หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เก๊าท์ (Gout)  (อ่าน 2642 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,127
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 09 เมษายน 2561, 09:06:35 AM »

Permalink: เก๊าท์ (Gout)



เก๊าท์ (Gout)


เก๊าท์ (Gout) เป็นโรคข้ออักเสบที่ทำให้มีอาการปวดแสบร้อน บวม
แดงตามข้อต่ออย่างเฉียบพลันเป็นระยะ ๆอาจเกิดขึ้นกับข้อต่อเดียวหรือหลายข้อต่อพร้อมกัน
อาการของโรคเก๊าท์
อาการปวดอย่างรุนแรงตามข้อต่อเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่เท้า แต่ก็สามารถเกิดกับข้อต่อหลายส่วนตามร่างกายได้
 เช่น ข้อเท้า ข้อศอก หัวเข่า ข้อต่อกระดูกมือ หรือข้อมือ อาการปวดจะรุนแรงในช่วง 4-12 ชั่วโมงแรก
 จากนั้นจะเริ่มปวดน้อยลงและมีอาการดีขึ้นภายใน 7-10 วัน แต่ในบางรายอาจมีอาการปวดได้นานหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์
นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น   
ข้อต่อเกิดการอักเสบและติดเชื้อ อาจเกิดขึ้นกับข้อต่อเพียงข้อเดียวหรือหลายข้อต่อ จนทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเป็นสีแดง บวมแดง และแสบร้อน
เคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวกจากภาวะข้อติด ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกความรุนแรงของโรคที่เพิ่มมากขึ้น
ผิวหนังบริเวณข้อต่อเกิดการลอกหรือคันหลังจากอาการของโรคดีขึ้น
อาการของโรคเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน มักเป็น ๆ หาย ๆ จนกว่าจะได้รับการรักษา
โดยมักเกิดขึ้นในเวลากลางคืนได้บ่อยกว่าช่วงเวลาอื่น อย่างไรก็ตามควรรีบไปพบแพทย์หากผู้ป่วยมีไข้ ปวดข้ออย่างรุนแรง
จนทำให้ผิวหนังบวมแดงและแสบร้อนขึ้น เพราะอาการปวดข้ออาจทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดได้ว่าเป็นสัญญาณของโรคข้ออื่น ๆ
 การปล่อยให้โรคพัฒนารุนแรงขึ้นโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่อาการปวดอย่างเรื้อรังและสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อได้

สาเหตุของโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์เป็นผลมาจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) ซึ่งเป็นภาวะของร่างกายที่มีการสะสมของกรดยูริก
ในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดการตกผลึกตามข้อต่าง ๆ จนเกิดอาการปวดบวมตามข้ออย่างรุนแรงและอาการอื่น ๆ ของโรคตามมา
กรดยูริกเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งในเลือดที่ได้มาจากการย่อยสลายสารพิวรีน (Purines) ในเนื้อเยื่อทั่วร่างกายและอาหารที่รับประทานเข้าไป
โดยร่างกายจะมีการปรับสมดุลของกรดยูริกด้วยการกรองจากไตก่อนมีการขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ
เมื่อมีปริมาณกรดยูริกมากขึ้นจากการสร้างของร่างกาย จากการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง
หรือไตมีความผิดปกติในการกรองสารพิวรีน มักนำไปสู่ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงได้ง่าย อย่างไรก็ตาม
 ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด แต่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น 

การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
การรับประทานอาหารทีมีสารพิวรีนมากเกินไป เช่น สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ยอดผัก กุ้งเคยหรือกะปิ ปลาซาร์ดีน
 หอยแมลงภู่ สารสกัดจากยีสต์ได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ
การดื่มน้ำอัดลมเกินปริมาณที่พอดีต่อวัน ซึ่งมีการศึกษาพบว่าการดื่มน้ำอัดลมประเภทที่มีน้ำตาลฟรุกโตสอาจเพิ่ม
การสะสมกรดยูริกในเลือดได้สูงถึง 85% นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลไม้และน้ำผลไม้บางชนิดที่มีน้ำตาลฟรุกโตสอยู่มาก
อาการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเซลล์ในร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่น โรคสะเก็ดเงินขั้นรุนแรง หรือความผิดปกติทางเลือดบางอย่าง
ยาบางประเภทที่ส่งผลต่อระดับกรดยูริกในร่างกาย เช่น ยาขับปัสสาวะ  ยาเคมีบำบัดบางชนิด ยาแอสไพริน และยาลดความดันโลหิตบางชนิด
โรคประจำตัวหรือสภาวะของร่างกายบางอย่าง เช่น ภาวะอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ ไตทำงานผิดปกติ
 โรคเบาหวาน โรคพร่องเอนไซม์ ความผิดปกติของไขกระดูก โรคหลอดเลือดผิดปกติ
มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเก๊าท์ โดยพบว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะมีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วย

การวินิจฉัยโรคเก๊าท์
แพทย์จะมีการสอบถามอาการ ประวัติการเป็นโรคเก๊าท์ของบุคคลในครอบครัว การตรวจร่างกายทั่วไป
ตลอดจนดูสัญญาณบ่งบอกของโรคอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วยในการวินิจฉัยโรค หลังจากนั้นจะมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติมอื่น ๆ
ตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น
การเจาะข้อ มักถูกใช้เป็นวิธีหลักในการตรวจวินิจฉัย แพทย์จะนำเข็มเจาะบริเวณข้อที่มีอาการ
เพื่อดูดเอาน้ำในข้อออกมาตรวจดูการสะสมของผลึกยูเรต (Urate Crystals) ภายใต้กล้องจุลทรรศน์
การตรวจเลือด เมื่อการตรวจวินิจฉัยโดยการเจาะข้อไม่สามารถทำได้ แพทย์อาจจะให้มีการเจาะเลือด
เพื่อตรวจวัดระดับของกรดยูริกและสารครีเอตินินว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ แต่วิธีนี้อาจเกิดความผิดพลาดได้
 เช่น ผู้ป่วยบางรายมีระดับกรดยูริกสูงผิดปกติ แต่อาจไม่เป็นโรคเก๊าท์
หรือบางรายที่มีอาการของโรคก็อาจตรวจพบระดับกรดยูริกได้ในระดับปกติ
การเอกซเรย์ การถ่ายเอกซเรย์บริเวณข้อที่มีอาการ เพื่อตรวจดูว่าเกิดการอักเสบตามข้อหรือไม่
การอัลตราซาวด์ จะช่วยตรวจพบการสะสมของผลึกยูเรตตามข้อจนเป็นปุ่มนูนหรือก้อนที่เรียกว่า โทฟี่ (Tophi) 
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน เพื่อตรวจหาการสะสมของผลึกยูเรตตามข้อ แต่มักเป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยม และมีค่าใช้จ่ายสูง
การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูกรดยูริกที่ปะปนในน้ำปัสสาวะ

การรักษาโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาเป็นหลัก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาดูจากหลายปัจจัยประกอบในการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
ทั้งอาการของโรค สุขภาพโดยรวม หรือการพูดคุยกับผู้ป่วย ควบคู่กับการปฏิบัติตนเพื่อเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรค
 ในบางรายที่ปล่อยให้โรคดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รักษา แพทย์อาจใช้วิธีการผ่าตัดทดแทนการใช้ยา
 ซึ่งเป้าหมายของการรักษาจะช่วยในการบรรเทาอาการปวดให้ลดลงอย่างรวดเร็ว
และป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดของโรคเก๊าท์ในบริเวณข้ออื่น ๆ ในอนาคต รวมไปถึงลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรค
เช่น โครงสร้างข้อต่อผิดรูป ไตเกิดความผิดปกติ

การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคเก๊าท์ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางส่วนอาจมีส่วนช่วยให้อาการของโรคทุเลาลงได้
ตามคำแนะนำต่อไปนี้
ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ และไม่ทำให้เกิดการตกตะกอนในระบบทางเดินปัสสาวะที่นำไปสู่การเกิดนิ่วในไต
หลีกเลี่ยงหรือจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ให้อยู่ในปริมาณที่พอดี
ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่มีความหวานมาก โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุกโตส
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล สัตว์ปีก ถั่วบางชนิด สารสกัดจากยีสต์
 แต่อาจทดแทนด้วยโปรตีนที่ได้จากผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ
ผู้ที่มีภาวะอ้วนควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ไม่ควรอดอาหารหรือลดน้ำหนักรวดเร็วจนเกินไป
การดูแลเพื่อลดอาการปวด ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการปวดในเบื้องต้นได้ด้วยการหยุดเคลื่อนไหว
บริเวณที่มีอาการปวดอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังมีอาการ โดยพยายามยกบริเวณข้อต่อที่ปวดให้อยู่สูง
 หากมีอาการบวมแดงอาจบรรเทาด้วยการประคบน้ำแข็ง หรือรับประทานยาในกลุ่มยาแก้ปวด ยาลดไข้
 และยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ แต่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแอสไพริน
การรักษาด้วยการใช้ยา เป็นการใช้ยาในการบรรเทาอาการของโรคให้ลดลงและช่วยป้องกันอาการของโรคที่อาจกำเริบขึ้นในอนาคต
ซึ่งตัวยาที่ใช้รักษาโรคเก๊าท์มีอยู่หลายกลุ่ม เช่น
ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory Drugs: NSAIDs) หรือที่รู้จักกันดีว่า
 ยาเอ็นเสด ซึ่งอาจเป็นยาที่หาซื้อได้ทั่วไป เช่น ยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (Naproxen)
หรือแพทย์สั่งจ่าย เช่น ยาอินโดเมธาซิน (Indomethacin) ยาเซเลโคซิบ (Celecoxib) หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง
แพทย์อาจสั่งจ่ายยาในปริมาณที่สูงขึ้น แล้วค่อยลดปริมาณการใช้ยาลง เพื่อช่วยป้องกันอาการของโรคในอนาคต
แต่ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง เกิดภาวะเลือดออก และแผลในกระเพาะอาหารได้   
ยาโคลชิซิน (Colchicine) แพทย์จะสั่งจ่ายยาโคลชิซินเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดจากโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยในช่วงแรกอาจมีการใช้ยาในปริมาณที่สูงก่อนจะลดปริมาณยาลงเมื่ออาการปวดของผู้ป่วยทุเลาลง
แต่ผลข้างเคียงของการใช้ยาชนิดนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) โดยทั่วไปมักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาต้านอักเสบหรือยาโคลชิซินได้
เพื่อช่วยควบคุมการอักเสบและอาการปวดของโรค มีทั้งรูปแบบยาเม็ดและยาฉีด ผลข้างเคียงของยาอาจทำให้
ระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตตสูงขึ้น มีอารมณ์แปรปรวน
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง หรือไม่บ่อย แต่มีความรุนแรงค่อนข้างมาก
แพทย์อาจสั่งจ่ายยากลุ่มอื่นที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเก๊าท์ เช่น
ยายับยั้งการสร้างกรดยูริก (Xanthine Oxidase Inhibitors) เป็นยาที่ช่วยจำกัดการผลิตกรดยูริกของร่างกาย
 เช่น ยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol) ยาฟีบัคโซสตัต (Febuxostat) ซึ่งจะช่วยให้ระดับกรดยูริกในเลือดลดลง
และเสี่ยงต่อการเกิดอาการของโรคน้อยลงเช่นกัน แต่อาจส่งผลข้างเคียงให้เกิดผื่น คลื่นไส้ และลดการทำงานของตับ   
ยาช่วยขับกรดยูริก เป็นยาที่ช่วยเพิ่มการทำงานของไตให้มีการขับกรดยูริกออกมากับปัสสาวะมากขึ้น
เช่น โพรเบเนซิด (Probenecid) ซึ่งทำให้กรดยูริกในเลือดมีปริมาณลดลงและเสี่ยงต่อการเกิดอาการของโรคลดลงเช่นกัน
 แต่อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีผื่นขึ้น ปวดท้อง หรือเกิดนิ่วในไต ที่เป็นผลข้างเคียงของการใช้ยา
การผ่าตัด มักใช้ในกรณีที่อาการของโรคมีการพัฒนาจนรุนแรงขึ้นกลายเป็นปุ่มนูนหรือก้อนโทฟี่
เนื่องจากการสะสมของผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อและข้อต่อต่าง ๆ และการรักษาด้วยยาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์สามารถพัฒนาอาการของโรคให้รุนแรงมากขึ้นเมื่อไม่มีการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของโรคบ่อยมากขึ้น
ไปจนถึงการเกิดก้อนโทฟี่หรือปุ่มนูนใต้ผิวหนังในหลายส่วนของร่างกาย เช่น ตามนิ้วมือ เท้า ข้อศอก หรือเอ็นร้อยหวาย
 แต่โดยปกติมักไม่ก่ออาการเจ็บปวด แต่เมื่ออาการของโรคกำเริบอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ปวดตามข้อ ข้อต่อบิดเบี้ยวจนผิดรูปไปจากเดิม
นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดนิ่วในไตจากการสะสมของผลึกยูเรตในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยโรคเก๊าท์
 ซึ่งอาจนำไปสู่การทำงานของไตที่ปกติหรือเกิดภาวะไตวาย

การป้องกันโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ยังไม่สามารถป้องกันได้โดยตรง เนื่องจากการสะสมของผลึกยูเรตทีละน้อยในข้อต่อและเนื้อเยื่อรอบ ๆ
 เป็นเวลานานหลายปี จึงทำให้ทราบได้ยากว่าระดับกรดยูริกในเลือดอยู่เท่าใดจนกระทั่งเริ่มมีอาการของโรคแสดงขึ้นมา
 อีกทั้งสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกเพิ่มขึ้นนั้นมาจากหลายปัจจัยและสรุปได้ไม่ชัดเจน

การป้องกันจึงเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่นเดียวกับการปฏิบัติตนของผู้ป่วยที่เป็นโรค เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของโรคลง
 เช่น หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง โดยเฉพาะ อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ และสัตว์ปีก ดื่มน้ำให้เพียงพอ
 ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม


พบแพทย์
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
คะแนนน้ำใจ 26
กระทู้: 2
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 31 มกราคม 2562, 05:58:07 PM »

Permalink: Re: เก๊าท์ (Gout)
โรคคนแก่นี้ครับ
บันทึกการเข้า
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,127
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #2 เมื่อ: 31 มกราคม 2562, 07:29:01 PM »

Permalink: Re: เก๊าท์ (Gout)
ไม่แก่ก็เป็นได้ค่ะ  ถ้าดูแลตัวเองไม่ดี
เช่นรับประทานอาการ ที่มีกรดยูริกสูง มันจะไปสะสมในร่างกาย
และตามข้อต่างๆ
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
คะแนนน้ำใจ 7152
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดนักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นมีความคิดสร้างสรรค์
กระทู้: 618
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #3 เมื่อ: 31 มกราคม 2562, 08:39:29 PM »

Permalink: Re: เก๊าท์ (Gout)
มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ แชร์ต่อค่ะ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: