You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดความบันเทิงห้องศิลปะ (ผู้ดูแล: สมพล ช่วยบุญส่ง)ขนมพื้นบ้าน`ข้าวต้มมัด` ภูมิปัญญาไทย
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ขนมพื้นบ้าน`ข้าวต้มมัด` ภูมิปัญญาไทย  (อ่าน 1822 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,135
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2558, 03:59:52 PM »

Permalink: ขนมพื้นบ้าน`ข้าวต้มมัด` ภูมิปัญญาไทย




ขนมพื้นบ้าน`ข้าวต้มมัด` ภูมิปัญญาไทย

 องค์ความรู้ วิธีการ ทักษะ ความเชื่อ แนวปฏิบัติและการแสดงออก
ที่พัฒนาขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ ความหมายที่อธิบายถึง
 ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล อันเป็นอีกหนึ่งสาขามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
          สืบเนื่องจากการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาที่เสี่ยงต่อการสูญหายโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
ในสาขาดังกล่าวปีนี้ขึ้นทะเบียน ข้าวต้มมัด ขนมพื้นบ้าน พร้อมด้วย เมี่ยงคำซึ่งเป็นอาหารว่าง อีกทั้งยังมี
มังคุดคัดภูมิปัญญาการนำมังคุดดิบมาคัดเอาเปลือกออก โดยให้เนื้อและเมล็ดคงรูปเดิม แกงพุงปลา รวมถึง
 น้ำตาลมะพร้าว เพิ่มขึ้นในประเภทอาหารและโภชนาการ





          ข้าวต้มมัด ขนมพื้นบ้านที่คุ้นเคยเป็นที่รู้ จักกันมาช้านาน
ขนมพื้นบ้านดังกล่าวนอกเหนือจากคุณค่าด้านโภชนาการแล้ว ยังแสดงให้เห็น ถึงภูมิปัญญาไทยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น
 ทรงคุณค่า อีกทั้งยังมีเรื่องชวนรู้ ชวนศึกษาอีกหลายด้าน
          ขนมดังกล่าวจัดอยู่ในเครื่องไทยทานถวายพระภิกษุในเทศกาลตักบาตรเทโวและเทศกาลออกพรรษา
เป็นหนึ่งในขนมที่นิยมทำกันทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยมีชื่อเรียกต่างกัน ไป รวมถึงมีส่วนประกอบ
และวิธีการทำที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามยังคงเอกลักษณ์โดดเด่นซึ่งได้แก่ ข้าวเหนียว
 กล้วยน้ำว้า น้ำตาล เกลือเล็กน้อยและวัสดุที่ นำมาใช้ห่อ คือ ใบตองและวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น
          ข้าวต้มมัดหรือข้าวต้มผัด ในภาคกลางจะเรียกตามกรรมวิธีการทำ ขณะที่ข้าวต้มมัด
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางแห่งเรียก ข้าวต้มกล้วย ซึ่งทำได้สองลักษณะคล้ายกับทางภาคกลางและไม่ใส่กะทิ
          ส่วนทางภาคเหนือเรียก ข้าวต้ม ซึ่งการทำไม่แตกต่างจากทางภาคอีสาน
ข้าวต้มของคนล้านนาจะใส่กล้วยน้ำว้าผ่าสุกครึ่งหนึ่งเรียกว่า ข้าวต้มกล้วย





ข้าวต้มถั่วดิน บ้างเรียก ข้าวต้มหัวหงอก
 ส่วนทางภาคใต้จะคล้ายคลึงกับทางภาคกลางเรียก ว่า เหนียวห่อกล้วยคือข้าวเหนียวขาวห่อกล้วยไว้โดยรอบ ห่อด้วยใบตอง
ใช้เชือกพันมัดหัวท้ายให้แน่นนอกจากนี้ยังมี ข้าวต้มลูกโยนหรือข้าวต้มที่ใช้ข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีกล้วย
ห่อด้วยใบพ้อผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม
          ซึ่งในส่วนนี้มีตำนานเล่าขานต่อกันมาว่า สมัยพุทธกาลชาวบ้านเบียดเสียดกันใส่บาตรพระพุทธเจ้า
บางคนเข้าไม่ถึงจึงใช้วิธีการโยนข้าวต้มไปแทน จึงกลายเป็นข้าวต้มลูกโยนนับแต่นั้นมา
          ในคุณค่าทางโภชนาการข้าวต้มมัดที่ได้รับการยอมรับเป็นอาหารว่างหรือขนมไทยที่ให้สารอาหารครบห้าหมู่ใน
 ห่อเดียวกัน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตซึ่งให้พลังงานจากข้าวเหนียว, วิตามิน และแร่ธาตุจากกล้วย,
 โปรตีนจากถั่วดำ ไขมันจากกะทิ
          อีกทั้งยังเป็นอาหารที่สามารถพกพาไปในที่ต่าง ๆ ได้โดยสะดวก ทานง่ายไม่ต้องใช้ภาชนะ
ซึ่งเหมาะแก่การเป็นเสบียงอาหารในเวลาเดินทางทั้งยังเป็นอาหารในยามเกิดภัยพิบัติที่อาหารหลักขาดแคลนเข้าถึงยาก
 และที่โดดเด่นถ่ายทอดแสดงถึงภูมิปัญญาแยบยลของคนโบราณไว้อย่างสมบูรณ์
 


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: