เหรียง ชื่อวิทยาศาสตร์ :Parkia timoriana Merr.
ชื่อวงศ์ :MIMOSACEAE
ชื่อ อื่น ได้แก่ กะเหรี่ยง, เรียง, สะเหรี่ยง (ใต้); นะกิง, นะริง (มาเลย์-ใต้) (เต็ม สมิตินันทน์, 2523); สะตือ (ใต้) (กัญจนา ดีวิเศษ,2542)
เหรียง เป็นพืชสกุลเดียวกับสะตอ เหรียงเป็นไม้ต้น ต้น เปลา ตรง เกลี้ยง เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง ไม่มีแก่น อ่อนและเปราะ มีเสี้ยนตรงกลางอย่างสม่ำเสมอ เนื้อไม้ผ่าได้ง่าย จึงเหมาะที่จะทำเป็นไม้บางๆ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบเรียงสลับ ใบย่อยจำนวนมาก รูปขอบขนาน ดอกช่อ ออกเป็นช่อกลม ก้านช่อยาว ผล เป็นฝัก แคบ แบน ออกดอกเดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม ติดฝักเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้ทำลังใส่ของ ก่อสร้างภายใน เมล็ด เพาะให้งอก นำไปดอง รับประทานเป็นผัก เปลือกและเมล็ด ขับลมในลำไส้ ถิ่นกำเนิด อินเดีย และปาปัวนิวกินี เป็นพืชเขตร้อน ชอบที่มีน้ำฝนและมีความชุ่มชื้นในอากาศสูง
ไม้ ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 30-50 เมตร ไม่ค่อยมีกิ่งก้านที่ลำต้น เปลือกเรียบและหนาสีเทาปนเขียวอ่อน มีกลิ่นฉุน ลักษณะทั่วไปคล้ายสะตอ แต่พุ่มใบแน่น และเขียวทึบกว่า ใบใหญ่และหนากว่าสะตอ ลักษณะใบเป็นแบบช่อ ใบประกอบมี 18-33 คู่ ใบแคบปลายแหลม ใบแก่จะเป็นสีเหลืองร่วงเกือบหมดต้น และผลิใบใหม่แทน ลักษณะดอกเป็นดอกช่อแบบสะตอ ออกที่ปลายยอด เป็นก้านยาวสีเขียวสลับน้ำตาล ลักษณะผลเป็นฝัก กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยางประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมล็ดรูปไข่ ประมาณ 15-20 เมล็ดต่อฝัก ฝักแก่เต็มที่มีสีดำ เมล็ดในสีดำ เนื้อในเมล็ดมีสีเขียวเข้ม และมีกลิ่นฉุน
เปลือกต้นเป็นยาสมานแผล ลดน้ำเหลือง เมล็ดเมื่อแก่ตัดส่วนปลายนำไปเพาะให้แตกรากสั้นๆ รับประทานสดหรือดองที่มา.....www.scitour.most.go.th