เด็กหญิงวัลลี สัญลักษณ์ของความกตัญญู
เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวดีๆ สำหรับความกตัญญูที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เรื่องราวของวัลลี ณรงค์เวทย์ เด็กหญิงยอดกตัญญู
ที่ดูแลแม่ที่ป่วยเป็นอัมพาตและยายที่ตาบอด ด้วยความกตัญญูนี้เอง ส่งให้เด็กหญิงวัลลีในขณะนั้นได้ลงหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่ง
และได้รับคำชื่นชมมากมายจากบุคคลทั่วไป
แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 30 ปี แต่ภาพความกตัญญูของวัลลียังตราตรึงในความรู้สึกของคนทั่วไป
ภาพเด็กน้อยที่ช่วงพักกลางวันต้องวิ่งจากโรงเรียน เพื่อมาดูแลแม่ที่เป็นอัมพาต และยายที่ตาบอด ยังเป็นที่จดจำได้ดี
เรื่องราวความกตัญญูของวัลลีจึงถูกนำเสนอในสื่อ และมีการถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์เรื่องวัลลี เด็กหญิงยอดกตัญญู
สำหรับ วัลลี บุญเส็ง (ณรงค์เวทย์) เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เด็กหญิงวัลลี
หรือ เด็กหญิงวัลลียอดกตัญญู (ตามชื่อภาพยนตร์อัตชีวประวัติ) เป็นชาวสมุทรสงครามโดยกำเนิด
วัลลีเป็นที่รู้จักจากเหตุการณ์ความกตัญญูในวัยเด็กของเธอที่เลี้ยงดูวิไล ณรงค์เวทย์ มารดาที่ป่วย
และยายตาบอดเพียงลำพังขณะที่ยังอยู่เพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโรงธรรม (มิตรภาพที่ 70) อำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสงคราม โดยไม่มีใครสนใจ
จนในปี พ.ศ. 2524 หลังจากคณะครูโรงเรียนวัดโรงธรรมทราบถึงเหตุการณ์ดังกล่าวจึงได้พยายามช่วยเหลือ
และเรื่องความกตัญญูของเธอได้แพร่ไปจนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐนำไปลงพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์
วัลลีจึงกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ และมีผู้นำเรื่องราวของเธอไปทำหนังสือและสร้างภาพยนตร์
ที่ทำให้มีผู้กล่าวขวัญถึงเธอมาอยู่จนปัจจุบัน
ปัจจุบันวัลลียังคงอยู่ที่บ้านเดิมในจังหวัดสมุทรสงคราม
และแต่งงานกับ พันตำรวจโท ธนพัฒน์ บุญเส็ง (ในขณะดำรงยศสิบตำรวจโท) มีบุตร 2 คน
ปัจจุบันประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย, mcot
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก :
http://www.tnamcot.com/2015/01/09/