-/> โรคฉี่หนู Leptospirosis

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคฉี่หนู Leptospirosis  (อ่าน 3519 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,135
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2555, 05:52:01 PM »

Permalink: โรคฉี่หนู Leptospirosis

.



โรคฉี่หนู Leptospirosis


โรคฉี่หนูมักจะระบาดหน้าฝนโดยจะพบเชื้อโรคในปัสสาวะของหนู ู
เชื้อนี้สามารถพบได้ใน สุนัข  สุนัขจิ้งจอก สัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่พบมากในหนู
ซึ่งสามารถแพร่เชื้อออกมาได้โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค

เชื้อที่เป็นสาเหตุ


ลักษณะของตัวเชื้อ
เป็นเชื้อแบคทีเรียเป็นเส้นเกลียว  เคลื่อนที่โดยการหมุน เชื้อนี้อยู่ตามดิน โคลน แหล่งน้ำ
ได้นานเป็นเดือน เคยมีรายงานว่าอยู่ได้นาน 6 เดือน
ในที่น้ำท่วมขังโดยมีปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม เช่น มีความชื้น แสงส่องไม่ถึง มีความเป็นกรดปานกลาง


การเกิดโรค

พบได้จากสัตว์ ทั้งสัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า ปล่อยเชื้อนี้กับปัสสาวะ คนติดเชื้อนี้จากการสัมผัสปัสสาวะหรือดินที่ปนเปื้อนเชื้อนี้

กลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรค

?ชาวไร่ชาวนา ชาวสวน
?คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ วัว หมู  ปลา
?กรรมกรขุดท่อระบายน้ำ เหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์
?กลุ่มอื่นๆ เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องทดลอง ทหารตำรวจที่ปฏิบัติงานตามป่าเขา
?บุคคลทั่วไป มักเกิดในที่  ที่มีน้ำท่วมขัง  ในบ้านมีหนูมาก คนที่ปรุงอาหาร หรือ รับประทานอาหารที่ไม่สุก
หรือปล่อยอาหารทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา

แหล่งที่มาของโรค

หมายถึงเป็นที่พักของเชื้อ สัตว์ที่เป็นแหล่งพักได้แก่ หนู  หมู วัวโค  ควาย  หมา  
 
การติดต่อ

สัตว์ที่นำเชื้อได้แก่ พวกสัตว์แทะๆ ทั้งหลาย   เช่น หนู โดยเฉพาะ หนูนา หนูพุก รองลงมาได้แก่ หมา วัว ควาย
โดยสัตว์พวกนี้จะเก็บเชื้อไวในไตเมื่อหนูปัสสาวะเชื้อจะอยู่ในน้ำหรือดิน

?เมื่อคนสัมผัสเชื้อซึ่งอาจจะเข้าทางแผล ปาก หรือ ตา หรือ แผล ผิวหนังปกติที่เปียกชื้นเชื้อก็สามารถไชผ่านไปได้เช่นกัน
?หรือจากการดื่ม หรือ กินอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน

ระยะฟัก

?โดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2-19 วัน

ระยะติดต่อ
?การติดต่อจากคนสู่คนเกิดได้น้อยมาก

อาการที่สำคัญที่บ่งบอกว่าติดเชื้อตัวนี้
แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่ม

1.กลุ่มที่อาการไม่รุนแรงไม่มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือกลุ่มที่
  หลังจากได้รับเชื้อ 10-26 วัน โดยเฉลี่ย 10 วัน ผู้ป่วยก็จะเกิดอาการของโรคไ
ด้แก่ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน

อาการอาจจะมีตั้งแต่ 1-หลายวัน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระยะ
1.ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด  เมื่อเชื้อเข้าร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้คือ
***ปวดศีรษะทันที มักจะปวด บริเวณหน้าผาก หรือ หลังตา บางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง
***ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง  ปวดมากโดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลัง และ มีอาการกดเจ็บ
***ไข้สูง 28-40 องศา  ตาแดง   อาการต่างๆ เหล่านี้อาจอยู่ได้ 4-7 วัน
นอกจากอาการดังกล่าว อาจจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีอาการถ่ายเหลว และ ปวดท้อง

อาการทางร่างกายมักจะตรวจพบ   ตาแดง มีน้ำตา หรือ ขี้ตาไหล คอแดง มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง หรือ อาจ มีผื่นตามตัว

2.ระยะร่างกายสร้างภูมิ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ผู้ป่วยมักจะมีไข้ขึ้นใหม่ ปวดศีรษะ คอแข็งมีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง
        และมีเชื้อออกมาในปัสสาวะ

1.กลุ่มที่มีอาการเหลือง กลุ่มนี้ไข้จะไม่หายแต่จะเป็นมากขึ้นโดยพบมีอาการเหลือง และไตวาย มีผื่นที่เพดานปาก
มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ตับ และ ไตวาย   เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ อาจจะมีอาการไอเป็นเลือด
ตัวของโรค อาการเหลืองจะเกิดใน วันที่ 4 ของโรค  และ อาจจะเสียชีวิตในระยะนี้หรือในต้นสัปดาห์ที่สามจากไตวาย

อาการที่สำคัญ ได้แก่
1.เยื่อบุตาบวมแดง เกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน 3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน
        อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
2.กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
3.มีเลือดออกตามที่ต่างๆข องร่างกาย โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง
     เลือดออกใต้เยื่อบุตา  หรือ เสมหะเป็นเลือด
4.ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดง  ผื่นคล้ายลมพิษ
5.ตัวเหลือง อาการตัวเหลืองมักเกิด วันที่ 4-6 ของการเกืดโรค

การวินิจฉัย
จากการซักประวัติการสัมผัสโรค และตรวจร่างกาย

?เจาะเลือดทั่วไป จะพบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่ม บางรายเกร็ดเลือดต่ำ
?ตรวจปัสสาวะ พบเม็ดเลือดแดง ไข่ขาวในปัสสาวะรวมทั้งพบน้ำดี ในปัสสาวะ
?ตรวจการทำงานของตับ -ไต
?เพาะเชื้อจากเลือดในระยะแรกของโรค
?การตรวจทางภูมิคุ้มกัน หลังการติดเชื้อ 2 สัปดาห์

การรักษา
ผู้ที่มีอาการรุนแรง
?แพทย์จะให้ยา  และ ควรจะได้รับยาภายใน 4-7 วัน หลังเกิดอาการของโรค

ผู้ที่มีอาการปานกลาง แพทย์จะพิจารณาในการให้ยา
 
การรักษาตามอาการ
?มีไข้ ให้ยาลดไข้
?ปวด ให้ยาแก้ปวด
?ให้ยากันชัก
?คลื่นไส้  อาเจียน ก็ให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
?อ่อนเพลีย ให้สารน้ำและเกลือแร่

ถ้ามีอาการแทรกซ้อน
?หากมีภาวะเกร็ดเลือดต่ำ หรือ เลือดออกง่ายก็อาจจะจำเป็นต้องให้เกร็ดเลือดหรือน้ำเหลือง
?แก้ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
?แก้ปัญหาตับ- ไต  วาย
















.หมออยากจะบอกว่า ให้ดูแลตัวเอง อย่าเสี่ยงต่อการติดโรค
ดีกว่า ติดโรคแล้วมารักษาทีหลัง นะคะ.

.
.

บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: