-/> อวกาศน่ารู้ ตอน ดาวหางและดาวเคราะห์น้อย

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: อวกาศน่ารู้ ตอน ดาวหางและดาวเคราะห์น้อย  (อ่าน 1417 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 1676
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 120
ออฟไลน์ ออฟไลน์
หนุ่มภูธร...ผู้ผิดหวังจากการเป็นครู
อีเมล์
   
« เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2562, 09:43:00 PM »

Permalink: อวกาศน่ารู้ ตอน ดาวหางและดาวเคราะห์น้อย





....วันนี้เราจะมาว่ากันที่เรื่อง "ดาวหางและดาวเคราะห์น้อย"กันครับผม....

....ดาวหาง....
....ดาวหางนั้นเป็นเสมือนก้อนของน้ำแข็ง หินและฝุ่น ซึ่งจะคิดว่าพวกมันเป็น“ก้อนน้ำแข็งสกปรก”ที่โคจรไปในระบบสุริยะก็ได้
 ดาวหางส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างเล็ก(ความกว้างของตัวดาวหางเพียงไม่กี่กิโลเมตร) เราทราบว่ามีดาวหาง
อย่างน้อย ๕,๐๐๐ ดวงที่อยู่ในระบบสุริยะ ซึ่งนักดาราศาสตร์คิดว่ายังมีดาวหางอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน
บริเวณระบบสุริยะชั้นนอก ในแถบไคเปอร์ (Kuiper belt) และเมฆออร์ต (Oort cloud)

 ....ดาวหางนั้น ในอดีตคนส่วนมากมักจะหวาดกลัวกัน เพราะว่าคิดว่าดาวหางคือดวงวิญญาณ
 คือสิ่งชั่วร้ายที่ปรากฏขึ้นมาพร้อมความซวย ความวิบัติ ดังเช่น เมื่อคราวที่ดาวหางฮัลเลย์(Halley Comet)
โคจรมาใกล้โลกในช่วงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ ของไทย ตอนนั้นก็ปรากฏว่าพระเจ้ากรุงอังกฤษ
สวรรคตหลังดาวหางปรากฏไม่นาน คนยุคนั้นเลยเชื่อกันในแนวนี้ครับ....

....ช่วงเวลาส่วนใหญ่ในการโคจรของดาวหางนั้น จะไม่สามารถสังเกตเห็นดาวหางด้วยตาเปล่าได้
แต่พอดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น น้ำแข็งบนตัวดาวหางจะเริ่มอุ่นขึ้นและเกิดการระเหิด
(การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส)ไอน้ำและฝุ่นที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการกลายเป็นไอนี้
 ก่อให้เกิดหางเหยียดยาวจากใจกลางของดาวหาง (เรียกว่า“นิวเคลียส”) ออกไปด้านหลัง

....ในความเป็นจริงแล้ว ดาวหางมีหางอยู่ ๒ แบบ หางแบบแรกเป็นทางของก้อนกรวดเล็กๆและฝุ่น
ที่ดาวหางทิ้งไว้ตามแนวการเคลื่อนที่ของดาวหาง เรียกว่า “หางฝุ่น”(Dust Tail) หางแบบที่สอง
เป็นสายธารของแก๊สเรืองแสงที่ถูก“เป่า” โดยลมสุริยะ (Solar wind) เรียกว่า“หางไอออน” (Ion tail)
 ซึ่งมีทิศทางชี้ออกจากดวงอาทิตย์ตลอด หางไอออนเป็นหางที่สว่างกว่าหางฝุ่นและเป็นหาง
เพียงแบบเดียวที่เรามีแนวโน้มจะเห็นได้โดยไม่ต้องอาศัยกล้องโทรทรรศน์ดีๆ

....ดาวหางมักมีวงโคจรเป็นรูปวงรีที่รีมาก ซึ่งหมายความว่าพวกดาวหางจะไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์
เป็นวงโคจรรูปวงกลม แต่วงโคจรจะเหยียดยาวออกไปยังรอบนอก ดาวหางหลายดวงมักจะมีตำแหน่งที่
อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด (เรียกว่าตำแหน่ง Aphelion)ที่อยู่ไกลกว่าดาวเนปจูน
แต่มีตำแหน่งที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด(เรียกว่าตำแหน่ง Perihelion) ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ยิ่งกว่าดาวพุธ
ซึ่งทุกครั้งที่ดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวหางจะสูญเสียมวลไปเรื่อยๆจากการระเหิด
ดังนั้น ดาวหางจะสลายตัวไปในที่สุด หลังจากที่ดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์บ่อยครั้งมากๆ

....ดาวหางจะทิ้งสายธารของเศษฝุ่นและหินไว้ตามวงโคจรของดาวหาง
และวงโคจรของดาวหางบางดวงก็ตัดผ่านวงโคจรของโลก เมื่อโลกโคจรเข้าไปในสายธารดังกล่าว
ก็จะเกิดปรากฏการณ์ “ฝนดาวตก”(Meteor showers)

 ...มีแนวคิดว่าดาวหางหลายดวงที่พุ่งชนกับโลกในช่วงที่ระบบสุริยะกำลังก่อตัว อาจจะเป็นตัวที่นำน้ำมายังโลก
 ในปัจจุบันนั้น ยานโรเซตตา (Rosetta) ขององค์การอวกาศยุโรปถูกส่งไปเพื่อทำการศึกษาดาวหางโดยละเอียด
และศึกษาในประเด็นเรื่องบทบาทของดาวหางต่อวิวัฒนาการของระบบสุริยะในช่วงแรกๆ

....ดาวเคราะห์น้อย....
....ดาวเคราะห์น้อย(Asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid)
คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว(ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว ๑๐ เมตรหรือน้อยกว่า)
และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ
ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง
 ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ
จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ)และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่
และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

....ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ ซีรีส ค้นพบในปี พ.ศ.๒๓๔๔ โดย จูเซปเป ปิอาซซี
ซึ่งในช่วงแรกคิดว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ และกำหนดประเภทให้มันว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ
 ซีรีสนับเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน และจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์แคระ
ส่วนดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ จัดเป็นวัตถุในระบบสุริยะขนาดเล็ก เซอร์วิลเลียม
เฮอร์เชล(ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๔) เป็นผู้ประดิษฐ์คำศัพท์ "asteroid" ให้แก่วัตถุอวกาศชุดแรก ๆ
ที่ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งทั้งหมดมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี
 โดยส่วนใหญ่วงโคจรมักบิดเบี้ยวไม่เป็นวงรี แต่หลังจากนั้นมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยอยู่ระหว่างวงโคจร
ของดาวเคราะห์ต่างๆ นับตั้งแต่ดาวพุธไปจนถึงดาวเนปจูน และอีกหลายร้อยดวงอยู่พ้นจากดาวเนปจูนออกไป

....ดาวเคราะห์น้อยส่วนมากพบอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี
 เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่เป็นซากที่หลงเหลือในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งไม่สามารถรวมตัวกัน
เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ระหว่างการก่อกำเนิดระบบสุริยะเนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี
 ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดาวบริวาร หรือโคจรระหว่างกันเองเป็นคู่ เรียกว่า ระบบดาวเคราะห์น้อยคู่ นั่นเองครับ....

คราวหน้าเรามาว่ากันด้วยเรื่อง อุปราคา กันครับผม....



บันทึกการเข้า

รวมบทประพันธ์ของ หนุ่มภูธร ณ ลุ่มน้ำป่าสัก คลิ๊กที่นี่
http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,12043.0.html
ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจาก YouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: