-/> ..สำหรับคุณแม่มือใหม่....ตั้งครรภ์แล้ว ทำไงต่อล่ะ

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดสุขภาพสุขภาพ (ผู้ดูแล: ญิบสลิล ณ นคร, หมอกริชครับ...คมกริช... คมกริช)..สำหรับคุณแม่มือใหม่....ตั้งครรภ์แล้ว ทำไงต่อล่ะ
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ..สำหรับคุณแม่มือใหม่....ตั้งครรภ์แล้ว ทำไงต่อล่ะ  (อ่าน 1519 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,135
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 23 พฤษภาคม 2558, 12:56:30 PM »

Permalink: ..สำหรับคุณแม่มือใหม่....ตั้งครรภ์แล้ว ทำไงต่อล่ะ




ตั้งครรภ์แล้ว ทำไงต่อล่ะ


ระหว่างการตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จะพบกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆทางร่างกายจนน่าประหลาดใจ ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นทำให้หน้าอกใหญ่ขึ้น
มดลูกขยายตัว และผิวหนังแตกลาย อาจเกิดอาการสูญเสียเส้นผม และความทรมานจากความหิวที่มากขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
 และอยากรับประทานของแปลกๆอย่างผักดอง หรือไอศครีม และแน่นอน ท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่ในระหว่างที่ทารกเริ่มเจริญวัย
จงอย่าเครียดหรือกังวลกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะมันคือส่วนหนึ่งของการตั้งครรภ์ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ
 และดูแลตัวเองให้ดีที่สุด

โดยเฉลี่ยแล้วการตั้งครรภ์จะใช้เวลาประมาณ 283 วันโดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงตามระยะการตั้งครรภ์ต่างๆ
โดยแต่ละช่วงจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแตกต่างกันไป การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกิดเร็วขึ้นหรือช้าลงกว่าที่กำหนดไว้
ไปตามแต่ละบุคคล และอาจเกิดขึ้นต่อเนื่องหลังจากหมดระยะการตั้งครรภ์ที่อาการได้แสดงออกมาเป็นครั้งแรก

ระยะแรก (สัปดาห์ที่0-12)
ช่วงระยะแรกเป็นช่วงที่สำคัญมากระหว่างคุณแม่และทารกในครรภ์ ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ในชีวิตประจำวันของตัวคุณแม่
ในระยะนี้ ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มเตรียมตัวเองสำหรับอีกเก้าเดือนข้างหน้า จะเกิดการเปลี่ยนแปลง
ที่เป็นผลจากฮอร์โมนมากมายในร่างกาย คุณแม่จะต้องพบกับประสบการณ์ต่างๆนานา
จากอาการของร่างกาย และอารมณ์ของตัวเอง

ในช่วงสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์ร่างกายอาจรู้สึกอ่อนเพลียมาก คุณแม่ไม่ควรรู้สึกแย่กับความอ่อนเพลีย
ที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายกำลังทำงานอย่างหนัก และระบบภายในต่างๆกำลังปรับตัวรองรับระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น
ควรหาโอกาสพักผ่อนให้ได้มากที่สุด

คุณแม่อาจจะต้องเผชิญกับอาการแพ้ท้องในตอนเช้า ซึ่งอาการจะหนักที่สุดในช่วงอาทิตย์ที่ 8-12 น้ำลายจะเริ่มถูกผลิตออกมามากผิดปกติ
 ปัสสาวะบ่อย อารมณ์แปรปรวน รำคาญง่าย มีฝ้าบนใบหน้า ตัวพอง และอยากอาหาร หน้าอกจะมีความรู้สึกไวต่อการกระตุ้น
 หรือรู้สึกอวบและหนักขึ้น หัวนมและพานนมจะมีการขยายขึ้นรวมถึงมีสีที่คล้ำขึ้น

ผู้หญิงหลายคนต้องเผชิญกับอาการปวดหัวในช่วงระยะแรก ซึ่งเกิดจากน้ำตาลในเลือดต่ำหรือเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง
เวลาที่มีการยืนหรือนั่งที่เร็วเกินไป ระหว่างระยะแรกน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นมา 1-3 กิโลกรัม

คุณแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงในการแท้งบุตรซี่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดขึ้น
 คุณแม่อาจจะพิจารณาการทำอัลตร้าซาวน์ ซึ่งจะช่วยให้เห็นด้านหลังของคอทารกและสามารถวิเคราะห์โอกาสที่ทารกจะมีอาการของดาวน์ซินโดรม






ระยะที่สอง (สัปดาห์ที่ 13 -25)

ระยะที่สอง โดยปกติ จะเป็นระยะที่คุณแม่รู้สึกดีที่สุด ในระยะนี้ คุณแม่จะรู้สึกแข็งแรงขึ้นกว่าเดิมโดยรวม มีความต้องการทางเพศมากขึ้น
และผิวหนังเปล่งปลั่งขึ้นพร้อมกับรูปร่างที่เปลี่ยนไป ในช่วงนี้คุณแม่จะหายจากอาการแพ้ในตอนเช้าและอาการเหนื่อยล้า
ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ถ้าคุณแม่ยังรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ในการรับวิตามินบี 6 เพิ่มขึ้น

ในช่วงระหว่างนี้ คุณแม่จะรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว ซึ่งส่วนมากจะเป็นสาเหตุมาจาก ผิวที่เริ่มแห้งกร้านช่วงบริเวณท้อง
ปวดบริเวณช่วงท้อง ลมในกระเพาะอาหาร หายใจได้สั้นลง รู้สึกเสียวที่หัวใจ ผิวแตกลาย และมีอาการบวมที่บริเวณมือ
เท้า ข้อเท้า และใบหน้า การเป็นตะคริวบริเวณข้อเท้าและอุ้งเท้าเป็นเรื่องปกติในการตั้งครรภ์ระยะที่สอง
และอาจเกิดขึ้นจากความเหนื่อยล้าหรือได้รับแรงกดจากมดลูกลงสู่เส้นประสาทบริเวณขา
ฝ่ามือและฝ่าเท้ามีอาการคันและเป็นผื่นแดงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน

ระหว่างช่วงที่ฮอร์โมนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่างกายจะใช้เวลาทั้งหมดสามเดือนในการปรับตัว
ดังนั้นคุณแม่อาจไม่สามารถทนอดกลั้นน้ำตากับหนังโศกเศร้าเคล้าน้ำตาได้ โดยไม่ปล่อยโฮออกมา

ระยะที่สาม (สัปดาห์ที่26-40)
ในระยะนี้ น้ำหนักของคุณแม่จะขึ้น 0.5-1 กิโลกรัมต่ออาทิตย์จนกว่าจะเข้าสัปดาห์ที่ 36 หรือ37 ทารกจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นมาอีก
 3 ใน 4 ของน้ำหนักตัว เพราะฉะนั้นน้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นระหว่าง 10-12 กิโลกรัม

เนื่องจากช่วงท้องที่มีการขยาย ร่างกายของคุณแม่จะเสียสมดุลย์ ทำให้เกิดอาการปวดหลัง การบวมของเส้นเลือดดำ
 อาการเจ็บบริเวณขาหนีบ หายใจสั้น และอาการเหนื่อยล้า ถือเป็นอาการปกติในช่วงระยะสุดท้ายของการ “ตั้งครรภ์”
การพักผ่อนที่เพียงพอ สวมใส่เสื้อผ้ารองเท้าที่สวมใส่สบายและการออกกำลังเบาๆ เป็นสิ่งสำคัญในระหว่างการตั้งครรภ์ระยะนี้
  เนื่องด้วยว่าคุณแม่จะเริ่มรู้สึกไม่ค่อยสบายเนื้อสบายตัว อาจทำให้คุณแม่ได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอเท่าที่ควร
พยายามชดเชยโดยการหาเวลางีบในระหว่างวัน และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอนเพื่อจะได้ไม่ต้องตื่นมาใช้ห้องน้ำในตอนกลางคืนบ่อยๆ

พอถึงสัปดาห์ที่ 36 คุณแม่ต้องเริ่มเตรียมตัวสำหรับการคลอด เตรียมของใช้ที่จำเป็น
สำหรับเด็กทารกให้พร้อมกับที่วางแผนไว้ ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคขวดนม ระหว่างช่วงก่อนคลอดนี้
ร่างกายของคุณแม่จะรู้สึกถึงการบีบรัดที่เพิ่มขึ้น หน้าอกของคุณแม่จะเริ่มปรับตัวสำหรับเด็กแรกเกิด และเริ่มมีน้ำนมไหลออกมา

ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดี
ควร:
    รับประทานวิตามินสำหรับหญิง “ตั้งครรภ์”
    รักษาน้ำหนักให้คงที่
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    หาวิธีคลายเครียด
    พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายก่อนคลอด
    ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่รับประทาน

ไม่ควร:
    สูบบุหรี่
    ดื่มแอลกอฮอล์
    เสพยาเสพติด
    รับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการทำให้สุก หรือ ไข่ที่ไม่สุก


ที่มา...






บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: