-/> ติดเค็ม.... ระวังหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ติดเค็ม.... ระวังหัวใจเต้นผิดจังหวะ  (อ่าน 2356 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 27 มกราคม 2557, 09:30:21 AM »

Permalink: ติดเค็ม.... ระวังหัวใจเต้นผิดจังหวะ





ติดเค็ม ระวังหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การรับประทานอาหารรสเค็มเป็นเวลานานๆ จนเป็นนิสัย อาจกลายเป็น “ภัยเงียบ” ที่ซ่อนเร้นในวิถีการบริโภคของเราโดยไม่รู้ตัว
 โดยเฉพาะโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มาทำความรู้จักกับโรคนี้และค้นพบแนวทางรักษาสุขภาพได้ในบทความนี้


วิถีการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมสู่วิถีชีวิตอันเร่งรีบของผู้คนในสังคมปัจจุบัน ส่งผลให้พฤติกรรม
การบริโภคอาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารฟาสต์ฟู้ด เข้ามาแทนที่การทำอาหารรับประทานเองภายในบ้าน
 ทำให้มีโอกาสเพิ่มปริมาณการบริโภคเกลือและสารให้ความเค็มเพิ่มมากขึ้น ผลการสำรวจของกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุขบ่งชี้คนไทยบริโภคเกลือมากกว่าสามเท่าของมาตรฐานปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน ทำให้มีแนว
โน้มเสี่ยงต่อโรคต่างๆ สูงมากขึ้นตามลำดับ รวมทั้งโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการ “ติดเค็ม” เหมือนกัน

หัวใจ ทำไมต้องผิดจังหวะ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ สาขาหทัยวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล คุณหมอไขข้อข้องใจเรื่องโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการอธิบายกลไก
การทำงานของหัวใจและสาเหตุของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนี้
 “หัวใจเป็นอวัยวะชิ้นเดียวในร่างกายคนเราที่ทำงานตลอดเวลาโดยไม่มีหยุด ดังนั้น ภายในหัวใจของคนเราจึงมีจุดกำเนิดไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าตาม
ธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นพลังงานในการควบคุมหัวใจให้เต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอ และเกิดการบีบรัดกล้ามเนื้อหัวใจเพื่อสูบฉีดออกซิเจนและสารอาหาร
ไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย

“โดยปกติแล้วหัวใจจะเต้นประมาณ 60 - 80 ครั้งต่อนาที แต่หากอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ เช่น ตื่นเต้น
ตกใจ เครียด หรือออกกำลังกาย ก็อาจเต้นเร็วขึ้น แต่ในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
โดยไม่มีสาเหตุกระตุ้นที่แน่ชัด โดยเกิดจากจุดกำเนิดไฟฟ้าภายในหัวใจทำงานผิดปกติ
หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในหัวใจ ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย” คุณหมอกล่าวเพิ่ม
เติมว่า โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ หัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าผิดปกติ
คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที และหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีอัตราการ
เต้นของหัวใจเร็วผิดปกติ คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที

สาเหตุที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ
สาเหตุที่ทำให้หัวใจของคนเราเต้นผิดจังหวะ คุณหมอสรุปว่ามีด้วยกันอยู่ 4 สาเหตุหลัก ดังนี้
กรรมพันธุ์
ความผิดปกติของวงจรไฟฟ้าหัวใจตั้งแต่กำเนิดสามารถเป็นตัวการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะทั้งประเภทที่มีอัตราการเต้นช้าเกินไปและเร็วเกินไป
 โดยอาจมีอาการป่วยตั้งแต่เด็กหรือมีอาการในวัยทำงานก็ได้
 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและปัจจัยกระตุ้น เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เป็นต้น”

การเสื่อมสภาพของระบบไฟฟ้าหัวใจ
สาเหตุนี้มักเกิดในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เนื่องจากหัวใจทำงานมาเป็นเวลานาน
จึงเกิดความเสื่อมตามอายุการใช้งาน ระดับพลังงานที่กระตุ้นให้หัวใจทำงานจึงน้อยลง ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าผิดปกติ

โรคบางชนิด
โรคหัวใจบางชนิดรวมไปถึงโรคที่ส่งผลต่อระบบหัวใจ เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง
ไขมันในเส้นเลือดสูงเบาหวาน และผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคเหล่านี้จะส่งผลให้หัวใจหรือวงจรไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติ
 โดยเข้าไปขัดขวางการเดินทางของกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจ

ยาและสารเสพติดบางชนิด
การกินยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ดังที่คุณหมออธิบายว่า
 
“ยาบางชนิดโดยเฉพาะยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงซึ่งออกฤทธิ์ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ก็อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
หรือยารักษาโรคหวัด ยาขยายหลอดลมและยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ก็อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะได้

เกี่ยวอะไรกับความเค็ม?
แม้จะไม่เกี่ยวโดยตรง แต่เนื่องจากเกลือเป็นตัวที่ดึงน้ำเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อเลือดและน้ำ
เพิ่มเข้าไปในระบบ ความดันก็เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้ระบบการเผาผลาญลดลง
 เมื่อได้รับเกลือในปริมาณที่เกินพอดีเป็นเวลานานๆ ทำให้ส่งผลในตอนที่สูงอายุแล้ว
 เพราะระบบในร่างกายทำการต่อสู้มาโดยตลอด เหมือนกับเครื่องจักรเครื่องยนต์ พอทำงานหนักเป็นเวลานานๆ ก็เสื่อมสภาพตามปกติ

นอกจากนี้ การกินเค็มต่อเนื่องมานานๆ มีผลทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาขึ้น
อีกด้วย ซึ่งกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยอาจส่งผลให้หัวใจหรือวงจรไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติ
และยังส่งผลทำให้อัตราการกรองของเสียผ่านไตเพื่อขับถ่ายออกทางปัสสาวะมากขึ้น หรือกล่าวง่ายๆ
คือทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น ส่งผลให้ไตเสื่อมสภาพอันจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไตได้อีกด้วย
ติดเค็มแล้วมีแต่ข้อเสียอย่างนี้ ลดเค็มลงทีละนิดละหน่อย





ตรวจเช็กหัวใจ ก่อนเคลื่อนไหวผิดจังหวะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะว่า มี 2 ประเภทคือ

อาการของโรคหัวใจเต้นช้าผิดปกติและเร็วผิดปกติ

อาการของโรคหัวใจเต้นช้าผิดปกติ จะมีอาการมึนงง ใจหวิว วูบ ความดันโลหิตต่ำ หากเป็นหนักอาจ
เป็นลมหมดสติ ในรายที่อาการไม่มากอาจมีเพียงอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย
อาการของโรคหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หากมีอาการน้อยอาจรู้สึกเหนื่อยง่ายและหัวใจเต้นรัวเท่านั้น แต่
หากมีอาการหนักจะรู้สึกเจ็บหน้าอก หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ หัวใจวาย และอาจเสียชีวิตโดยเฉียบพลัน
แม้อาการของโรคนี้จะดูรุนแรง แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อโรคลุกลามไปมากแล้ว
 เนื่องจากอาการของโรคไม่สามารถบ่งได้แน่ชัดว่าป่วยเป็นอะไร จึงทำให้ได้รับการวินิจฉัยผิดในตอนต้น
 ดังเช่นคุณสุชาดาที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเครียด ก่อนจะพบสาเหตุที่แท้จริงในอีกสองปีต่อมา

How to Check
- มีอาการหน้ามืด เป็นลม โดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่เลือกเวลา และมักหายเองได้
- ระยะเวลาที่มีอาการหน้ามืดเป็นลมนั้นไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค เช่น ถ้าเป็นระยะเริ่มแรกอาจหายเองได้ภายในไม่กี่นาที
 และในบางรายอาจมีสัญญาณของโรคชัดเจน เช่น
กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกด้านขวากระตุกเมื่อมีอาการ

How to Heal
เมื่อมีอาการ ผู้ป่วยควรรีบไปหาแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์ตรวจร่างกายและตรวจหาคลื่น
ไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ แต่หากไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้ หรือเมื่อไปถึงแล้วอาการดังกล่าวหายไป
 ผู้ป่วยสามารถขอให้แพทย์ติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจได้
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีการรักษาที่ต่างกันตามความรุนแรงของโรค คือ หากผู้ป่วยยังอยู่ในวัยทำงาน มี
สุขภาพแข็งแรง หรือมีอาการหัวใจเต้นรัวเพียงเดือนละไม่กี่ครั้ง ก็จะให้ดูแลสุขภาพและเฝ้าสังเกตอาการว่า
หากปฏิบัติตนตามที่หมอสั่งแล้วอาการดีขึ้นหรือไม่ หากดีขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีอื่น แต่หากผู้ป่วยมี
อาการหนักหรืออายุมากก็จะรักษาด้วยสามวิธีต่อไปนี้ คือ กินยา จี้กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่ลัดวงจรด้วยคลื่น
เสียงความถี่สูง และฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจในผู้ป่วยที่
หัวใจเต้นช้าผิดปกติ หรือเครื่องกระตุกหัวใจในผู้ป่วยที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

นอกจากรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวแล้ว การดูแลตัวเองด้วยวิธีธรรมชาติก็ช่วยบรรเทาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
และป้องกันการเกิดโรคได้ ซึ่งวิธีที่คุณหมอแนะนำมีดังนี้

ผ่อนคลายความเครียด คุณหมอรุ่งโรจน์กล่าวว่า

“ความเครียดถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว
เนื่องจากเมื่อเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนและสารสื่อประสาทต่างๆ ที่กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ”


ลดยาบางชนิด ผู้ที่มีโรคประจำตัวและต้องกินยาต่อเนื่องอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งเป็นผล
ข้างเคียงของยา ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ว่าสามารถลดยาหรือเปลี่ยนชนิดยาได้หรือไม่ เพื่อป้องกัน
อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ งดเครื่องดื่มกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลม
 เนื่องจากสารกระตุ้นที่อยู่ในเครื่องดื่มจะกระตุ้นให้จุดกำเนิดไฟฟ้า หรือกล้ามเนื้อหัวใจที่มีแนวโน้มว่าจะเกิด
การลัดวงจรทำงานผิดปกติได้เร็วขึ้น

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับทำให้หัวใจได้พักผ่อนและทำงานน้อยลง
 ซึ่งเท่ากับเป็นการรักษาหัวใจให้แข็งแรงและสูบฉีดเลือดได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แม้เมื่อแรกรู้ว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย มิหนำซ้ำอาการของโรคยังยากต่อการวินิจฉัย ฉันก็ถึง
กับหวาดกลัว ด้วยเพราะมีความเสี่ยงทั้งปัจจัยกรรมพันธุ์และความเครียด แต่เมื่อคุณหมอแนะนำวิธีป้องกันโรคนี้ด้วยวิธีธรรมชาติที่สามารถทำได้เอง
เพียงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการดูแลสุขภาพมากขึ้น หัวใจของคุณก็จะไม่เต้นผิดจังหวะให้เจ้าของต้องเจ็บป่วยล้มหมอนนอนเสื่อแน่นอน

ดูแลหัวใจสไตล์ชีวจิต
อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิตแนะนำการดูแลร่างกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจว่า

 “ผู้ป่วยโรคหัวใจควรคุมอาหารโดยลดของเค็มเด็ดขาด กินยาตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด
ลดแป้ง ลดเนื้อและออกกำลังกายสม่ำเสมอก็จะช่วยให้ห่างไกลโรคร้ายต่างๆ ได้



KBeautifullife

บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: