หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ปรับพฤติกรรมป้องกัน “กรดไหลย้อน”  (อ่าน 1452 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออนไลน์ ออนไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2558, 08:22:50 AM »

Permalink: ปรับพฤติกรรมป้องกัน “กรดไหลย้อน”




ปรับพฤติกรรมป้องกัน “กรดไหลย้อน”





คนเมือง ที่มีไลฟ์สไตล์เร่งรีบ ต้องเผชิญกับความเครียด หรือกินอาหารไม่ตรงเวลา
 ล้วนเป็นสาเหตุหลักของโรคกรดไหลย้อน ที่อาจกลายเป็นมะเร็งในหลอดอาหารได้ค่ะ

นพ.บุญชัย โควาดิสัยบูรณะ แพทย์ประจำศูนย์โรคทางเดินอาหารและตับกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า
ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคกรดไหลย้อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยพบได้ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดท้องตอนบน(Dyspepsi)
แต่มีบางรายอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งในลำคอ
โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหูรูด หลอดอาหาร หรือการบีบตัวของหลอดอาหารผิดปกติ
หรือยังมีสาเหตุจากแรงดันในช่องท้องสูงจากภาวะอ้วน หรือการใส่เสื้อผ้ารัดแน่น

รวมถึงพฤติกรรมอื่นๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลม ดื่มสุรา กินของทอด ของมัน และอาหารรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด
 ไปจนถึงกินอาหารดึกดื่นแล้วล้มตัวลงนอนทันที ทำให้เกิดการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นมาที่หลอดอาหารได้

โดยจะทำให้มีอาการแสบร้อนในทรวงอก เรอเปรี้ยว ขย้อนอาหาร และจุกแน่นถึงคอ อาจทำให้เกิดอาการเสียงแหบ
 ไอเรื้อรัง ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ลิ้นเป็นฝ้า ฟันผุ มีกลิ่นปาก หลอดลมอักเสบ หอบหืด หรือปอดอักเสบ
ภาวะกรดไหลย้อนทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบเรื้อรังได้ หากเป็นนานๆ โดยรักษาไม่ถูกต้อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน
 เช่น หลอดอาหารตีบ เลือดออกจากการอักเสบ หรือแผลในหลอดอาหาร และมีความเสี่ยงในการเกิดการเปลี่ยนแปลง
ของเยื่อบุหลอดอาหาร (Barrett’s esophagus) และมะเร็งหลอดอาหาร

การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน ทำได้ทั้งการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน การตรวจวัดกรด-ด่าง
ในหลอดอาหาร 24 ชั่วโมงโดยการติดแคปซูล หรือการตรวจวัดการบีบตัวของหลอดอาหารและหูรูดหลอดอาหาร
จากนั้นแพทย์จะรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักษาด้วยยาลดกรด ผ่าตัดรัดหูรูดกระเพาะอาหาร
รวมทั้งการตรวจแบบ BRAVO PH Monitoring หรือเทคโนโลยีตรวจกรดไหลย้อนแบบไร้สาย
ที่จะตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร

ซึ่งเป็นวิธีการตรวจแบบใหม่ที่เพิ่มความสะดวกคล่องตัวในการตรวจกรดไหลย้อน ที่เห็นผลดี โดยไม่ต้องใส่สายตรวจผ่านจมูก
โดยผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้เหมือนปกติ เช่น นอน อาบน้ำ การตรวจด้วยวิธีนี้ยังช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นด้วยค่ะ

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ




บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: