากเสียจนประมาณได้อย่างชัดเจน แต่จากการเฝ้าติดตามด้วยกล้องโทรทรรศน์
ขนาดใหญ่คาดไว้ว่าน่าจะมีมากกว่าแสนล้านดาราจักร และอาจจะมีในส่วนที่ยังไม่เห็นด้วยกล้องอีกบางที่
ที่อาจจะมากกว่าล้านล้านดาราจักรก็เป็นได้

....จากการศึกษาของนักดาราศาสตร์ยังพบอีกว่าดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นแกนหลังของระบบสุริยะ
ไม่ได้หยุดนิ่งแต่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐ กิโลเมตรต่อวินาที ดังนั้นจึงคาดกันว่า
ดาราจักรของเราไม่ได้หยุดนิ่ง แต่ดาราจักรกำลังหมุนรอบตัวเองโดยสังเกตจากรูปร่าง

....รูปร่างของกาแลกซี่ เอ็ดวิน ฮับเบิล ได้จำแนกรูปร่างของ กาแลกซี่ ได้เป็น ๔ แบบคือ
๑. กาแลกซี่แบบรูปไข่ หรือ ทรงรี Elliptical จัดว่าเป็นรูปทรงพื้นฐานเริ่มแรก
แบ่งออกได้เป็น E๐ - E๗ คือ E๐ จะมีรูปร่างเป็นทรงกลม และยิ่งรีมากขึ้น
ตัวเลขตามท้ายก็จะมากขึ้น เช่น E๗ มีรูปทรงรีมากที่สุด
๒. กาแลกซี่แบบก้นหอย หรือ รูปเกลียว Spiral
ลักษณะแบบคล้ายจานสองใบประกบหากัน จะมีจุดกลางสว่าง แล้วมีแขนโค้ง ๒-๓ แขน
 ลักษณะ หมุนวนรอบแกนกลาง แบ่งย่อยออกเป็น Sa Sb Sc โดยพิจารณาจากระยะความห่างของแขน
๓.กาแลกซี่แบบกังหัน หรือรูปเกลียวแขนยาว Barred Spiral ลักษณะคล้ายแบบที่ ๒
แต่มีแขนออกมาจาก แกนกลางก่อน แบ่งย่อยออกเป็น SBa SBb SBc โดยพิจารณาจากแขนที่ยาวออกมาจากแกนกลาง
๔. กาแลกซี่แบบไม่มีรูปร่าง Irregular เป็นกาแลกซี่ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
เข้าใจว่าเกิดจากการกลืนกินกัน ของสองกาแลกซี่แบบ ๑ ถึง ๓ ที่อยู่ใกล้กัน

....ตัวอย่างกาแลกซี่ที่น่าสนใจ
• M31 (NGC224) หรือ กาแลกซีแอนโดรเมดร้า (Andromeda galaxy) เป็นกาแลกซี่รูปเกลียวแบบ Sb
อยู่ในกลุ่มดาวแอนโดรเมดร้า ความสว่าง ๓.๕ สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าในคืนฟ้ามืดสนิท หรือด้วยกล้องสองตา
หรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก ระยะห่างออกไป ๒.๒ ล้านปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณ ๒๐๐ ล้านล้านดวง
 ซึ่งหากางเกตุด้วยกล้องสองตา เราจะพบฝ้าขวาๆด้านล่างซึ่งคือ M32(NGC221) และด้านบนคือ M110(NGC205)
• Large Magellanic Cloud (LMC) หรือ กลุ่มเมฆแมคเจลแลนใหญ่
เป็นกาแลกซี่แบบไม่มีรูปร่าง อยู่ในกลุ่มดาวปลาปากดาบ(Dorado) ความสว่าง ๐.๑ สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า
 แต่ในประเทศไทยมองไม่เห็นเพราะอยู่ลับขอบฟ้าทางใต้ไปแล้ว เห็นได้เฉพาะประเทศแถบทางซีกโลกใต้
เช่น ออสเตรเลีย เป็นกาแลกซี่เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ ทางช้างเผือกมาที่สุดห่างออกไป ๑๖๐,๐๐๐ ปีแสง
และจะมีกลุ่มเมฆสีแดงด้านซ้าย ซึ่งนั่นคือ เนบิวลาแมงมุมทารันทูลา(Tarantura Nabulae)นั่นเองครับ
• Small Magellanic Cloud (SMC) หรือ กลุ่มเมฆแมคเจลแลนเล็ก
 เป็นกาแลกซี่แบบไม่มีรูปร่างอีกหนึ่ง อยู่ในกลุ่มดาวนกทูแคน(Tucana) ความสว่าง ๒.๓
อยู่ห่างออกไป ๒๔๐,๐๐๐ ปีแสง สามารถเห็นด้วยตาเปล่าในคืนฟ้าใส แต่ไม่เห็นในประเทศไทยเช่นกัน
 ภายในประกอบด้วยเนบิวล่าและกระจุกดาวเปิดจำนวนมาก
• M104(NGC4594) เป็นกาแลคซีที่สวยงามอันหนึ่ง
อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo) บางทีเราเรียกว่า Sombrero Galaxy เป็นกาแลกซีรูปเกลียวแบบ Sb
ความสว่าง ๘.๓ เห็นได้จากกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เท่านั้น....

ก็ขอปิดฉบับเท่านี้นะครับผม ช่วงนี้ก็ขอไปเก็บข้อมูลนิดๆหน่อยๆก่อนนะครับ อิอิ สวัสดีครับผม....
บันทึกการเข้า

รวมบทประพันธ์ของ หนุ่มภูธร ณ ลุ่มน้ำป่าสัก คลิ๊กที่นี่
http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,12043.0.html
ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจาก YouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: