-/> ผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  (อ่าน 1752 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หัวใจ..มีไว้เพื่อรัก
คะแนนน้ำใจ 3667
เหรียญรางวัล:
นักอ่านยอดเยี่ยม
กระทู้: 310
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2560, 10:04:45 AM »

Permalink: ผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท




Q:   การผ่าตัดแบบใช้กล้องดีกว่าไม่ใช้กล้อง หรือไม่?


A:    การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบผ่านกล้องมีข้อดี คือ ขบวนการในการผ่าตัดจะทำลายเนื้อเยื้อน้อยกว่า เนื่องจากการผ่าตัดใช้วิธีการแหวกกล้ามเนื้อเพื่อส่องกล้องเข้าไปผ่าตัดแทนการเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูก โอกาสของการเกิดพังผืดภายในหลังจากที่ทำการผ่าตัดก็น้อยลง แตกต่างกับการผ่าตัดแบบเปิดที่ต้องเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูก ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องตัดกระดูกออกส่วนหนึ่ง ส่งผลให้เวลาที่กล้ามเนื้อและกระดูกกลับมาเชื่อมกัน จะมีโอกาสเกิดพังผืดได้มาก และตัวพังผืดนี้เองที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดหลังซ้ำ อีกทั้งอาจมีผลกระทบให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น สูญเสียความแข็งแรง โดยเฉพาะในคนที่อายุน้อย นักกีฬา หรือคนที่ต้องออกแรงในการทำกิจกรรม

ขนาดของแผล การผ่าตัดผ่านกล้องจะมีขนาดของแผลระหว่าง 8 -1 เซนติเมตร ส่วนการผ่าตัดแบบเปิด ขนาดของแผลจะอยู่ที่ 3.5-4 เซนติเมตร
การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด ทั้ง 2 วิธีไม่ได้มีความแตกต่างกันชัดเจน แต่การผ่าตัดผ่านกล้องจะมีการฟื้นตัวของแผลได้เร็วกว่า เพราะแผลมีขนาดเล็ก
ระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาล การผ่าตัดแบบเปิดจะกินเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานกว่าประมาณ 1 -2 วัน เมื่อเทียบกับการผ่าตัดผ่านกล้อง
ความสำเร็จของการผ่าตัด อัตราการสำเร็จในการที่จะนำหมอนรองกระดูกที่เกิดปัญหาออกมาได้หมด สำหรับการผ่าตัดแบบเปิดประมาณร้อยละ 93 ส่วนการผ่าตัดผ่านกล้องคิดเป็นร้อยละ 89-90
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทผ่านกล้อง ต้องอาศัยความสามารถของศัลยแพทย์สูงกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดแบบนี้ต้องได้รับการฝึกฝน และต้องมีประสบการณ์ที่มากพอ




Q:   ผู้สูงอายุสามารถผ่าตัดได้หรือไม่ มีความเสี่ยงอะไรบ้าง และควบคุมความเสี่ยงนั้นอย่างไร
A:   ผู้สูงอายุสามารถผ่าตัดรักษาโรคทางหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ โดยส่วนมากแล้วผู้ป่วยที่มาด้วยเรื่องของกระดูกสันหลังมักเป็นผู้สูงอายุมากว่าเด็ก หรือคนวัยหนุ่มสาว ด้านอัตราความเสี่ยง ผู้สูงอายุบางรายมักมาพร้อมกับโรคประจำตัว อาทิ เบาหวาน ความดัน หรือโรคหัวใจ โรคประจำตัวเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการควบคุม เมื่อตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดผู้ป่วยต้องได้รับการเตรียมความพร้อมของร่างกาย หากมียาที่รับประทานเป็นประจำ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด อาจจะต้องหยุดก่อนเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อม เหล่านี้ต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์ที่ทำการรักษาโรคประจำตัวเหล่านั้นของผู้ป่วยด้วย ถ้าควบคุมโรคประจำตัวเหล่านี้ได้ดี ผู้สูงอายุก็จะสามารถทำการผ่าตัดได้

Q:   องค์ประกอบอะไรบ้าง ที่จะทำให้การผ่าตัดสำเร็จได้ด้วยดี เพื่อประกอบการตัดสินใจ
A:   ความสำเร็จของการผ่าตัด ประกอบด้วยหลายส่วน ดังนี้

ทีมแพทย์ที่ทำการผ่าตัด ศัลยแพทย์ในการผ่าตัดที่มีประสบการณ์และความสามารถในการผ่าตัดด้านนั้นๆ ประกอบกับความพร้อมในด้านของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อรองรับกับการผ่าตัดชนิดนั้นๆ
ผู้ป่วย เมื่อได้รับการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว และต้องกลับไปพักฟื้นที่บ้าน ณ จุดนี้เองที่แพทย์ไม่สามารถตามไปดูแลได้ทุกราย ฉะนั้น การดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดจึงมีความสำคัญ ผู้ป่วยสามารถทำตามที่แพทย์แนะนำได้ หรือไม่ หากทำได้ มีวินัย ผลการรักษาก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่น ลดความสี่ยงจากอาการแทรกซ้อน
ญาติของผู้ป่วย ในขณะที่ผู้ป่วยยังไม่สามารถเดินได้สะดวก ญาติจะต้องให้ความสำคัญ ต้องเข้าใจข้อจำกัดของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดว่าห้ามทำกิจกรรมแบบใดบ้าง ต้องคอยเตือน และดูแลอย่างใกล้ชิด




Q:   การเสียเลือดจากการผ่าตัดมากน้อยแค่ไหน
A:   การผ่าตัดแบบเปิดอาจเสียเลือดมากกว่าการผ่าตัดผ่านกล้อง เสียเลือดน้อยหน่อย นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับจุดที่ทำการผ่าตัด และระดับของการผ่าตัดด้วย เช่น การผ่าตัดกระดูกสันหลังในส่วนคออัตราการเสียเลือดก็จะน้อยลง แต่ถ้าเป็นการผ่าตัดแก้กระดูกสันหลังคด แผลมีขนาดยาว อัตราการเสียเลือดก็มีมากขึ้น ตามความยาวของแผลและระยะเวลาในการผ่าตัด

Q:   ผ่าตัดครั้งเดียวจบ หรือไม่

A:   ผ่าตัดครั้งเดียวอาจจะจบได้ในผู้ป่วยบางราย ขึ้นอยู่กับอายุ และโรคที่เกิดจากกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยอายุ 30 ปี มาผ่าตัดรักษาโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น หรือกดทับเส้นประสาทก็น่าจะสามารถจบได้ แต่หากภาพรวมสภาพกระดูกของผู้ป่วยมีความเสื่อมมาก เสื่อมเร็วจากพฤติกรรม ในอนาคตอาจจะต้องกลับมาผ่าตัดเชื่อมข้อซ้ำก็ได้ ทางในกลับกันบางรายกระดูกเสื่อมแล้ว แต่กลับไม่เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัว การใช้งาน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

Q:   เมื่อผ่าตัดแล้วสามารถเดินได้ปกติหรือไม่ แล้วถ้ายังปวดอยู่เกิดจากปัจจัยอะไร
A:    หลังการผ่าตัดที่ทำให้ผู้ป่วยเดินไม่ได้มากกว่า 90% เกิดจากตัวผู้ป่วยเอง เวลาที่ผู้ป่วยมาผ่าตัด ส่วนมากโรคที่เป็นจะมาจากสาเหตุของอายุที่เพิ่มขึ้น ตัวกล้ามเนื้อก็มีการเสื่อมไปตามกาลเวลา ยิ่งถ้าไม่ได้รับการออกกำลังกาย ไม่มีการขยับกล้ามเนื้อก็จะยิ่งเสื่อมลงไปเรื่อยๆ หลังการผ่าตัดจะมีแผลเกิดขึ้น และมีอาการปวดแผลตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายจึงไม่ยอมขยับตัวตามที่แพทย์สั่งเพราะเจ็บ ประกอบกับญาติที่คอยดูแลเมื่อเห็นว่าเจ็บก็ไม่ส่งเสริมให้ขยับ ให้นอนพักนิ่งๆ จนกว่าจะหายปวดแผล ช่วงเวลานี้เองที่ทำให้กล้ามเนื้อขาดการเคลื่อนไหว จึงฝ่อตัวลงไปเรื่อยๆ เมื่อแผลภายนอกหายประมาณ 2-3 สัปดาห์ กล้ามเนื้อก็ฝ่อไปมากแล้ว แต่คนไข้กลับหายปวด และอยากลงมาเดิน ปรากฏว่าเมื่อลงน้ำหนักกล้ามเนื้อไม่ไหว รู้สึกอ่อนแรง ก็กลับไปนอนต่อ กล้ามเนื้อก็ยิ่งฝ่อไปเรื่อยๆ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เดินไม่ได้จริงๆ




Q:   หลังผ่าตัดถ้ายังปวดอยู่เกิดจากอะไร
A:    ถ้าปวดร้าวลงขาภายหลังจากการผ่าตัด ตัวเส้นประสาทอาจจะยังมีการอักเสบอยู่จากการกดทับ ในช่วง 1-2 เดือนแรกหลังการผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีอาการปวดๆ ตึงๆ หรือซู่ๆ ที่ขาได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติอีกกรณี คือ หลังจากยังมีอาการปวดอยู่อีก ต้องย้อนกลับมาดูว่ามีอาการบาดเจ็บของเส้นประสาทอยู่หรือไม่ หรืออาจจะเป็นเรื่องของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ยังเอาออกได้ไม่หมด

Package & Promotion



ที่มา
paolo@paolohospital.com
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: