หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ดาหลา  (อ่าน 2065 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,135
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 04 ตุลาคม 2560, 03:19:26 PM »

Permalink: ดาหลา



ดาหลา

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera elatior (Jack) R.M.Sm.
ชื่อพ้อง : Nicolaia elatior (Jack) R.M.Sm.
ชื่อสามัญ : Torch ginger
ชื่อพื้นเมืองอื่น : กาหลา, ดาหลา (กรุงเทพฯ) ; กะลา (นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก (ExH) สูงประมาณ 5 เมตร มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าหัว ลำต้นเหนือพื้นดินเป็นกาบหุ้มรอบกันแน่น ทรงกระบอก แข็ง
ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม ใบกว้าง 20 ซม. ยาวประมาณ 50 ซม. สีเขียวเข้มและมัน

ดอก ออกเป็นช่อเดี่ยวที่ปลายก้านซึ่งแทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ก้านช่อดอกเป็นปล้องยาวประมาณ 1.5 เมตร
ดอกสีแดงอมชมพู หรือสีขาว กลีบดอกหนาเรียบเป็นมัน ซ้อนกันหลายชั้น โคนกลีบดอกเรียบเป็นมันสีแดง
ปลายกลีบสีขาว กลีบนอกใหญ่ กลีบในเล็ก และลดขนาดลงเรื่อย ๆ จนถึงวงชั้นใน ปลายกลีบแบะออกมีจะงอยแหลม
 ออกดอกตลอดปี มีมากช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม

ผล รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. มีขนนุ่ม
นิเวศวิทยา
มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทั่วไป ชอบดินชุ่มชื้น ขึ้นตามป่าดิบชื้นทั่วไป นิยมปลูกกันตามบ้านเรือนเป็นไม้ประดับ
การปลูกและขยายพันธุ์
การปลูกเพื่อการค้า นิยมปลูกเป็นแปลงเพื่อให้ได้ผลผลิตเต็มที่ ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อหรือเหง้าหัวใต้ดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย
ประโยชน์ทางยา
รสและสรรพคุณในตำรายา

หน่ออ่อนและดอกตูม รสเผ็ดเล็กน้อย นำมาต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือแกงกะทิ แกงคั่ว ยำ
หั่นฝอยผสมในข้าวยำซึ่งเป็นอาหารภาคใต้ นำกลีบดอกมาต้มแล้วชงเป็นเครื่องดื่ม
ส่วนกากที่เหลือนำไปเคี่ยวกับน้ำตาลทำเป็นดอกดาหลากวน

วิธีและปริมาณที่ใช้
ใช้รักษาโรคผิวหนังและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าหัวใต้ดินโขลกผสมเหล้าโรงแล้วคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง
หรือลมพิษ วันละ 2-3 เวลา เช้า-เย็น
เป็นยาขับลม โดยใช้กลีบดอกสดหรือแห้ง 10-15 กลีบ มาต้มแล้วชงเป็นเครื่องดื่ม ดื่มเป็นประจำ



บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: