หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: แสงไฟจากหน้าจอ เสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม  (อ่าน 1589 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2560, 12:31:14 PM »

Permalink: แสงไฟจากหน้าจอ เสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม



แสงไฟจากหน้าจอ เสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม
นอกจากอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในแสงแดดที่เราต้องต่อกรด้วยทุกวันแล้ว
แสงอีกประเภทที่น่ากลัวและอยู่ใกล้ตัวเราในชีวิตประจำวัน แต่หลายคนยังไม่ตระหนักถึงอันตรายมากนัก
คือแสงจากอุปกรณ์ดิจิทัลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแสงจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ แสงไฟ LED จากหน้าจอสมาร์ทโฟน
คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และทีวีจอแบน แสงที่อุปกรณ์เหล่านี้ปล่อยออกมามีชื่อเรียกง่าย ๆ ว่า แสงสีน้ำเงิน

แสงสีน้ำเงิน (Blue Light) หรือแสงพลังงานสูงที่มองเห็นได้ (High-energy Visible Light: HEV)
เป็นหนึ่งในเจ็ดของสเป็คตรัมแสงสีรุ้งที่ประกอบไปด้วยสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง
อย่างที่เราเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้าก็เพราะแสงนี้นั่นเอง แสงสีน้ำเงินมีคลื่นความยาวประมาณ 400-500 นาโนเมตร
เป็นคลื่นความยาวที่สั้นที่สุด พลังงานมากที่สุด นอกจากจะมีอยู่ในแสงแดดแล้วก็ยังมีอยู่ในสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วย

แสงสีน้ำเงินนำมาใช้ในอุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อเพิ่มความสว่างและความชัดของหน้าจอ แม้ว่าแสงสีน้ำเงินที่สังเคราะห์ขึ้นจะเป็นส่วนเล็ก ๆ
เมื่อเทียบกับแสงที่ปล่อยโดยตรงมาจากดวงอาทิตย์ แต่การใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลเหล่านี้บ่อย ๆ
 อย่างต่อเนื่องหลายปีสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อสายตา เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้

เสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม
ในระยะยาวดวงตาที่รับแสงสีน้ำเงินมากเกินไปสามารถนำไปสู่การเสื่อมของศูนย์กลางเรตินา
การวิจัยทางการแพทย์เผยว่าแสงสีน้ำเงินสามารถแทรกผ่านสารสีที่พบในตาและเป็นอันตรายต่อดวงตาบริเวณเซลล์ที่ศูนย์กลางเรตินา
 โดยจะเข้าไปลดความเข้มข้นของสารสี เกิดเป็นปัจจัยเสี่ยงให้จอประสาทตาเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้น
 ที่สำคัญโรคนี้อันตรายถึงขั้นตาบอดได้เลย นอกจากนี้สถาบันโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุยังรายงานว่า
แสงสีน้ำเงินอาจเป็นตัวเร่งให้เกิดโรคนี้ก่อนวัยอันควร จากที่ปกติพบในผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

ดวงตาล้าจากการจ้องหน้าจอ
ทุกครั้งที่จ้องหน้าจอ ดวงตาของคนเราต้องทำงานหนักจากการเพ่งมองภาพที่ประกอบขึ้นมาจากพิกเซลเล็กๆ
ที่สั่นไหวอยู่ตลอดทุกวินาที และเนื่องจากคุณสมบัติของแสงสีน้ำเงินที่มีคลื่นความยาวสั้นที่สุด
ทำให้การกระจายของแสงสูงกว่าแสงสีอื่น ๆ ส่งผลให้ระบบสายตาทำงานลำบากและโฟกัสภาพบนจอได้ยาก
 ความคมชัดของภาพจึงลดลงและทำให้ตาอ่อนล้า นอกจากนี้อาจตามมาด้วยอาการปวดไหล่ ปวดหัว
ระคายเคืองที่ตา เจ็บตา ตาพร่าหรือเห็นภาพซ้อน ตาอ่อนไหวต่อแสงแดด น้ำตาไหล ตาแห้ง และมองภาพไม่ชัดเจนได้ด้วย

นาฬิกาชีวิตผิดเพี้ยน
การได้รับแสงสีน้ำเงินในเวลากลางวันจะทำให้รู้สึกกระตือรือร้น ช่วยในเรียนรู้ การจดจำ และอารมณ์ดีขึ้น แต่ตรงกันข้าม
การได้รับแสงสีน้ำเงินในตอนกลางคืน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางคืนหรือปิดไฟเล่นโทรศัพท์มือถือ 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน
จะส่งผลกระทบต่อการตื่นและการนอนได้มาก อาจทำให้ต้องเผชิญภาวะนอนไม่หลับ และเกิดอาการเหนื่อยล้าในเช้าวันถัดไป

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทดสอบด้วยการเปรียบเทียบผลกระทบจากการได้รับแสงสีน้ำเงินกับแสงสีเขียว
ที่มีคลื่นความยาวในระดับถัดจากแสงสีน้ำเงินเพียงแถบเดียวเป็นเวลา 6 ชั่วโมงครึ่ง พบว่าฮอร์โมนเมลาโทนิน
ที่มีหน้าที่ควบคุมนาฬิกาชีวิตจะถูกยับยั้งโดยแสงสีน้ำเงิน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของนาฬิกาชีวิต
ในกลุ่มผู้ทดลองเป็นสองเท่าของแสงสีเขียวเลยทีเดียว

สุขภาพตาที่ดีสร้างได้ง่าย ๆ
การหลีกเลี่ยงแสงสีน้ำเงินที่มีอยู่แทบทุกที่คงเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ทุกคนต่างมีโทรศัพท์มือถือ
เป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองง่าย ๆ เพียงไม่กี่ข้อต่อไปนี้อาจช่วยต่ออายุของสุขภาพสายตาให้อยู่กับเราได้นานยิ่งขึ้น

ไม่จ้องหน้าจอใกล้เกินไป ควรรักษาระยะห่างที่ประมาณ 20-26 นิ้ว หรือในระยะที่สามารถเหยียดแขนตรงออกไปแตะหน้าจอได้
ซึ่งจะเป็นระยะที่สบายต่อสายตา
ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ตรงหน้า ไม่เอียงซ้ายหรือขวา และอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาประมาณ 10-15 องศา
และเงยหน้าจอขึ้น 10-15 องศา เพื่อป้องกันอาการเมื่อยคอและไหล่จากการนั่งผิดท่า
ใช้สูตร 20-20-20 วิธีผ่อนคลายกล้ามเนื้อในการเพ่งมองของดวงตาที่แพทย์สายตาต่างแนะนำ ทำได้ง่าย ๆ
โดยการหยุดพักสายตาเป็นเวลา 20 วินาที ทุก ๆ 20 นาที ด้วยการมองไกลออกไป 20 ฟุต

วิธีนี้ยังกระตุ้นให้เรากระพริบตาเพื่อเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงที่ดวงตาด้วย เพราะการจ้องคอมเป็นเวลานาน ๆ มักทำให้ลืมกระพริบตาไปโดยปริยาย
ปรับความสว่างของหน้าจอในระดับสบายตา ให้แสงไฟโดยรอบอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและพอดีกัน ไม่สว่างจ้าจนตัดกันเกินไป
เลือกเลนส์แว่นตาที่ป้องกันการสะท้อนแสง และหลีกเลี่ยงการนั่งบริเวณที่หน้าจอเกิดแสงสะท้อน เพื่อช่วยให้สบายตายิ่งขึ้น
ควรถือสมาร์ทโฟนให้ห่างสายตาเพื่อช่วยลดอาการล้า และควรปรับขนาดตัวอักษรและรูปภาพให้อ่านแล้วสบายตา
ตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี ปัญหาทางสายตาอย่างสายตายาว สายตาเอียง หรือตาพร่าก็เป็นปัจจัยหนึ่ง
ที่ทำให้ดวงตาอ่อนล้าจากการเล่นคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น จึงควรตรวจเช็คสายตาเพื่อตัดเลนส์ที่ช่วยปรับสายต
าให้เป็นปกติและใช้คอมพิวเตอร์ได้สบายตายิ่งขึ้น
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาในการตัดแว่นสายตาสำหรับภาวะแสงน้อย เพื่อช่วยปรับภาพให้สว่างขึ้น
 อีกทั้งยังบรรเทาอาการล้าจากการจ้องหน้าจอและป้องกันแสงสีน้ำเงินได้ด้วย

ขอบคุณที่มา  
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: