You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดสุขภาพสุขภาพ (ผู้ดูแล: ญิบสลิล ณ นคร, หมอกริชครับ...คมกริช... คมกริช)ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)  (อ่าน 1455 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 09 ธันวาคม 2560, 08:51:44 PM »

Permalink: ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)
ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)
คือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดโดยพบได้ร้อยละ 1-2 ในประชาชนทั่วไป
โอกาสของการเกิดภาวะนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุโดยประชาชนในกลุ่มอายุ 80-90 ปีจะพบได้สูงถึงร้อยละ 5-15
นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ โดยผู้ที่เป็นโรคหัวใจชนิดอื่น เช่น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จะพบภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้สูงขึ้น
 
ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วคืออะไร
สาเหตุของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
ชนิดของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

อาการ
การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
แนวทางการรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วคืออะไร
ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คือภาวะที่มีการกระตุ้นของหัวใจห้องบนแบบกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ
ทำให้การบีบตัวของหัวใจห้องบนเสียไป ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ โดยผลแทรกซ้อนของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คือ
 ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดออกไปได้ลดลง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะนำไปสู่ภาวะหัวใจวายในที่สุด
 และการทำให้เลือดหมุนวนตกค้างในหัวใจห้องบนสามารถก่อให้เกิดลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง
ได้สูงกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่าซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต
 
สาเหตุของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะความดันโลหิตสูง
 โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น
โรคในระบบอื่นๆ เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะหลังการผ่าตัด
 เลือดออกในสมอง สมองขาดเลือด เป็นต้น
ไม่ทราบสาเหตุ

ชนิดของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
First diagnosed atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นครั้งแรก
Paroxysmal atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เกิดขึ้นและกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติได้เอง
 ส่วนใหญ่ภายใน 24 ชั่วโมง แต่อาจเป็นนานได้ถึง 7 วัน
Persistent atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน
หรือไม่สามารถกลับมาเต้นเป็นปกติได้เอง ต้องได้รับการรักษา
Long standing persistent atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เป็นต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปี
 โดยแพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจรักษาให้กลับมาเต้นเป็นปกติ
Permanent atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เป็นต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปี
โดยแพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจว่าจะไม่พยายามรักษาให้กลับมาเต้นเป็นปกติ

อาการ
ผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมากกว่าครึ่งไม่มีอาการโดยตรง แต่มาพบแพทย์ด้วยผลแทรกซ้อนโดยเฉพาะอัมพาตตามส่วนต่างๆ
 ของร่างกายแทน ส่วนที่เหลือมาพบแพทย์ด้วยอาการดังต่อไปนี้
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ
เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
เหนื่อยขณะออกกำลังกาย
ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
เจ็บหรือแน่นหน้าอก
เวียนศีรษะ
หายใจลำบาก
เป็นลมหมดสติ

การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
การตรวจชีพจรและอัตราการเต้นของหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram)
การตรวจอื่นๆ ทางห้องปฏิบัติการ เช่น
การตรวจหาภาวะซีดโลหิตจางหรือไตวาย
การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
การตรวจเอกซเรย์ปอด
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)

แนวทางการรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
การรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาอาการและลดภาวะแทรกซ้อนเป็นหลัก
ซึ่งมีผลช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลได้ โดยการพิจารณาการรักษาที่เหมาะสม
กับผู้ป่วยแต่ละรายจะขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุของผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วย อาการ อาการแสดง โรคอื่นๆ
ที่เป็นอยู่ร่วมด้วย และชนิดของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เป็นต้น โดยมีวิธีการหลายอย่าง ดังนี้

การใช้ยาโดยมีวัตถุประสงค์ คือ
เพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจไม่ให้เร็วจนเกินไป (rate control)
เพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (rhythm control)
เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจห้องบนเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันในอวัยวะสำคัญส่วนอื่นของร่างกาย
การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (cardioversion) ให้กลับเต้นปกติ
การใช้สายสวนหัวใจเพื่อตัดวงจรไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (radiofrequency ablation)
 หรือความเย็นจัด (cryoablation) ทำให้หัวใจกลับเต้นปกติ

ขอบคุณที่มา 
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: