หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: อวกาศน่ารู้ ตอน ดาวฤกษ์  (อ่าน 1226 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 1676
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 120
ออฟไลน์ ออฟไลน์
หนุ่มภูธร...ผู้ผิดหวังจากการเป็นครู
อีเมล์
   
« เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2562, 09:41:01 PM »

Permalink: อวกาศน่ารู้ ตอน ดาวฤกษ์
....ทุกๆท่านเคยแหงนหน้ามองดวงดาวบนท้องฟ้ากันบ้างไหมครับ
....ดวงดาวที่เราเห็นนั้น มีความเป็นมาอย่างไร ลักษณะแบบไหน เรามาเรียนรู้ไปด้วยกันครับผม....

....อันดวงดาวบนท้องฟ้านั้น นอกจากดาวเคราะห์ และดวงจันทร์แล้ว ยังมีดาวดวงอื่นๆที่เรียกว่า "ดาวฤกษ์"(Stars)อยู่ด้วยนะครับ....
....ซึ่งไอ้เจ้า ดาวฤกษ์ นั้นคือ กลุ่มก้อนก๊าซขนาดใหญ่ที่อยู่ในอวกาศ ตรงใจกลางจะมีอุณหภูมิสูงมาก
มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุไฮโดรเจน ดาวฤกษ์แผ่พลังงานส่องสว่าง ความร้อนและรังสีต่างๆ
 ดาวฤกษ์ทุกดวงจะมีลักษณะเหมือนกันอยู่ ๒ อย่าง คือ

๑. พลังงานในตัวเอง เพราะปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่อยู่ใจกลางของดวงดาว ทำให้ดาวฤกษ์เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง
๒. องค์ประกอบเกือบทั้งหมดของดาวฤกษ์เป็นก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งเป็นธาตุที่เบาที่สุดและมีอยู่มากในจักรวาล
นอกจากนั้นยังมีก๊าซฮีเลียม ธาตุหนักอื่นๆและฝุ่นอวกาศปะปนอยู่ด้วย
แต่มีปริมาณทั้งหมดรวมกันเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของก๊าซไฮโดรเจน

กำเนิดดาวฤกษ์        
....ดาวฤกษ์เกิดจากการยุบรวมตัวของเนบิวลาหรือกลุ่มก๊าซในอวกาศที่มีขนาดใหญ่มาก
มีมวลรวมกันหลายพันเท่าของมวลดวงอาทิตย์ ซึ่งในเนบิวลานั้นแต่ละจุดจะมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน
 บริเวณที่มีความหนาแน่นมากกว่าจะมีแรงโน้มถ่วงที่มากกว่า จึงมีการดึงก๊าซจากบริเวณรอบข้างมารวมกัน
ดังนั้นบริเวณแกนจะมีมวลมากขึ้น บริเวณที่รวมตัวกันจะมีอุณหภูมิ ๑๐-๓๐ องศาเคลวิน
เมื่อเวลาผ่านไป กลุ่มก๊าซนั้นจะเกิดพลังงานความร้อนขึ้นมา....

....ในช่วงแรกที่ความร้อนเกิดขึ้นมานั้น ความร้อนจะแผ่ออกจากกลุ่มก๊าซได้โดยง่าย
เพราะกลุ่มก๊าซยังเบาบางมาก จนกระทั่งกลุ่มก๊าซเริ่มหนาแน่นเกินกว่าที่ความร้อนจะแผ่ออกมาได้
 อุณหภูมิภายในจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วไม่นานกลุ่มก๊าซร้อนจะเริ่มเรืองแสงสว่างจนมองเห็นได้
 เราเรียกว่า “โปรโตสตาร์”(Protostar)

....การยุบตัวของโปรโตสตาร์จะดำเนินต่อไปจน แกนกลางมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง ๑๐ ล้านองศาเคลวิน
ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นได้ธาตุฮีเลียม นิวตรอนและพลังงานออกมาเมื่อมีพลังงานภายใน
แกนกลางก็จะมีความดันสูงพอที่จะต้านแรงโน้มถ่วงของมวลได้ เกิดความสมดุลระหว่างแรงดันภายในและแรงโน้มถ่วง
 ทำให้การยุบตัวหยุดลงทันทีเกิดเป็นดาวฤกษ์อย่างสมบูรณ์

....เวลาผ่านไปก๊าซไฮโดรเจนจะถูกทำปฏิกิริยาฟิวชั่นไปเรื่อยๆ จนไฮโดรเจนมีจำนวนน้อยลง
 ทำให้แรงโน้มถ่วงมากกว่าแรงดันภายในจึงเกิดการยุบตัวอีกครั้ง แกนกลางดาวฤกษ์จะมีอุณหภูมิ
สูงขึ้นถึง ๑๐๐ ล้านเคลวิน เกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นหลอมนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม(he)ที่แกนกลาง
รวมเป็นนิวเคลียสของธาตุคาร์บอน ขณะเดียวกันไฮโดรเจนที่อยู่รอบนอกแกนฮีเลียม
จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามไปด้วยจนเกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นหลอมไฮโดรเจนรอบนอกกลายเป็นฮีเลียม
จึงเกิดพลังงานมหาศาลดาวฤกษ์จึงเกิดการขยายตัวมีขนาดใหญ่กว่าเดิมมากและสว่างมากขึ้น
อีกทั้งอุณหภูมิผิวด้านนอกจะลดลงและกลายเป็นสีแดง เ
ราเรียกดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่นี้ว่า “ดาวยักษ์แดง (Red Giant)”

จุดจบของดาวฤกษ์
....ดาวฤกษ์แต่ละดวงมีมวลต่างกัน จึงมีวิวัฒนาการและจุบจดที่ต่างกัน ซึ่งจุดจบของดาวฤกษ์
 แบ่งได้ ๒ แบบ ซึ่งแบ่งตามมวลของดาวฤกษ์  
• ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย คือมีขนาดเท่าหรือเล็กกว่าดวงอาทิตย์ จะมีแสงสว่างไม่มากนักจึงใช้พลังงานน้อย
ทำให้มีช่วงชีวิตยาว ซึ่งในช่วงที่เป็นดาวยักษ์แดงแกนกลางจะไม่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แรงโน้มถ่วง
จะมากกว่าแรงดัน จึงยุบตัวกลายเป็น”ดาวแคระขาว”(White Dwarf) ความสว่างจะลดลง
อุณหภูมิภายในจะลดต่ำมากจนไม่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ทำให้ไม่เกิดการส่องแสง
และกลายเป็น “ดาวแคระดำ”(Black Dwarf)  
• ดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก คือมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์จะมีความสว่างมาก จึงใช้พลังงานในอัตราสูงมาก
 ทำให้มีช่วงชีวิตสั้น และจบชีวิตด้วยการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า “ซูเปอร์โนวา” (Supernova)
เหลือเพียงซากแกนกลางของดาว คือ ดาวนิวตรอนที่มีความหนาแน่นสูงมาก
ดาวนิวตรอนมักมีขนาด ๑๐-๒๐ กิโลเมตรเท่านั้นแต่มีมวลเทียบเท่ากับดวงอาทิตย์เลยทีเดียว
หากดาวฤกษ์มีมวลเริ่มต้นมากกว่า ๑๘ เท่าของดวงอาทิตย์ เมื่อเกิดการซูเปอร์โนวาเศษซากดาว
ที่ตกกลับมายังดาวนิวตรอนจะมีมากพอที่จะทำ ให้ดาวนิวตรอนมีมวลเพิ่มขึ้นเกินกว่า ๓ เท่า
ของมวลดวงอาทิตย์ ความดันภายในไม่อาจต้านทานแรงโน้มถ่วงที่สูงขึ้นเรื่อยๆได้อีกต่อ
 ไปดังนั้นดาวนิวตรอนจะยุบตัวลงอย่างไม่มีที่สิ้นสุดกลายเป็น“หลุมดำ” (Black Hole)นั่นเองครับ....

คราวหน้าเราจะมาว่ากันต่อด้วยเรื่องสุดท้าย "ดาราจักร" กันครับผม
....ซึ่งก็จะเว้นระยะสักสามสี่วันหน่อย เพื่อเก็บข้อมูลนะครับผม สวัสดีครับ....
บันทึกการเข้า

รวมบทประพันธ์ของ หนุ่มภูธร ณ ลุ่มน้ำป่าสัก คลิ๊กที่นี่
http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,12043.0.html
ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจาก YouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: