-/> โรค als

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: โรค als  (อ่าน 1543 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,134
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 19 ตุลาคม 2561, 08:17:18 AM »

Permalink: โรค als
ALS หรือ โรค Amyotrophic lateral sclerosis
 เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ประสาทเกี่ยวกับควบคุมการเคลื่อนไหวตายไปก่อนอายุขัย
 อาการของคนไข้ คือ มีอาการกล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง แขน ขา ลิ้น คอ...

แพทย์หญิงทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา
 เปิดเผยกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า โรค ALS หรือ โรค Amyotrophic lateral sclerosis
เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ประสาท เกี่ยวกับควบคุมการเคลื่อนไหวตายไปก่อนอายุขัย
ของคนไข้ คือ มีอาการกล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง แขน ขา ลิ้น คอ แต่สติสัมปชัญญะจะดี สมองไม่เสื่อม
 แต่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการไม่มีแรง เช่น เมื่อมีอาการที่ขา ขาจะลีบ เป็นที่มือ มีอาการมือลีบ
เป็นที่ปากจะมีลิ้นลีบ พูดไม่ชัด กลืนอาหารลำบาก สำลักได้ หากเป็นมากรุนแรงคือ เป็นทั้งตัว
ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ กินอาหารเองไม่ได้ ต้องใส่สายให้อาหารหรือทางจมูก
เจาะหน้าท้องให้อาหาร ซึ่งโรคนี้พบได้ทั่วไป ในทุกช่วงวัย ทุกเพศ

ประเทศไทยยังไม่มีการเก็บข้อมูลสถิติของผู้ป่วยโรคนี้อย่างชัดเจน แต่ยังพบผู้ป่วยไม่มาก
ในส่วนของสถาบันประสาทฯ จะมีผู้ป่วยกลุ่มนี้อยู่ 50-100 ราย

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองที่บ้าน เป็นโรคเรื้อรัง จะมานอนโรงพยาบาลเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อน
ติดเชื้อ หรืออ่อนแรงมาก อาจเกิดแผลกดทับ หรือไปจนถึงรับประทานอาหารเองไม่ได้ ต้องใส่สายให้อาหาร
เป็นการรักษาสภาวะแทรกซ้อน ส่วนในรายที่เป็นมากหายใจเองไม่ได้ ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจก็มารักษาที่โรงพยาบาล

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ทำให้หายขาดได้ จะเป็นการรักษาตามอาการ
มียาบางอย่างที่ได้รับการยอมรับให้ใช้ที่ ALS เกี่ยวข้อง คือ การกลืนที่คอ
 แต่ไม่ได้ทำให้หายขาด แต่ทำให้อาการบรรเทาขึ้นได้

ส่วนข้อความที่บอกว่า หากเป็นโรคนี้ให้นับถอยหลังรอวันเสียชีวิต ขอยืนยันว่าไม่จริง
โรคนี้เป็นโรคที่ขึ้นอยู่กับคนไข้ บางรายเป็นไม่รุนแรง สามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ
แต่ในรายที่เป็นรุนแรงก็อาจลุกลามเร็ว แต่ละรายของคนไข้นั้นจะต้องประเมินในเรื่องของการดูแลตัวเอง
 ว่ามีการดูแลตัวเองดีแค่ไหน อย่างไร เช่น ในรายที่มีปัญหาการกลืน ถ้าดูแลให้ไม่มีการสำลัก
สามารถใช้ชีวิตปกติได้ ดูแลแผลตามส่วนต่างๆ ที่มีอาการลีบไปให้ดี ไม่มีแผลติดเชื้อ
บางรายสามารถใช้ชีวิตกับโรคนี้ได้ ดำเนินชีวิตปกติได้ 10-20 ปี

คำแนะนำเบื้องต้นในการสังเกต หากสงสัยว่าจะเป็น ALS คือ สังเกตอาการ หากมีอาการแขนขาไม่มีแรง
มีอาการลีบแต่จะไม่มีอาการชา แต่แขนขาจะลีบค่อนข้างเร็ว และสังเกตกล้ามเนื้อบริเวณที่ลีบ
เนื้อจะเต้นเป็นพลิ้วให้สังเกตโรคนี้ได้ บ่งบอกเบื้องต้นว่าเป็นโรคในกลุ่มนี้
 การวินิจฉัยต้องมีการตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้า ประสาทและกล้ามเนื้อ

ALS จะมีคนไข้กลุ่มหนึ่งที่รุนแรง บางครั้งคนไข้ไม่สามารถหายใจเองได้
 ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจไปเรื่อยๆ บางครั้งกลุ่มนี้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่น
 เพียงแต่หายใจเองไม่ได้อย่างเดียว ถ้าสามารถมีเครื่องช่วยหายใจ
และอุปกรณ์ประกอบและสามารถกลับไปอยู่ที่บ้านได้ ญาติดูแลได้สะดวก คนไข้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
เพียงมีเครื่องช่วยหายใจเล็กๆ ไปดูแลที่บ้านได้
ไม่จำเป็นต้องมานอนโรงพยาบาลตลอด (ราคาเครื่องช่วยหายใจในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 200,000/เครื่อง)
เนื่องจากประเทศไทยคนไข้ในกลุ่มนี้ยังไม่เยอะ ไม่มีหน่วยงานตรงในการดูแล

ผู้สนใจสามารถร่วมสนับสนุน สถาบันประสาทวิทยา มูลนิธิสนับสนุนสถาบันประสาทวิทยา
 ในการดูแลผู้ป่วยเกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่ยากไร้ทั้งหมด
บริจาคได้ที่บัญชี มูลนิธิสนับสนุนสถาบันประสาทวิทยา ธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี 020-1-33312-0,

บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: