เกาลัดเปลือกกำมะหยี่สีแดงไม่มีขน : ไม้มงคลให้โชคลาภทั้งในญี่ปุ่นและจีน (และไทย)เกาลัด หรือเชสท์นัท (chestnut) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่ขึ้นอยู่ในแทบจะทุกแถบถิ่นของโลกที่มีอากาศเย็น เป็นพืชท้องถิ่นทั้งในอเมริกา ยุโรป จีน ญี่ปุ่น แต่จัดเป็นพันธุ์ไม้หายากในบ้านเรา การปลูกเกาลัดจึงยังไม่แพร่หลาย คนไทยเรียกชื่อตามภาษาถิ่นว่า 'ลูกก่อ'
สำหรับเกาลัด ถึงจะเปลือกแข็ง ก็เป็นนัท(เมล็ดเกาลัด,ลูกเกาลัด) ประเภทเดียวที่ทางโภชนาการถือว่าเป็นผัก เพราะมันมีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก และน้ำมันมีนิดเดียวและเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว อุดมด้วยวิตามินบี คนโบราณเขาว่าเกาลัดเหมาะสำหรับผู้สูงอายุประเภทของเกาลัด
เกาลัด มีหลากหลายพันธุ์ ประเทศไทยได้มีการทดลองปลูกโดยนำมาจากประเทศจีนประมาณปี 2528 โดยมีการคัดแยกสายพันธุ์เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทย
เกาลัด ที่นิยมกินกันเป็นพันธุ์ที่มีเปลือกหุ้มเมล็ดเกาลัดขนยาวคล้ายเงาะ ซึ่งสามารถหาได้ทั่วไป ส่วน เกาลัด ที่มีเปลือกกำมะหยี่แดง เป็นที่นิยมในการปลูกเป็นไม้ประดับในสวน เพื่อความสวยงาม เนื่องจากพวงผลที่มีลักษณะเด่นเป็นสีแดงสดหุ้มเมล็ดเกาลัด และเมื่อผลออกเต็มต้นจะดูสวยงามเหมือนต้นโอ๊คที่มีผลสีแดงเต็มต้นซึ่งแตก ต่างจากพันธุ์ขนยาวคล้ายเงาะ
เกาลัดพันธุ์เปลือกกำมะหยี่แดงจึงเป็นที่นิยมในการปลูกเพื่อประดับ และเป็นศิริมงคลมากกว่า
ต้น กำเนิดของเกาลัดในประเทศไทยจึงนับได้ว่านำเข้ามาจากประเทศจีนทั้งสิ้น เพียงแต่ประเภทของเกาลัดมีจำนวนมากและต้องคัดตามความต้องการในการใช้ ประโยชน์ของผู้ปลูก
การปลูกเกาลัด
การปลูกเกาลัด สามารถทำได้ทั้งจากการตอนกิ่ง ลูกเกาลัดหรือเมล็ดเกาลัดโดย ทั่วไปใช้เวลาประมาณ 6-7 ปีจึงจะผลิดอกออกผล ต้องใช้เวลาและรู้จักรอคอย โดยเฉพาะการเพาะจากลูก
เกาลัด เนื่องจากต้องผ่านอุปสรรคเรื่องของแมลง และกระรอกที่จะคอยกัดกินผล อีกทั้งสภาพของดินและอากาศในขณะเพาะก็มีผลเช่นกัน
แมลงที่ชอบวางใข่เพื่อให้ลูกเกิดเป็นตัวหนอนแล้วไชเนื้อเมล็ดเกาลัดเป็นอาหารคือ ด้วงดิน
ส่วน หอยทากก็ชอบเช่นกัน ที่หนักไปกว่านั้นคือ กระรอก เนื่องจากกระรอกจะกินตั้งแต่เปลือกหุ้มเมล็ดยังเป็นสีเขียว นำมาแทะเล่นแล้วทิ้งซากไว้ให้ดูต่างหน้าเป็นประจำ ส่วนที่สุกจน
เปลือกหุ้มเมล็ดเป็นกำมะหยี่แดงก็มีโอกาสสูงที่จะถูกกระรอกกินเช่นกัน
นอก จากนี้ต้นอ่อนที่เพาะในกระถางยังสามารถถูกกระรอกมาขุดกินและทำลายอีกด้วย แต่เมื่อลำต้นตั้งตรงได้ประมาณ 20 เซนติเมตร ปัญหาเรื่องกระรอกก็จะหมดไปจนกว่าจะออกผล
อีกนั่นเอง อย่างไรก็ตามกระรอกมักจะโปรดปรานมะม่วงมากกว่าลูกเกาลัด เนื่องจากกินมะม่วงง่ายกว่าการมาแทะลูกเกาลัดเปลือกแข็งนั่นเอง
เกาลัด กับสภาวะโลกร้อน
เกาลัด เป็นพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่ สูงได้ตั้งแต่ 4-30 เมตร ขึ้นอยู่้กับสถานที่ปลูกและการตัดแต่งกิ่ง เกาลัดเป็น ไม้ที่ต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสร้างเนื้อ
เยื่อ ของลำต้น รวมทั้งก๊าซพิษชนิดอื่นๆด้วย ดังนั้นจึงสามารถช่วยลดปัญหาเรื่องสภาวะโลกร้อน และปัญหามลภาวะทางอากาศได้เป็นอย่างดี อีกทั้งใบไม่ค่อยร่วง และมีขนาดใหญ่ จึง
สามารถให้ร่มเงาและกรองฝุ่นละอองสิ่งสกปรกได้เป็นอย่างดีอีกด้วยตำรายาจีน
จากข้อมูลตำรายาจีนแนะ นำว่า หากกินเมล็ดเกาลัดดิบจะแก้อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ และถ้าหากเคี้ยวดิบ ๆ ค่อย ๆ ซึมซับเอาน้ำเกาลัดเข้าไปจะแก้คออักเสบ หากเอาเกาลัด 7 ลูกไปต้มกับข้าวกล้อง ใส่เซ่งจี๊ จะช่วยแก้อาการปวดหลัง ถ้าท้องเสีย โดยเฉพาะในเด็ก ให้เอาเกาลัดมาบดเป็นแป้งแล้วต้มกับพลับแห้ง จนเป็นแป้งเปียก กินไปจนกว่าอาการท้องเสียจะทุเลาลง ถ้าใครที่ร่างกายอ่อนแอและกำลังฟื้นไข้ใช้สูตรนี้ สุขภาพก็จะฟื้นเร็วยิ่งขึ้นที่มา
www.88DB.com