-/> ของนี้มีที่มา ตอนที่ 10 หนังสือพิมพ์

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ของนี้มีที่มา ตอนที่ 10 หนังสือพิมพ์  (อ่าน 1500 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 1676
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 120
ออฟไลน์ ออฟไลน์
หนุ่มภูธร...ผู้ผิดหวังจากการเป็นครู
อีเมล์
   
« เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2561, 09:26:09 PM »

Permalink: ของนี้มีที่มา ตอนที่ 10 หนังสือพิมพ์




....เชื่อว่า หลายๆท่านคงเคยหยิบหนังสือพิมพ์มาอ่านในระหว่างกินกาแฟตามร้านอาแปะ หรืออ่านที่บ้านในตอนเช้าๆ ซึ่งเจ้าหนังสือพิมพ์นี้ทำให้เรารู้ข่าวสารบ้านเมืองได้ แต่อาจจะช้ากว่าทีวีหรือวิทยุ ฉะนั้นในวันนี้กระผมขอนำประวัติหนังสือพิมพ์ในไทยมาให้อ่านกันครับผม.....

....วิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยนั้น เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ โดยมีกลุ่มมิชชันนารีชาวอเมริกัน เป็นเจ้าของ และบรรณาธิการ ซึ่งหมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์ข่าวรายปักษ์ฉบับแรกในประเทศไทย ชื่อ หนังสือจดหมายเหตุ (บางกอกรีคอเดอ - อังกฤษ: The Bangkok Recorder) พิมพ์ด้วยภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แต่มีอายุได้ไม่ถึง 2 ปี ก็ต้องปิดกิจการลง อนึ่ง หมอบรัดเลย์ คือบุคคลที่นำเอาเทคโนโลยีการพิมพ์เข้ามาเผยแพร่ในไทยด้วยนะครับ....หลังจากนั้นก็มีหนังสือพิมพ์ออกมาอีกหลายฉบับ ทั้งรายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายปี อาทิ บางกอกคาเลนดาร์ ต่อมาพัฒนาเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน เช่น บางกอก เดลี่ แอดเวอไทเซอ (อังกฤษ: Bangkok Daily Advertiser) และ สยาม เดลี่ แอดเวอไทเซอ (อังกฤษ: Siam Daily Advertiser)

....ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงเป็นผู้จัดทำหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ชื่อ "ราชกิจจานุเบกษา" เพื่อชี้แจงข่าวคลาดเคลื่อนที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ และเพื่อแจ้งข่าวการบริหารพระราชภารกิจทางการเมืองของสยามด้วย....

....ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เริ่มมีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก ที่เผยแพร่สู่ประชาชน ชื่อ "ดรุโณวาท" และมีหนังสือพิมพ์ที่ยอดจำหน่ายสูงมาก จนกระทั่งต้องมีระบบจัดส่งหนังสือ ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของกิจการไปรษณีย์ไทย คือ ข่าวราชการ (อังกฤษ: Court - ค็อต) ในยุคนี้วงการหนังสือพิมพ์ตื่นตัวมาก โดยมีการออกหนังสือพิมพ์ในสยามถึง ๕๙ ฉบับ

....สมัยรัชกาลที่ ๖ กิจการหนังสือพิมพ์ก้าวหน้ามาก ซึ่งหนังสือพิมพ์สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและเสนอแนะความคิดเห็นได้อย่างเสรีในเรื่องการบริหารประเทศด้านต่างๆ มีทั้งหนังสือพิมพ์ภาษาไทยเช่น "จีนโนสยามวารศัพท์", "กรุงเทพเดลิเมล์","หนังสือพิมพ์ไทย" ฯลฯ หรือหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษเช่น "The Bangkok Times" ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ ๗ มีหนังสือพิมพ์ ๕๕ ฉบับ โดยฉบับที่มีชื่อเสียง และน่าเชื่อถือที่สุดคือ "ประชาชาติรายวัน" ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้อ่านอย่างสูง โดยเฉพาะปัญญาชน ที่ตื่นตัวทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างมากในช่วงนั้น

....สมัยรัชกาลที่ ๘ ต่อเนื่องถึงรัชกาลที่ ๙ หนังสือพิมพ์เริ่มถูกควบคุมโดยรัฐบาล และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ เกิดรัฐประหาร นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หนังสือพิมพ์ตกไปอยู่ภายใต้การควบคุมของประกาศคณะปฏิวัติ จึงถูกจำกัดการเสนอข่าวในบางเรื่องเป็นอย่างมาก(อีกช่วงหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่สื่อถูกฝ่ายรัฐบิดเบือนเป็นจำนวนมาก)
....ในยุคนี้นั้นมีหนังสือพิมพ์ทั้งหมด ๓๑ ฉบับ ด้วยกัน เช่น....
- เกียรติศักดิ์ (๒๔๙๕-๒๕๑๓)
- เดลินิวส์ (๒๕๐๗-ปัจจุบัน)
- เดลิเมล์ (๒๔๙๓-๒๕๐๑)
- ไทยรัฐ (๒๔๘๒-ปัจจุบัน)
- เสียงอ่างทอง (๒๕๐๐-๒๕๐๗)
- ไทยเดลี่ (๒๕๑๒)
- แนวหน้า (๒๔๙๕-๒๕๐๖ และกลับมาให้บริการอีกครั้งในปี ๒๕๒๓-ปัจจุบัน)
- ประชาธิปไตย (๒๕๐๒)
- พิมพ์ไทย (๒๔๘๙-ปัจจุบัน)
- สยามนิกร (๒๔๘๑-๒๕๑๒)
- สารเสรี (๒๔๙๗-๒๕๐๘)
- สยามรัฐ (๒๔๙๓-ปัจจุบัน)
- อาณาจักรไทย (๒๕๐๑-๒๕๐๔) เป็นต้น...
....ซึ่งในปัจจุบัน จะมีหนังสือพิมพ์แค่ไม่กี่เจ้าเท่านั้นที่เพิ่มมาจนทุกวันนี้ เช่น คมชัดลึก,ไทยโพสต์ เป็นต้น แต่ทุกวันนี้เมื่อคนส่วนใหญ่เริ่มหันสู่โซเชี่ยลมากขึ้น หนังสือพิมพ์หลายๆเจ้า จึงเริ่มหันไปให้บริการออนไลน์ควบคู่กับการขายหนังสือพิมพ์ด้วย เพราะตามชนบทที่เทคโนโลยียังเข้าไม่ถึง หนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ ก็ยังคงจำเป็นสำหรับพวกเขาในการรับข่าวสารอยู่เช่นเดิม....

ก็จบลงแล้วนะครับสำหรับเรื่องราววันนี้ ก็ต้องขอกล่าวว่า สวัสดีครับผม....



บันทึกการเข้า

รวมบทประพันธ์ของ หนุ่มภูธร ณ ลุ่มน้ำป่าสัก คลิ๊กที่นี่
http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,12043.0.html
ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจาก YouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: