-/> ของนี้มีที่มา ตอนที่ 14 การไฟฟ้าในไทย

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ของนี้มีที่มา ตอนที่ 14 การไฟฟ้าในไทย  (อ่าน 1226 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 1676
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 120
ออฟไลน์ ออฟไลน์
หนุ่มภูธร...ผู้ผิดหวังจากการเป็นครู
อีเมล์
   
« เมื่อ: 02 ธันวาคม 2561, 08:14:52 PM »

Permalink: ของนี้มีที่มา ตอนที่ 14 การไฟฟ้าในไทย
....ในหลายๆบทความที่ลงมานั้น ผมมักจะเชื่อมโยงสิ่งหนึ่งเสมอ
และเป็นจุดเริ่มในการพัฒนาหลายสิ่งหลายอย่าง นั้นคือ"ไฟฟ้า"นั่นเองครับ....

....ซึ่งประวัติและความเป็นมาของกิจการไฟฟ้าของประเทศไทยนั้นมีความเป็นมานับ ๑๐๐ ปี
โดยมีเจ้าหมื่นไวยวรนารถ(เจิม แสง-ชูโต) นำไฟฟ้าเข้ามาใช้ภายในประเทศไทยและได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
จนถึงปัจจุบันตามลาดับดังนี้....

...พ.ศ.๒๔๒๗ เจ้าหมื่นไวยวรนารถ(เจิม แสง-ชูโต) เป็นบุคคลแรกที่นำไฟฟ้าเข้ามาใช้งานในประเทศไทย
โดยจ่ายไฟฟ้าให้กับพระบรมมหาราชวัง ณ ที่นั่งจักรีมหาปราสาทและในท้องพระโรง
ซึ่งเดินเครื่องเป็นทางการตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๒๗ ตรงกับวันเฉลิมพระชนนพรรษา
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)

....พ.ศ.๒๔๔๐ นายเลียวนาร์ด นาดี ชาวอเมริกันได้แนะนำ และชักชวนให้เจ้านายและข้าราชการ
จัดตั้งบริษัทบางกอกอิเล็กทรกไลต์ซินดิเคต (Bangkok Electric Light Syndicate)จ่ายไฟฟ้า
ตามท้องถนนและสถานที่ราชการซึ่งต่อมาได้โอนกิจการให้กับบริษัทไฟฟ้าสยาม(Siam Electricity Co.,Ltd.)
ของนายเวสเตนโฮลซ์ (Aage westenholz) ชาวเดนมาร์ก ได้รับเอากิจการไฟฟ้าดังกล่าวมาดำเนินกิจการต่อ
โรงไฟฟ้านี้เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน และมีที่ตั้งโรงไฟฟ้าข้างวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)

....พ.ศ.๒๔๕๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโรงไฟฟ้าขึ้นที่สามเสน
เริ่มจาหน่ายไฟฟ้าตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๗ โดยให้ใช้ชื่อว่าการไฟฟ้าหลวงสามเสน ดำเนินการในรูปรัฐพาณิชย์
อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงมหาดไทย และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองไฟฟ้าหลวงสามเสน
ซึ่งประชาชนในเขตพระนครและธนบุรีมีไฟฟ้าใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจ่ายไฟฟ้า
 คือ บริษัทไฟฟ้าสยาม (Siam Electricity Co.,Ltd.) จ่ายให้กับประชาชนบริเวณตอนใต้ของคลองบางลาภู
และคลองบางกอกน้อย และส่วนกองไฟฟ้าหลวงสามเสน จ่ายให้กับประชาชนตอนเหนือของคลองบางลาภูและคลองบางกอกน้อย

....พ.ศ.๒๔๙๗ รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์กรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยให้เข้าในสังกัดกรมโยธาเทศบาล
 กระทรวงมหาดไทยและในปี พ.ศ.๒๕๐๓ ได้ประกาศเป็นพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)
ขึ้นแทนองค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยมีขอบเขตความรับผิดชอบให้บริการกับประชาชนทุกจังหวัดทั่วประเทศ
ยกเว้นที่อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

....พ.ศ.๒๕๐๑ รัฐบาลประกาศพระราชบัญญัติ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)ซึ่งเป็นการรวบรวมเอากิจการไฟฟ้ากรุงเทพฯ
 กับกองไฟฟ้าหลวงสามเสนเข้าด้วยกันโดยมีขอบเขตในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับผู้บริโภคในเขต
กรุงเทพมหานคร ธนบุรี นนทบุรีและสมุทปราการ

....พ.ศ.๒๕๐๓ รัฐบาลประกาศพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟผ.) โดยรับผิดชอบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าทั่วประเทศ
 ยกเว้นเขตพื้นที่ในความรับผิดชอบของ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ธนบุรี นนทบุรี และสมุทรปราการ

....พ.ศ.๒๕๑๑ รัฐบาลประกาศพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยรวม
องค์การที่รับผิดชอบในการผลิตไฟฟ้าได้แก่ การไฟฟ้ายันฮี (กฟย.),การลิกไนต์ (กลน.)
และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ (กฟ.อน.)ให้รวมกันเป็นหน่วยงานเดียวกันในการดาเนินการผลิต
พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ชื่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๒

....ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างสูง
ได้มีการพัฒนาแหล่งการผลิตและระบบส่งจ่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการใช้พลังงาน
ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม การท่องเที่ยว เป็นต้น โดยมีโรงไฟฟ้าและระบบส่งจ่ายไฟฟ้า
เชื่อมโยงกันที่ทันสมัย ประสิทธิภาพมั่นคง และเชื่อถือของระบบการส่งพลังงานไฟฟ้า
ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจวบจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง....

....ต่อมาว่าด้วยหน่วยงานที่รับผิดชอบการผลิตและส่งจ่ายไฟฟ้า ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ
จำนวน ๓ องค์กร แต่ละหน่วยงานก็จะมีหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกันออกไปตามบทบาทและภาระหน้าที่ดังต่อไปนี้....

๑) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ชื่อภาษาอังกฤษ Electricity Generating
Authority of Thailand (EGAT) สังกัดกระทรวงพลังงาน โดยจะมีหน้าที่จัดหาพลังงานไฟฟ้าให้กับประชาชนโดยการผลิต
จัดหาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและผู้ใช้พลังงานไฟฟ้า
ซึ่งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้าเจ้าพระยา เชิงสะพานพระราม ๖ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

๒) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ชื่อภาษาอังกฤษ Provincial Electricity Authority (PEA)
สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภค จะมีภาระหน้าที่ในการผลิตไฟฟ้า
จัดส่งและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประชาชน ธุรกิจและอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่จังหวัดรวม 74 จังหวัด
(รวมจังหวัดบึงกาฬ)ทั่วประเทศ (ยกเว้น กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ)
มีระบบจาหน่ายแรงสูงที่ ๑๑ kV,๒๒ kV หรือ๓๓ kV ปัจจุบันการดาเนินงานที่ผ่านมาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
มีวิวัฒนาการ แบ่งเป็น ๕ ทศวรรษ ได้แก่
• ทศวรรษที่ ๑ พ.ศ.๒๕๐๓-๒๕๑๓ การบุกเบิกไฟฟ้าสู่ชุมชนใหญ่
• ทศวรรษที่ ๒ พ.ศ.๒๕๑๔-๒๕๒๓ เร่งรัดขยายไฟฟ้าสู่ชนบท
• ทศวรรษที่ ๓ พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๓๓ ส่งเสริมความเจริญด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม
• ทศวรรษที่ ๔ พ.ศ.๒๕๓๔-๒๕๔๓ นำเทคโนโลยีชั้นสูงมาพัฒนามาตรฐานการบริการ
• ทศวรรษที่ ๕ พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๕๓ พัฒนาองค์กรเพื่อก้าวสู่ระดับสากลในธุรกิจพลังงาน
 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ ถนนงามวงศ์วาน เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

๓) การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ชื่อภาษาอังกฤษ Metropolitan Electricity Authority (MEA)
สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภค จะมีภาระหน้าที่จัดให้ได้มา
 จัดส่งและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนธุรกิจและอุสาหกรรมเขตพื้น ๓ จังหวัดได้แก่กรุงเทพมหานคร
นนทบุรีและสมุทรปราการ นอกจากนี้แล้วยังมีภาระหน้าที่การดูแลรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง
 สถานีเปลี่ยนแรงดันสายจาหน่ายไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น โดยจะรับซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)
 ระดับแรงดันขนาด ๖๙ kV,๑๑๕ kV,๒๓๐ kV และ๕๐๐ kV ระบบส่งและจ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)
จังหวัดนนทบุรี สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร....

....คืนนี้ขออนุญาติจบลงเพียงเท่านี้ สวัสดีครับ....
 
บันทึกการเข้า

รวมบทประพันธ์ของ หนุ่มภูธร ณ ลุ่มน้ำป่าสัก คลิ๊กที่นี่
http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,12043.0.html
ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจาก YouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: