หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ของนี้มีที่มา ตอนที่ 9 การถ่ายภาพในไทย  (อ่าน 1633 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 1676
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 120
ออฟไลน์ ออฟไลน์
หนุ่มภูธร...ผู้ผิดหวังจากการเป็นครู
อีเมล์
   
« เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2561, 09:08:40 PM »

Permalink: ของนี้มีที่มา ตอนที่ 9 การถ่ายภาพในไทย






....หลายๆท่านคงเคยผ่านยุคสมัยที่ใช้กล้องถ่ายรูปอันใหญ่ๆถ่ายรูปกันสนุกสนาน หรือในยุคนี้ที่ใช้เพียงแค่โทรศัพท์เครื่องนิดเดียวถ่ายรูปตัวเองได้ง่ายๆ(เซลฟี่นั่นแหละ)....แล้วการถ่ายภาพในไทยมีที่มาอย่างไรละ....

....การถ่ายรูปในไทยถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในสยามตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๘๘ ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยบาทหลวงลาร์โนดี กับสังฆราชปาเลอกัว ชาวฝรั่งเศษ ส่วนคนไทยคนแรกที่เรียนการถ่ายภาพจากตะวันตก ก็คือ พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตกุล

....พระสังฆราชปาลเลอกัว เป็นบาทหลวงคาทอลิก ที่เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่ประเทศไทย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านสังฆราชได้นำวิทยาการการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทยด้วย และนอกจากนี้ ท่านยังจัดทำพจนานุกรมสี่ภาษาเล่มแรกของไทย(สัพะ พะจะนะ พาสา ไท)ขึ้น โดยมีภาษาทั้งสี่ที่ว่านี้คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และ ภาษาละติน
....พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตกุล) เป็นขุนนางในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ที่มีความรู้ในเชิงช่างสามารถซ่อมเครื่องจักรเครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า มีความสามารถในวิชาช่างชุบโลหะ สามารถประดิษฐ์สร้างเครื่องกลึง  เดิมชื่อ โหมด เกิดเมื่อวันอังคาร แรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ปีเถาะ ตรงกับ พ.ศ.๒๓๖๒ ในปี พ.ศ.๒๔๐๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ วิศวกรชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามาติดตั้งเครื่องจักรที่โรงกระสาปน์สิทธิการ เพื่อผลิตเงินเหรียญใช้แทนเงินพดด้วง ได้เสียชีวิตอย่างกะทันหัน นายโหมดสามารถติดตั้งเครื่องจักรจนใช้งานได้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น พระวิสูตรโยธามาตย์ ทำหน้าที่กำกับการทำเงิน
....การท่ี่การภาพถ่ายได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ทำให้มีช่างภาพเดินทางออกไปถ่ายภาพเป็นอันมาก บางส่วนก็เข้าได้เดินทางมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเอกราชเพียงประเทศเดียวในเวลานั้น การที่สังคมไทยเปิดรับความเป็นตะวันตกอย่างระมัดวังแต่ไม่เข้มงวดจนเกินไปนัก ไม่ว่าเป็นเรื่องศาสนา,วิทยาศาตร์ ต่างๆ มีบุคคลทั้งเจ้านาย,ขุนนาง,และสามัญชนเข้าไปเรียนรู้จากชาวตะวันตก ซึ่งโดยมากเป็นหมอสอนศาสนาศริตส์ การถ่ายภาพก็เช่นกัน  เมื่อชาวไทยได้เรียนรู้การถ่ายภาพมากขึ้นทำให้เกิดความต่ื่นตัวเป็นอันมาก ประกอบกับช่างภาพชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเปิดสตูดิโอในกรุงเทพ การถ่ายภาพจึงกลายเป็นที่แพร่หลายโดยเฉพาะในสมัย ร.๕ ในส่วนของชาวไทยช่างภาพที่สำคัญและได้กลายเป็นช่างภาพหลวง คือ นายจิตร จิตราคนี
....หนังสือว่านายจิตรเดิมเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่เวรชิตภูบาลปี   บิดานายจิตรชื่อตึง ทหารแม่นปืนฝ่ายพระราชวังบวร(วังหน้า) ไม่ระบุชื่อมารดา  ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๕ ตำลึง ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (วังหน้า) สวรรคตใน พ.ศ.๒๔๐๙ แล้ว นายจิตรก็ลงมาสมทบรับราชการในพระบรมมหาราชวัง(วังหลวง) หรือรับราชการกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ ช่างถ่ายรูปขึ้นกับกรมแสง (ว่าด้วยอาวุธ ไม่ใช่ลำแสง) ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่ง ห้าตำลึง จากนั้นได้เลื่อนเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป ซึ่งหมายถึงดูแลโรงแก๊ส พระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่งกับสิบตำลึง นายจิตร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ อายุ ๖๑ ปี จากหลักฐานของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่าผู้ที่เรียนวิชาความรู้จากต่างชาติ แล้วมารับราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นมีนายจิตร อยู่คือ"มีนายจิตร อยู่กฎีจีนคน ๑ ได้หัดชักรูปกับบาทหลวงลานอดี ฝรั่งเศส แลได้ฝึกหัดต่อมากับทอมสัน อังกฤษที่เข้ามาชักรูปเมื่อในรัชกาลที่ ๔ จนตั้งห้างชักรูปได้เปนที่แรก แลได้เปนขุนฉายาทิศลักษณเมื่อในรัชกาลที่ ๕ แล้วเลื่อนเปนหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมแก๊สหลวง"
....จากหนังสือ ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย โดยเอนก นาวิกมูลได้กล่าวถึงการตั้งสตูดิโอถ่ายภาพของ จิตรไว้ดั้งนี้ “สตูดิโอหรือร้านถ่ายรูปของนายจิตร ก็ตั้งบนเรือนแพหน้าวัดซางตาครู้สนี้แต่ก่อนจะพูดถึงเรือนแพประวัติศาสตร์หลังนั้น ที่ว่าหัดชักรูปกับบาทหลวงลานอดีฝรั่งเศสนั้นเป็นไปได้ เพราะเป็นชาวคริสต์และเป็นชาวคาทอลิกด้วยกัน ประวัติและผลงานของบาทหลวงลานอดี หรือ L'ABBE' LARNAUDIE ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ ผู้เขียนได้พยายามหาทั้งประวัติ และรูปถ่ายบาทหลวงลานอดีหรือลาร์โนดีอยู่เป็นสิบปี เพิ่งจะได้รูปถ่ายชัด ๆ ของท่านก็เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ นี้เอง" และยังมีหลักฐานการตั้งร้านและโฆษณา “พบโฆษณาชิ้นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อ The Bangkok Times ฉบับวันพุธที่ ๒๓ มกราคม ค.ศ. ๑๘๘๙ (พ.ศ. ๒๔๓๒) ลงโฆษณาของร้านฟรานซิศจิตรแอนด์ซัน โฆษณาอีกชิ้นหนึ่งพบในหนังสือพิมพ์ The Siam Mercantile Gazette ฉบับวันที่ ๒๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๘๙ (พ.ศ. ๒๔๓๒) บอกปีตั้งร้านเอาไว้เหมือนกันว่า "นายจิตรผู้พ่อ ได้ก่อตั้งห้องภาพนี้ขึ้นในปี ค.ศ. ๑๘๖๓"   จึงเป็นอันเชื่อได้แน่ว่าในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ นับแต่กลางสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น นายจิตรขณะอายุ ๓๓ ปีได้ตั้งร้านถ่ายรูปขึ้นแล้ว และอาจกล่าวได้ว่าเป็นคนไทยคนแรกที่ตั้งร้านรับจ้างถ่ายรูปเป็นอาชีพ เพราะยังไม่พบผู้ใดทำเช่นนี้มาก่อนเลย หลังจากตั้งร้านแล้ว นายจิตรได้ส่งโฆษณาไปลงตามหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ เสมอ”    สิ่งพิมพ์ที่นายจิตรได้โฆษณาได้แก่ บางกอกรีคอร์เดอร์,จดหมายเหตุสยามไสมย,บางกอกไตมส์ และเดอะสยามเมอร์แคนไตล์กาเซท์ และ แจ้งความชิ้นแรกสุดหรือเก่าสุดของนายจิตร เริ่มลงในหนังสือจดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ นายจิตร ยังได้ตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้าก้อจังหวัดประจวบคีรีขัน ในปี พ.ศ.๒๔๑๑  และได้บันทึกภาพไว้ด้วย นายจิตร จิตราคณี ถืิอว่าเป็นช่างภาพชาวไทยที่สำคัญยิ่งภาพถ่ายที่เป็นของบุคคลชั้นสูง สามัญชนและสถานที่ต่างๆล้วนเป็นหลักฐานที่สำคัญของสังคมไทย  และ ณ เวลานั้นผลงานของนายจิตรไม่ได้เป็นรองช่างภาพชาวต่างชาติใดๆเลย เป็นภาพที่มีความสมบูรณ์ทั้งในด้านคุณภาพและเนื้อหา
....ส่วนในระดับสามัญชนนั้น ได้เริ่มแพร่หลายในช่วงปลายๆรัชกาลที่ ๕ เนื่องมาจากคนสยามในสมัยนั้นกลัวการถ่ายภาพมาก เพราะเชื่อว่าการถ่ายภาพเป็นสิ่งไม่ดี เป็นการ"ดึงวิญญาณ"ของผู้ถูกถ่ายไปไว้ในรูป แต่หลังจากนั้นคนสยามก็เริ่มคุ้นชินกับการถ่ายภาพ และนิยมกันอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง....

....สำหรับวันนี้ก็ขอจบเพียงเท่านี้ครับผม สวัสดีครับ....



บันทึกการเข้า

รวมบทประพันธ์ของ หนุ่มภูธร ณ ลุ่มน้ำป่าสัก คลิ๊กที่นี่
http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,12043.0.html
ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจาก YouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: