-/> วิธีลดอันตรายของมื้ออาหารที่มีแป้งหรือน้ำตาลมาก

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดสุขภาพกินเพื่อสุขภาพ (ผู้ดูแล: หมอจุ๋ม จุ๋มจิ๋ม จิ๋มจุ๋ม)วิธีลดอันตรายของมื้ออาหารที่มีแป้งหรือน้ำตาลมาก
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีลดอันตรายของมื้ออาหารที่มีแป้งหรือน้ำตาลมาก  (อ่าน 1698 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 4171
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดนักโพสดีเด่น
กระทู้: 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« เมื่อ: 25 สิงหาคม 2556, 12:27:23 AM »

Permalink: วิธีลดอันตรายของมื้ออาหารที่มีแป้งหรือน้ำตาลมาก

วิธีลดอันตรายของมื้ออาหารที่มีแป้งหรือน้ำตาลมาก



อยากกินก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้ว ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ ทั้งๆ ที่รู้ว่าก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่มีแคลอรี่สูง เป็น High Glycemic index food ทำให้อินซูลินทำงานหนัก แต่อยากกิน ทำไงดี ??


เพียงบีบมะนาว 1 ลูก ให้น้ำมะนาวคลุกเคล้าไปกับอาหาร ...
วิทยาศาสตร์การอาหาร พบว่าอาหารรสเปรี้ยวที่อาจผสมด้วย น้ำส้มสายชูกลั่น แอปเปิ้ลไซเดอร์ น้ำมะนาว จะช่วยลดการหลั่งอินซูลินได้ระหว่าง 20%-40% และยังทำให้อาหารถูกย่อยในกระเพาะอาหารนานขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการเหยาะน้ำมะนาว หรือน้ำส้มสายชูกลั่น แอปเปิ้ลไซเดอร์ ก็ทำให้การทานก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้ว ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่มื้อนั้นปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม




อย่างไรก็ตาม อย่าไป อยากกิน บ่อยๆ นะคะ เพราะก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่มีอันตราย

1. มีแคลอรี่สูง เป็น High Glycemic index ทำให้อินซูลินหลั่งออกมาแบบมากมาย

2. ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ต้องใช้น้ำมันทาคั่นระหว่างแผ่นก๋วยเตี๋ยวก่อนนำมาตัด และส่วนมากใช้น้ำมันถูกๆ หรือน้ำมันรีไซเคิล



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Wellness2012 ,เพจ @Be Healthy
ขอขอบคุณภาพจาก : Internet


บันทึกการเข้า




คะแนนน้ำใจ 4171
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดนักโพสดีเด่น
กระทู้: 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 สิงหาคม 2556, 07:24:13 PM »

Permalink: Re: วิธีลดอันตรายของมื้ออาหารที่มีแป้งหรือน้ำตาลมาก

ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index): คืออะไร

ผู้เชี่ยวชาญทางโภชนาการพูดถึง ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) ว่าเป็นวิธีที่ดีที่จะบอกให้รู้ว่าคาร์โบไฮเดรตในอาหารมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไร ดัชนีน้ำตาลเป็นเรื่องสำคัญต่อผู้เป็นเบาหวาน มีอาหารบางประเภทที่แสดงค่าดัชนีน้ำตาลบนฉลากอาหารด้วย
ข้อมูลพื้นฐานของค่าดัชนีน้ำตาล

ค่าดัชนีน้ำตาล Glycemic index (ต่อไปนี้จะเรียกว่า GI) เป็นการจัดลำดับอาหารคาร์โบไฮเดรต อย่างเช่น มัน ขนมปัง ข้าว และ พาสต้ามีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากน้อยเพียงใดหลังจากที่กินอาหารชนิดนั้นๆ 1-2 ชั่วโมง อาหารที่มี GI สูงจะถูกดูดซึมได้เร็วกว่า และเป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงกว่าอาหารที่มี GI ต่ำ อาหารที่มี GI ต่ำจะถูกย่อยช้า จึงทำให้กลูโคสถูกปล่อยเข้าไปในกระแสเลือดอย่างช้าๆ ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะขึ้นช้าไปด้วย

บทสรุป
ค่า GI ของอาหารคาร์โบไฮเดรต จัดลำดับอาหารคาร์โบไฮเดรตตามผลที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือด 1 - 2 ชั่วโมงหลังอาหาร อาหารที่มี ค่า GI สูง (>70) ถูกดูดซึมได้เร็วกว่า และมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าผลที่ได้จากการกิน อาหารที่มี ค่า GI ต่ำ (<55) ค่า GI ถูกกำหนดจากการเปรียบเทียบการตอบสนองของระดับน้ำตาลในเลือดของอาหารที่กินต่ออาหารที่ใช้อ้างอิง   (ขนมปังขาวหรือกลูโคส)ที่มีค่าคาร์โบไฮเดรตเท่าๆกันกับอาหารที่กินคือ 50 กรัม อาหารที่ใช้อ้างอิงถูกกำหนดค่าเป็น 100

การกินอาหารที่มีค่า GI ต่ำอาจช่วยให้เซลล์ร่างกายของคุณใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เซลล์ก็จะนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นการช่วยควบคุมเบาหวานให้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ค่า GI ไม่ใช่สิ่งที่จะตัดสินการเลือกชนิดอาหาร เพราะยังไม่มีอะไรชัดเจน มีปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อ GI ของอาหาร อาทิ วิธีการเตรียมอาหาร อาหารสุกมากน้อยเพียงใด และอาหารอื่นที่กินในมื้อนั้นๆ แล้วยังค่าการตอบสนองต่อกลูโคสของแต่ละคนที่ต่างกันในแต่ละวัน ดังนั้นค่า GI จึงเป็นเครื่องมือที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะนำไปตัดสินการเลือกอาหาร

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก  http://www.diabetescontrolforlife.com/
บันทึกการเข้า




หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: