-/> *สัมผัสภายในวรรค*

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: *สัมผัสภายในวรรค*  (อ่าน 3401 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ครูกลอน
คะแนนน้ำใจ 8011
เหรียญรางวัล:
นักโพสดีเด่นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ผู้ดูแลบอร์ดครูกลอนผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 639
ออฟไลน์ ออฟไลน์
ทำทุกวันให้ดีที่สุด
   
« เมื่อ: 15 มีนาคม 2561, 07:00:07 AM »

Permalink: *สัมผัสภายในวรรค*



เก็บเอามาฝากค่ะ

วันนี้ เรามาสัมผัสกับคำคล้องจองที่ทำให้ในแต่ละวรรคลื่นไหลกันหน่อยนะคะ
เรียกว่า
-สัมผัสอักษร
-สัมผัสสระ

ในแต่ละวรรคเราสามารถทำให้กลอนอ่านแล้วลื่นไหลได้ค่ะ
ด้วยการเพิ่มสัมผัสอักษรหรือสัมผัสสระเข้าไปค่ะ

ตัวอย่างสัมผัสอักษร เช่น

กล กานต์ เกรียง ไกร ก้อง เก่ง กาจ แก้ว โกรธ ฯลฯ
ขอ ขุ่น เขียง ขืน ข้อง ขุด ขาด เขียว ขอบ ข้าง ขู่ฯลฯ
คุณ ควร คิด ครวญ คำ คล้าย เคียง คลอง  คู เคียว เคือง คัดฯลฯ
ร้อย รัก เรียง รัด รอบ ฯลฯ
ลม ลอย โล่ง ลา ลับ แล้ว ฯลฯ
น้อง หน่าย แหนง นิด หน่อย นะ ฯลฯ

สัมผัสสระ เช่น

ได้ ไม่ ใส่ ไหน ไทย ไร้ ให้ ไป ไต ไว้ ใบ ใย ฯลฯ
ขาย ย้าย ตาย หลาย คล้าย หน่าย ทราย พราย หาย ยาย ฯลฯ
เรือ เหลือ เชื่อ เหงื่อ เบื่อ เถือ มะเขือ เพรื่อ เนื้อ ฯลฯ
งู ชู้ ผู้ หนู หู ชู อู้ หมู ฯลฯ
ตา จ้า ลา ป่า ถ้า น้า ข้า ช้า ระย้า จ๋า สา หา ฯลฯ
เขา เขลา เยาว์ เศร้า เบา เช้า เฝ้า เร้า เสา ฯลฯ






ค่ะที่นี้เรามาดูกันว่าจะวางไว้ตรงตำแหน่งไหนนะคะ

คำคล้องจองนี้จะมีระหว่างตัวที่ 3- 4 ของแต่ละวรรคค่ะ
แนะนำ
หลีกเลี่ยงวรรค2-4ไม่สัมผัสสระ
วรรค2(รับ) กับ วรรค 4(ส่ง)สัมผัสอักษร
เพราะถ้าวรรค2กับ4สัมผัสสระจะกลายเป็นสัมผัสเกินค่ะ
แต่...สัมผัสอักษรนั้นใช้ได้ทุกวรรคนะคะ



..ปล..  คำคล้องจองนี้เอามาเสริมแค่ให้ภายในวรรคอ่านแล้วลื่นไหลไพเราะเท่านั้นเองนะคะ
ไม่มีก็ไม่ผิดอะไรในการเขียนกลอนนะ
แต่...ลื่นไหลก็ต้องผนวกกับความหมายของคำที่นำมาใช้ด้วยนะคะ


ขอบคุณค่ะ

 

 ♠
คราเหนื่อยหนักพักผ่อนคลายอ่อนล้า
อักษราเรียงร้อยถ้อยถวิล
เคียงครบครันสรรแนบแบบระบิล
ภาษาศิลป์สานสื่อระบือบรรณ

อยู่ใกล้ไกลใจจึงถึงเสมอ
มอบแด่เธอทั่วไทยไต่ราวฝัน
ฝากสุนทรอ้อนสื่อถือแบ่งปัน
ให้สุขสันต์สุขีนี่..กำลังใจ



บันทึกการเข้า

ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,127
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 มีนาคม 2561, 10:09:57 AM »

Permalink: Re: *สัมผัสภายในวรรค*
ขอบคุณค่ะ พี่ศิ
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ไม่มีพิษภัย มีแต่ใจให้ทุกคน
คะแนนน้ำใจ 3164
เหรียญรางวัล:
นักอ่านยอดเยี่ยม
กระทู้: 253
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 มีนาคม 2561, 10:39:27 AM »

Permalink: Re: *สัมผัสภายในวรรค*
ขอบคุณครับ ที่รัก
บันทึกการเข้า

ขอบคุณภาพ จาก Internet  และเพลง จาก   Youtube
ครูกลอน
คะแนนน้ำใจ 8011
เหรียญรางวัล:
นักโพสดีเด่นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ผู้ดูแลบอร์ดครูกลอนผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 639
ออฟไลน์ ออฟไลน์
ทำทุกวันให้ดีที่สุด
   
« ตอบ #3 เมื่อ: 16 มีนาคม 2561, 02:20:45 PM »

Permalink: Re: *สัมผัสภายในวรรค*

บันทึกการเข้า

คะแนนน้ำใจ 7152
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดนักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นมีความคิดสร้างสรรค์
กระทู้: 618
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #4 เมื่อ: 10 มกราคม 2562, 09:05:11 AM »

Permalink: Re: *สัมผัสภายในวรรค*
 
บันทึกการเข้า

ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,127
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #5 เมื่อ: 18 กันยายน 2562, 09:02:58 AM »

Permalink: Re: *สัมผัสภายในวรรค*
572
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ครูกลอน
คะแนนน้ำใจ 8011
เหรียญรางวัล:
นักโพสดีเด่นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ผู้ดูแลบอร์ดครูกลอนผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 639
ออฟไลน์ ออฟไลน์
ทำทุกวันให้ดีที่สุด
   
« ตอบ #6 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2562, 07:06:46 AM »

Permalink: Re: *สัมผัสภายในวรรค*
 love letter

ตัวอย่างสัมผัสใน
*
1.ตัวอย่างสัมผัส    “เคียง” หมายถึงสัมผัสสระเรียงชิดกัน 2 คำ เช่น
                     แหกตา(หลอกกลอก)คางทำหางโก่ง 
     
2.ตัวอย่างสัมผัส    “เทียบเคียง” หมายถึงสัมผัสสระเรียงชิดกัน 3 คำ เช่น
                     เห็น(นกหกกก)ลูกรัญจวนจิต     
 
3.ตัวอย่างสัมผัส    “ทบเคียง” หมายถึงสัมผัสสระสองสระเรียงกันสระละ 2 คำ เช่น
                     เสียงเลื่อน(ลั่นครั่น)(ครื้นพื้น)พิภพ   
    
4.ตัวอย่างสัมผัส    “เทียบแอก” หมายถึงสัมผัสสระที่มีสระอื่นคั่น 1 สระ อยู่ปลายวรรค เช่น
                     ปีบจำปีจำ(ปา)แล(กา)หลง   
 
5.ตัวอย่างสัมผัส    “แทรกเคียง” หมายถึงมีสระอื่นคั่น 1 สระ อยู่ต้นวรรค เช่น
                     สิ้นบุญแล้วน้องแก้วจะลาตาย   
  
6.ตัวอย่างสัมผัส    “แทรกแอก” เป็นลักษณะเดียวกับเทียบแอกแต่มีสระอื่นคั่น 2 คำ เช่น
                     แต่เห็น(กัน)ยังไม่(ทัน)ได้บอกกล่าว   

7.ตัวอย่างสัมผัส    “ยมก” หมายถึงการซ้ำคำ เช่น
                     ถึงวัด(ทอง ทอง)ทาบ อยู่ปลาบเปล่ง 
        
8.ตัวอย่างสัมผัส     “คู่” หมายถึงสัมผัสอักษรชิดกัน 2 คำ เช่น
                     (ที่เภทภัยสารพัดกำจัดแคล้ว)       

9.ตัวอย่างสัมผัส    “เทียบคู่” หมายถึงสัมผัสอักษรชิดกัน 3 คำ เช่น
                     มาแปลงเปลี่ยนแปลกไปไม่เหมือนก่อน

10.ตัวอย่างสัมผัส    “เทียมรถ” หมายถึงสัมผัสอักษรชิดกัน 4 คำ เช่น
                    (โอ้อกเอ๋ยอา)วรณ์ต้องจรจาก   

11.ตัวอย่างสัมผัส     “เทียบรถ” หมายถึงสัมผัสอักษรชิดกัน 5 คำ เช่น
                     มา(โรยร่วงแรมเรศเร)ณูนวล)

12.ตัวอย่างสัมผัส     “ทบคู่” คือสัมผัสอักษร 2 อักษรเรียงกัน 2 คำ เช่น
                     จน(ดาวเดือนเลื่อนลับ)ไปจากฟ้า 
   
13.ตัวอย่างสัมผัส     “แทรกคู่” เป็นสัมผัสอักษรที่มีอักษรอื่นคั่น 1 คำ เช่น
                      ตัวคน(เดียว)หลง(เดิน)ในดงแดน 
     
14.ตัวอย่างสัมผัส      “นิสสัย” คือสัมผัสอักษรระหว่างปลายวรรคหน้ากับต้นวรรคหลัง เช่น   
                      ฝืนวิโยคโศกเศร้าเข้าใน(ห้อง)     (เห็น)แท่นทองที่ประทมภิรมย์สงวน   
      
15.ตัวอย่างสัมผัส     “นิสสิต” คือ อักษรปลายวรรคหน้าสัมผัสอักษรที่สองของวรรคหลัง เช่น   
                       ให้ปลาบปลื้มมิได้ลืมละอา(ลัย)     คิด(แล้ว)ให้หวนซ้ำระกำทรวง

*ขอขอบคุณข้อมูลจาก Internet ค่ะ*

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: