หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: อวกาศน่ารู้ ตอน ระบบสุริยะ(๓)  (อ่าน 1226 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 1676
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 120
ออฟไลน์ ออฟไลน์
หนุ่มภูธร...ผู้ผิดหวังจากการเป็นครู
อีเมล์
   
« เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2562, 09:28:00 PM »

Permalink: อวกาศน่ารู้ ตอน ระบบสุริยะ(๓)

....คราวนี้เรามาต่อกันกับขาใหญ่ เอ้ย....พี่ใหญ่ในระบบสุริยะที่เหลือของเรากันครับผม....

- ดาวพฤหัสบดี ( Jupiter )
....ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของระบบ เราสังเกตพื้นผิวของดาวพฤหัสได้ยาก
เนื่องจากมีเมฆปกคลุมอยู่ตลอดเวลา ไม่มีพื้นผิวที่เป็นของแข็งเหมือนโลก  แต่ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย
ก๊าซไฮโดรเจนที่รวมอยู่กับก๊าซชนิดอื่น ๆ ในสภาพที่เกือบเป็นของแข็งแต่ไม่มีออกซิเจนเลย
นอกจากจุดสีแดงขนาดใหญ่เกือบเท่าโลกและแถบสีดำพาดขวางแล้ว เราก็มองไม่ เห็นอะไรไปมากกว่านี้เลย
 ซึ่งเจ้าจุดสีแดงใหญ่ที่ว่านั่นคือ "พายุ" ขนาดใหญ่บนดาวที่ไม่มีวันสลายตัวนั่นเอง
....ดาวพฤหัสบดีนั้นมีบริวารถึง ๖๓ ดวงด้วยกัน แต่มีอยู่สี่ดวงที่เราสามารถพอมองเห็นได้
เมื่อส่องกล้องดูดาวพฤหัสบดี นั่นคือ คาลิสโต,ไอโอ,ยูโรปา และ แกนิมีด
ซึ่งเราเรียกว่า"ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ"นั่นเองครับ(ที่ใช้ชื่อนี้ เพราะกาลิเลโอเป็นคนค้นพบครั้งแรกครับ)

ดาวเสาร์ ( Saturn )
....ดาวเสาร์นั้นมีวงแหวนสวยงามล้อมรอบหลายชั้น วงแหวนเป็นก้อนหินและน้ำแข็งสกปรก
องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจน ในบรรยากาศมีส่วนผสมของฮีเลียมเป็นจำนวนมาก
ฮีเลียมและไฮโดรเจนเป็นก๊าซเบาทำให้ดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อย ถ้าหากมีมหาสมุทรใหญ่พอ
ที่จะเอาดาวเสาร์ใส่ลงไปได้ ดาวเสาร์จะลอยน้ำ ดาวเสาร์มีบริวาร ๖๐ ดวง แต่ที่เด่นสุดก็คือ
 ดวงจันทร์"ไททัน" ที่ได้มีการสำรวจมาหลายสิบปีแล้วว่า
ดวงจันทร์นี้อาจมีโอกาสที่จะพบ"สิ่งมีชีวิต"บนนั้นครับ....

ดาวยูเรนัสหรือดาวมฤตยู ( Uranus )
....บรรยากาศของดาวยูเรนัสนั้นส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจนที่เหลือเป็นฮีเลียมและก๊าซอื่น ๆ
 บรรยากาศชั้นบนมีฮีเลียมจำนวนมาก ซึ่งทำให้ดาวยูเรนัสมีสีเขียวออกน้ำเงินแกนกลางเป็นหินแข็งมีขนาดเล็ก
อนึ่ง ดาวยูเรนัสนั้นมีการหมุนรอบตัวเองที่ค่อนข้างแปลก คือ ขั้วดาวหันเข้าหาดวงอาทิตย์ตลอดเวลา
ทำให้การหมุนรอบของดาวนั้นเป็นแบบตีลังกา แปลกจากดาวดวงอื่นๆ ซึ่งมีการสันนิษฐานว่า
 อาจเกิดจากการที่ดาวยูเรนัสถูกดาวหางหรืออุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชน ทำให้ดาวเสียสูญนั่นเอง.
...ดาวยูเรนัสมีบริวารทั้งสิ้น ๒๗ ดวง....

ดาวเนปจูนหรือดาวเกตุ ( Neptune )
....เนื่องจากดาวเนปจูนนั้นอยู่ห่างไกลมาก จึงมองเห็นเพียงเป็นจุดสว่างสีน้ำเงินจางๆในเวลาที่เราส่องกล้องมอง
 สีน้ำเงินของดาวเนปจูนนั้นเกิดจากก๊าซมีเทนในบรรยากาศ ซึ่งให้สีน้ำเงิน นอกจากนี้ในบรรยากาศ
ยังมีไฮโดรเจน ฮีเลียม และไอน้ำ  ใต้บรรยากาศที่หนาทึบและเต็มไปด้วยเมฆ ดาวเนปจูนอาจ
ประกอบด้วยส่วนผสมของหิน น้ำ แอมโมเนียเหลวและมีเทน ดาวเนปจูนนั้น
มีพายุใหญ่ที่คล้ายคลึงกับดาวพฤหัสบดีมาก ซึ่งก็เป็นพายุแก๊สเหมือนกันอีกด้วย
....ดาวเนปจูนมีบริวาร ๑๔ ดวง....

ดาวพลูโต(Pluto)....สมาชิกที่ถูกนักวิทยาศาสตร์เนรเทศจากระบบ...
....ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน
โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสอง
ในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ ๙
และมวลมากเป็นอันดับที่ ๑๐ ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์
ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย
ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ
ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่  ดาวพลูโตมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ ๓๒.๖ หน่วยดาราศาสตร์
แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ ๕.๕ ชั่วโมง ถึงจะไปถึงดาวพลูโตที่ระยะทางเฉลี่ย
....แล้วทำไมถึงถูกเนรเทศละ....
....๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ไอเอยูได้สร้างคำนิยามของคำว่า "ดาวเคราะห์"
อย่างเป็นทางการ ตามนิยามใหม่นี้ มีใจความสำคัญอยู่สามข้อสำหรับวัตถุที่จะถูกเรียกได้ว่าเป็นดาวเคราะห์ ดังนี้
• วัตถุนั้นจะต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์
• วัตถุนั้นจะต้องมีมวลมากพอที่จะรักษาสภาพตัวเองให้เป็นทรงกลมได้โดยแรงโน้มถ่วงของตัวเอง
 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงโน้มถ่วงของวัตถุนั้นควรจะทำให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต
• วัตถุนั้นจะต้องไม่มีวัตถุอื่นใดอยู่ในบริเวณเดียวกัน
....ซึ่งดาวพลูโตไม่เป็นไปตามนิยามข้อที่สาม เนื่องจากมันมีมวลแค่ ๐.๐๗ เท่าของมวลของวัตถุอื่นๆ
ในบริเวณเดียวกัน (เมื่อเทียบกับโลกแล้ว โลกมีมวล ๑.๗ ล้านเท่าของวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน)
ไอเอยูจึงได้เสนอให้วัตถุที่เป็นไปตามนิยามสองข้อแรก เช่น ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์แคระ
ในวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ไอเอยูได้รวมดาวพลูโต อีริส และดิสโนเมีย ดาวบริวารของอีริส
เข้าไปอยู่ในรายชื่อดาวเคราะห์น้อย โดยให้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า "(๑๓๔๓๔๐) พลูโต",
 "(๑๓๖๑๙๙)"อีริส และ "(๑๓๖๑๑๙)อีริส I ดิสโนเมีย" ดาวพลูโตยังได้รับการรวมอยู่
กับวัตถุที่ค้นพบในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ มันควรที่จะได้รับเลข ๑๑๖๔ ถัดจาก ๑๑๖๓ ซากา
ที่ถูกค้นพบเพียงไม่กี่เดือนก่อนหน้าดาวพลูโต....

....คราวต่อไป เราจะมาว่าด้วยเรื่องดาวหางและดาวเคราะห์น้อยครับผม....
 
บันทึกการเข้า

รวมบทประพันธ์ของ หนุ่มภูธร ณ ลุ่มน้ำป่าสัก คลิ๊กที่นี่
http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,12043.0.html
ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจาก YouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: