-/> เวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเคลง

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเคลง  (อ่าน 1551 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,135
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2558, 11:06:33 AM »

Permalink: เวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเคลง









เวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเคลง :
สัญญาณบ่งชี้ความผิดปกติของอวัยวะการทรงตัว


‘เวียนศีรษะ’ (dizziness) เป็นอาการที่ทุกคนไม่อยากประสบกับตนเอง เป็นคำที่มีความหมายกว้าง
อาจหมายถึงมึนเวียนศีรษะ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติได้หลากหลายสาเหตุ กับคำว่า เวียนศีรษะแท้ (vertigo)
ที่มักจะมีอาการหมุนร่วมด้วย ซึ่งประการหลังนี้เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะการทรงตัว

ในที่นี้จะขอกล่าวเพียง เวียนศีรษะแบบหมุน อาจมีความรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมหมุน หรือตัวเองหมุน ร่วมกับอาการโคลงเคลง
 บางรายเป็นเพียงระยะสั้น ๆ อยู่เพียงไม่กี่วินาทีแล้วหายไป หรือ อาจจะนานเป็นหลายนาทีจนถึงหลายชั่วโมง
บางรายจะมีอาการหูอื้อ มีการได้ยินบกพร่อง หรือมีเสียงผิดปกติในหู สาเหตุของความผิดปกตินี้ เกิดได้ตั้งแต่ความผิดปกติ
ของระบบการทรงตัวส่วนปลาย (หูชั้นในและเส้นประสาทการทรงตัว) หรือ ระบบการทรงตัวในระบบประสาทส่วนกลาง

สำหรับอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่เกิดจากอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นในหรือประสาทหู มีโรคพบบ่อย ๆ ได้ดังนี้

หินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign paroxysmal position vertigo - BPPV) เป็นโรคที่ก่อให้เกิด
อาการเวียนศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากหินทรงตัว (Calcium Carbonate – otolithic crystal) ในหูชั้นในเคลื่อนหลุด
ออกจากที่อยู่เดิม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะเป็นระยะสั้น ๆ ขณะเปลี่ยนท่า เช่น ขณะล้มตัวลงนอน หรือลุกขึ้นนั่ง

น้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) เกิดจากความแปรปรวน
ของน้ำในหูชั้นใน (endolymphatic hydrop)ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะนานหลายนาทีหรืออาจต่อเนื่องเป็นหลายชั่วโมง
อาการจะหายไปแล้วกลับมาเป็นอีกได้ โดยอาจจะห่างเป็นเดือนหรือเป็นปี เมื่อโรคเป็นรุนแรงขึ้นอาการจะเป็นถี่ขึ้น
และหูข้างที่มีปัญหาจะได้ยินเสียงน้อยลงเรื่อย ๆ ร่วมกับเสียงผิดปกติในหู

เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ (Vestibular neuritis) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตรงเส้นประสาทการทรงตัว
ทำให้สัญญาณประสาทการทรงตัวที่ส่งไปสู่สมองไม่สมดุล ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะนานหลายวัน
โดยไม่มีอาการทางระบบประสาทสมอง หลังจากหายเวียนศีรษะแบบหมุนแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการโคลงเคลง และทรงตัวไม่ดีไปอีกระยะหนึ่ง

เนื้องอกประสาทหู (Acoustic neuroma) ผู้ป่วยจะมีอาการเสียงผิดปกติในหู การได้ยินลดลง
ร่วมกับเวียนศีรษะแบบโคลงเคลง ซึ่งเกิดจากการที่มีเนื้องอกจากประสาทหู หากปล่อยไว้นาน ก้อนเนื้องอกจะโตขึ้นเรื่อย ๆ
จนสามารถไปกดเส้นประสาทสมองและเนื้อสมองได้






นอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ ได้แก่ โรคประสาทหูถูกทำลายจากยา (ototoxicity),
 โรคประสาทหูดับฉับพลัน (Sudden sensorineural hearing loss) หรือ
การเสื่อมถอยของอวัยวะการทรงตัว เป็นต้น

สำหรับขั้นตอนการรักษา ในระยะแรกแพทย์จะทำการรักษาตามอาการ โดยผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะมากร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน
 ควรได้รับการรักษาตามอาการโดยแพทย์ใกล้ตัว หรือแพทย์ประจำตัว เพื่อให้อาการทรมานจากการเวียนศีรษะลดลง
 และไม่ขาดสารน้ำ ขั้นตอนต่อไป ในรายที่สงสัยว่าสาเหตุน่าจะมาจากความผิดปกติของอวัยวะการทรงตัว
 แพทย์จะทำการตรวจทดสอบต่าง ๆ เพื่อให้ได้คำวินิจฉัยและวางแผนการรักษา

ในการรักษาจำเพาะต่อโรคชนิดต่าง ๆ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการรักษาขึ้นมากตามลำดับ
 ตั้งแต่การทำ Canalith Repositioning Maneuver, การผ่าตัด Posterior Semicircular canal occlusion
ในรายที่เป็น BPPV, การรักษาโดยการฉีดยาเข้าไปสู่หูชั้นใน (Intratympanic injection)
 ในรายโรคน้ำในหูชั้นใน หรือโรคหูดับ เป็นต้น

ส่วนขั้นตอนสุดท้ายคือการฟื้นฟู ผู้ป่วยบางรายถึงแม้จะหายเวียนศีรษะแบบฉับพลันแล้ว พยาธิสภาพของโรค
ยังคงทำให้มีการเสียสมดุลของการทรงตัว มีอาการโคลงเคลงเรื้อรัง จึงทำให้คุณภาพชีวิตด้อยลงไป
ในรายเหล่านี้สามารถช่วยได้โดยการฝึกฝนหรือทำกายภาพบำบัด (Rehabilitation)
เพื่อให้การทำงานและสมดุลของการทรงตัวดีขึ้น

ผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจมีอาการเข้าข่ายโรคในกลุ่มที่เกี่ยวกับระบบประสาทหู สามารถเข้ารับการตรวจโดยละเอียด
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยในการตรวจวินิจฉัยเฉพาะทาง ตั้งแต่เครื่องมือที่ใช้ตรวจความผิดปกติทั่วไป
 เช่น เครื่องตรวจการได้ยิน (audiogram) และ เครื่องตรวจภาวะแรงดันของหูชั้นกลาง (tympanogram)
จนถึงเครื่องมือที่สามารถตรวจการทำงานของระบบประสาทหูได้ลึก
ไปถึงระดับก้านสมอง (Auditory brain stem response, ABR) เครื่องทดสอบการทำงาน
ของเซลล์ขนในหูชั้นใน (Otoacoustic emission, OAE) และเครื่องตรวจการได้ยิน
ในระดับก้านสมอง (Auditory steady state response, ASSR)

ส่วนการตรวจระบบประสาทการทรงตัว ทำได้โดย เครื่องมือเฉพาะสำหรับตรวจการทำงาน
ของอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน (Videonystagmography, VN6) เครื่องตรวจแรงดันน้ำ
ในหูชั้นใน (Electrocochleography, ECOG) และเทคโนโลยีใหม่ที่ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
นำมาใช้ในคลินิกเกี่ยวกับผู้มีปัญหาด้านการทรงตัว ที่เรียกว่า Posturography ซึ่งครอบคลุมการทำงาน
ตั้งแต่การตรวจหา การวินิจฉัย และการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการทรงตัว ด้วยระบบการทดสอบ 6 ระดับ
ทำให้สามารถวินิจฉัยแยกได้ว่าความผิดปกติของอาการมาจากระบบการทรงตัว สายตา สมอง หรือเกิดจากสาเหตุใด
เพื่อการรักษาที่ตรงจุด พร้อมขั้นตอนการฟื้นฟูมากกว่า 20 โปรแกรมตามลำดับอาการ

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน แม้ได้รับการรักษาแล้วผู้ป่วยบางรายก็ยังต้องได้รับการฟื้นฟูในระยะยาว
หรือในบางโรคอาจส่งผลเรื้อรังและแสดงอาการมากขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา
ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำให้ผู้ที่เคยมีประวัติการเวียนศีรษะบ้านหมุน โคลงเคลง หรือสงสัยว่าตนเองอาจมีปัญหา
เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว ควรเข้ารับการตรวจร่างกายและตรวจทดสอบจากแพทย์
เพื่อการรักษาและการฟื้นฟูเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์


บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: