You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดความบันเทิงสาระน่าอ่าน (ผู้ดูแล: Top Gun)ตะคริว อาการใกล้ตัว ที่หลาย ๆ คนต้องเคยเป็น
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ตะคริว อาการใกล้ตัว ที่หลาย ๆ คนต้องเคยเป็น  (อ่าน 400 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนน้ำใจ 8151
เหรียญรางวัล:
นักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลบอร์ด
กระทู้: 577
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2567, 04:54:24 AM »

Permalink: ตะคริว อาการใกล้ตัว ที่หลาย ๆ คนต้องเคยเป็น

ปัญหาเรื่อง “ตะคริว” เป็นปัญหาประจำที่เชื่อว่าทุกคน ทุกครอบครัวมีประสบการณ์มากันทั้งนั้น
 ในบางครั้งเกิดขึ้นในช่วงที่ไม่ควรเกิดขึ้น จนอาจนำอันตรายมาสู่เราได้ เช่น ตอนว่ายน้ำ
หรือตอนวิ่ง และไม่จำเป็นต้องเกิดกับนักกีฬาหรือขณะที่มีการออกกำลังกาย
แต่สามารถเกิดขึ้นกับกับคนธรรมดาได้ แต่รู้หรือไม่ว่าอาการ “ตะคริว” นี้เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนว่า
มีความผิดปกติขึ้นในร่างกายเกิดขึ้น !! เราจึงจำเป็นต้องรู้จักอาการนี้ทั้งสาเหตุ การรักษา
และการป้องกันให้มากขึ้นนะคะ
ตะคริวเกิดจากอะไร ?
ตะคริว (Muscle cramps) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อหดเกร็ง จนเกิดเป็นก้อนแข็ง
 ซึ่งเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดก็ได้ แต่ส่วนมากจะเกิดขึ้นบริเวณน่องและขา
ส่งผลให้เกิดอาการปวด หรือเจ็บกล้ามเนื้อบริเวณนั้น โดยตะคริวจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
และไม่สามารถล่วงรู้หรือบังคับ ให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ โดยตะคริวมักจะเป็นในระยะเวลาสั้น ๆ
ชั่วขณะหนึ่ง หลังจากนั้นอาการเจ็บปวดต่าง ๆ จะค่อย ๆ ทุเลาลงไปเอง
 แต่ในบางรายก็ใช้ระยะเวลานานกว่าจะทุเลาลง หรือบางรายอาจจะเป็นตะคริวได้บ่อย
จนทำให้เกิดความทรมาน หรือรู้สึกหงุดหงิดได้
ตะคริวเกิดขึ้นที่บริเวณใดได้บ้าง ?
หลายคนอาจชินกับการเกิดภาวะนี้บริเวณขาจนเข้าใจว่าตะคริวไม่สามารถเกิดขึ้นที่อื่นได้
 แต่ในความเป็นจริงตะคริวสามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด และแต่ละจุดยังสำคัญต่อการเคลื่อนไหว ได้แก่
--ตะคริวบริเวณหน้าท้อง จากโรคที่เกิดขึ้นในบริเวณท้อง เช่น ระบบย่อยอาหารอาจเกิดการติดเชื้อ
 หรือเกิดจากการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อท้องได้ด้วยเช่นกัน
--ตะคริวบริเวณหลัง เกิดจากการใช้แรงในขณะก้มมากเกินไปทั้งก้มยกของหนัก หรือการก้มนาน ๆ
 จะส่งผลให้เกิดอาการตะคริว หรืออาการปวดได้ นอกจากนี้อาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณว่า
กระดูกสันหลังมีความผิดปกติอีกด้วย
--ตะคริวบริเวณขา พบได้มากจากการออกกำลังกาย เนื่องจากการใช้กล้ามเนื้อเกินความเหมาะสม
จนเกิดอาการเกร็ง หรืออ่อนล้าโดยอาการที่อันตรายที่สุดคือ การเป็นตะคริวขณะว่ายน้ำ
สาเหตุของการเกิดตะคริว
ตะคริวเกิดจากสาเหตุมากมายหลายประการจนยากที่จะระมัดระวังได้
จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมการเกิดตะคริวได้ สาเหตุที่ว่านั้น อาจเกิดจาก
--เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อย ๆ จึงทำให้มีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่าย
--เซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติในขณะนอนหลับ
--เกิดได้จากโรคบางโรค เช่น โรคตับ หรือโรคไต
--เกิดจากการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือยาราโลซิฟีน เป็นต้น
--การดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ
--เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะโซเดียมและโพแทสเซียม ได้แก่ ท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมาก
--ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ก็อาจเป็นตะคริวได้บ่อย
--ตั้งครรภ์อาจเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น เนื่องจากระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ
--บาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ อาจเกิดจากการกระแทกระหว่างเล่นกีฬา
--ใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นทำงานหนักมากเกินไประหว่างการทำกิจกรรมออกแรง
--เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอ จากการออกกำลังกายหนักหรือวอร์มอัพไม่พอ
--การนอน นั่ง หรือยืน ในท่าที่ไม่สะดวกนาน ๆ ก็ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก
--ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดตีบตัน ๆ ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี

อาการของตะคริว
อาการปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้ออย่างมาก หากสัมผัสจะพบว่ามีก้อนเนื้อบริเวณนั้น
โดยปกติจะสามารถหายได้ภายในเวลา 2-15 นาที ในบางรายอาจมีอาการปวดเรื้อรังอยู่
 และจะกินเวลาเป็นวันก่อนจะหายอย่างสมบูรณ์
จะแก้ตะคริวอย่างไร ?
--หากเกิดตะคริวขณะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาบนบก ให้ยืดกล้ามเนื้อ
หรือนวดบริเวณที่เป็นตะคริวประมาณ 1-2 นาที หากอาการยังไม่หายดี ให้ค่อย ๆ นวดไปเรื่อย ๆ
--หากเกิดตะคริวขณะว่ายน้ำ เราต้องตั้งสติ พยายามทำให้ตัวของเราลอยน้ำอยู่ตลอดเวลา
หากเกิดตะคริวที่น่องด้านหลัง ให้หงายตัวขึ้น ใช้มือพยุงน้ำให้ลอย
และยกขาขึ้นเหนือน้ำเข้าหาใบหน้า หากเกิดตะคริวหลังขาอ่อน พยายามอยู่ในท่านอนคว่ำ
 และพับข้อเท้าเข้าหาด้านหลัง หากเกิดตะคริวที่ข้อเท้า นอนหงายและให้เท้าอยู่บนผิวน้ำ
 แล้วนวด หรือหมุนเบา ๆ ที่ข้อเท้า
--หากเกิดอาการเป็นตะคริวในขณะที่นอน ให้ยืดกล้ามเนื้อขา โดยยืดขาให้ตรง
 กระดกปลายเท้าขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที ทำแบบนี้ 5-10 ครั้ง แล้วนวดกล้ามเนื้อขาเป็นวงกลมจนกว่าจะหาย
--หากสตรีตั้งครรภ์เกิดตะคริว ให้ปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ เพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัย
หาสาเหตุอย่างละเอียด และทำการรักษา เนื่องจากอาการตะคริวอาจเป็นสัญญาณ
ของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
จะป้องกันตะคริวกินอย่างไร ?
**อบอุ่นร่างกายยืดเส้นยืดสายกล้ามเนื้อก่อนเริ่มออกกำลังกาย
**ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วหรือ 2 ลิตร
**กินอาหารที่มีแคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เช่น ปลา นม ผักโขม ลูกเกด กล้วยหอม เป็นต้น
**ดื่มนมก่อนนอนเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่ตะคริวกินระหว่างนอนตอนกลางคืน
**นอนยกขาให้สูงโดยใช้หมอนรองขาให้ขาสูงขึ้นจากเตียงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือประมาณ 4 นิ้ว
**ฝึกยึดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะคริวบ่อย ๆ
**ระมัดระวังการยกของหนัก หรือการทำกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อหนักอย่างต่อเนื่อง
**หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หลังการรับประทานอาหาร
**การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30-60 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
**นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7-9 ชั่วโมง
จะเห็นได้ว่า โดยส่วนใหญ่ตะคริว เกิดจาก เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อย ๆ
จึงทำให้มีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่าย และเกิดจากโรค หรือการใช้ยาบางกลุ่ม
ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นทำให้เกิดตะคริว แม้ตะคริวจะไม่ได้เป็นโรคภัยที่ร้ายแรงมาก
 แต่ก็สร้างความเจ็บปวดทรมานไม่น้อยเลยล่ะค่ะ อีกทั้งหากเป็นขึ้นมาอย่างกะทันหัน
ก็เสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด อย่างการสะดุดล้มหรือหกล้ม
ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้ อาจนำไปสู่การบาดเจ็บที่ร้ายแรงได้เลยนะคะ
ดังนั้น แม้อาการตะคริวจะพบได้บ่อยจนเหมือนเป็นเรื่องปกติ
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้ามเลยล่ะค่ะ ควรยืดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ กินอาหารที่มีแคลเซียม
โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เช่น ปลา นม ผักโขม ลูกเกด กล้วยหอม
อีกสิ่งหนึ่งคือระมัดระวังการยกของหนักก่อนด้วยนะคะ
.
.
.


ขอบคุณที่มา 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: