-/> ซึมเศร้า โรคขี้เหงาของคนเมือง

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ซึมเศร้า โรคขี้เหงาของคนเมือง  (อ่าน 5318 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2557, 08:22:37 AM »

Permalink: ซึมเศร้า โรคขี้เหงาของคนเมือง






ซึมเศร้า โรคขี้เหงาของคนเมือง

องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า โรคซึมเศร้าจะเป็นปัญหาอันดับ 1
 เทียบเท่าโรคหัวใจขาดเลือดในอีก 14 ปีข้างหน้า
นอกจากนี้ยังเป็นภาระทางสังคมและเศรษฐกิจอันดับ 7 ของโลก ในขณะที่คนไทยกว่าร้อยละ 5 เป็นโรคซึมเศร้า
โดยไม่รู้ตัว

อะไรกันแน่ที่เกิดขึ้นกับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ทั้งๆ ที่ประชาชนมีรายได้มากขึ้น มีการศึกษาดีขึ้น
 และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจดีขึ้น เป็นไปได้หรือไม่ที่สิ่งเหล่านี้อาจไม่มีค่าเท่าความมั่นคงทางจิตใจ
ทำให้หลายคนเกิดความเครียดสะสมจนกลายเป็นโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder)




ทำไมเราจึงรู้สึกซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าคืออาการที่เกิดได้กับทุกคนเป็นครั้งคราว เป็นปฏิกิริยาทางจิตใจต่อความกดดันหรือความสูญเสีย
ทั้งการเสียชีวิตของคู่แต่งงานและคนในครอบครัว การย้ายที่อยู่ ย้ายที่ทำงาน จากสภาพอากาศ
 เช่น วันที่ฝนตก หรือฤดูหนาว จนทำให้รู้สึกหดหู่ และเกิดอาการซึมเศร้าตามมา
 ถือว่าเกิดจากปัจจัยภายนอกและมีผลดีต่อการพัฒนาศักยภาพส่วนตัวในการเผชิญอุปสรรคต่างๆ

แต่สำหรับโรคซึมเศร้ามักมีปัจจัยภายในอื่นๆ ร่วมด้วย คือกรรมพันธุ์ เนื่องจากคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักมียีน (ที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า)
เป็นส่วนประกอบ จึงพบผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในครอบครัวเดียวกัน
 โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันมีสถิติเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าปกติ
ความบกพร่องของสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) คือสารโดปามีน (Dopamine)
 นอร์เอฟิเนฟรีน (Norepinephrine) สารซีโรโตนิน (Serotonin) ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ

ที่สำคัญคือสารซีโรโตนินในสมองต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เมื่อสารซีโรโตนินสูงขึ้น
ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น หรือหายจากอาการซึมเศร้า แต่ถ้าสมองหลั่งสารซีโรโตนินมากเกินไป
จะส่งผลให้เกิดอาการก้าวร้าวได้เช่นกัน

เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายสองเท่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงต่างๆ
เช่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การแท้ง ภาวะหลังคลอด และวัยทอง แต่ถ้าผู้ชายเป็นโรค
ซึมเศร้ามักฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิง

นอกจากนี้การกินยาในโรคบางชนิดอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคมะเร็ง และการกินอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนหรือไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
จึงต้องแจ้งแพทย์ถึงยาที่กินประจำเมื่อรักษาด้วย
สัญญาณเตือนเมื่อโรคซึมเศร้ามาเยือน

เมื่อเป็นโรคซึมเศร้าจะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน คือ
1. อารมณ์รู้สึกซึมเศร้า กังวลอยู่ตลอดเวลาหงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธง่าย อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย
2. ความคิดรู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้ายรู้สึกตนเองผิด ไร้ค่า ไม่มีทางเยียวยา อยากทำร้ายตนเอง หรืออยากฆ่าตัวตาย
3. การเรียนรู้หรือการทำงาน ไม่สนใจในสิ่งแวดล้อม หมดความสนุกและไม่มีความสุขในการทำงาน
 งานอดิเรก และกิจกรรมทางเพศรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลัง ทำงานล่าช้าและแย่ลง ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง
4. พฤติกรรมนอนไม่หลับ ตื่นเร็วหรือหลับมากเกินไป
เบื่ออาหาร หรือกินอาหารมากไป
บางคนมีอาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดท้องเรื้อรัง ท้องผูก
ความสัมพันธ์กับคนอื่นแย่ลง ไม่อยากเข้าสังคม
ข้อสังเกตสำคัญของโรคซึมเศร้าคือ มี อาการนานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป และผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตนเอง
กำลังเป็นโรคซึมเศร้า เพราะคิดแค่เรื่องเฉพาะหน้าว่าหดหู่ เบื่อ เซ็ง วิตกกังวล ตกอยู่ในวังวนความคิดตนเองเท่านั้น
คนใกล้ชิดจึงมีส่วนสำคัญในการกู้สถานการณ์ที่เลวร้ายของผู้ป่วยให้กลับมา เมื่อเห็นญาติหรือเพื่อนมี

พฤติกรรมแปลกไป อารมณ์เปลี่ยนแปลง นอนไม่หลับ น้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างรวดเร็ว ไม่ค่อยพูดจาเหมือนเคยนานกว่า 2 สัปดาห์
 ให้สงสัยว่าเขาอาจเป็นโรคซึมเศร้า ควรพาไปพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด

โรคที่มีอาการใกล้เคียงกับโรคซึมเศร้า
อารมณ์ซึมเศร้าจากการปรับตัว เกิดจากไม่สามารถปรับตัวหรือยอมรับปัญหาที่มากระทบกระเทือนจิตใจ
ได้ เช่น การเสียชีวิตของคนใกล้ชิด ตกงาน หรือเกษียณ จนเกิดความเครียดและมีอาการซึมเศร้า
แต่อาการไม่รุนแรง ถ้ามีคนปลอบใจหรือพูดคุยจะดีขึ้น เมื่อปรับตัวตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อาการซึมเศร้าก็จะหายไป

โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่แตกต่างกันสองแบบ
 คือ บางช่วงผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่าย มองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบ อารมณ์อ่อนไหวง่าย หงุดหงิด และเก็บตัว
บางช่วงผู้ป่วยจะมีอาการคึกคัก พูดมาก ขยันมาก เชื่อมั่นในตัวเองมากกว่าปกติ ซึ่งระยะนี้เรียกว่า
ทั้งนี้อาการระยะซึมเศร้าจะเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่อาการระยะเมเนียจะเกิดรวดเร็วและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษา
โรควิตกกังวล ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักวิตกกังวล ห่วงโน่นห่วงนี่คล้ายอาการหลักของโรควิตกกังวล
 ต่างกันที่โรควิตกกังวลจะมีอาการหายใจไม่อิ่ม ใจสั่น สะดุ้งตกใจง่ายร่วมด้วย ขณะที่โรคซึมเศร้าจะท้อแท้
 เบื่อหน่ายชีวิต ร่วมกับอาการซึมเศร้าที่เด่นชัดกว่าอาการวิตกกังวล



ซึมเศร้ากับการฆ่าตัวตาย
มีการวิจัยชี้ว่า คนส่วนใหญ่ที่ฆ่าตัวตายมักเคยมีอาการซึมเศร้ามาก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทุกคนต้องฆ่าตัวตายเสมอไป
 ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น สภาพปัญหาที่กำลังเผชิญสิ่งแวดล้อม และตัวผู้ป่วย ว่ามีจิตใจที่เข้มแข็งมากน้อยเพียงใด
เมื่อคนรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นญาติ เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่เพื่อนบ้าน พูดเรื่องฆ่าตัวตายให้ฟังบ่อยๆ
 ให้คิดว่าเป็นเรื่องจริงจัง และดูแลอย่างใกล้ชิด พาไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาหาทางป้องกัน
แต่บางครั้งคนที่คิดฆ่าตัวตายอาจไม่ปริปากพูด แต่มีสัญญาณเตือน เช่น
ประมาณร้อยละ 75 ของคนอยากฆ่าตัวตายมักพยายามฆ่าตัวตายมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
คนเหล่านี้ต้องการกำลังใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่มีความกดดัน

บุคลิกภาพเปลี่ยนไป เช่น กลายเป็นคนขี้โมโห หงุดหงิดง่าย จู่ๆ ก็ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผลหรือกลายเป็นเฉยชา ไม่ไยดีกับอะไร
อารมณ์รุนแรง เมื่อถูกกระตุ้นอาจทำให้อยากจบทุกอย่างในชีวิตได้
โทษตัวเอง มองตนเองในแง่ลบ เกลียดตนเอง มักสะท้อนความท้อแท้ในใจ เมื่อถึงขีดสุดอาจทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย
จดจ่ออยู่กับความตาย ความทุกข์ และการฆ่าตัวตาย แม้จะพูดทีเล่นทีจริงก็ต้องระวัง
ทำพินัยกรรมยกสมบัติให้คนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนอายุยังน้อย อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังคิดฆ่าตัวตาย

สิ่งที่ควรและไม่ควรทำเมื่อเกิดภาวะซึมเศร้า
ในเวลาที่คุณซึมเศร้ามักท้อแท้ สิ้นหวัง แต่ความรู้สึกเหล่านี้จะลดลง เมื่อรักษาอย่างถูกต้อง ในระหว่างนี้
เพื่อไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก มีสิ่งที่คุณควรและไม่ควรทำคือ
ไม่เอาตัวเองไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน อย่าตั้งเป้าหมายที่สำเร็จยาก หรืออย่าแบกรับความรับผิดชอบมากๆ
พยายามย่อยงานใหญ่ให้เป็นชิ้นเล็กๆ เลือกทำงานที่สำคัญก่อน และทำอย่างเต็มที่เท่าที่จะทำได้
อย่าคาดหวังกับตนเองมากเกินไป เพราะหากเกิดความผิดพลาด คุณอาจผิดหวังยิ่งกว่าเดิม
ทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ออกกำลังกาย วาดภาพ หรือดูหนัง ฟังเพลง แต่ไม่ควรทำอย่างหักโหม
เพราะนอกจากไม่เกิดความสุขแล้วยังอาจทำให้เครียดเพิ่มขึ้น
อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจปัญหาใหญ่ๆ ในชีวิต เช่น ลาออก เปลี่ยนงานใหม่ แต่งงานหรือหย่า
เพราะอาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้
พึงระลึกเสมอว่า ทุกอย่างต้องใช้เวลา อย่าตั้งความหวังว่าจะหายอย่างรวดเร็ว เพราะต้องใช้เวลารักษานาน
 พยายามช่วยตนเองให้มากที่สุด และไม่โทษหรือตำหนิตัวเองว่าที่ยังไม่หายเพราะไม่พยายามหรือยังทำได้ไม่ดีพอ

ป้องกันอาการซึมเศร้าด้วยตนเอง
หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า แต่ไม่นานเกิน 2 สัปดาห์ หรือเป็นแบบเรื้อรังเป็นๆ หายๆ
คุณอาจไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า และสามารถบำบัดอาการซึมเศร้าด้วยตัวเองง่ายๆ โดยออกกำลังกาย
เพิ่มความกระปรี้กระเปร่าและให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมา คลายความเศร้าและความวิตกกังวลด้วยการวิ่ง
ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30 นาที
เสียงหัวเราะ สามารถทดแทนและเปลี่ยนความเศร้าได้ดีที่สุด เมื่อรู้สึกตัวว่าเริ่มเศร้า ลองหันมาดู
ภาพยนตร์ตลก หรือย้อนไปอ่านหนังสือการ์ตูนตลกบ้าง ก็ช่วยลดความเครียดได้ระดับหนึ่ง
ระบายอารมณ์ บางครั้งอาการซึมเศร้ามักเกิดจากการเก็บกดอารมณ์โกรธไว้ หรือไม่สามารถร้องไห้ออกมาได้
 หากทำแล้วไม่มีผลเสียกับใคร จะกรีดร้องเสียงดังๆ ร้องไห้บ้างก็ได้ หรือเขียนบันทึก
 ก็เป็นวิธีหนึ่งที่คุณจะระบายความในใจออกมาโดยไม่ทำร้ายใคร

พูดระบายความในใจ หาใครสักคนที่คุณไว้ใจเล่าเรื่องต่างๆ ให้เขาฟัง การมีใครสักคนช่วยแบ่งปัน
ความทุกข์ความสุข จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น ชีวิตมีความหมายขึ้น
เปลี่ยนเป็นคิดเชิงบวก อาจเป็นสิ่งที่ทำยากสักนิด แต่จะมีอะไรดีไปกว่าการเปลี่ยนความคิดจากสิ่งที่เลวร้ายเป็นการมองในแง่ดี
 ลองนึกถึงท้องฟ้าหลังฝนตกมักมีสีสวยงามเสมอ (แถมบางครั้งอาจเกิดรุ้งงามอีกต่างหาก)

นั่งสมาธิ เมื่อจิตใจสงบ มีสมาธิ จะเกิดสติตามมา ทำให้สามารถคิดวิเคราะห์ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น
 หรือคุณอาจฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ เป็นจังหวะ ก็ช่วยให้ปลอดโปร่งและมีสติในการแก้ปัญหามากขึ้น

โรคซึมเศร้าไม่เหมือนไข้หวัดที่หายเองได้ เมื่อคิดว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้า
 อย่าอายหรือกลัวที่จะไปพบจิตแพทย์


เพราะหากปล่อยไว้นานอาจสายเกินไป ทางที่ดีคือสร้างสมดุลในชีวิตให้มาก
 อย่าตั้งความหวังสูงหรือกดดันตนเองเกินไป เพราะเมื่อผิดหวังขึ้นมา คุณอาจทุกข์จนถึงขั้นซึมเศร้าก็ได้นะคะ

รักษาโรคซึมเศร้าที่ไหนได้บ้าง

ปัจจุบันการรักษาโรคซึมเศร้า ไม่จำเป็นต้องไปพบจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา หรือโรงพยาบาลบ้านสมเด็จฯ อีกต่อไป
เพราะตามโรงพยาบาลขนาดใหญ่มักมีศูนย์ให้

คำปรึกษาเรื่องซึมเศร้าด้วย เช่น
โรงพยาบาลศิริราช หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก
โรงพยาบาลรามาธิบดี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 1245
คลินิกเฉพาะโรค โรงพยาบาลกรุงเทพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 1719
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 1000
คลินิกจิตเวชในผู้ใหญ่และเด็ก โรงพยาบาลนนทเวช สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0102



KBeautifullife


บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2564, 11:53:51 AM »

Permalink: Re: ซึมเศร้า โรคขี้เหงาของคนเมือง
3822
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: