You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดความบันเทิงโคลง (ผู้ดูแล: ครภูธน®)เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์  (อ่าน 24252 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #60 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2566, 08:04:16 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @รวงทอง ทองลั่นธม










....”หวานรัก” ”รอพี่” ”ขยี้..............ใจ” ”ถึง       เธอ” นา
     “หญิงอ่อนโลก” โศกจึง.............ร่ำไห้
     “เก็บรัก”ที่ฝังตรึง.......................”อุ่นไอ    รัก”เอย
     “(มั่น)ใจไม่รัก”  “จำได้(ไหม)”.....”อย่าซื้อ(ฉัน)ด้วยเงิน....

....เพริดเพลินเสียงส่งให้.................ตรึงใจ
    “รวงทอง (ทอง)ลั่นธม”ใคร.........ใคร่รู้
     เพลงเด่น”รักบังใบ”...................ขมขื่น   ใจนา
     รับแผ่นเสียงทองฯ กู้.................(ครู)เอื้อสั่งสอนมา...


รวงทอง ทองลั่นธม (บางแห่งเขียนเป็น รวงทอง ทองลั่นทม) เกิดวันที่ (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2480) เป็นนักร้องวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และ วงสุนทราภรณ์ มีชื่อเสียงจากเพลง จำได้ไหม และ ขวัญใจเจ้าทุย รวมทั้งได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2539 เจ้าของฉายานักร้อง เสียงน้ำเซาะหิน

ประวัติ
   รวงทอง ทองลั่นธม เกิดวันเสาร์ ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ที่ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายทอง นางจำรัส ทองลั่นทม มีพี่น้อง 4 คน มีชื่อเดิมว่า ก้อนทอง ทองลั่นทม เมื่อเกิดได้ 2 ปีมารดาก็ได้เสียชีวิต จึงย้ายมาอยู่กับยายที่กรุงเทพฯจนเกิดสงครามโลกจึงย้ายกลับมาพระนครศรีอยุธยาและกลับมาที่กรุงเทพอีกครั้ง เข้าเรียนโรงเรียนนันทศึกษาจนจบชั้นป.4 จึงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนขัตติยนารี เด็กหญิงก้อนทองทราบว่าทางบ้านยากจนจึงตั้งใจเรียนจนสอบได้ที่ 1 และเป็นหัวหน้าชั้น แต่ในขณะเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 คุณพ่อสุขภาพไม่ดีการเงินย่ำแย่ จึงตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน

ชีวิตส่วนตัวเธอเคยคบหากับ ชนะ ศรีอุบล "พระเอกหนังไทยยุคก่อนแต่ทั้งคู่ก็เลิกรากัน" และภายหลังเธอมีแฟนชื่อนายพิสิษฐ์ ชุ่มจิต หรือหม่อมแสงหลังจากเขาเสียชีวิต  เธอจึงสมรสใหม่จนถึงปัจจุบัน

โลกเสียงเพลง
   รวงทองชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กโดยเฉพาะเพลงของวงดนตรีสุนทราภรณ์ซึ่งจะต้องข้ามท้องร่องไปฟังข้างบ้านเพราะบ้านตัวเองไม่มีวิทยุ จนกระทั่งวันหนึ่งมีคนย้ายเข้ามาอยู่ข้างบ้านของรวงทอง ซึ่งเป็นครอบครัวของอภันตรี ประยุทธเสนีย์ คุณสนั่นน้าของอภันตรีเห็นว่ารวงทองชอบร้องเพลง จึงพาไปฝากกับครูเอื้อ สุนทรสนาน โดยได้ใช้เพลงทดสอบ คือ "ยาใจยาจก" เนื่องจากเสียงไพเราะแต่อายุยังน้อยครูเอื้อจึงอยากให้รวงทองรับการศึกษามากกว่าร้องเพลงแต่ทางบ้านฐานะยากจนจึงอยากร้องเพลงมากกว่า ครูเอื้อจึงรับรวงทองเป็นนักร้องฝึกหัดที่กรมประชาสัมพันธ์ รวงทองได้รับการฝึกหัดร้องเพลงกับพลโท หม่อมหลวงขาบ กุญชร เอื้อ สุนทรสนาน สริ ยงยุทธ และชอุ่ม ปัญจพรรค์ ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อให้ว่า รวงทอง ทองลั่นทม โดยจะได้รับการช่วยเหลือจากรุ่นพี่ เช่นศรีสุดา,วรนุช,พูลศรี,ชวลี ช่วยออกสตางค์ค่าเดินทางและค่าอาหาร

   รวงทองใช้เวลาฝึกร้องเพลงอยู่ถึง 3 ปี จนกระทั่งได้เข้าเป็นข้าราชการและนักร้องประจำวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์หรือวงดนตรีสุนทราภรณ์ เริ่มมีชื่อเสียงจากการร้องเพลง รักบังใบ ของครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ ซึ่งในการร้องหน้าเวทีครั้งแรกรวงทองไม่ได้รับการต้อนรับที่ดีนักเพราะหน้าตาที่ไม่ค่อยสะสวยแต่พอเริ่มร้องท่อนแรกของเพลงรักบังใบ เสียงปรบมือก็แน่นขนัดกลบเสียงร้องเพลงด้วยความชื่มชมในน้ำเสียง

  รวงทองมีชื่อเสียงโด่งดังจากเพลง จำได้ไหม (คำร้องโดย ธาตรี ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน) และโด่งดังสุดขีดจากเพลง ขวัญใจเจ้าทุย (โดย สมศักดิ์ เทพานนท์) พ.ศ. 2500 ซึ่งเธอเคยตัดพ้อกับครูเอื้อว่าของสวยงามมีต้องเยอะแยะทำไมต้องให้ร้องเพลงรักกับควาย แต่พอเพลงขวัญใจเจ้าทุยทำการแสดงจบ รวงทองก็ได้รับเสียงชื่นชมจากผู้ฟังจึงทำให้เพลงนี้ขายดีที่สุดในแผ่นเสียงสุนทราภรณ์

   เนื่องจากการร้องเพลงที่กรมประชาสัมพันธ์นั้น ไม่สามารถร้องเพลงที่ไนท์คลับได้ ไม่สามารถร้องเพลงของครูเพลงอื่นได้ และการเป็นข้าราชการต้องเรียบร้อยไม่สามารถรับงานนอกเวลาได้ จึงได้ลาออกจางวงสุนทราภรณ์ไปเป็นนักร้องอิสระ ในปีพ.ศ. 2503 โดยผลงานที่มีชื่อเสียงในช่วงนี้ เช่น แรมพิศวาส, เก็บรัก(ต้นฉบับ), แสนแสบที่แสบแสน,มหาชัยอาลัยท่าฉลอม,เวนิสพิศวาส,จดหมายรักสลักบนพื้นทราย, คีรีบูนยอดรัก, ทุยฝันร้าย,ทุยจ๋าทุย,รักทุย,อรุโณทัยไม่กลับคืน, พับความทุกข์ซุกไว้ใต้หมอน เป็นต้น

ต่อมามีผู้ทักว่านามสกุลทองลั่นทมน่าจะไม่เหมาะเพราะชื่อไปพ้องกับดอกลั่นทมซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายเป็นความระทมตรมใจ รวงทองจึงเปลี่ยนนามสกุลเป็นทองลั่นธม

การแสดง
   รวงทองแสดงละครประกอบบทเพลงมากมายในช่วงอยู่กับวงดนตรีสุนทราภรณ์และแสดงละครให้กับคณะละครต่างๆ ทั้งยังเป็นนางเอกละครโทรทัศน์ทางไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม เรื่องจุฬาตรีคูณ คู่กับ อาคม มกรานนท์ แสดงละครเวทีกับฉลอง สิมะเสถียรเรื่อง "ลานปาริชาติ" เคยแสดงภาพยนตร์คู่กับมิตร ชัยบัญชา เรื่องในฝูงหงส์ แสดงภาพยนตร์ให้ชรินทร์ นันทนาคร ในเรื่องมนต์รักเพลงสวรรค์ และรับเชิญแสดงภาพยนตร์การกุศลเรื่องคนใจบอด และเรื่องอื่นๆ รวมทั้งมีงานเพลงประกอบภาพยนตร์ เด่นๆ เช่น ปาหนัน ,สร้อยไข่มุก ,วนาลี ,อรุโณทัยไม่กลับคืน เป็นต้น

    และยังเคยเป็นผู้จัดและนำแสดงในละครโทรทัศน์ ททบ.7 (ขาวดำ) สนามเป้า (ททบ.5 ปัจจุบัน) เช่น จุฬาตรีคูณ คู่กับ ตรัยเทพ เทวะผลิน และเคยจัดรายการ"เสียงทิพย์จากรวงทอง" ร่วมกับ ม.ร.ว.ธวัชจันทร์ ประวิจร เผยแพร่ทางช่อง 5

สมรส
ในช่วงมีชื่อเสียงรวงทองเคยคบหากับชนะ ศรีอุบลนักแสดงที่มีชื่อเสียงในช่วงนั้นแต่ก็เลิกรากันไป รวงทองสมรสกับพ.ต.ท.วรพล สุคนธร มีบุตรด้วยกัน 2 คน ชื่อเอกอดุลย์ และ ศยามล

ผลงานเด่น
ผลงานขับร้องที่มีชื่อเสียง เช่น จำได้ไหม ,ขวัญใจเจ้าทุย ,เก็บรัก(ต้นฉบับ) ,ปาหนัน ,รอคำรัก ,ขยี้ใจ ,มั่นใจไม่รัก ,เพื่อคุณ ,ไม่ใกล้ไม่ไกล ,วิมานสีชมพู ,รักบังใบ ,เสียงกระซิบจากเกลียวคลื่น ,ผู้หญิงก็มีหัวใจ ,รักเธอเสมอ(คู่สมศักดิ์ เทพานนท์) ,อย่าปันใจให้ฉัน ,อย่าซื้อฉันด้วยเงิน ,รักทุย ,หวานรัก ,ถึงเธอ ,ตัดสวาท ,หงส์กับกา(คู่วินัย จุลละบุษปะ) ,คีรีบูนยอดรัก ,ทุยจ๋าทุย(คู่ชรินทร์ นันทนาคร) ,ปลอบใจเจ้าทุย ,ทุยฝันร้าย(คู่ชรินทร์ นันทนาคร ,ฝันถึงกันบ้างนะ ,แรมพิศวาส(ต้นฉบับเอมอร วิเศษสุด) ,สนต้องลม(ต้นฉบับมัณฑนา โมรากุล) ไฟรักในทรวง (คู่กับศรีสุดา รัชตะวรรณ วรนุช อารีย์ ชวลี ช่วงวิทย์)

รางวัลเกียรติยศ
-เหรียญสังคีตมงคล พ.ศ. 2500
-รางวัลแผ่นเสียงทองพระราชทาน จากเพลง วนาสวาท ,รักเธอเสมอ พ.ศ. 2508
-รางวัลใบโพธิ์ทองพระราชทาน จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2514 (ในฐานะนักร้องผู้เผยแพร่ภาษาไทยได้ชัดเจนถูกต้อง )
-ได้รับคัดเลือกเป็นสตรีดีเด่นแห่งปี
-รางเหรียญสนองเสรีชน จากกระทรวงมหาดไทย
-การเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (ร้องเพลงไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2539

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2540 – Order of the Direkgunabhorn 4th class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)



บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #61 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2566, 02:21:27 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ชาย เมืองสิงห์












...ครวญ”เมียพี่มีชู้”....................อับอาย   ชายรา
   “หอมหน่อย””วันทอง”ยาย......”จ้ำม่ำ”
   “ทำบุญร่วมชาติ”หมาย...........”จอมแก่น”   รักนา
   “เรือล่มในหนอง”ย้ำ................”น้ำนิ่งไหลลึก”...

...หวนนึกหา”หนุ่มหน้า................มน”คน     ดีนา
   “ชาย” อยู่ “เมืองสิงห์” ตน.........แต่งร้อง
   "อแลง เดอลอง (เมืองไทย)"คน...หล่อคือ   ฉายา
   เขียนเด่นครูเพลงพ้อง...............พ่อนี้ตำนาน.....


ชาย เมืองสิงห์ มีชื่อจริงว่า สมเศียร พานทอง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง นักร้อง-นักแต่งเพลงลูกทุ่ง ประจำปี พ.ศ. 2538 ชาย เมืองสิงห์ ได้รับฉายาว่า "อแลง เดอลอง เมืองไทย" และในยุคถัดมาได้รับฉายาอีกว่าเป็น "แมนซิตี้ไลอ้อน"
      ชาย เมืองสิงห์ เป็นนักร้องที่มีลีลาการร้องเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองและมีความสามารถในการแต่งเพลง เพลงที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ ชาย เมืองสิงห์ คือ “เพลงมาลัยดอกรัก”และอีกมากมายหลายเพลง และผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับชายเมืองสิงห์มากที่สุด คือ "เพลงเมียพี่มีชู้" นอกจากนั้นเขาก็ยังได้ประพันธ์เพลงลูกทุ่งเอาไว้ประมาณ 1,000 เพลง ซึ่งก็มีทั้งที่เอาไว้สำหรับขับร้องเองและให้ผู้อื่นร้องมากกว่า และหลายเพลงก็ติดอันดับยอดนิยม ทำให้ได้รับการขนานนามให้เป็น “นักร้องลูกทุ่งสามสมัย” คือ คงความยอดนิยมไว้ได้ทุกยุคทุกสมัย ชาย เมืองสิงห์ ได้รับรางวัลเกียรติคุณในฐานะศิลปินดีเด่นหลายรางวัล มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ยอมรับในวงการลูกทุ่งเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติ
ชาย เมืองสิงห์ มีชื่อจริงว่า สมเศียร พานทอง เกิดวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2482 ที่อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี เป็นบุตรของนายสี พานทอง กับ นางป่วน พานทอง จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดหัวว่าว จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสิงหะวัฒนพาหะ (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนสิงห์บุรี) ในภูมิลำเนาคือ จังหวัดสิงห์บุรีในปี 2499 ก่อนจะเข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่างที่กรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นคนที่ชอบการร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อเงินไม่พอใช้ก็จะอาศัยไปร้องเพลงเชียร์รำวง แต่เมื่อเรียนได้ถึงชั้นปีที่ 4 เขาก็ต้องเลิกเรียน เพราะทางบ้านประสบปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนัก ชาย เมืองสิงห์ ที่ตัดสินใจสู้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพ จึงต้องพยายามออกหางานทำ ซึ่งงานที่ว่าที่สุดยอดนักร้องลูกทุ่งเคยทำมาก็อย่างเช่นรับจ้างตากผัก เพื่อนำมาทำเป็นผักกาดกระป๋อง , กรรมกรตอกเสาเข็ม , รับจ้างเขียนป้าย และวาดรูป ต่อมาได้รับการอุปถัมภ์จาก นายอารมณ์ คงกะพัน และ นางศรี เอี่ยมสุข ผู้กว้างขวางที่ขายของอยู่แถวตลาดพลู ที่คอยช่วยเหลือและผลักดันให้ชาย เมืองสิงห์ เข้าประกวดร้องเพลงตามที่ต่างๆ เช่น ผับ สถานบันเทิงต่างๆ เช่น ตามถนนราชดำเนิน หรือ ซอยบุปผาสวรรค์ เป็นต้น

    พอถึงปี 2504 ชาย เมืองสิงห์ มีโอกาสพบกับครูเพลงมงคล อมาตยกุล หัวหน้าวงจุฬารัตน์ จึงได้ขอสมัครเป็นนักร้องในวง แต่ครูมงคลยื่นเงื่อนไขว่าจะรับเขามาร่วมวง ก็ให้ไปแหล่สดๆแข่งกับพร ภิรมย์ นักร้องดังในวงจุฬารัตน์ และนักร้องลูกทุ่งชั้นแนวหน้าของประเทศในยุคนั้น ซึ่งชาย เมืองสิงห์ ก็ฝ่าด่านหินนั้นมาได้ด้วยการมาแหล่สดๆออกอากาศโต้กับพร ภิรมย์ ซึ่งด้วยน้ำเสียงที่แปลกเป็นเอกลักษณ์ และไหวพริบปฏิภาณที่ยอดเยี่ยมทำให้เขาได้รับการชื่นชมจากแฟนเพลงที่ฟังรายการ จนครูมงคล ต้องยอมรับเขาเข้าร่วมวงตามที่ประกาศเอาไว้ รวมทั้งตั้งชื่อให้เขาว่าชาย เมืองสิงห์ ก่อนจะผลักดันให้มีโอกาสบันทึกเสียงผลงานเพลงของตัวเอง ซึ่งชาย เมืองสิงห์ ก็ทำผลงานออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม ทำให้ชาย เมืองสิงห์ มีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ด้วยความสามารถด้านการแสดงหน้าเวที จนโด่งดังและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และหน้าตาที่หล่อ จึงทำให้เขาได้รับฉายาว่าจนได้รับฉายาว่าเป็น "อแลง เดอลอง เมืองไทย" และต่อมา คณะตลกเมืองไทยก็ตั้งฉายาให้เขาว่า “ แมน ซิตี้ไลอ้อน “ ตามชื่อที่ถอดความมาจากภาษาอังกฤษแบบตรงตัว และฉายานี้ก็ยิ่งทำให้เขาเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนมากขึ้นไปอีก ในช่วงปี พ.ศ. 2504 - 2516 เป็นช่วงประสบความสำเร็จสูงสุดในอาชีพของ ชาย เมืองสิงห์

     ชาย เมืองสิงห์ อยู่กับวงจุฬารัตน์ 6 ปี พอถึงปี 2510 ก็ออกมารับงานร้องเพลงทั่วไปเอง ในปีต่อมาก็ตั้งวงดนตรีเล็กๆชื่อ “วงหลังเขาประยุกต์ “ ต่อมาขยายวงและเปลี่ยนชื่อเป็น “ จุฬาทิพย์ “ เพื่อรำลึกถึงวงที่ทำให้เขาโด่งดัง ซึ่งในช่วงที่ทำวงนี้ ชาย เมืองสิงห์ ได้ปลุกปั้นให้ลูกวงของเขาโด่งดังขึ้นมาในระดับแนวหน้าในภายหลังหลายคน เช่น โชคดี พักภู่ , เพชร โพธิ์ทอง , ระพิน ภูไท , ดี๋ ดอกมะดัน , ดู๋ ดอกกระโดน , สีหนุ่ม เชิญยิ้ม , หนุ่ม เมืองไพร , ดาวไทย ยืนยง , ถนอม จันทรเกตุ

    ชาย เมืองสิงห์ ทำวงอยู่ 10 ปี จนราวๆปี 2521 ก็ยุบวงไป เพราะมรสุมชีวิต ทั้งปัญหาครอบครัว และพ่อแม่เสียชีวิต เขาจึงห่างหายจากวงการเพลงไปนาน เมื่อผันตัวไปเป็นเกษตรกรทำไร่นาสวนผสมที่บ้านเกิดนานถึง 10 ปี จนได้รางวัลเกษตรกรดีเด่นของจังหวัด

     ต่อมาเมื่อมีการจัดงาน กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 1 ในปี 2532 ชาย เมืองสิงห์ ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีถึง 4 รางวัล ชาย เมืองสิงห์จึงกลับเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งไทยอีกครั้ง โดยมีการนำเอาทั้งเพลงเก่าและเพลงใหม่มาบันทึกเสียงจวบจนถึงทุกวันนี้
 
ผลงานการแต่งเพลง
ชาย เมืองสิงห์ ยังมีความสามารถด้านการแต่งเพลงชนิดที่หาตัวจับได้ยากคนหนึ่ง เขามีเพลงที่แต่งไว้มากมายถึงราว 1 พันเพลง และเพลงที่เขาแต่งไว้ร้องเอง หรือแต่งให้นักร้องคนอื่นร้อง ก็ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงหลายสิบเพลง เช่น
ทำบุญร่วมชาติ....มาลัยน้ำใจ....พ่อลูกอ่อน....รอหน่อยน้องติ๋ม....ลูกสาวใครหนอ....มาลัยดอกรัก....แก่นแก้ว....หยิกแกมหยอก....นาวาสวรรค์....กิ่งทองใบหยก....สิบห้าหยกๆ....เรือล่มในหนอง....แม่ขนตางอน...คิดถึงพี่หน่อย....แม่สื่อแม่ชัก....เมียพี่มีชู้....มันยกร่อง....ลาก่อนความโกหก....แม่ยอดยาหยี....พุทธานุภาพ....ศรีเมืองไทย
The Man City Lion Project  
ในปลายปี 2557 ชาย เมืองสิงห์ ได้สร้างความฮือฮาเมื่อได้นำเอาเพลง “เมียพี่มีชู้” หนึ่งในเพลงที่โด่งดังที่สุดของตัวเอง มาเรียบเรียงและขับร้องใหม่เป็นดนตรีลูกทุ่งร่วมสมัยมากขึ้น ในสังกัดอาร์สยาม ในเครือของอาร์เอส โดยมีนักร้องลูกทุ่งร่วมสมัยมาร่วมร้องด้วย คือ จ๊ะ อาร์สยาม และใบเตย อาร์สยาม  ซึ่งมีเพลงที่ชายเมืองสิงห์ ขับร้อง แต่งเนื้อร้อง ทำนอง และเรียบเรียง รวมกันทั้งหมด 14 เพลง

ผลงานการแสดง
เงิน เงิน เงิน (2508)...วิมานสีทอง (2514)...กุหลาบไฟ (2516)...ไอ้ฟ้าผ่า (2522)...มนต์เพลงนักเลงบ้านนอก (2537)...มนต์รักลูกทุ่ง (2538) ช่อง 7...สวรรค์บ้านทุ่ง (2541) ช่อง 9...พ่อ ตอน เพลงของพ่อ (2542) ช่อง 5...อะเมซซิ่งโคกเจริญ (2544) ช่อง 3...มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม (2545)...หัวใจไกลปืนเที่ยง (2545) ช่อง 7...ลิเก๊ ลิเก (2546) ช่อง 7...กระสือวาเลนไทน์ (2549)...ผีเสื้อสมุทร (2549)...หนุมานคลุกฝุ่น (2551)...เพลงรักข้ามภพ (2553) ช่อง 7...

เพลงประกอบละคร
เพลง "อายผี" ประกอบละครเรื่อง หัวใจไกลปืนเที่ยง (พ.ศ. 2545)
เพลง "ชีวิตลิเก" ประกอบละครเรื่อง ลิเก๊ ลิเก 1 (พ.ศ. 2546)
เพลง "ไหว้ครู" ประกอบละครเรื่อง ลิเก๊ ลิเก 2 (พ.ศ. 2546)

คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ต ละครอินคอนเสิร์ต (2543)
คอนเสิร์ต การกุศล ลูกกรุง vs. ลูกทุ่ง (2545)
คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย (18 สิงหาคม 2545)
คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2003 (23 มีนาคม 2546)
คอนเสิร์ต 14 ตุลา วันประชาธิปไตย (ตุลาคม 2546)
คอนเสิร์ต สายธารประชาธิปไตย (2546)
คอนเสิร์ต รำวงมหาสนุก (2549)
คอนเสิร์ต สินเจริญ เชิญแหลก (31 มีนาคม 2550)
คอนเสิร์ต มนต์เพลงคาราบาว (7 กรกฎาคม 2550)
คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน ยอดรัก สลักใจ (16 สิงหาคม 2551)
คอนเสิร์ต ลูกทุ่งจ๋ามหาสนุก (21 – 22 เมษายน 2555)
คอนเสิร์ต เพลงเก่าเล่าเรื่อง (12 กรกฎาคม 2555)
คอนเสิร์ต คีตศิลปินไทย ร่วมร้อยใจ เทิดไท้แม่แห่งแผ่นดิน (29 สิงหาคม 2555)
คอนเสิร์ต รำลึก 30 ปี ล้อต๊อก ตลก 4 แผ่นดิน (30 กันยายน 2555)
คอนเสิร์ต เพลงเก่า เล่าเรื่อง (18 พฤศจิกายน 2555)
คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 4 (8 ธันวาคม 2555)
คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 4 (20 - 21 ธันวาคม 2557)
คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเพื่อแผ่นดิน (6 กันยายน 2558)
คอนเสิร์ต เพลินเพลง ลูกทุ่งไทย ตอน ลูกทุ่งในดวงใจ ครั้งที่ 1 เดอะแมนซิตี้ไลอ้อน (29 พฤศจิกายน 2558)
คอนเสิร์ต งานอีแต๋นแว๊นเข้ากรุง (25 มิถุนายน 2559)
คอนเสิร์ต 8 ปี ตำนานแห่งสายน้ำ ครูชลธี ธารทอง (2 พฤษภาคม 2560)
คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 8 (10 ธันวาคม 2560)
คอนเสิร์ต สืบสานลูกทุ่งคู่ไทย (3 กุมภาพันธ์ 2561)
คอนเสิร์ต รำลึก 26 ปี ราชินีลูกทุ่ง "พุ่มพวง ดวงจันทร์ (25 มิถุนายน 2561)
คอนเสิร์ต รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (26 ธันวาคม 2561)
คอนเสิร์ต ครบรอบ 1 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (12 มกราคม 2566)

ผลงานเพลง
ลูกทุ่งมหาชน (2542)
สี่เหน่อผู้ยิ่งใหญ่ ร่วมกับ จรัล มโนเพ็ชร, ทอม ดันดี และ สามารถ พยัคฆ์อรุณ (2543)
คาราวะคาราวาน (2544)
อะเมซซิ่งโคกเจริญ (2544)
เรารักเมืองไทย (2548)
มนต์เพลงคาราบาว (2550)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. ไม่ปรากฎ – Order of the Direkgunabhorn 4th class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)

เกียรติยศ
    -โล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 1 ในปี 2532 จากการแต่งและร้องเพลง พ่อลูกอ่อน และ ทำบุญร่วมชาติ รวม 4 รางวัล
    -โล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 2 ในปี 2534 จากการแต่งและร้องเพลง ลูกสาวใครหนอ รวม 2 รางวัล
    -รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะนักร้องและนักแต่งเพลงที่ใช้ภาษาไทยดีเด่น ของมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2534
    -ได้รับการยกย่องเป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นทาง ด้านวัฒนธรรม (สาขาศิลปะและการช่างฝีมือ) ประจำภาคกลางตอนบน ปี 2535
    -รางวัลเกียรติคุณพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวานกึ่งศตวรรษสืบสานคุณค่าวัฒนธรรมไทย ภาคพิเศษ ปี 2537 จากเพลงทุกข์ร้อยแปด
    -ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้อง – นักแต่งเพลง ปี 2538


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #62 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2566, 08:02:02 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ธันวา ราศรีธนู






....เปรียบเหมือน“ลาโง่”ไว้............ใจเธอ    หลอกแล
    “สาปส่ง”จบพบเจอ.................แค้นได้
    “(ฉัน)ไม่ใช่ยกทรง”เออ............ใหม่หลง   เก่ารา
     เหมือน”ไก่ตาฟาง”ให้.............”โจรปล้นใจ” เรา.....

....”ธันวา”เขาแต่งร้อง..................เสียดสี   หญิงนา
     รักเกี่ยวคาวโลกีย์...................ชั่วช้า
     กำลังเด่นดังมี.......................ชื่อเสียง   มากแฮ
     ตายป่วยโควิดบ้า....................ฆ่าได้คนดี.....


ธันวา กวีศิลปะ เป็นที่รู้จักในชื่อ ธันวา ราศีธนู (9 ธันวาคม พ.ศ. 2513 – 7 กันยายน พ.ศ. 2564) เป็นนักร้องลูกทุ่งและเพื่อชีวิตชายชาวไทย และเป็นศิลปินในสังกัดอาร์สยาม มีผลงานเป็นที่รู้จัก เช่น "ไก่ตาฟาง", "กิ้งก่าทอง", "กบเฒ่า" และ "11 ร.ด." เป็นต้น

ประวัติ
    ธันวาเกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2513  ที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดหนองบัวลำภู) เขาเป็นคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 3 คน มารดาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เป็นเหตุให้เขาจบการศึกษาแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป เขาจึงไปทำงานเป็นเด็กท้ายรถสายศรีบุญเรือง - ขอนแก่น เป็นเวลา 2 ปี ต่อมาบิดามีภรรยาใหม่ เขาและพี่น้องได้ย้ายไปอาศัยอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ตามบิดา แต่เขาไม่สามารถเข้ากับครอบครัวใหม่ของบิดาได้ เขาจึงตัดสินใจเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อสู้ชีวิตและเดินตามความฝัน  เขาไปทำงานเป็นลูกจ้างทั่วไป จนกระทั่งเขาได้พบกับเพื่อนเก่าที่เคยเป็นนักดนตรี เขาและเพื่อนจึงร่วมก่อตั้งวงทานตะวันขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไป สมาชิกวงต่างแยกย้ายกันไป ส่วนเขานั้นยังคงเดินตามฝันในฐานะอาชีพนักร้องและนักดนตรี

วงการบันเทิง
    เขาออกผลงานสตูดิโออัลบั้มถึง 3 ชุด โดยใน พ.ศ. 2544 เขาได้ออกอัลบั้มชุด แผ่ราศี มีเพลง หัวอกแม่ ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับมารดาของเขา หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2545 เขาได้ออกอัลบั้ม นักสู้ของแม่ และ พ.ศ. 2547 ได้ออกอัลบั้ม วันที่ฉันรอ จัดจำหน่ายโดยไลท์มีเดียบางกอก

พ.ศ. 2549 เขาประสบความสำเร็จจากผลงานเพลง ไก่ตาฟาง โดยได้รับความนิยมจากทางภาคใต้มาก่อน จนกระทั่งสถานีวิทยุลูกทุ่งมหานครได้เปิดเพลงดังกล่าว ทำให้เพลงของเขาเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศรวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน

   ต่อมาเขาได้เป็นศิลปินสังกัดอาร์สยาม มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จักเป็นจำนวนมาก อาทิ กิ้งก่าทอง, ฉันไม่ใช่ยกทรง, ลาโง่, กบเฒ่า, ปลาไหล, 11 ร.ด., ควาย เป็นต้น  นอกจากนี้ เขาได้ร่วมมือกับพี่สาวเปิดธุรกิจเย็นตาโฟที่จังหวัดปทุมธานีเมื่อ พ.ศ. 2560

การเสียชีวิต
   ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 เขาติดเชื้อโรคโควิด-19 และเสียชีวิตในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 23:00 น. ที่ โรงพยาบาลคามิลเลียน กรุงเทพมหานคร สิริอายุได้ 50 ปี โดยการเสียชีวิตของเขานั้นมีคนในวงการรวมถึงแฟนเพลงร่วมแสดงความอาลัยเป็นจำนวนมาก เช่น บ่าววี, ภัควรรธน์ ลีละเมฆินทร์ มีพิธีฌาปนกิจศพในวันเดียวกันที่วัดท่าซุงทักษินาราม อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผลงานเพลง
สตูดิโออัลบั้ม
ผลงานภายใต้ไลท์มีเดียบางกอก
แผ่ราศี (2544)
นักสู้ของแม่ (2545)
วันที่ฉันรอ (2546)
ตำนานนักสู้ (2549)
แรงใจจากแม่ (2550)
สายเลือดนักสู้ (2551)
ก้าวสู่จุดหมาย (2551)
โง่จนตาฟาง (2552)

ผลงานภายใต้อาร์สยาม
กิ้งก่าทอง (2552)
กบเฒ่า (2553)
ดับเบิ้ลฮิต ธันวา & หญิง (2554)
โจรปล้นใจ (2554)
Best Collection (2554)
ที่สุดของ…ธันวา ราศีธนู (2555)
เบญจรงค์ (2555)
นางฟ้าหรือซาตาน (2556)
ฮิตแสบสัน (2557)
เพลงเหยียบหัวใจ (2557)
อีสานตลาดแตก 3 (2557)
อัลบั้มพิเศษ
กองไฟในสายฝน (2545)
อัลบั้มร่วมกับศิลปินคนอื่น
ฮิตมหานคร 4 (2552)
จัมโบ้ฮิต 2010 (2553)
เพลงฮิตมหานคร (2553)
รวมเพลงเพื่อชีวิต สุดฮิต อาร์สยาม (2553)
ชมรมคนอกหัก (2553)
ฮิตมหานคร 5 (2553)
New Hits (2553)
จัมโบ้ แดนซ์ (2553)
ฮิตมหานคร 6 (2554)
สุดซึ้ง สุดฮิต 2 (2554)
รางวัลแห่งสยาม (2554)
แดนซ์สุดฤทธิ์ ฮิตสุดเดช (2554)
เพื่อชีวิตฮิตอันดับ 1 (2554)
รักสามเส้า 2 (2554)
4 เสือเพื่อชีวิต (2555)
ตำนานรัก ตำนานชีวิต (2555)
แรงใจรักจริง (2556)

เพลงพิเศษ
พ่อฉันชื่อ พ่อภูมิพล (2559)


คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 1 (8 ตุลาคม 2554)
คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 2 (27 ตุลาคม 2555)
คอนเสิร์ต สบายดี เรดิโอ แฟนคลับ ครั้งที่ 3 (31 มีนาคม 2556)
คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 3 (26-27 ตุลาคม 2556)
คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 4 (20-21 ธันวาคม 2557)
มหกรรมคอนเสิร์ตสินค้า และของดีท่าลาน ครั้งที่ 2 (9 เมษายน 2559)

รางวัล
มหานครอวอร์ดส

ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551 สาขา รางวัลอัลบั้มเพลงเพื่อชีวิตยอดนิยม อัลบั้ม สายเลือดนักสู้
ครั้งที่ 7 ประจำปี 2553 สาขา เพลงเพื่อชีวิตยอดนิยมได้แก่ อัลบั้ม กบเฒ่า
ครั้งที่ 13 ประจำปี 2559 สาขาประเภทคู่หรือกลุ่มยอดนิยมได้แก่ ธันวา ราศีธนู และ ศิรินภา นิยากร สังกัดกาว่าบูม เรคคอร์ด

สยามดารา สตาร์ส ปาร์ตี้
2551 สาขา นักร้องลูกทุ่งยอดนิยมชาย
2551 สาขา เพลงฮิตโดนใจ โดยเพลง ไก่ตาฟาง

ดาราเดลี่ เดอะ เกรท อวอร์ดส์
ครั้งที่ 2 ประจำปี 2555 สาขา นักร้องลูกทุ่งชายที่สุดแห่งปี 2012 โดยเพลง 11 ร.ด.
ครั้งที่ 3 ประจำปี 2556 สาขา นักร้องลูกทุ่งชายที่สุดแห่งปี 2013 โดยเพลง นางฟ้าหรือซาตาน


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #63 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2566, 05:13:13 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ศิริพร อำไพพงษ์















...หมอลำสาวเด่นด้วย................เสียงสวย
   แหบพร่าหวานอำนวย.............ช่วยได้
   ครารำร่ายงามฉวย................เพ่งเพลิน   ดีนา
   เพลงเด่นศรัทธาไว้..................ก่อสร้างวัดดี.....

...”โบรักสีดำ”สร้างชื่อ................ไฉไล
   ดีเด่น”ปริญญาใจ”..................แจ่มจ้า
   “กรุณาอย่าเผลอใจ”...............คู่เขา   มีนา
   “ย่านบ่มีชาติหน้า”..................ไม่กล้าถอนใจ....

....หลงไหล”เมียบ่ได้แต่ง”......... .”ความจน  วัดใจ”
    “อยากอยู่เงียบ(ๆ)สองคน........ช่วยได้
     หลากเพลงที่มีผล...................เสริมส่ง   นางนา
     “ศิริพร อำไพ(พงษ์)ให้.............เด่นฟ้าเมืองไทย....

ศิริพร อำไพพงษ์ (7 ธันวาคม พ.ศ. 2507 –) เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งและหมอลำที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศไทย  เธออยู่ในวงการบันเทิงมาแล้ว 40 ปี มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จักมากมาย อาทิ โบว์รักสีดำ, ปริญญาใจ, กอดแล้วบ่แต่ง, เมียบ่ได้แต่ง ฯลฯ

ประวัติ
ศิริพร อำไพพงษ์ มีชื่อจริงว่า ศิริมา อำเคน มีชื่อเล่นว่า นาง เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของนางออ และนายกองมี อำไพพงษ์เกิดที่บ้านดอนกลอย ตำบลดอนกลอย อำเภอหนองหาน (ปัจจุบันแยกมาเป็นอำเภอพิบูลย์รักษ์) จังหวัดอุดรธานี มีพี่น้องทั้งหมด 10 คน ศิริพรเป็นบุตรสาวคนที่ 7 ครอบครัวมีอาชีพทำนา และมีวงหมอลำด้วยโดยมีคุณพ่อเป็นหมอลำอยู่แล้ว และเป็นผู้สอนให้ศิริพรเป็นหมอลำ เมื่อปี พ.ศ. 2527 เธออยู่กับหมอลำคณะ สุเทพ ดาวดวงใหม่ และได้รู้จักกับ คุณนคร แดนสารคาม และคุณประยูร จันทร์สอน ได้พาไปออกทีวีช่อง 4 จ.ขอนแก่น และคุณดอย อินทนนท์ ได้เห็นแววจึงให้โอกาสอัดเสียงและได้รับการเปลี่ยนชื่อจาก ศิริมา อำเคน เป็น ศิริพร อำไพพงษ์ เธอเคยอยู่สังกัดกรุงไทยออดิโอ ก่อนจะย้ายมาอยู่พีจีเอ็มในราวปี 2533-2534 และประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกจากผลงานเพลง โบว์รักสีดำ

หลังจากศิริพร อำไพพงษ์ หมดสัญญากับค่าย พีจีเอ็ม เธอได้คิดจะหยุดร้องเพลง และกลับไปทำนาที่บ้านเกิด แต่สลา คุณวุฒิได้ชวนให้มาอยู่สังกัดแกรมมี่โกลด์ เมื่อปี พ.ศ. 2543 และเปลี่ยนแนวเพลงเป็นลูกทุ่งอีสาน ในตอนแรกบริษัท ได้ปล่อยเพลง หนีแม่มาแพ้รัก ไปตามสถานีวิทยุต่างๆ แต่ว่าเพลงที่มีกระแสอย่างรวดเร็ว กลับเป็นเพลง ปริญญาใจ ทำให้บริษัทต้องเปลี่ยนชื่อและปกอัลบั้มใหม่ เป็นอัลบั้ม ชุดที่ 1 ปริญญาใจ และเพลงนี้ก็ได้ส่งให้ชื่อศิริพร อำไพพงษ์ กลับมาเป็นที่รู้จักและโด่งดังเป็นพลุแตกอีกครั้ง หลังจากอัลบั้มปริญญาใจ เธอก็มีผลงานเพลงออกมาอีกหลายอัลบั้มอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน กับอัลบั้ม ชุดที่ 17 คนใช่ เกิดช้า

งานสุดท้ายที่เธอทำก่อนจะพักวงการบันเทิงคืออัลบั้มชุดที่ 17 ของเธอใน พ.ศ. 2560 ภายใต้สังกัดแกรมมี่ โกลด์ เขาเป็นศิลปินและทำงานเบื้องหลังให้กับศิลปินคนอื่นๆ ที่แกรมมีโกลด์

ผลงานเพลง
สังกัดค่าย กรุงไทยออดิโอ
ปี พ.ศ. 2526-2533 มีทั้งหมด 10 อัลบั้ม ผลงานเด่น พบรักที่หัวลำโพง สาวภูพานรำพึง น้องนกอกหัก ฯลฯ

ชุดที่ 1 สตริงลำแพนศิริพร'28 (2528)
ชุดที่ 2 ทุ่งร้างนางลืม-ทุ่งร้างนางคอย
ชุดที่ 3 พบรักที่หัวลำโพง (เมษายน 2529)
ชุดที่ 4 ศิริพรวอนแฟน (2530)
ชุดที่ 5 อดีตรักหนองหาร (2531)
ชุดที่ 6 สาวไร่อ้อยคอยแฟน
ชุดที่ 7 อาลัยรักที่ชุมพร (มกราคม 2533)
ชุดที่ 8 ไม่เอาพระเจ้าก็แจก (กรกฎาคม 2533)
ชุดที่ 9 บวชชีหนีรัก (สิงหาคม 2533)
ชุดที่ 10 เสียแรงหลงรัก (ธันวาคม 2533)

สังกัดค่าย พีจีเอ็ม
ปี พ.ศ. 2534-2542 มีผลงานเด่น โบว์รักสีดำ,ลำเพลินเชิญเต้น,ไฟใกล้ฟาง,ล้างจานในงานแต่ง,ฝากซองกินดองแฟน,ผ้าเช็ดหน้าลาแก้ม,หัวอกแม่ฮ้างน้อย,สาวคิงฮ้อน,ฮักผัวเขา ฯลฯ

ชุดที่ 1 โบว์รักสีดำ (สิงหาคม 2534)
ชุดที่ 2 ลำเพลินเชิญเต้น (มีนาคม 2535)
ชุดที่ 3 ไฟใกล้ฟาง (ตุลาคม 2535)
ชุดที่ 4 ล้างจานในงานแต่ง (กรกฎาคม 2536)
ชุดที่ 5 สาวไร่ปอรอแฟน (พฤศจิกายน 2536)
ชุดที่ 6 หล่อดีพี่จ๋า (กรกฎาคม 2537)
ชุดที่ 7 ฝากซองกินดองแฟน (ตุลาคม 2537)
ชุดที่ 8 สาวอุดรนอนร้องไห้ (มีนาคม 2538)
ชุดที่ 9 ลืมไม่ลง (มีนาคม 2538)
ชุดที่ 10 สาวสกลครวญ (มีนาคม 2538)
ชุดที่ 11 แหล่...หัวอกผู้หญิง (ตุลาคม 2538)
ชุดที่ 12 รวมฮิต 10 ปี (ตุลาคม 2538)
ชุดที่ 13 พบรักที่หัวลำโพง (กุมภาพันธ์ 2539)
ชุดที่ 14 สาวอีสานยังคอย (กุมภาพันธ์ 2539)
ชุดที่ 15 เหมือนฆาตกร (กุมภาพันธ์ 2539)
รวมฮิต (ชุด 16-19) (เมษายน 2539)
ชุดที่ 20 ผ้าเช็ดหน้าลาแก้ม (มิถุนายน 2539)

สังกัดค่าย แกรมมี่โกลด์
ปี พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน อัลบั้มเดี่ยว,อัลบั้มพิเศษ,อัลบั้มรวมเพลง,อัลบั้มร่วมกับศิลปินอื่น โดยได้ครูเพลงคู่บุญอย่าง สลา คุณวุฒิ แต่งเพลงดังๆ และเป็นโปรดิวเซอร์ให้เช่นเคย


2543   
ลูกทุ่งบ้านดอน ชุดที่ 1 ปริญญาใจ ยอดขายเกินล้านตลับ

2544   
หมอลำบ้านดอน ชุดที่ 2 สู้เพื่อน้องได้ไหม


ลูกทุ่งบ้านดอน ชุดที่ 3 แรงใจรายวัน

2545   
ลูกทุ่งบ้านดอน ชุดที่ 4 เพื่อแม่แพ้บ่ได้

ลูกทุ่งบ้านดอน ชุดที่ 5 สองคนบนทางใจ


2546   
ชุดที่ 6 แพ้ใจคนดี

ชุดที่ 7 อกหักเพราะฮักอ้าย

2547   
ชุดที่ 8 กรุณาอย่าเผลอใจ

2548   
ชุดที่ 9 ตัวจริงประจำใจ

ชุดที่ 10 ผู้แพ้ขอแค่เบอร์

2550   
ชุดที่ 11 ย่านบ่มีชาติหน้า

2551   
ชุดที่ 12 แจ่วบองในกล่องคอมพ์

2552   
ชุดที่ 13 ขอทำเพื่ออ้าย

2554   
ชุดที่ 14 สตรีหมายเลข 1

2556   
ชุดที่ 15 หัวหน้าแก๊งสาวเสื้อดำ

2558   
ชุดที่ 16 ปริญญาเจ็บ

2560   
ชุดที่ 17 คนใช่ เกิดช้า

2566   
ชุดที่ 18 กรรมเก่า


อัลบั้มพิเศษ

2549   
เมือยามบ้าน ทั้งมัน ทั้งม่วน ภาค 1

2551   
ศิริพร อำไพพงษ์ เมือยามบ้าน ปี 3 ม่วนรวมมิตร ฮิตซอดแจ้ง

ซิงเกิ้ลเดี่ยว

2559   เล่าสู่หลานฟัง (ต้นฉบับ สลา คุณวุฒิ)   บทเพลงพิเศษ เพื่อร่วมถวายความอาลัย แด่ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
2561   ผู้หญิงหลายมือ   Music video เพลงนี้ได้ รัชนีกร พันธุ์มณี มาร่วมแสดงมิวสิควิดีโอ
ดอกอ้อ ทุ่งทอง ได้นำเอาไปร้องใหม่
2562   สาวใหญ่มักม่วน   ไม่มี Music Video
คนนี้ผัวเฮา
ให้ตายไปกับใจ (ต้นฉบับ ต่าย อรทัย)   เพลงในโปรเจกต์ บทเพลงของดอกหญ้า วัน - เวลา - บ่อาจลบ
เสียงแคนที่หนองคาย   เพลงในโปรเจกต์ ปฏิทินหัวใจ
2563   สัญญาปลาข่อน (ต้นฉบับ เอกพล มนต์ตระการ)   เพลงในโปรเจกต์พิเศษ 25ปี แกรมมี่ โกลด์ 25 ปี แห่งความผูกพัน ฉันและเธอ
2565   กรรมเก่า   
โกหกกี่ครั้งก็ยังรัก
   
เพลงที่ไปรับเชิญร้อง

เพลงที่ศิริพรได้มีส่วนร่วมในการการร้อง


2545   มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม   ผ่องศรี วรนุช, ยอดรัก สลักใจ, สุรชัย สมบัติเจริญ, ศิรินทรา นิยากร, ไมค์ ภิรมย์พร, มนต์สิทธิ์ คำสร้อย, คัฑลียา มารศรี, เอกราช สุวรรณภูมิ, รุ่ง สุริยา ฯลฯ   แกรมมี่ โกลด์   เพลงประกอบภาพยนตร์ มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม
2549   หลูโตนหมอนข้าง   เอกพล มนต์ตระการ   เพลงในโปร์เจกต์ เมื่อยามบ้าน ทั้งมัน ทั้งม่วน
2550   บอกรักด้วยความดี   รวมศิลปินสังกัดแกรมมี่ โกลด์   บทเพลงพิเศษ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2550 (วันพ่อ) เคยออกอากาศทางช่อง 5
รายการเวทีไท
2552   เหนื่อยไหมคนดี   ไมค์ ภิรมย์พร   เพลงในโปรเจกต์พิเศษ 'รวมใจทุกคู่แด่ครูสลา'
2553   คิดฮอด   bodyslam   จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่   เพลงในโปรเจกต์พิเศษ 'คราม 2010'
2554   ละครชีวิต   ต่าย อรทัย,ไหมไทย ใจตะวัน,มนต์แคน แก่นคูน,ไผ่ พงศธร, และ ข้าวทิพย์ ธิดาดิน   แกรมมี่ โกลด์   รายการ สตาร์เสตจ
อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจแฟน   โจ๊ก SO COOL   รวมในอัลบั้ม สตรีหมายเลข 1
ขาดเจ้าบ่ขาดใจ   เอิ้นขวัญ วรัญญา)
ฝากเสียงลำล่อง   ป.ฉลาดน้อย
2555   แรงใจคนไกลบ้าน   เอิร์น, ต่าย, รัชนก, นิ้วก้อย, เปาวลี, เอิ้นขวัญ, ดอกอ้อ, ก้านตอง และข้าวทิพย์   เพลงในโปรเจกต์ น้อง ๆ ร้องเพลงพี่นาง
2557   เซิ้งเฮือส่วง   ต่าย อรทัย,ไผ่ พงศธร และ มนต์แคน แก่นคูน   เพลงในโปรเจกต์พิเศษ 'ฝากไว้ในแผ่นดิน พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา หอมดอกผักกะแยง'
2558   มัน ใหญ่ มาก 7 โจ๊ะ   ณรรลฌา ดอกกะฐิน   จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่   มหกรรมโจ๊ะหมู่เพื่อบูชาวงการเพลงไทย 19-20 ธันวาคม 2558 ที่ แก่งกระจาน คันทรี คลับ จ.เพชรบุรี
2560   ปีใหม่ทุกวัน   ร้องรวมทั้งสังกัด แกรมมี่ โกลด์   แกรมมี่ โกลด์   เพลงในโปรเจกต์พิเศษ 'ซิงเกิ้ลพิเศษต้อนรับปีใหม่ 2561'

ชุดพิเศษ & อัลบั้มพิเศษ

2544   
รวมฮิต กลอนรักร่วมสมัย ชุดที่ 1

รวมฮิต กลอนรักร่วมสมัย ชุดที่ 2

รวมฮิต กลอนรักร่วมสมัย ชุดที่ 3

2546   
รวมฮิต บันทึกรัก

2548   
ลูกทุ่งกีตาร์หวาน ศิริพร อำไพพงษ์ ชุดที่ 1

2549   
รวมฮิต บันทึกรัก 2

ลูกทุ่งกีตาร์หวาน ศิริพร อำไพพงษ์ ชุดที่ 2

เพลงม่วนบ้านดอน

2551   
ศิริพร อำไพพงษ์ จัมโบ้ฮิต

ศิริพร ซิ่งสะเดิดซูเปอร์แซ่บ

2552   
ม่วนนำกัน มันกระจาย

2555   
ศิริพร อำไพพงษ์ หมอลำจัมโบ้ฮิต

ศิริพร อำไพพงษ์ ซูเปอร์จัมโบ้ฮิต

2556   
ศิริพร อำไพพงษ์ จัมโบ้ฮิต 2

2557   

2559   
ปริญญาเสียงอ้อน ศิริพร อำไพพงษ์

2561   
MP3 รวมฮิต 18 ปีทอง ศิริพร อำไพพงษ์

2562   
MP3 ที่สุดเพลงฮิต ศิริพร อำไพพงษ์

USB รวมฮิต ซุป'ตาร์บ้านดอน ศิริพร อำไพพงษ์

เพลงในโปรเจกต์พิเศษ

2544   เพลงติดดาว 4   
ทำบาปบ่ลง
บ่มีพี่บ่มีไผ

2545
ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย   

เพลงติดดาว 7   
สองคนบนทางใจ
สาววังสะพุง

2546   2 ทศวรรษ สลา คุณวุฒิ ชุดที่ 2 รวมใจเหล่าผองศิษย์   

2547   เพลงติดดาว 10   

2548   10 ปี แกรมมี่ โกลด์ ดนตรีไม่มีพรมแดน ชุดที่ 3   


2550   ดอกไม้จากผองศิษย์...ด้วยรักแด่ครูสลา   

2551   ลูกทุ่งสู้ชีวิต   
ลูกทุ่งซูเปอร์สตาร์ปาร์ตี้ 2008   
แจ่วบองในกล่องคอมพ์

2552   รวมใจทุกคู่ แด่...ครูสลา ชุด ขอบคุณฟ้าที่ให้เจอ ขอบคุณเธอที่ให้ใจ   

2553   คราม 2010   
คิดฮอด (ร้องร่วมกับ ตูน บอดี้สแลม)

2554   แด่..ทุกหัวใจ คนไกลบ้าน   

2555   ตามฮอยอีสาน ชุดที่ 1   

2556   ตามฮอยอีสาน ชุดที่ 3   

2557   ฝากไว้ในแผ่นดิน พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา หอมดอกผักกะแยง ชุดที่ 1   

2558   20 ปี แกรมมี่ โกลด์ เพลงของฉัน เพลงของเธอ เพลงของเรา ชุดที่ 1   

2559   เพลงครูยังอยู่ในใจ : สลา คุณวุฒิ คนสร้างเพลง เพลงสร้างคน‬   

2560   ซิงเกิ้ลพิเศษต้อนรับปีใหม่ 2561   
ปีใหม่ทุกวัน (ร้องรวมทั้งสังกัด แกรมมี่ โกลด์)

2561   กีตาร์หวาน ซูเปอร์ฮิต   
ผู้หญิงหลายมือ
รับของโจร
2562   บทเพลงของดอกหญ้า

ผลงานการประพันธ์เพลง
ใช้นามปากกา ศิริพร อำเคน

เพลง อยากมาโดน ขับร้องโดย อรนภา ดวงดี
เพลง ติดใยรัก ขับร้องโดย โอบ ธเณศ
เพลง สู้ความเหงาไม่ไหว ขับร้องโดย ฟิวส์ กิตติกร
เพลง เต้ยฟ้าผ่า ขับร้องโดย ศิริพร อำไพพงษ์ (เป็นเพลงแรกที่ร้องเองแต่งเพลงเอง)
ใช้นามปากกา ศิริพร อำไพพงษ์

เพลง ตี๋น้องม่องใด๋ ขับร้องโดย อรนภา ดวงดี

ผลงานอื่น ๆ
หนังสือ ปริญญาชีวิต ก้าวไกลเกินฝัน เรียบเรียงโดย สมยศ ศรีสมบูรณ์
ถ่ายปกและให้สัมภาษณ์ ลงในนิตยสาร ออล แม็กกาซีน (พฤศจิกายน 2558)
ผู้นำวงดนตรีหมอลำคณะ พิณแคน แดนอิสาน

รางวัล
รางวัลมาลัยทอง ปี 2543 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม ในเพลง ปริญญาใจ
รางวัลมาลัยทอง ปี 2548 สาขาเพลงสร้างสรรค์สังคมยอมเยี่ยม ในเพลง ฮักกันไว้เด้อ
ราวัลมหานครอวอร์ดส ครั้งที่ 9 ปี 2555 สาขาเพลงฮิตมาราธอน ในเพลง กอดคนนอกใจ
รางวัลสยามดารา สตาร์ อวอร์ด 2015 (ปี 2558) สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม ในเพลง ปริญญาเจ็บ
ราวัลมหานครอวอร์ดส ครั้งที่ 12 ปี 2559 สาขารางวัลพิเศษศิลปินส่งเสริมสังคมและวัฒนธรรมดีเด่น
รางวัล คนดีศรีอีสาน ประจำปี 2561 (ครั้งที่ 37) โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
"ศิลปินมรดกอีสาน" ประจำปี 2565 ในงานเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย ในวันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

งานประโยชน์เพื่อสังคมและการกุศล
ศิริพร อำไพพงษ์ ได้ตั้งมูลนิธิศิริพร อำไพพงษ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ส่งเสริมและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ช่วยเหลือผู้ป่วยยากจน บริการช่วยเหลืออุปถัมปภ์เด็กกำพร้า คนชรา ที่ยากจนและยากไร้ พัฒนาและส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนสำหรับเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งการสาธารณประโยชน์ต่างๆ





บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #64 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2566, 06:34:45 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @มาลีฮวนน่า อจ.ไข่













...”โมรา””หมาล่าเนื้อ...............”คืนใจ”   “ลืม”แล
    “กระท่อมกัญชา”ไฟ..............ผ่านน้ำ
   “หมาหยอกไก่”ทำไม.............ไม่บอก    รักนา
    “ลัง” “ว่าวจุฬา”ล้ำ..............”เด็กน้อย””อาวรณ์”

...นอน”หัวใจพรือโฉ้”.................แอบรัก      เขาฤา
   มักเบิ่ง”แสงจันทร์”คัก.............ส่องฟ้า
  “เขเรือ”ขี่ “เรือรัก...................กระดาษ”   ล่มนา
   พี่”สหายสุรา”ท้า...................ไต่”พร้าว”กินที...

...”มาลีฮวนน่า”ร้อง...................เพลงหรอย    แรงนา
    ครูไข่นายหัวคอย...................แต่งไว้
    สำเนียงบ่จอยวอย.................เด่น”ทอง       แดง”แฮ
    เพลงเด่นมากมีให้.................แหล่งใต้ภูมิใจ.....



มาลีฮวนน่า (อังกฤษ: Maleehuana) เป็นคำกลายมาจากภาษาอังกฤษ (Marijuana) แปลว่า กัญชา แต่ได้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อวงดนตรีแนวเพลงเพื่อชีวิต ซึ่งหมายถึง การปลดปล่อยอิสรภาพจากกรอบกำบังของสังคม กรอบแห่งความคิด

สมาชิก(ยุคเดิม)
คฑาวุธ ทองไทย (ไข่) - ร้องนำ/แต่งเพลง
ธงชัย รักษ์รงค์ (ธง) - ร้องนำ/กีต้าร์/แต่งเพลง
สมพงค์ ศิวิโรจน์ (พงค์) - แต่งเพลง/ร้องเพลงเทียมฟ้าชุดกลับกลาย
เชิดชัย ศิริโภคา (โก๊ย) - แต่งเพลง/กีต้าร์

สมาชิก(ยุคปัจจุบัน)
คฑาวุธ ทองไทย (ไข่) - ร้องนำ/แต่งเพลง

สุรศักดิ์ พันธ์ดี (น้อย) - แอดคอร์เดียน/คีบอร์ด
สมประสงค์ โกละกะ (สงค์) - กีตาร์
อนุเทพ ยี่รงค์ (เอ้) - กีตาร์
มณเฑียร แสงสุวรรณ (อ้วน) - เพอร์คัสชั่น
นฤดล สุธีรศักดิ์ (น็อต) - เพอร์คัสชั่น
ไชยาพร ธงสุทัศน์ (เต้) - เบส
สมพงศ์ ภูววิมล (พงศ์) - กีตาร์
สุชาต หิรัญวิญญ (เอก) - กลอง

ประวัติ
ก่อกำเนิด

มาลีฮวนน่าเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยคฑาวุธ ทองไทย ที่กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับธงชัย รักษ์รงค์ ซึ่งเล่นดนตรีอยู่ตามผับทางภาคใต้ และสมพงษ์ ศิวิโรจน์ ที่กำลังศึกษาที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป โดยสมพงษ์เป็นผู้ตั้งชื่อวง ซึ่งผันมาจากคำว่า มารีจัวน่า ที่แปลว่ากัญชา ด้วยความชื่นชอบในดนตรีแนวเร็กเก

ทั้งสามร่วมกันทำงานเพลงที่มีแรงขับมาจากความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อสภาพสังคม สภาพแวดล้อม เพื่อระบายความอัดอั้นอันเกิดจากความแตกต่างของวัย และปมด้อยทางสถานภาพสังคม แต่วงก็ต้องหยุดลงเพราะสมพงษ์เกิดท้อถอยกับปัญหาสังคม ทุกคนจึงจำต้องแยกย้ายกันไประยะหนึ่ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 วงมาลีฮวนน่าได้ออกอัลบั้มแรกใช้ชื่อว่า "บุปผาชน" บันทึกเสียงที่ห้องอัดของฮิเดกิ โมริ ย่านบางบัวทอง โดยสมพงษ์เป็นผู้ออกแบบปกอัลบั้ม ส่วนคฑาวุธวาดภาพลายเส้นที่ปกใน และมีเชิดชัย ศิริโภคา เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการเงินสำหรับการทำเทป โดยออกวางขายแบบใต้ดิน ฝากขายตามแผงเทปต่าง ๆ เช่น ร้านน้องท่าพระจันทร์ และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

มีชื่อเสียง
ในปี พ.ศ. 2538 บริษัทไมล์สโตน ของมาโนช พุฒตาล ได้ชักชวนวงมาลีฮวนน่าเข้าไปร่วมงาน ทำให้พวกเขาเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น และมีทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศในปีต่อมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2540 พวกเขามีอัลบั้มชุดที่ 2 "คนเช็ดเงา" และอัลบั้มชุดที่ 3 "กลับกลาย" ในอีกสองปีหลังจากนั้น


ในปี พ.ศ. 2543 มาลีฮวนน่าย้ายเข้าสังกัด ดรีม เรคอร์ดส์ ซึ่งธงชัยก่อตั้งเมื่อปี 2540 โดยคฑาวุธร่วมเป็นหุ้นส่วนใหญ่ มีอัลบั้มชุดที่ 4 "เพื่อนเพ" ออกมาเป็นอัลบั้มแรก อัลบั้มชุดนี้มีที่มาจากการได้พูดคุยกับ กลุ่มศิลปิน นักประพันธ์ ที่หลายคนเขียนงานเพลงขึ้นมาแล้วไม่มีโอกาสที่จะได้เผยแพร่ มาลีฮวนน่าจึงนำบทเพลงของพวกเขามาใส่ในอัลบั้มนี้ เพื่อที่จะได้เผยแพร่ไปในที่ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

มาลีฮวนน่ายังสานต่อผลงานเพลงออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2545 พวกเขาออกอัลบั้มบันทึกการแสดงสด "ระบำสยาม" ซึ่งแสดงที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตามด้วย "ลมใต้ปีก" ในปี 2546

แยกวง
หลังจากอัลบั้ม "ลมใต้ปีก" สมาชิกของวงได้พักการทำงานดนตรีในนามมาลีฮวนน่าลงชั่วคราว โดยต่างคนต่างก็หันไปทำงานประจำ
หรืองานที่ตัวเองสนใจ คฑาวุธ ทองไทย เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ทับแก้ว, ธงชัย รักษ์รงค์ ทำธุรกิจห้องอัดเสียง, สมพงษ์ ศิวิโรจน์ ใช้เวลากับการเขียนเพลง

ในปีเดียวกับที่อัลบั้มดังกล่าววางแผง มีกระแสข่าวว่าคฑาวุธและสมพงษ์ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง อันเนื่องจากจากการจัดสรรผลประโยชน์ของค่ายเพลงที่ไม่ลงตัว แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับวงระบุว่า ต่างคนต่างไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งหวาดระแวงถึงขั้นกล่าวหาว่ามีการจ้างมือปืนจากภาคใต้ และจากจังหวัดชลบุรีเพื่อลอบสังหารทั้งสอง ด้านธงชัยกล่าวในปี พ.ศ. 2561 ว่ามีบุคคลระดับผู้บริหารนำคนในครอบครัวของตนเข้าทำงาน เพื่อหวังฮุบบริษัทเป็นของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว

อัลบั้มชุดต่อมาของวง จึงเหลือเพียงคฑาวุธเป็นสมาชิกหลักคนเดียวจนถึงปัจจุบัน

ผลงาน
อัลบั้ม

บุปผาชน (พ.ศ. 2537)
...ลมเพ-ลมพัด...หัวใจละเหี่ย...วิถีคนจร...นิรันดร์...ไปไกล...เรือรักกระดาษ...หัวใจพรือโฉ้...ลานนม-ลมเน...รักสาวพรานนก...ชุ่มฉ่ำในดวงใจ
คนเช็ดเงา (พ.ศ. 2539)
...เขเรือ...หมาหยอกไก่...ร้องไห้กับเดือน...เด็กน้อย...คนเช็ดเงา...ชะตากรรม...โมรา...ฝุ่น (CHIRI CHIRI)...คนเลว...คืนใจ...ชุ่มฉ่ำในดวงใจ
กลับกลาย (พ.ศ. 2542)
...ลืม...ถนนแปลกแยก...ตุ้งแกวด...ก้าวย่าง-ทางเดิน...หมาล่าเนื้อ...กลับกลาย...อาวรณ์...แปรเปลี่ยน...สำนึก...ยุควิบัติ...เทียมฟ้า
เพื่อนเพ (พ.ศ. 2543)
...แสงจันทร์...สมิหลา-รูสมิแล...พร้าว...คืนมา (SEASON IN LOVE)...เรือน้อย (ขับร้องโดย สุพัณณดา พลับทอง อดีตสมาชิกวงเดอะซิส)...น้ำตา...พี่ชาย(ที่แสนดี)...นักดนตรี...นกกรงหัวจุก...ขอทานน้อย...MUK
เปรือย (พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2546)
...ชบา...ระบำชีวิต...เรียนรู้...มาลีฮวนน่าปาตี้...สายน้ำ..สายเลือด...ลัง...ไกลบ้าน...ละหมาดอารมณ์...ธารหัวใจ...ระยำชีวิต
ลมใต้ปีก (พ.ศ. 2546) (อัลบั้มแรกที่ใช้ชื่อ คฑาวุธ ทองไทย)
...ลัง...จันทร์ฉาย...ว่าวจุฬา...วัยรุ่น...สายน้ำ (KILLING FIELD)...มุดก้อนเม...มายา...กลัว...
สหายสุรา...รอยทาง
บังใบ้ (พ.ศ. 2549)
...ไอ้ใบ้...อีสาระภา...โจใจ...แผลเมือง...พี พี มายเดียร์...บางเงา...หนาวเล...เสียสาว...โปรดทิ้งฉันไว้ที่ปลายขอบฟ้า...มองอย่างนก...คนโซ...ออกเล
ปรายแสด (พ.ศ. 2549)
กระท่อมกัญชา (ต้นฉบับโดย คำรณ สัมบุญณานนท์)
...บัวทอง...เพียงลมพัดผ่าน...ยิ้มให้กับฝัน...ช่วยจันทร์(ราหูอมจันทร์)...ถนนชีวิต...เพ้อรัก...
แดดสุดท้าย...นกบินลัดฟ้า...ในฝัน (ต้นฉบับโดย ทูล ทองใจ)

ลัง (พ.ศ. 2550) (เป็นการนำอัลบั้ม "ลมใต้ปีก" มาเปลี่ยนชื่อใหม่)
...ลัง...จันทร์ฉาย...ว่าวจุฬา...วัยรุ่น...สายน้ำ (KILLING FIELD)...มุด ก้อนเมฆ...มายา...กลัว...สหายสุรา...รอยทาง

อัลบั้มร่วมกับศิลปินอื่น
หลวงตามหาบัว มหัศจรรย์มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ (2546) - จัดทำขึ้นเพื่อจารึกหลวงตาช่วยชาติ
หนึ่งก้าว ๖๐ เพื่อนพ้องร้องเพลงพงษ์เทพ (2557)

อัลบั้มแสดงสด
คอนเสิร์ต ระบำสยาม (พ.ศ. 2545)
คอนเสิร์ต รักษ์เขาหลวง (พ.ศ. 2546)
คอนเสิร์ต พันธุ์เล-๑๐๐๐ โล..พรรลำ (22 สิงหาคม 2552)
คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 1 (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553)
คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 2 (11 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 3 (10 ธันวาคม พ.ศ. 2554)
คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 4 (8 ธันวาคม พ.ศ. 2555)
ในสตูดิโอ "ยรํรํโฟล์ค Vol.1" (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556)
คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 5 (7 ธันวาคม พ.ศ. 2556)
คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 6 (6 ธันวาคม พ.ศ. 2557)
ในสตูดิโอ "ยรํรํโฟล์ค Vol.2" (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558)
คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 7 (6 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า แคมป์ไฟปีสุดท้าย (พ.ศ. 2559)
คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า Exclusive กอดดินถิ่นพ่อ (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560)
คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 8 (10 ธันวาคม พ.ศ. 2560)
คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า Exclusive 4 ย้อนเงา สีสรร ตะลุงเท่ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
คอนเสิร์ต เมื่อใจมันอ่อนล้า มาลีฮวนน่า คือคำตอบ (26 ตุลาคม พ.ศ. 2562)
คอนเสิร์ต 26 ปี มาลีฮวนน่า เพื่อนกัญ ไว-ฉะ-กัญ (6 ธันวาคม พ.ศ. 2563)
คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 9 (3 ธันวาคม พ.ศ. 2565)
คอนเสิร์ตร่วมกับศิลปินอื่น
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและซีวิต ครั้งที่ 2 (29 มกราคม พ.ศ. 2542)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและซีวิต ครั้งที่ 8 (8 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 9 (5 เมษายน พ.ศ. 2546)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและซีวิต ครั้งที่ 10 (11 ธันวาคม พ.ศ. 2547)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 3 (21 มกราคม พ.ศ. 2550)
คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 1 (5 มีนาคม พ.ศ. 2550)
คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 2 (15 มีนาคม พ.ศ. 2551)
คอนเสิร์ต 60 ปี วีรชนคนกล้า (29 เมษายน พ.ศ. 2551)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและซีวิต ครั้งที่ 12 (12 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อชีวิตและธรรมชาติ ครั้งที่ 13 (30 มกราคม พ.ศ. 2553)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อชีวิตและธรรมชาติ ครั้งที่ 14 (23 มกราคม พ.ศ. 2553)
คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 3 (14 มีนาคม พ.ศ. 2553)
คอนเสิร์ต 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน (19 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 15 (19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554)
คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 4 (19 มีนาคม พ.ศ. 2554)
คอนเสิร์ต บันเทิงคดีเดอะมูฟวี่ ฝนโปรยไพร ใจกลางเมือง (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)
คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 5 (17 มีนาคม พ.ศ. 2555)
คอนเสิร์ต 35 ปี จรัล มโนเพ็ชร (19 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 16 (12 มกราคม พ.ศ. 2556)
คอนเสิร์ต รำลึก แดง อินโดจีน (24 มกราคม 2556)
คอนเสิร์ต 60 ปี สัญญาหน้าฝน (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556)
คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 7 (2 มีนาคม พ.ศ. 2557)
คอนเสิร์ต คืนรัง (20 ธันวาคม พ.ศ. 2557)
คอนเสิร์ต งานวันไม้เท้าขาวสากล (16 ตุลาคม พ.ศ. 2558)
คอนเสิร์ต Farm Festival On The Hill ปีที่ 4 (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558)
คอนเสิร์ต ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560)
คอนเสิร์ต คืนรัง 3 (25-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560)
คอนเสิร์ต เราคนไทยไม่ทิ้งกัน (6 สิงหาคม พ.ศ. 2560)
คอนเสิร์ต Farm Festival On The Hill ปีที่ 5 (29 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560)
คอนเสิร์ต คืนรัง 4 (20 มกราคม พ.ศ. 2561)
คอนเสิร์ต รำลึก มงคล อุทก (19 - 22 กันยายน พ.ศ. 2561)
คอนเสิร์ต เพื่อนพิณเพลงพนมไพร (4 กันยายน พ.ศ. 2561)
คอนเสิร์ต สหาย (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561)
คอนเสิร์ต history festival 2018 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2561)
คอนเสิร์ต คืนรัง 5 (19 มกราคม พ.ศ. 2562)
คอนเสิร์ต Food Fun Fest (27 มกราคม พ.ศ. 2562)
คอนเสิร์ต สหาย 2 (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
คอนเสิร์ต รำลึก แดง คาราวาน (22 ธันวาคม พ.ศ. 2564)
คอนเสิร์ต Road For Life (4 มีนาคม พ.ศ. 2566)

ภาพยนตร์
มหาลัยวัวชน (พ.ศ. 2560)
คืนรัง (พ.ศ. 2562)

ซิงเกิล
ปลา2น้ำ - เพลง มารเวลา
เพลง ศศิน
เพลง คนปากบารา
เพลง ช่อมาลี
อีกฝั่งของพระจันทร์ (ร้องคู่กับ จิ๋ว สกุณชัย)

อัลบั้มของอดีตสมาชิก
ธงชัย รักษ์รงค์
THC มาลีฮวนน่า
THC ธงชัย รักษ์รงค์ - Yan in Bangkok (เถื่อน กรุงเทพมหานคร)
Editor
สมพงษ์ ศิวิโรจน์
มาโนช พุฒตาล - บุตรของนายเฉลียงกับนางอำไพ & สมพงษ์ ศิวิโรจน์ บุตรของนายเลื่อนกับนางซุ่นลิ่น (ร่วมกับ มาโนช พุฒตาล)
วิกฤติวัยกลางคน
พ.ประสบโชคดีจริง

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #65 เมื่อ: 02 มีนาคม 2566, 03:03:56 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์














...  ทำงัย“กลับไม่ได้.....................ไปไม่     ถึง”นา
     “คนไม่มีแฟน”ใจ.....................ใคร่รู้
      เธอและเขา“ถ่านไฟ.................เก่า”รอ     ลุกแน
      ถาม”เหนื่อยไหม”“เธอ..ผู้.........ไม่แพ้” ทำงัย.....

.....”ขอบใจจริง(ๆ)”ที่ให้................บทเรียน
      “แฟนจ๋า”เจ็บจนเซียน.............“ซ่อมได้”
      เรามัน”คู่กัด”เวียน..................วนด่า       ดีฤา
      น่า“จับมือกันไว้”................... แม่”พริกขี้หนู”...

....เลิศหรูซุปตาร์เด่นฟ้า.................เมืองไทย
    เบิร์ดธงไชย(แมค)อินไตย์...........ร้องเล่น
    เพลงดังเด่นมากใคร..................ใฝ่หา      ฟังนา
    ละคร”คู่กรรม”เน้น....................สร้างชื่อตำนาน....

ธงไชย แมคอินไตย์ (เกิด 8 ธันวาคม พ.ศ. 2501) ชื่อเล่น เบิร์ด เป็นนักร้องและนักแสดงชาวไทย ได้รับขนานนามว่าเป็น "ซูเปอร์สตาร์เมืองไทย" เขามีผลงานที่สร้างชื่อเสียงยาวนานมากกว่า 30 ปีในวงการบันเทิง โดยผลงานในวงการเพลงเขาเริ่มต้นจากการประกวดร้องเพลงของสยามกลการ ต่อมาเป็นนักร้องในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งประสบความสำเร็จสูงสุดของประเทศไทยมียอดจำหน่ายอยู่ในระดับแนวหน้าของทวีปเอเชียรวมมากกว่า 25 ล้านชุดเขามีสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวที่มียอดจำหน่ายเกินล้านตลับมากที่สุด 7 ชุด  และมีอัลบั้มพิเศษที่ยอดจำหน่ายเกินล้านตลับอีก 2 ชุด

ผลงานโดดเด่น 3 ลำดับแรกของเขา ได้แก่ อัลบั้ม บูมเมอแรง (พ.ศ. 2533) ซึ่งเป็นศิลปินคนแรกของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่มียอดจำหน่ายเกิน 2 ล้านตลับ ประกอบกับความสำเร็จด้านการแสดงในบทโกโบริในละคร คู่กรรม (พ.ศ. 2533) ซึ่งเป็นละครที่มีเรตติ้งสูงที่สุดในประเทศไทย ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "เบิร์ดฟีเวอร์" ทั้งวงการเพลงและวงการละคร ต่อเนื่องด้วยอัลบั้ม พริกขี้หนู (พ.ศ. 2534) ซึ่งมียอดจำหน่ายรวมมากกว่า 3.5 ล้านตลับ เป็นสถิติยอดจำหน่ายสูงที่สุดของยุค 90  และต่อมาอัลบั้ม ชุดรับแขก (พ.ศ. 2545) มียอดจำหน่ายมากกว่า 5 ล้านชุด เป็นอีกปรากฏการณ์ที่อัลบั้มของเขามียอดจำหน่ายสูงที่สุดของประเทศไทย

จากชื่อเสียงที่ยาวนานทำให้สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และสมาคมนักข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยได้ให้ฉายาธงไชยว่า "ดาวค้างกรุ" (พ.ศ. 2548)[16] และ "ป๋าพันปี" (พ.ศ. 2550) และส่วนหนึ่งจากการสำรวจความนิยมพบว่าเขามีภาพลักษณ์สำคัญคือ ความกตัญญู ความสามารถในการร้องเพลง การพัฒนาตนเอง ความสามารถในการให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม และการเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นต้น

ปฐมวัย
ธงไชย แมคอินไตย์ เกิดวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ที่ย่านสลัมบางแค (เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอภาษีเจริญหรือเขตภาษีเจริญในปัจจุบัน) ฝั่งธนบุรี จังหวัดธนบุรี
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า "อัลเบิร์ต แมคอินไตย์" (Albert McIntyre) หรือเรียกชื่อเล่นว่า "เบิร์ด" เป็นบุตรคนที่ 9 ในจำนวนพี่น้อง 10 คน ของเจมส์ (จิมมี่) แมคอินไตย์ แพทย์ทหาร ลูกครึ่งสกอต-มอญ และอุดม แมคอินไตย์ ครอบครัวของเขาค่อนข้างยากจน ในวัยเด็กธงไชยช่วยเหลือครอบครัวโดยการช่วยพับถุง ขายเรียงเบอร์ เก็บกระป๋องนมขาย และเย็บงอบ เป็นต้น นอกจากนั้นยังหารายได้จากการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กที่สลัมบางแคซึ่งมีรายได้ 5 ถึง 10 บาท แล้วแต่จะบริจาค โดยธงไชยเล่าถึงแง่คิดชีวิตวัยรุ่นตอนที่อาศัยอยู่สลัมบางแคว่า "สอนและให้เราสอบผ่านให้ได้ทุกวัน การเรียนรู้และการแบ่งแยกความคิดไปในทางที่ดี ไม่จำเป็นต้องมีทุกอย่างพร้อม คนเราจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับตัวเราเท่านั้น"  เขาชอบร้องเพลงตั้งแต่เด็ก ได้เข้าร่วมประกวดในเวทีงานวัดต่าง ๆ และเคยได้รางวัล โดยฝึกร้องและสอนกันเองในครอบครัว จากฝีมือการเล่นดนตรีของพี่น้อง 7 คน จึงรวมตัวเล่นดนตรีมีชื่อวงว่า "มองดูเลี่ยน"

ธงไชยศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดนิมมานรดี ระหว่างนั้นก็รับเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือครูในกิจกรรมร้องรำทำเพลงต่าง ๆ เสมอ และเป็นคนร่าเริง กล้าแสดงออก ต่อมา ศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนปัญญาวรคุณ เขาสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาการจัดการ ที่วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ทั้งนี้ภายหลังจากเขาเข้าวงการบันเทิง และประสบความสำเร็จ เขาได้รับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ 2 ครั้ง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้แก่ ปริญญากิตติมศักดิ์ คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์และ ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา)

วงการบันเทิง
แรกเข้าจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และงานแสดงช่วงแรก
ระหว่างที่ธงไชยทำงานอยู่แผนกต่างประเทศของธนาคารกสิกรไทย สาขาท่าพระ เขายังทำงานเสริมอื่น ๆ เช่น ถ่ายแบบ ถ่ายโฆษณา รวมถึงเป็นพนักงานเปิดประตูในดิสโก้เธคชื่อ ฟามิงโก ในโรงแรมแอมบาสเดอร์ ที่ซึ่งเขาพบกับผู้จัดละคร วรายุฑ มิลินทจินดา ซึ่งเป็นแขกของโรงแรม เขาร้องเต้นสร้างความบันเทิงให้กับแขกจนวรายุฑชักชวนให้มาเล่นละครเรื่อง น้ำตาลไหม้ (พ.ศ. 2526) โดยมีอดุลย์ ดุลยรัตน์เป็นผู้ช่วยสอน ละครเรื่องนี้เป็นละครเรื่องแรกของธงไชย ซึ่งเขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยมรางวัลเมขลา ส่งผลให้ธงไชยเป็นที่รู้จักและมีการกล่าวขานในฐานะนักแสดงหน้าใหม่ที่มีความสามารถ ต่อมาเขาได้ร่วมงานละครเวทีกับภัทราวดี มีชูธน หนึ่งในนั้นคือคอนเสิร์ตคืนหนึ่งกับภัทราวดี (พ.ศ. 2527) เขาแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกใน บ้านสีดอกรัก (พ.ศ. 2527)

ธงไชย และคุณหญิงพรทิพย์
1   คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช
2   กรณ์ ณรงค์เดช บุตรของพรทิพย์
3   ธงไชย แมคอินไตย์
4   พรพิชิต พัฒนถาบุตร ผู้จัดการส่วนตัวธงไชย
ธงไชยมีความสามารถด้านการร้องเพลง เขาจึงสมัครประกวดร้องเพลงเวทีสยามกลการในปี พ.ศ. 2527 เป็นจุดเริ่มต้นด้านเพลงที่สำคัญ การประกวดครั้งนั้นเขาได้รับรางวัลในการประกวด 3 รางวัล รวมรางวัลนักร้องดีเด่นประเภทเพลงไทยสากลจากเพลง "ชีวิตละคร" ทำให้ได้เซ็นสัญญากับสยามกลการ เรวัต พุทธินันทน์ ผู้ก่อตั้งจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่เห็นพรสวรรค์ของธงไชยได้เข้าพบคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช อดีตประธานสยามกลการ เพื่อเจรจาขอดึงตัวมาเป็นศิลปินของแกรมมี่ เป็นจุดเริ่มต้นอาชีพนักร้องของธงไชยในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

ระหว่างที่รออัลบั้มเสร็จเป็นระยะเวลา 2 ปี เขารับบทพระเอกภาพยนตร์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2528 เรื่อง ด้วยรักคือรัก คู่กับอัญชลี จงคดีกิจ และกำกับโดย หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย ทำให้คู่พระ-นางกลายเป็นคู่ขวัญคลาสสิกคู่หนึ่ง และในปีเดียวกัน ยังร่วมแสดงในละครเรื่อง บ้านสอยดาว และ พลับพลึงสีชมพู เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2529 ธงไชยได้รับเลือกให้เป็นพิธีกรนางสาวไทย รอบตัดสิน ปี 2529–2530 และเขายังเป็นพิธีกรคู่แรกในรายการถ่ายทอดสด 7 สีคอนเสิร์ต คู่กับมยุรา ธนะบุตร ซึ่งกลายเป็นพิธีกรคู่ขวัญ ทำให้เขาได้รับรางวัลผู้ดำเนินรายการดีเด่นชาย รางวัลเมขลา ประจำปี พ.ศ. 2529 ในปีเดียวกันเขาออกอัลบั้มแรก หาดทราย สายลม สองเรา ซึ่งจัดให้เป็นอัลบั้มของศิลปินชายที่ดีที่สุดแห่งปี โดยเป็นศิลปินชายที่มียอดจำหน่าย 5 แสนตลับคนแรกของแกรมมี่ โดยเพลง "ผ่านมา ผ่านไป" เป็นซิงเกิลแรกที่เขาเข้าบันทึกเสียง สำหรับซิงเกิลแรกที่เผยแพร่คือ "ด้วยรักและผูกพัน" "ฝากฟ้าทะเลฝัน""บันทึกหน้าสุดท้าย" เป็นต้น ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง จากความสำเร็จของอัลบั้มดังกล่าวได้มีการนำเพลงดังในอัลบั้มไปใช้ประกอบในภาพยนตร์ ด้วยรักและผูกพัน ที่ถ่ายทำในต่างประเทศ จากความสำเร็จเหล่านี้ เขาจึงลาออกจากงานประจำและก้าวสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัว โดยมีพรพิชิต พัฒนถาบุตรเป็นผู้จัดการส่วนตั นอกจากนี้ เขามีคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้มแรกชื่อว่า "คอนเสิร์ต สุดชีวิต ธงไชย" และในปีนั้นยังมีการจัดคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 1 ถือเป็นคอนเสิร์ตครั้งแรกของแกรมมี่

พ.ศ. 2530–2539
อัลบั้ม สบาย สบาย

ในปี พ.ศ. 2530 ธงไชยมีอัลบั้มดังชื่อ สบาย สบาย ซึ่งต้นสังกัดจัดให้เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดแห่งปีโดยมีเพลงเด่น เช่น เพลง "สบาย สบาย" "เหมือนเป็นคนอื่น" และ "ฝากใจไว้" โดยเพลง "สบาย สบาย" ที่ทำให้เขาดังข้ามประเทศ มีการนำลิขสิทธิ์เพลงไปแปลงหลายภาษาเช่น ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น และในปีดังกล่าวเขาได้รับรางวัลศิลปินดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) เพลง "สบาย สบาย" นี้ยังมีการนำไปใช้ประกอบภาพยนตร์ที่เขาแสดงนำเรื่อง หลังคาแดง และได้รับรางวัลเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ (สุพรรณหงส์ทองคำ) เขาจัดคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 2 ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2530 และปลายปี เขาออกอัลบั้ม รับขวัญวันใหม่ โดยมีเพลงเด่นคือ "หมั่นคอยดูแลและรักษาดวงใจ" และ "ขอบใจจริง ๆ" เป็นต้น

เขามีคอนเสิร์ตใหญ่สองครั้งในช่วงต้นปีถัดมา คือ คอนเสิร์ตเกาเหลาธงไชย (ไม่งอก) และคอนเสิร์ต เบิร์ด เปิ๊ด-สะ-ก๊าด และออกอัลบั้มพิเศษชื่อ ธงไชย แมคอินไตย์ พ.ศ. 2501 และอัลบั้ม ส.ค.ส. โดยมีเพลงเด่น เช่น เพลง "จับมือกันไว้" ซึ่งเป็นเพลงเด่นประจำการแสดงคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ และเขามีคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 3 ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2532

ละครคู่กรรม และอัลบั้มบูมเมอแรง
ธงไชย และกมลชนก โกมลฐิติ สองนักแสดงนำจากละครคู่กรรม
ในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นยุคที่เกิดกระแสเบิร์ดฟีเวอร์ ธงไชยรับบทโกโบริในละคร คู่กรรม ถือเป็นละครฉบับที่ประสบความสำเร็จสูงสุดอันดับ 1 ของไทยตลอดกาล ด้วยเรตติง 40 ละครเรื่องนี้ทำให้ธงไชยได้รับรางวัลใหญ่สองรางวัล คือ รางวัลนักแสดงนำชายดีเด่น จากงานประกาศผลรางวัลเมขลา ครั้งที่ 10 และรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากงานประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 5

ในปีเดียวกันธงไชยได้ออกอัลบั้ม บูมเมอแรง ซึ่งต้นสังกัดจัดให้เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดแห่งปี และเป็นลำดับ 3 ของอัลบั้มที่ดีที่สุดของทศวรรษ โดยเป็นศิลปินคนแรกของแกรมมี่ที่มียอดจำหน่ายเกิน 2 ล้านตลับ ซึ่งยอดจำหน่ายรวมได้ถึงสองล้านปลาย โดยมียอดจำหน่ายเกินล้านตลับภายใน 6 สัปดาห์ และเพลง "คู่กัด" ในอัลบั้มดังกล่าว มีการนำไปแปลงหลายภาษาในเอเชีย เช่น ภาษาจีน ภาษาพม่า ภาษาเวียดนาม เป็นต้น และเขามีการจัดคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้มมนุษย์บูมเมอแรง ต่อด้วยการทัวร์คอนเสิร์ตที่ใช้ชื่อว่ามนุษย์บูมเมอแรง และมีคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 4 ใน พ.ศ. 2533 หนังสือพิมพ์ เอกชน ยกให้เป็นศิลปินที่ได้รับประกาศเกียรติคุณมากที่สุด

ในคอนเสิร์ตสายใจไทย ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป่าทรัมเป็ตเพลง "คู่กัด" โดยมีธงไชยเป็นผู้ร่วมขับร้อง

อัลบั้มพริกขี้หนู และละครวันนี้ที่รอคอย
ในปี พ.ศ. 2534 ธงไชยประสบความสำเร็จต่อเนื่องมาถึงอัลบั้มชุดที่ 6 อัลบั้มพริกขี้หนู มียอดจำหน่ายเกินล้านตลับภายใน 50 วัน และยอดจำหน่ายรวมมากกว่า 3.5 ล้านตลับ สูงที่สุดแห่งยุค 90 และได้รับขนานนามเป็น "อัลบั้มแห่งทศวรรษ สื่อบันเทิงยกให้เป็นปรากฏการณ์ "เบิร์ดฟีเวอร์" อีกครั้งมีเพลงเด่นคือ "พริกขี้หนู" "ขออุ้มหน่อย" "ไม่อาจหยั่งรู้" "ฝากไว้" เป็นต้น ในปีเดียวกันเขายังมีคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 5 โดยใช้ชื่อตอน ความสุข ความทรงจำ ไม่มีที่สิ้นสุด จำนวน 29 รอบ จำนวนผู้ชม 58,000 คน ปลายปี พ.ศ. 2536 เขากลับมาแสดงละครวันนี้ที่รอคอย รับบท เจ้าซัน และเจ้าชายศิขรนโรดม ซึ่งเป็นละครที่ประสบความสำเร็จอีกเรื่องของเขาเขาได้รับรางวัลดารานำชายดีเด่น จากประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 8

ต้นปี พ.ศ. 2537 เขาออกอัลบั้ม ธ ธง โดยมีเพลงเด่นคือ "เธอผู้ไม่แพ้" "เหนื่อยไหม" เป็นต้น เพลง "เหนื่อยไหม" ได้รางวัลประพันธ์คำร้องยอดเยี่ยมจากงานประกาศผลรางวัลพระพิฆเนศทอง ธงไชยจัดคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม "คอนเสิร์ต ธ.ธง กับ เธอ (นั่นแหละ)" และคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 6 โดยใช้ชื่อตอนว่าอยากเห็นท้องฟ้าเป็นอย่างในฝัน ในปี พ.ศ. 2538 ธงไชยกลับมารับบทบาท โกโบริ อีกครั้งในภาพยนตร์คู่กรรม ภาพยนตร์นั้นสร้างสถิติภาพยนตร์ที่มีผู้เข้าชมสูงสุดใน 3 วันแรกของการเปิดตัวในยุคนั้น โดยธงไชยได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากงานประกาศผลรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ประจำปี พ.ศ. 2538 และในปีเดียวกันธงไชยได้รับเลือกให้ร้องเพลง "Golden Stars" ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ปี พ.ศ. 2538 จัดที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี

พ.ศ. 2540–2549
อุปสมบท และการสูญเสียมารดา


พระธงไชยและมารดาในพิธีอุปสมบท ปี 2540
หลังจากถ่ายทำละคร นิรมิต แล้วเสร็จ ธงไชยอุปสมบทในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เป็นการบวชทดแทนคุณ ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร และได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประทานผ้าไตร และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีประทานเครื่องอัตถบริขาร โดยธงไชยได้รับฉายาว่า "อภิชโย" แปลว่า "ผู้มีชัยชนะอันยิ่งใหญ่" และจำวัด ณ จังหวัดเชียงใหม่  
   วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2544 อุดม แมคอินไตย์ มารดา เสียชีวิตที่จังหวัดเชียงราย มีพิธีพระราชทานเพลิงศพวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมเจ้านาย 3 พระองค์ พระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ

ในปี 2541–2544 ธงไชยมีผลงานเพลงต่อเนื่องอีก 3 อัลบั้มที่ทำยอดจำหน่ายเกินล้านชุด  ได้แก่ ธงไชย เซอร์วิส (2541) มีเพลงเด่นคือ "ซ่อมได้" "บอกว่าอย่าน่ารัก" "ก็เลิกกันแล้ว" "ถ่านไฟเก่า" เป็นต้น พร้อมกับอัลบั้มพิเศษ ธงไชย เซอร์วิสพิเศษ และละคร ความทรงจำใหม่ หัวใจเดิม และมีคอนเสิร์ต อัลบั้มตู้เพลงสามัญประจำบ้าน (2542) มีเพลงเด่นคือ "ลองซิจ๊ะ" "กลับไม่ได้ไปไม่ถึง" "ผิดตรงไหน" "ทำไมต้องเธอ" เป็นต้น และปี พ.ศ. 2543 มีคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 7, อัลบั้มพิเศษ 100 เพลงรักไม่รู้จบ

ปลายปี พ.ศ. 2544 ธงไชยอัดอัลบั้มสไมล์คลับ ซึ่งต้นสังกัดจัดให้เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดแห่งปี  มีเพลงเด่นคือ "เล่าสู่กันฟัง" "คนไม่มีแฟน" และ "คู่แท้" เป็นต้น โดยเพลง "เล่าสู่กันฟัง" ได้รับรางวัลจากหลายสถาบัน เช่น รางวัลเพลงยอดเยี่ยม จากงานประกาศผลรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 14 รางวัลมิวสิกวิดีโอศิลปินชายยอดนิยม จากงานประกาศผลรางวัลแชนแนลวีไทยแลนด์มิวสิกวิดีโออวอร์ดส ครั้งที่ 1 เป็นต้น พร้อมกับการจัดคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้มเบิร์ดสไมล์คลับ และจากผลสำรวจสุดยอดแห่งความประทับใจ ปี พ.ศ. 2544 ของเอแบคโพล และผลสำรวจที่สุดแห่งปีของสวนดุสิตโพล พบว่าเขาอยู่ในลำดับแรกของนักร้องชายไทยที่ประทับใจที่สุด

ปริญญากิตติมศักดิ์ และอัลบั้ม ชุดรับแขก

ธงไชย ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปี 2545
ในปี พ.ศ. 2545 ธงไชยได้รับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ สำหรับผู้สร้างสรรค์ผลงานด้านดนตรีสากล และประสบความสำเร็จในอาชีพ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 ถึงปี 2546 เขาออกอัลบั้มชุดรับแขก ซึ่งสร้างสถิติยอดจำหน่ายเทปสูงสุดของไทยกว่า 5 ล้านตลับ และวีซีดีบันทึกการแสดงคอนเสิร์ต มียอดจำหน่ายมากกว่า 3 ล้านแผ่น รวมแล้วอัลบั้มชุดรับแขกทั้ง เทป ซีดี วีซีดี ยอดจำหน่ายมากกว่า 8 ล้านชุด นอกจากนี้อัลบั้มชุดนี้สร้างสถิติเป็นอัลบั้มที่ทำยอดจำหน่ายเกิน 1 ล้านตลับเร็วที่สุดของแกรมมี่ภายใน 3 สัปดาห์ เป็นอัลบั้มประวัติศาสตร์ของวงการเพลง  อัลบั้มดังกล่าวสร้างประวัติการณ์ Break Record สู่ 3 ล้านชุดในระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือน โดยมีเพลงเด่นคือ "แฟนจ๋า" ซึ่งแต่งโดยโจอี้ บอย และ "มาทำไม" ร่วมร้องกับจินตหรา พูนลาภ เป็นต้น จากการสำรวจความนิยมของคนกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2545 ของกรุงเทพโพลล์ พบว่าเพลงยอดนิยม คือ เพลง "แฟนจ๋า" รองลงมาคือเพลง "มาทำไม"

ความสำเร็จดังกล่าวจึงมีการจัดทำอัลบั้มพิเศษ แฟนจ๋า..สนิทกันแล้วจ้ะ และมีคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม ฟ.แอัลบั้ม เบิร์ด-เสก และ วอลุม วัน

คอนเสิร์ต เบิร์ดซน เบิร์ด-เสก ปี 2547
ในปี พ.ศ. 2547 เขาออกอัลบั้มพิเศษ เบิร์ด-เสก โดยมียอดจำหน่ายสูงสุดแห่งปีมากกว่า 2 ล้านชุด แกรมมี่จัดให้เป็น “อัลบั้มพิเศษที่ดีที่สุดแห่งยุค” โดยมีเพลงดัง คือ "อมพระมาพูด" ร้องคู่กับนักร้องแนวร็อก เสกสรรค์ ศุขพิมาในปี พ.ศ. 2548 มีอัลบั้มวอลุม วัน ซึ่งมีเพลงดังคือเพลง "โอ้ละหนอ...My Love" และเพลง "ไม่แข่งยิ่งแพ้" เขาได้รับรางวัลนักร้องยอดเยี่ยมของท็อปอวอร์ด, Oops! Awards; ศิลปินไทยแห่งปีของเฉลิมไทยอวอร์ด มิวสิกวิดีโอเพลง "โอ้ละหนอ...My Love" ได้รับรางวัลมิวสิกวีดีโอยอดเยี่ยมแห่งปี FAT award และรางวัลมิวสิกวิดีโอยอดนิยมของมิวสิกวิดีโออวอร์ดส และจากผลสำรวจเอแบคโพล เพลงโอ้ละหนอ...My Love เป็นเพลงยอดเยี่ยมแห่งปี] ธงไชยมีคอนเสิร์ตใหญ่ Volume 1 คอนเสิร์ต โอ้ละหนอ...My Love และจากผลสำรวจของเอแบคโพลและสวนดุสิตโพลพบว่าเขาเป็นนักร้องชายที่ประชาชนชื่นชอบที่สุดอีกปี

ในปี พ.ศ. 2549 ออกอัลบั้มธงไชย วิลเลจ ซึ่งมีเพลงเด่นคือ "เถียงกันทำไม" อัลบั้มพิเศษเบิร์ดเปิดฟลอร์ 3 อัลบั้ม ปีนั้น หนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น ยกให้ธงไชยเป็นหนึ่งในคนไทย 35 คนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในรอบ 35 ปี อีกทั้งหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ยกให้ธงไชยเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลของไทย ปี พ.ศ. 2549 โดยเป็นอันดับ 26 จากทุกสาขาอาชีพ และเป็นอันดับ 1 ประเภทนักร้องนักแสดง เขาได้รางวัลพิเศษศิลปินสร้างสรรค์ Inspiration Award ของเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส และรางวัลศิลปินที่ประสบความสำเร็จที่สุดแห่งปีของ Virgin Hitz Awards และเกียรติบัตรศิลปินชายยอดนิยมแห่งปีของ Thailand Top Chart

พ.ศ. 2550–2559
ด้านคอนเสิร์ต และอัลบั้ม อาสาสนุก

ธงไชยในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 9 ปี 2551
ในปี พ.ศ. 2550 มีจัดคอนเสิร์ตเบิร์ดเปิดฟลอร์  และปลายปีมีอัลบั้ม ซิมพลีย์ เบิร์ด ซึ่งมีเพลงเด่นคือ "ช่วยรับที" "มีแต่คิดถึง" และเพลง "น้ำตา" เป็นต้น เพลง "น้ำตา" แต่งโดย อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ได้รางวัลเพลงยอดเยี่ยมของสีสันอะวอร์ดส์ ขณะที่เพลง "มีแต่คิดถึง" ซึ่งแต่งโดยนิติพงษ์ ห่อนาค ได้รางวัลชมเชยการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ในปี พ.ศ. 2551 ธงไชยแสดงคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 9 ตอน MAGIC MEMORIES อัศจรรย์แห่งความทรงจำ สิ่งเหล่านี้คือความเป็นเรา...ตลอดไป มีจำนวนผู้ชมทุกรอบ 120,000 คน จาก 12 รอบการแสดง  ในปี พ.ศ. 2552 ธงไชยได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสองครั้ง คือ "โครงการเที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก" และ "โครงการ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน" โดยเขาขับร้องเพลง "ไปเที่ยวกัน" ประกอบสื่อภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์  และมีซิงเกิลพิเศษ "จะได้ไม่ลืมกัน" ประกอบภาพยนตร์ ความจำสั้น แต่รักฉันยาว และในปีดังกล่าวเขามีคอนเสิร์ต ธงไชย แฟนซี แฟนซน...ร้อง เต้น เล่น แต่งตัว จำนวน 4 รอบการแสดง


ธงไชยในคอนเสิร์ตเบิร์ดอาสาสนุก ปี 2554
ในปี พ.ศ. 2553 ธงไชยออกอัลบั้มอาสาสนุก ซึ่งเป็นอัลบั้มใหม่ในรอบ 3 ปี มียอดจำหน่ายและยอดดาวน์โหลดสูงที่สุด โดยมีเพลงเด่นคือ "อยู่คนเดียว" "อย่าทำอย่างนี้ไม่ว่ากับใคร...เข้าใจไหม" "ทูมัชโซมัชเวรีมัช" และ "เรามาซิง" โดยสองเพลงหลังมีการซื้อลิขสิทธิเพลงดังกล่าวไปแปลงเป็นภาษาญี่ปุ่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 เขายังมีคอนเสิร์ตใหญ่คอนเสิร์ตเบิร์ดอาสาสนุกที่จัดขึ้นที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี เป็นหนึ่งในคอนเสิร์ตสุดร้อนแรงแห่งปี  และหนึ่งในคอนเสิร์ตที่ได้รับการตอบรับสูงสุดแห่งปี

ปีนั้นธงไชยยังได้รับเลือกเป็นต้นแบบตัวละครการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ และเขายังเป็นผู้พากย์เสียง "พี่เบิร์ด" และร้องเพลงประกอบเพลงเบิร์ดแลนด์แดนมหัศจรรย์ และในปีเดียวกันเขาได้รับเลือกให้ร้องเพลงพิเศษ เพลง "Thai for Japan" ภาษาญี่ปุ่น ให้แก่ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2555 เขาแสดงคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 10 ตอน วันของเรา Young อยู่ ฉลองครบรอบ 25 ปีเบิร์ดเบิร์ดโชว์ จำหน่ายบัตรต่อเนื่องในคราวเดียวกว่า 100,000 คน ในปี พ.ศ. 2556 มีคอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้ ครั้งที่ 2 ตอน Secret Garden

สานสัมพันธ์ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้าน
ในปี พ.ศ. 2556 ธงไชยได้รับเชิญเป็น "ทูตมิตรภาพ" (International Friendship Ambassador)ไปร่วมงานเทศกาล Sapporo Snow Festival ครั้งที่ 64 ณ นครซัปโปโระ จังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ภายในงานมีรูปปั้นหิมะของเขาขนาดเท่าตัวจริงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพที่ดีของทั้งสองประเทศ การสำรวจในญี่ปุ่นยังพบว่าเขาเป็นศิลปินไทยที่คนญี่ปุ่นรู้จักมากที่สุดในปีเดียวกัน เขาได้รับเชิญร่วมงานเทศกาลดนตรีอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Music Fair) ณ กรุงโตเกีย2557 ธงไชยได้รับรางวัล Special Award from JNTO ของ Japan Tourism Award in Thailand สำหรับบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวญี่ปุ่น และปีดังกล่าวเขาถ่ายทำละคร กลกิโมโน

ในปี พ.ศ. 2558 มีคอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้ ครั้งที่ 3 ตอน The Original Returns ซึ่งจีเอ็มเอ็มแกรมมี่จัดกิจกรรม FUN&FRIENDSHIP EXPERIENCE  เป็นโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและสานสัมพันธ์ไทยพม่า ซึ่งเขาได้รับการต้อนรับจากชาวพม่าจำนวนมาในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565 เขาได้เข้ารับพระราชทานปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา) จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เขามีอัลบั้มใหม่ที่มีชื่อว่า เบิร์ด ทเวนตี้ทบทบาททางสังคม
การรณรงค์ การส่งเสริม และการอนุรักษ์
ด้านการรณรงค์ ธงไชยเป็นตัวอย่างศิลปินในการใช้สิทธิเลือกตั้งต่าง ๆ และในปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกจากคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นตัวแทนประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งและเขาช่วยเหลือในการรณรงค์ต่าง ๆ เช่น เป็นพรีเซ็นเตอร์โครงการ รณรงค์ลดการแพร่เชื้อทางเดินหายใจ ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย (พ.ศ. 2545) พรีเซนเตอร์ธรรมอาสาพาประชาชนไทยทุกหมู่เหล่าเข้าวัดปฏิบัติภาวนา (พ.ศ. 2546) พรีเซ็นเตอร์กิตติมศักดิ์ จากเครือข่ายคนรักน้องหมาในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา รณรงค์อุดหนุน "ดอกป๊อปปี้" ช่วยครอบครัวทหารผ่านศึก ของมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  
    ปลายปี พ.ศ. 2562 เขาได้รับคัดเลือกให้เป็น "KOL" (Key Opinion Leader) หรือ Influencer Marketing ทางด้านไฟฟ้าจากพลังงานที่สะอาด จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ผลจากการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ในโครงการ "ไฟ จาก ฟ้า พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้" ทำให้โครงการดังกล่าวได้รับรางวัล Thailand Influencer Awards 2019 ในสาขา Best Influencer Campa

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #66 เมื่อ: 03 มีนาคม 2566, 03:56:59 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ชรินทร์ นันทนาคร











....วอน”ขอใจให้พี่”......................”ยังคอย”
    คน“ซ่อนรัก รัก(ซ่อน)”ถอย..........”เพื่อน้อง”
    “หักใจไม่คิด”ลอย............... ....”ท่าฉลอม”   “เรือนแพ”
    “ลาก่อน ความรัก”ต้อง...............”สั่งฟ้าฝากดิน”.....

 ...กิน”เนื้อทองของพี่”...................”แสนแสบ”    ใจแน
    เสียงพ่อเพราะหวานแนบ..............นุ่มเนื้อ
   “ชรินทร์”ถิ่นแถบ.......................เชียงใหม่     เหนือนา
   “นันทนาคร”เชื้อ........................นี่ได้ราชทาน....

.....อลังการเล่นสร้าง.....................กำกับ   หนังแฮ
     แรกเล่นพระเอกครับ..................”สาวน้อย”
   “เทพบุตรนักเลง”รับ................... บทร่าง    (ผู้)สร้างฯนา
    งานเด่นงามชดช้อย....................ไม่คล้อยตำนาน....


ชรินทร์ นันทนาคร หรือชื่อเดิม ชรินทร์ งามเมือง (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 - ) เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ ศิลปินนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2541 สมรสกับนางเอกภาพยนตร์ชื่อดัง เพชรา เชาวราษฎร์

ชรินทร์ นันทนาคร เป็นผู้ริเริ่มร่วมสร้างสรรค์เพลง สดุดีมหาราชา ซึ่งส่งผลให้ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ "สังข์เงิน" สาขาใช้ศิลป์สร้างสรรค์ให้เกิดความรักชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์

ชรินทร์ นันทนาคร ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ที่ขับร้องเพลงไทยสากลผสมผสานกับเพลงไทยเดิม มีท่วงทำนองสูงต่ำเอื้อนด้วยน้ำเสียงที่มีเสน่ห์ชวนฟัง ออกเสียงอักขระได้ชัดเจน มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงประมาณ 1,000 เพลง

ประวัติ
ชรินทร์ งามเมือง เดิมชื่อ บุญมัย งามเมือง ศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย จบมัธยมการศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ กรุงเทพมหานคร เริ่มฝึกหัดร้องเพลงกับครูไสล ไกรเลิศ และเริ่มร้องเพลงสลับละครเวทีเรื่อง นางไพร เมื่อ พ.ศ. 2492 ด้วยเพลงดวงใจในฝัน และเริ่มบันทึกแผ่นเสียงจำหน่ายเป็นครั้งแรก และตามด้วยเพลง อิเหนารำพัน เมื่อ พ.ศ. 2494 จากนั้นย้ายกลับไปเชียงใหม่ ทำงานที่บริษัทกมล-สุโกศล สาขาเชียงใหม่ แล้วสำนักงานใหญ่เรียกมาทำงานที่กรุงเทพฯ ทำตำแหน่งแผนกบัญชี แผนกต่างประเทศ ไปจนถึงแผนกแผ่นเสียง จากนั้นทำงานเป็นเลขานุกรมที่องค์การยูซ่อม (USOM)

ผลงานของชรินทร์ นันทนาคร ที่สร้างชื่อเสียง เป็นที่นิยมมาก ได้แก่ เพลงเรือนแพ มนต์รักดอกคำใต้ หยาดเพชร อาลัยรัก ทาษเทวี ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง อาลัยรัก
    ก่อนจะผันไปเป็นผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เมื่อ พ.ศ. 2514 มีผลงานในฐานะผู้ผลิตภาพยนตร์ทั้งหมดกว่า 19 เรื่อง โดยมีภาพยนตร์เรื่อง รักข้ามคลอง ที่ทำรายได้สูงที่สุด และภาพยนตร์ แผ่นดินแม่ ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของประเทศไทยที่สร้างในระบบ 70 มม. แต่หลังจากนั้นก็เลิกทำหนังไป เหตุเพราะวงการหนังที่เปลี่ยนไป จึงเกิดความเบื่อ

    ต่อมาคุณวิเชียร อัศว์ศิวะกุล เจ้าของค่ายนิธิทัศน์โปรโมชั่น ติดต่อมาร้องเพลงและออกอัลบั้ม เรือนแพ เป็นอัลบั้มแรก นับจากนั้นจึงได้ยึดอาชีพนักร้องมาโดยตลอด
  
   ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรว่า "นันทนาคร" ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้ให้ความรื่นรมย์แก่ชาวเมือง" เพลงที่ชรินทร์ให้สัมภาษณ์ว่าร้องบ่อยที่สุดมีเพลง "เรือนแพ" "หยาดเพชร" "ผู้ชนะสิบทิศ" ซึ่งเพลงหลังนี้ชรินทร์กล่าวว่าร้องมากกว่าหมื่นครั้งได้
    ชรินทร์ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2541

ชีวิตส่วนตัว
ชรินทร์สมรสครั้งแรกกับ สปัน เธียรประสิทธิ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของปองทิพย์ ภรรยาของสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ชรินทร์และสปันมีบุตรสาวสองคนคือ ปัญญ์ชลี (สมรสกับ เศรณี เพ็ญชาติ เป็นมารดาของ ปวริศา เพ็ญชาติ) และปัญชนิตย์ เธียรประสิทธิ์ (สมรสกับชาวต่างชาติ เป็นมารดาของ ปัญญริสา เธียรประสิทธิ์)

ต่อมาชรินทร์ได้หย่าขาดสปัน และได้สมรสใหม่กับ เพชรา เชาวราษฎร์ อดีตนักแสดงชาวไทย มีบุตรด้วยกัน 1 คน แต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก

ผลงานแสดงภาพยนตร์
สาวน้อย (2501)
เงิน เงิน เงิน (2508)
ละครเร่ (2512)
สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
เรือมนุษย์ (2513)
รักเธอเสมอ (2513)
หวานใจ (2513)
คนใจบอด (2514)
น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515)

ผลงานการสร้างภาพยนตร์
ผลงานการสร้างภาพยนตร์ในนาม นันทนาครภาพยนตร์
เทพบุตรนักเลง (2508)
ลมหนาว (2509)
แมวไทย (2511)
สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
รักเธอเสมอ (2513)
น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515)
แผ่นดินแม่ (2518)
ลูกเจ้าพระยา (2520)
ไอ้ขุนทอง (2521)
เพลงรักดอกไม้บาน (2522)
แผ่นดินแห่งความรัก (2523)
รักข้ามคลอง (2524)
รักมหาสนุก (2525)
บ้านน้อยกลางดง (2526)
บ้านสีดอกรัก (2527)
ผู้การเรือเร่ (2528)
ลูกทุ่งฮอลิเดย์ (2529)
ฟ้าสีทอง (2530)
ผู้พันเรือพ่วง (2530)
คุณจ่าเรือแจว (2531)

ผลงานกำกับภาพยนตร์
สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
รักเธอเสมอ (2513)
น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515)
แผ่นดินแม่ (2518)
ลูกเจ้าพระยา (2520)
ไอ้ขุนทอง (2521)
เพลงรักดอกไม้บาน (2522)
แผ่นดินแห่งความรัก (2523)
รักข้ามคลอง (2524)
รักมหาสนุก (2525)
บ้านน้อยกลางดง (2526)
บ้านสีดอกรัก (2527)
ผู้การเรือเร่ (2528)
ลูกทุ่งฮอลิเดย์ (2529)
ฟ้าสีทอง (2530)
ผู้พันเรือพ่วง (2530)
คุณจ่าเรือแจว (2531)

ผลงานเพลง
อัลบั้ม ในฝัน (2546)
อัลบั้ม คู่เคียงสำเนียงรัก (2547)
อัลบั้ม เม็ดทราย สายนํ้า ความรัก (2548)
อัลบั้ม รักษ์เพลงไทย (2551)
อัลบั้ม กล่อมแผ่นดิน (2552)
อัลบั้ม อมตะเพลงหวานกลางกรุง (2554)
อัลบั้ม ที่สุดของชรินทร์ (2555)

คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ตเดี่ยว
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน คืนฟ้าสวย (2542)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน เพลงรักดอกไม้บาน (2543)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน เมื่อเหมันต์เยือน (2544)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน หยดหนึ่งของกาลเวลา (2545)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน ในฝัน...อัศจรรย์แห่งรัก (2546)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน เดียวดาย...ในทะเลดาว (2547)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน ฤๅ...โลกจะเปลี่ยนไป (2548)
ชรินทร์ & BSO อินคอนเสิร์ต ตอน ด้วยปีกแห่งรัก (2549)
1 ทศวรรษ ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน กล่อมแผ่นดิน (2552)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 11 เพชรพร่างกลางกรุง (2553)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 12 ปาฏิหาริย์รัก (2554)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 13 โลกนี้คือละคร (2556)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 14 ขอบฟ้าขลิบทอง (2558)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 15 คืนจันทร์กระจ่างฟ้า (2559)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 16 จากฟากฟ้าสุราลัย...สู่แดนดิน (2560)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 17 รักนั้นคือฉันใด (2561)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 18 แผ่นดินแห่งความรัก (2562)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 19 70 ปีที่โลกไม่ลืม (2563)
ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 20 มหากาพย์แห่งบทเพลง (2565)

คอนเสิร์ตอื่นๆ
คอนเสิร์ต เพลงหวานกลางกรุง ตอน เพลงหวานบางขุนพรหม (2552)
คอนเสิร์ต ถึงไหนถึงกัน (2554) (แขกรับเชิญ)
คอนเสิร์ต เพชรในเพลง (2554)
คอนเสิร์ต การกุศล ร้อยดวงใจเพื่อรอยยิ้ม (2555)
คอนเสิร์ต The Power Of Love รวมพลังแห่งรัก (2555)
คอนเสิร์ต เพชรในเพลง ครั้งที่ 2 (2555)
คอนเสิร์ต ฉลอง 75 ปี 6 ล้านกรมธรรม์ (2555)
คอนเสิร์ต หีบเพลงชัก...แทนคำรัก สง่า อารัมภีร (2555)
คอนเสิร์ต เพลงทำนอง...สองครู (2556)
คอนเสิร์ต Master of Voices 3 ศิลปินตำนานเพลงรักแห่งสยาม (2557) (ร่วมกับ สุเทพ วงศ์กำแหง และ ธานินทร์ อินทรเทพ)
คอนเสิร์ต รักปักใจ ลินจง (2557)
คอนเสิร์ต 100 ปี กาญจนะผลิน (2557)
คอนเสิร์ต กล่อมกรุง 2 (2558) (ร่วมกับ สุเทพ วงศ์กำแหง,อรวี สัจจานนท์,ธานินทร์ อินทรเทพ,รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส,เศรษฐา ศิระฉายา และ ศรีไศล สุชาตวุฒิ)
คอนเสิร์ต ที่สุดที่ดี เพื่อพี่รี่ สวลี ผกาพันธุ์ (2558)
คอนเสิร์ต มิตรสมาน (2559)
คอนเสิร์ต สุเทพโชว์ The Unforgettable (2560) (แขกรับเชิญ)
คอนเสิร์ต Master of Voices ตำนานเพลงรัก 3 รุ่น (2561)
คอนเสิร์ต ''สองวัยใจเดียวกัน'' ครั้งที่ 2 (2561)
คอนเสิร์ต Master of Voices เพลงรักจากแม่ (2562) (แขกรับเชิญ)
คอนเสิร์ต เพื่อครู ชาลี อินทรวิจิตร & สุรพล โทณะวณิก (2563)
คอนเสิร์ต 99 ปี ครูชาลี อินทรวิจิตร เพลงคู่แผ่นดิน หนึ่งในจักรวาล (2564)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2542 - Order of the Direkgunabhorn 4th class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #67 เมื่อ: 04 มีนาคม 2566, 05:04:37 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @สันติ ดวงสว่าง








....“สันติฯ”คือเจ้าพ่อ.................เพลงหวาน
    “จูบไม่หวาน”ตำนาน.............สร้างชื่อ
    “ทหารบกพ่ายรัก”หาญ..........ว่านวล    ลืมฤา    
    “เสียงขลุ่ยเรียกนาง”หื้อ......... เน่งน้องมาที....

....”คิดถึงพี่หน่อย”น้อง................คนงาม
     “ลูกทุ่งคนยาก”ถาม................ด้วยห่วง
     “สัญญาเมื่อสา(ยัณห์)”ยาม.... พลบค่ำ    น้องเอ๋ย
      หวานเด่นจับจิตห้วง...............เอ่ยเอื้อนหลงตาม....


สันติ ดวงสว่าง ชื่ออื่น เสน่ห์ สุดหล่อ,กำธร เทวดา หรือชื่อเดิม จเร ภู่ทอง (10 มกราคม พ.ศ. 2511 – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) เจ้าพ่อเพลงหวานที่มีผลงานเพลงดังมากมาย เช่น จูบไม่หวาน, ถอนคำสาบาน, รักนี้มีกรรม, น้ำกรดแช่เย็น, ลูกชาวบ้าน

ประวัติ
สันติ ดวงสว่าง หรือชื่อเดิม จเร ภู่ทอง เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2511 เป็นคนหมู่ที่ 6 ตำบลท่าเยี่ยม อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร (ขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองพิจิตร) เป็นบุตรของ นายจำรูญ ภู่ทอง และนางวรรณา ศรีประเสริฐ พ่อแม่มีอาชีพทำนา เดิมทีคุณแม่เป็นช่างเสริมสวย โดยเป็นลูกคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 5 คน ชอบร้องเพลงมาตั้งแต่สมัยเด็ก เดินสายสมัครร้องเพลงตามงานต่าง ๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด และมักได้รับรางวัลชนะเลิศแทบทุกครั้ง  

    จนต่อมาเมื่อปี 2529 แอ๊ด เทวดา ได้เห็นแววพรสวรรค์ของสันติ จึงชวนสันติไปอัดเสียงในเพลงแรกของเขาคือเพลง "แม่จ๋าพ่ออยู่ไหน" ตั้งแต่ตอนนั้นสันติมีความมั่นใจในฝีมือการร้องเพลงมากขึ้นจึงได้ไปร้องเพลงในห้องอาหารที่แม่กลอง จนกระทั่งได้ไปสมัครประกวดร้องเพลงในรายการลูกทุ่งสิบทิศ ทางช่อง 5 และได้เข้าฝากเนื้อฝากตัวกับครู"มนต์ เมืองเหนือ"และได้นำเพลงเก่ามารีมาตส์เตอร์เช่นเพลง จูบไม่หวาน ที่ทำให้เขาโด่งดังและเขาเป็นนักร้องลูกทุ่งคนแรกในค่ายอาร์เอสและเป็นนักร้องคนแรกในโครงการอัลบั้ม "ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน" ในโครงการนี้เขาทำไว้มากที่สุดถึง "23 อัลบั้ม" เขาเป็นนักร้องที่เขาห้องอัดร้องเพลงวันละ 20-30 เพลงต่อวันเลยทีเดียว และเขายังได้รับรางวัลในบทเพลง"ดวงดาวชาวนา"อีกด้วย จึงทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปและกลายมาเป็นเจ้าพ่อเพลงหวานจนถึงทุกวันนี้


   บั้นปลายชีวิตสันติได้ทำค่ายเพลงไว้ค่ายหนึ่งตามที่ฝันนั้นคือค่าย"รวงข้าวเรคคอร์ด"ก่อนเสียชีวิตสันติ ดวงสว่างได้บันทึกเพลงเอาไว้กับค่ายแสงรวีนั้นคือเพลง รักสาวม.2 ,เดือนจ๋า ,ไอ้หนุ่มนาดอน , ลาสาวเข้าโบสถ์, อดีตรักงานงิ้ว และ คำสุดท้าย

   สันติ ดวงสว่างป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคไตอันเนื่องมาจากการขาดยาและไม่ได้รับการพักผ่อน โดยก่อนหน้านั้น 1 ปีสันติเคยประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน อาการกำเริบหนักช่วงปลายเดือนตุลาคม 2559  และเสียชีวิตอย่างสงบด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 รวมอายุได้ 48 ปี

   ได้สวดพระอภิธรรมบำเพ็ญกุศล ณ วัดมูลจินดาราม จังหวัดปทุมธานี เป็นเวลา 5 วัน ก่อนจะนำศพกลับไปบำเพ็ญกุศล ณ วัดท่าคล้อ จังหวัดพิจิตร บ้านเกิด และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ณ วัดท่าคล้อ อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร

ผลงาน
ผลงานจากสังกัดอื่นๆ
ที่สุดแห่งรัก (ค่าย เอ็นดี)
ลูกทุ่งเพลงเอก (ค่าย โรส มีเดีย)

อัลบั้มในโครงการ ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน
ชุดที่ 1 จูบไม่หวาน (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป ก.ค. 2533)
ชุดที่ 2 บุพเพสันนิวาส (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป 2533)
ชุดที่ 3 คนสวยใจดำ (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป 2534)
ชุดที่ 4 ทหารใหม่ไปกอง (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป 2534)
ชุดที่ 5 คนอกหักพักบ้านนี้ (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป มิ.ย. 2534)
ชุดที่ 6 ข้าด้อยเพียงดิน (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป ก.ย. 2534)
ชุดที่ 7 รู้ว่าเขาหลอก (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป พ.ย. 2534)
ชุดที่ 8 จดหมายจากแม่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) มี.ค. 2535)
ชุดที่ 9 ยินดีรับเดน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) มี.ค. 2535)
ชุดที่ 10 ถอนคำสาบาน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) เม.ย. 2535)
ชุดที่ 11 น้ำกรดแช่เย็น (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2535)
ชุดที่ 12 หิ้วกระเป๋า (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2535)
ชุดที่ 13 ร้องไห้กับเดือน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2535)
ชุดที่ 14 โธ่คนอย่างเรา (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2536)
ชุดที่ 15 กลับเชียงรายเถิดน้อง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2536)
ชุดที่ 16 มนต์รักดอนหอยหลอด (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2536)
ชุดที่ 17 รักเก่าที่บ้านเกิด (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2536)
ชุดที่ 18 ช่วยบอกล่วงหน้าถ้าไม่รัก (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) ม.ค. 2537)
ชุดที่ 19 จดหมายเปื้อนน้ำตา (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2537)
ชุดที่ 20 ความผิดหวังยังคอยฉันอยู่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2537)
ชุดที่ 21 รักแล้วไม่ลืม (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2537)
ชุดที่ 22 นกแก้วนกขุนทอง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2538)
ชุดที่ 23 รักนี้มีกรรม (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2538)
ชุดที่ 24 ข่าวเศร้าจากเจ็ดสี (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2538)

อัลบั้มหลัก (นอกโครงการ)
ชุดที่ 1 ครูดงเด็กดอย (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป 2531)
ชุดที่ 2 จูบไม่หวาน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป 2531)
ชุดที่ 3 ห่วงแฟน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป 2532)
ชุดที่ 4 ผู้เสียสละ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป 2532)
ชุดที่ 5 ความรักเหมือนยาขม (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป 2532)
ชุดที่ 6 จริงหรือไม่จริง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2538)
ชุดที่ 7 รักนี้มีกรรม (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2538)
ชุดที่ 8 พี่ช้ำวันนี้ น้องช้ำวันหน้า (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2539)
ชุดที่ 9 วอนหลวงพ่อช่วยที (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2539)
ชุดที่ 10 คนขี้อาย (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2540)
ชุดที่ 11 ให้ฉันตายก่อนที่รัก (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2540)
ชุดที่ 12 มาลัยเปื้อนน้ำตา (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2540)
ชุดที่ 13 จดหมายจากน้องตู่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2541)
ชุดที่ 14 สอนน้อง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2541)
ชุดที่ 15 ฝากใจใส่กระทง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2542)
ชุดที่ 16 โรตีแผ่นใหม่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2543)
ชุดที่ 17 ลูกชาวบ้าน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2543)
ชุดที่ 18 ไม่นานเกินรอ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2544)
ชุดที่ 19 หนุ่มน้อยคาเฟ่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2545)
ชุดที่ 20 แผลเป็นที่ใจ (อาร์ สยาม 2545)
ชุดที่ 21 เพ็ญจ๋าลาก่อน (อาร์ สยาม 2546)
ชุดที่ 22 ดวงดาวชาวนา (อาร์ สยาม 2547)
ชุดที่ 23 น้ำตาลหวาน (อาร์ สยาม 2548)
ชุดที่ 24 คืนพี่คอย (อาร์ สยาม 2549)
ชุดที่ 25 หัวใจเรียกหา (อาร์ สยาม 2550)
ชุดพิเศษ 2 ทศวรรษเจ้าพ่อเพลงหวาน นางลอยนางลืม (อาร์ สยาม 2553)
ชุดพิเศษ 2 ทศวรรษเจ้าพ่อเพลงหวาน 2 หวานไม่เป็น (อาร์ สยาม 2553)

อัลบั้มพิเศษ
เพลงเฉลิมพระเกียรติองค์ราชา (2548)
เพลงเฉลิมพระเกียรติ สดุดี (2535)

คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย (18 สิงหาคม 2545)
คอนเสิร์ต รักเธอประเทศไทย เทิดไท้องค์ราชัน (3 ธันวาคม 2547)
คอนเสิร์ต เพลงดี-ดนตรีดัง จิตรกร บัวเนียม ครั้งที่ 2 (14 มิถุนายน 2552)

การแสดงภาพยนตร์


เพลงรักสวรรค์บ้านนา (2537)
หนุ่มนาข้าว สาวลำน้ำมูล (2538)

การแสดงละครโทรทัศน์
มนต์รักลูกทุ่ง (2538) ช่อง 7

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #68 เมื่อ: 07 มีนาคม 2566, 07:06:53 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @คนด่านเกวียน








...โชคชัยแดนเครื่องปั้น.............ดินเผา    
   แวะด่านเกวียนเลือกเอา..........ไคร่ซื้อ
   วง”คนด่านเกวียน”เขา............กลุ่มคน  ดนตรี
   แรกเริ่ม”เด็กปั๊ม”หื้อ..............สร้างชื่อโดนใจ....

...เปิดตัวไปแจ่มได้.................ใจคน
   เพลงเพื่อชีวิตดล.................เร่งเร้า
   จากคนที่เจ็บจน..................แหนงหน่าย   ชีวา
   กลับก่อขอคืนเข้า................สู้ต่อหลังฟัง....

..”คืนรัง”หวานเก่งอ้อน............คนรัก    กลับนา
  “คนฟั่นเฟือน”เตือนตัก.........”ไอ้โข่ง”
  “วันทอง””ไก่ชน”นัก............เลงเล่น  โหดแฮ
   ว่าว”ลอยลมบน”โค้ง...........เด่นฟ้าโคราช.....


คนด่านเกวียน เป็นกลุ่มนักดนตรีเพื่อชีวิตสัญชาติไทย มี อิศรา อนันตทัศน์ เป็นหัวหน้าวง โดยรวบรวมพรรคพวกจากวง "ด่านเกวียน:กลุ่มนักดนตรีร่วมสมัยจากดินแดนที่ราบสูง" มาตั้งวงดนตรี มีผลงานอัลบั้มเพลงชุดแรกในปี พ.ศ. 2527 คือ “เด็กปั๊ม” จนมีชื่อเสียงเทียบเคียงกับวงคาราบาว และเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มซึ่งแต่งโดย บุญ น้อยลำดวน(เศก ศักดิ์สิทธิ์) กลายเป็นเพลงฮิตตลอดกาล ต่อมาได้ออกอัลบั้มอีกหลายชุด มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกหลายครั้ง โดย สีเผือก ดำเนินวงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ผลงาน
ชุด ควายแถลงการณ์ (2521)....ควายแถลงการณ์...ยายพันยายไพ...เขียดน้อยกับหิ่งห้อย...อนัตตา....ตำนานบ้านนา...ชีวิตคน...อนิจจัง...เด็กพ้อ...สายใยสัมพันธ์...ทางคน

ชุด คนหลังเขา (2526)...ยายมา ตาคำ...ลุยลูกเดียว...บักเติง...น้ำตาแม่...นก
หำน้อย...คนหลังเขา...ฝัน...ความหวัง...ให้หัวใจ

ชุด เด็กปั๊ม (2527)...เด็กปั๊ม...ชาวนาอาลัย...บทเพลงจากหมู่บ้าน...ตะเกียง...เมฆพิโรธ...ผีเสื้อราตรี...คนฟั่นเฟือน...ไก่ชน...เดือนเพ็ญ..ผ้าผวยกับสายลมหนาว...คนเอย...คิดถึง

ชุด สยามเมืองยิ้ม (2528)....สยามเมืองยิ้ม...ตีความ...ตาหรุ่ง...เด็กศาลเจ้า...ตำนานเพลง...ความหวังสีขาว...เสี่ยวอีสาน...กาแฟชีวิต...เดือนเพ็ญ (2)...ประชากร...ท้องนาสวรรค์...หน้าใสก่วง

ชุด ไอ้หิน (2529)...ไอ้หิน....เซ็ง....วันทอง...กาลเวลา...โอ๊ยตายแน่...อย่าเพิ่งตาย...น้ำ...ไอ้หนุ่มร้อยเอ็ด...หิว...เจียงฮาย...ชายชรา...คนด่านเกวียน

ชุด ไอ้โข่ง (2530)...ลอยลมบน....ไอ้โข่ง....ล้างลิ้น...มะหน่อ...ข่าวเก่า...นางแบบ...คนขายไข่...ถังแตก...หำน้อย...คนด่านเกวียน

ชุด คนหัวขวด (2531)...การะเกด'88...คนหัวขวด...รถไฟสายปาดัง...ความแค้นให้คุณ...ความหวัง...สิ้นสาว...ความทรงจำ...หินอ่อน (ไอ้หิน ภาค 2)....ละครคน...อยากรวย

ชุด ขาประจำ (2532)...ขาประจำ...คำแพง...จอมขวัญ...นิวเคลียร์...มวยวัด...ยากูซ่า...รักผ่อนส่ง....สาวร่าเริง...เสี่ยวซานฟราน...ไอ้แสบ (ผู้ยิ่งใหญ่)

คนด่านเกวียน รวมเอกลักษณ์

คนด่านเกวียน รำลึก

คนด่านเกวียน เพลงซึ้ง

คนด่านเกวียน เพลงมันส์

อัลบั้มรวมเพลง
16 เพลงฮิตคนด่านเกวียน...เด็กปั๊ม...ไอ้หิน....สยามเมืองยิ้ม....เซ็ง...ไอ้โข่ง...วันทอง...ลอยลมบน....ชาวนาอาลัย....ตะเกียง...ตีความ...คนเล่นกล...เสี่ยวอีสาน...ล้างลิ้น...ข่าวเก่า...คนด่านเกวียน...คนฟั่นเฟือน

อยากรวยเป็นล้าน (2533)

เสียงจากเมืองไทย

รวมเพลงฮิต คนด่านเกวียน

รวมสุดยอดเพลงฮิตเพื่อชีวิต

รวมฮิต 2000

คอนเสิร์ต
กระทิง คอนเสิร์ต เขาใหญ่ (23 ตุลาคม 2536)
คอนเสิร์ต มหกรรมคอนเสิร์ตเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 2 (29-30 มกราคม 2542)
คอนเสิร์ต มหกรรมคอนเสิร์ตเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 8 (8 ตุลาคม 2545)
คอนเสิร์ต มหกรรมคอนเสิร์ตเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 9 (5 เมษายน 2546)
คอนเสิร์ต มหกรรมคอนเสิร์ตเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 10 (11 ธันวาคม 2547)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 3 (21 มกราคม 2550)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 11 (26 ธันวาคม 2550)
คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 2 (15 มีนาคม 2551)
คอนเสิร์ต 60 ปี วีรชนคนกล้า (29 เมษายน 2551)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 12 (12 ธันวาคม 2551)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 13 (30 มกราคม 2553)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อชีวิตและธรรมชาติ ครั้งที่ 14 (23 มกราคม 2553)
คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 3 (14 มีนาคม 2553)
คอนเสิร์ต มหกรรมคอนเสิร์ตเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 15 (19 กุมภาพันธ์ 2554)
คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 4 (19 มีนาคม 2554)
คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 5 (31 มีนาคม 2555)
คอนเสิร์ต รำลึกถึงปีที่ 20 เหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม (18 พฤษภาคม 2555)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 16 (12 มกราคม 2556)
คอนเสิร์ต รำลึก แดง อินโดจีน (24 มกราคม 2556)
คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 6 (16 มีนาคม 2556)
คอนเสิร์ต คืนรัง (20 ธันวาคม 2557)
คอนเสิร์ต คืนรัง 3 (25-26 กุมภาพันธ์ 2560)
คอนเสิร์ต คืนรัง 4 (20 มกราคม 2561)
คอนเสิร์ต เพื่อผู้พิทักษ์ป้า (19 มีนาคม 2561)
คอนเสิร์ต 101 ปี ชาตกาล (31 พฤษภาคม 2561)
คอนเสิร์ต คืนรัง 5 (19 มกราคม 2562)
คอนเสิร์ต 35 ปี คนด่านเกวียน อันปลั๊ก (6 ธันวาคม 2562)
คอนเสิร์ต คืนรัง 6 (17 มกราคม 2563)

ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่นๆ
เพลง ไฟเพื่อชีวิต ร้องโดย มงคล อุทก (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินเพื่อชีวิต โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ ด่านเกวียนคนก่อฟีน และสีเผือกคนก่อฟีน เพลงนี้แต่งเนื้อร้องโดย พยัพ คำพันธุ์ และบรรจุอยู่ในอัลบั้ม "เสี่ยหำน้อย")

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #69 เมื่อ: 08 มีนาคม 2566, 12:37:29 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @เรียม ดาราน้อย








....”(ที่รัก) เรารักกันไม่ได้............จริงเชียว    พี่เอ๋ย
    “คอย(วัน)เธอมีใจเดียว”.............เกี่ยวก้อย
    “วอนกามเทพ”ช่วยเหลียว........”ทุ่งทอง   รอรัก”
    “ที่รักฉันยอม(เสียสละ)”ด้อย.....ค่าให้เธอตรอง....

....ครอง”รักฉันแล้วอย่า..............รักใคร”  
    เพลงเด่นดังเร็วไว................"จ้าง(ก็)ไม่(จอง)
   “เรียม ดารา(น้อย)”ใส่ใจ..........เต็มที่    จริงนา
    ครูแต่งเพลงแรกให้...............ได้โล่รางวัล.....  

เรียม ดาราน้อย เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงชาวระยอง อดีตเคยเป็นนักร้องเชียร์รำวงชั้นเต้ย จากวง "ดาราน้อย" อันโด่งดัง โชคพาวาสนาส่ง ได้พบกับราชาเพลงลูกทุ่ง สุรพล สมบัติเจริญ ที่ไปเปิดการแสดงแถวบ้านเกิดของเธอ จนเป็นที่มาของ "เรียม ดาราน้อย" ชื่อเสียงโด่งดังคับฟ้าในเวลาต่อมา

ประวัติ
   เรียม ดาราน้อย มีชื่อจริง-นามสกุลจริงว่า อำไพ(สุธี) จำนงค์วารี เกิดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ที่ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง คุณพ่อชื่อพ่อสำเรียง คุณแม่ชื่อแม่ทบ จำนงค์วารี เรียนจบการศึกษาภาคบังคับ (ป.4) ที่โรงเรียนวังเฉลา อาชีพหลักของครอบครัว คือทำสวน เรียม ดาราน้อย มีพี่น้องถึง 11 คน ตัวเองเป็นคนที่ 9

ปัจจุบันอยู่กับครอบครัว มีบุตร 2 คน คือ น้องปู น.ส.รัศมี เลขวรนันท์ และ น้องปลา นายนริศ เลขวรนันท์ ทำกิจการออกแบบตกแต่งภายใน บริษัท ห้างร้าน หรือสำนักงาน


วงการเพลง
    วันหนึ่งรำวงคณะ " ดาราน้อย " ไปแสดงแถวบ้านเกิด บังเอิญวงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญมาเปิดทำการแสดงด้วย สุรพลได้ยินเสียงก็ถูกใจ และชักชวนมาอยู่วงสุรพลในที่สุด "อัดเพลงแรกก็ดังทันที "จ้างก็ไม่จอง" งานประพันธ์ของครูสุรพล สมบัติเจริญ ร้องแก้กับเพลง หัวใจผมว่าง ปีนั้นถ้าจำไม่ผิด 2509 อยู่กับวงสุรพล ได้เพียงไม่นาน สุรพลโดนลอบยิงเสียชีวิต ที่วิกแสงจันทร์ นครปฐม (16 สิงหาคม 2511) บรรดาลูกศิษย์ก็ออกมาตั้งคณะ "ศิษย์สุรพล" เรียม ก็มาอยู่ด้วย    คราวนี้อัดเพลง "ที่รักเรารักกันไม่ได้" งานประพันธ์ของจิตรกร บัวเนียม ดังสุด ๆ จนออกมาตั้งคณะวงดนตรีเป็นของตัวเอง

    เพลงที่เรียม ดาราน้อย ใช้เป็นแม่แบบในการร้องเชียร์รำวงยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่เป็นเพลงของศิลปินแห่งชาติ "ผ่องศรี วรนุช" โดยเฉพาะเพลง "ด่วนพิศวาส" เธอชอบร้องมาก และร้องได้ดีที่สุด "ชื่อเรียม ดาราน้อย" ชื่อนี้ราชาเพลงลูกทุ่งสุรพล บรรจงตั้งให้


เพลงสร้างชื่อ
จ้างก็ไม่จอง
ที่รักเรารักกันไม่ได้
น้องก็แน่
แว่วเสียงซึง
เรียมสะอื้น
มะพร้าวอ่อน
หยุดก่อนผู้ชายเจ้าชู้
โกรธพี่ไม่ลง
ฮักแต้บ่มี
แม่น้ำวิปโยค
กลับชลบุรีเถิดพี่

ภาพยนตร์
ม้ามืด (2513)
สวรรค์บ้านนา (2513)

เกียรติยศ
แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากเพลง ที่รักเรารักกันไม่ได้ ปี พ.ศ. 2514
รางวัลกึ่งศตวรรตลูกทุ่งไทย จากเพลง ที่รักเรารักกันไม่ได้


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #70 เมื่อ: 08 มีนาคม 2566, 10:23:17 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @โนรา หรือมโนราห์













...”โนรา”ศิลป์ถิ่นใต้.....................ตำนาน
    รำร่ายหลากตระการ..................แช่มช้อย
    กลอนสดต่อขับขาน..................ส่งสัม  ผัสนา
    กายแต่งลูกปัดร้อย...................ห้อยเครื่อง(ห้า)สวยงาม.....

....”โทน”ตีตามผู้ร่าย....................รำนา
     จักเร่งเร็วลดรา................ ......หน้าที่
     แปดสิบ(สาม)ท่ารำพา..............ร่ายหรอย    เพลินแล
     เริ่ม(ประ)ถมตาม”พรหมนี้...........สี่หน้า”ฝึกรำ....

....จำเริญพิธีไหว้........................คุณครู
    เสริมส่งกตัญญู.......................เซ่นไหว้
    (รำ)โรงครูใหญ่ยาวหรู...............เริ่มพุธ   ศุกร์รา
    (รำ)โรงครูเล็กย่อได้.................เพื่อการ”ค้ำครู”

....เชิดชูครูไป่ไหว้......................รับพร
    ครูส่งรับสืบสอน.....................บ่งชี้
    ดรรชนีส่องปลายศร.................แม่นหมาย   ต่อนา
    สมที่”ยู(เนสโก)จดจี้...............ไป่ขึ้นทะเบียนฯ.....



มโนราห์, มโนห์รา หรือโดยย่อว่า โนรา เป็นชื่อศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีรากศัพท์ที่มาจากคำว่า “นระ” เป็นภาษาบาลี – สันสกฤต แปลว่ามนุษย์ เพราะการร่ายรำแต่เดิมแล้ว การรำโนราจะรำให้เสมือนกับท่าร่ายรำของเทวดา

    มโนราห์มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกาย      เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่นอก หรือ ปี่ใน และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย

การแต่งกาย
   เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง (โบราณไม่นิยมให้นางรำใช้) ทำเป็นรูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า มีด้ายมงคลประกอบ
   เครื่องรูปปัด เครื่องรูปปัดจะร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนเสื้อ ประกอบด้วยชิ้นสำคัญ 5 ชิ้น คือ บ่า สำหรับสวมทับบนบ่าซ้าย-ขวา รวม 2 ชิ้น ปิ้งคอ สำหรับสวมห้อยคอหน้า-หลังคล้ายกรองคอหน้า-หลัง รวม 2 ชิ้น พานอก ร้อยลูกปัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้พันรอบตัวตรงระดับอก บางถิ่นเรียกว่า"พานโครง"บางถิ่นเรียกว่า"รอบอก" เครื่องลูกปัดดังกล่าวนี้ใช้เหมือนกันทั้งตัวยืนเครื่องและตัวนาง (รำ) แต่มีช่วงหนึ่งที่คณะชาตรีในมณฑลนครศรีธรรมราชใช้อินทรธนู ซับทรวง (ทับทรวง) ปีกเหน่ง แทนเครื่องลูกปัดสำหรับตัวยืนเครื่อง
ปีกนกแอ่น หรือ ปีกเหน่ง มักทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายนกนางแอ่นกำลังกางปีก ใช้สำหรับโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง สวมติดกับสังวาลอยู่ที่ระดับเหนือสะเอวด้านซ้ายและขวา คล้ายตาบทิศของละคร
   ซับทรวง หรือ ทับทรวง หรือ ตาบ สำหรับสวมห้อยไว้ตรงทรวงอก นิยมทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายขนมเปียกปูนสลักเป็นลวดลาย และอาจฝังเพชรพลอยเป็นดอกดวงหรืออาจร้อยด้วยลูกปัด นิยมใช้เฉพาะตัวโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง ตัวนางไม่ใช้ซับทรวง
    ปีก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หาง หรือ หางหงส์ นิยมทำด้วยเขาควายหรือโลหะเป็นรูปคล้ายปีกนก 1 คู่ ซ้าย-ขวาประกอบกัน ปลายปีกเชิดงอนขึ้นและผูกรวมกันไว้มีพู่ทำด้วยด้ายสีติดไว้เหนือปลายปีก ใช้ลูกปัดร้อยห้อยเป็นดอกดวงรายตลอดทั้งข้างซ้ายและขวาให้ดูคล้ายขนของนก ใช้สำหรับสวมคาดทับผ้านุ่งตรงระดับสะเอว ปล่อยปลายปีกยื่นไปด้านหลังคล้ายหางกินรี
    ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า นุ่งทับชายแล้วรั้งไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยปลายชายให้ห้อยลงเช่นเดียวกับหางกระเบน เรียกปลายชายที่พับแล้วห้อยลงนี้ว่า "หางหงส์"(แต่ชาวบ้านส่วนมากเรียกว่า หางหงส์) การนุ่งผ้าของโนราจะรั้งสูงและรัดรูปแน่นกว่านุ่งโจมกระเบน
   หน้าเพลา เหน็บเพลา หนับเพลา ก็ว่า คือสนับเพลาสำหรับสวมแล้วนุ่งผ้าทับ ปลายขาใช้ลูกปัดร้อยทับหรือร้อยทาบ ทำเป็นลวดลายดอกดวง เช่น ลายกรวยเชิง รักร้อย
    ผ้าห้อย คือ ผ้าสีต่างๆ ที่คาดห้อยคล้ายชายแครงแต่อาจมีมากกว่า โดยปกติจะใช้ผ้าที่โปร่งผ้าบางสีสด แต่ละผืนจะเหน็บห้อยลงทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของหน้าผ้า
   หน้าผ้า ลักษณะเดียวกับชายไหว ถ้าเป็นของโนราใหญ่หรือนายโรงมักทำด้วยผ้าแล้วร้อยลูกปัดทาบเป็นลวดลาย ที่ทำเป็นผ้า 3 แถบคล้ายชายไหวล้อมด้วยชายแครงก็มี ถ้าเป็นของนางรำ อาจใช้ผ้าพื้นสีต่างๆ สำหรับคาดห้อยเช่นเดียวกับชายไหว
   กำไลต้นแขนและปลายแขน กำไลสวมต้นแขน เพื่อขบรัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัดทะแมงและเพิ่มให้สง่างามยิ่งขึ้น
กำไล กำไลของโนรามักทำด้วยทองเหลือง ทำเป็นวงแหวน ใช้สวมมือและเท้าข้างละหลายๆ วง เช่น แขนแต่ละข้างอาจสวม 5-10 วงซ้อนกัน เพื่อเวลาปรับเปลี่ยนท่าจะได้มีเสียงดังเป็นจังหวะเร้าใจยิ่งขึ้น
   เล็บ เป็นเครื่องสวมนิ้วมือให้โค้งงามคล้ายเล็บกินนร กินรี ทำด้วยทองเหลืองหรือเงิน อาจต่อปลายด้วยหวายที่มีลูกปัดร้อยสอดสีไว้พองาม นิยมสวมมือละ 4 นิ้ว (ยกเว้นหัวแม่มือ)
   หน้าพราน เป็นหน้ากากสำหรับตัว "พราน" ซึ่งเป็นตัวตลก ใช้ไม้แกะเป็นรูปใบหน้า ไม่มีส่วนที่เป็นคาง ทำจมูกยื่นยาว ปลายจมูกงุ้มเล็กน้อย เจาะรูตรงส่วนที่เป็นตาดำ ให้ผู้สวมมองเห็นได้ถนัด ทาสีแดงทั้งหมด เว้นแต่ส่วนที่เป็นฟันทำด้วยโลหะสีขาว หรือทาสีขาว หรืออาจลี่ยมฟัน (มีเฉพาะฟันบน) ส่วนบนต่อจากหน้าผากใช้ขนเป็ดหรือห่านสีขาวติดทาบไว้ต่างผมหงอก
   หน้าทาสี เป็นหน้ากากของตัวตลกหญิง ทำเป็นหน้าผู้หญิง มักทาสีขาวหรือสีเนื้อ

เครื่องดนตรี
ทับ (โทนหรือทับโนรา) เป็นคู่ เสียงต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ ไม่ใช่ผู้รำ เปลี่ยน จังหวะลีลาตามดนตรี ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มอง เห็นผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิง ของผู้รำ)
กลอง เป็นกลองทัดขนาดเล็ก (โตกว่ากลองของหนังตะลุงเล็กน้อย) 1 ใบทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและล้อเสียงทับ
ปี่ เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียวของวง นิยมใช้ปี่ใน หรือ บางคณะอาจใช้ปี่นอก ใช้เพียง 1 เลา ปี่มีวิธีเป่าที่คล้ายคลึงกับขลุ่ย ปี่มี 7 รูแต่สามารถกำเนิดเสียงได้ ถึง 21 เสียงซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงพูด มากที่สุด
โหม่ง คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลม เรียกว่า "เสียงโหม้ง" ที่เสียงทุ้ม เรียกว่า "เสียงหมุ่ง" หรือ บางครั้งอาจจะเรียกว่าลูกเอกและลูก ทุ้มซึ่งมีเสียงแตกต่างกันเป็น คู่แปดแต่ดั้งเดิมแล้วจะใช้คู่ห้า
ฉิ่ง หล่อด้วยโลหะหนารูปฝาชีมีรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก สำรับนึงมี 2 อัน เรียกว่า 1 คู่เป็นเครื่องตีเสริมแต่งและเน้นจังหวะ ซึ่งการตีจะแตกต่างกับการตีฉิ่ง ในการกำกับจังหวะของดนตรีไทย
แตระ หรือ แกระ คือ กรับ มี ทั้งกรับอันเดียวที่ใช้ตีกระทบกับรางโหม่ง หรือกรับคู่ และมีที่ร้อยเป็นพวงอย่างกรับพวง หรือใช้เรียวไม้หรือลวด เหล็กหลาย ๆ อันมัดเข้าด้วยกันตีให้ปลายกระทบกัน

องค์ประกอบหลักของการแสดง
นักแสดงมโนราห์ในอดีต
   การรำ นักแสดงต้องรำอวดความชำนาญและความสามารถเฉพาะตน โดยการรำผสมท่าต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่องกลมกลืน แต่ละท่ามีความถูกต้องตามแบบฉบับ มีความคล่องแคล่วชำนาญที่จะเปลี่ยนลีลาให้เข้ากับจังหวะดนตรี และต้องรำให้สวยงามอ่อนช้อยหรือกระฉับกระเฉงเหมาะแก่กรณี บางคนอาจอวดความสามารถในเชิงรำเฉพาะด้าน เช่น การเล่นแขน การทำให้ตัวอ่อน การรำท่าพลิกแพลง เป็นต้น

    การร้อง นักแสดงต้องอวดลีลาการร้องขับบทกลอนในลักษณะต่าง ๆ เช่น เสียงไพเราะดังชัดเจน จังหวะการร้องขับถูกต้องเร้าใจ มีปฏิภาณในการคิดกลอนรวดเร็ว ได้เนื้อหาดี สัมผัสดี มีความสามารถในการร้องโต้ตอบ แก้คำอย่างฉับพลันและคมคาย เป็นต้น

    การทำบท เป็นการอวดความสามารถในการตีความหมายของบทร้องเป็นท่ารำ ให้คำร้องและท่ารำสัมพันธ์กันต้องตีท่าให้พิสดารหลากหลายและครบถ้วน ตามคำร้องทุกถ้อยคำต้องขับบทร้องและตีท่ารำให้ประสมกลมกลืนกับจังหวะและลีลาของดนตรีอย่างเหมาะเหม็ง การทำบทจึงเป็นศิลปะสุดยอดของโนรา

    การรำเฉพาะอย่าง นอกจากความสามารถในการรำ การร้อง และการทำบทดังกล่าวแล้วยังต้องฝึกการำเฉพาะอย่างให้เกิดความชำนาญเป็นพิเศษด้วยซึ่งการรำเฉพาะอย่างนี้ อาจใช้แสดงเฉพาะโอกาส เช่น รำในพิธีไหว้ครู หรือพิธีแต่งพอกผูกผ้าใหญ่ บางอย่างใช้รำเฉพาะเมื่อมีการประชันโรง บางอย่างใช้ในโอกาสรำลงครูหรือโรงครู หรือรำแก้บน เป็นต้น การรำเฉพาะอย่าง มีดังนี้
รำบทครูสอน
รำบทปฐม
รำเพลงทับเพลงโทน
รำเพลงปี่
รำเพลงโค
รำขอเทริด
รำเฆี่ยนพรายและเหยียบลูกนาว (เหยียบมะนาว)
รำแทงเข้
รำคล้องหงส์
รำบทสิบสองหรือรำสิบสองบท

การเล่นเป็นเรื่อง โดยปกติมโนราห์ไม่เน้นการเล่นเป็นเรื่อง แต่ถ้ามีเวลาแสดงมากพอหลังจากการอวดการรำการร้องและการทำบทแล้ว อาจแถมการเล่นเป็นเรื่องให้ดู เพื่อความสนุกสนาน โดยเลือกเรื่องที่รู้ดีกันแล้วบางตอนมาแสดงเลือกเอาแต่ตอนที่ต้องใช้ตัวแสดงน้อย ๆ (2-3 คน) ไม่เน้นที่การแต่งตัวตามเรื่อง มักแต่งตามที่แต่งรำอยู่แล้ว แล้วสมมติเอาว่าใครเป็นใคร แต่จะเน้นการตลกและการขับบทกลอนแบบโนราให้ได้เนื้อหาตามท้องเรื่อง

โนราลงแข่ง (ประชันโรง)
   การแข่งมโนราห์ หรือ มโนราห์ประชันโรง เพื่อจะพิสูจน์ว่าใครเล่นหรือรำดีกว่า มีศิลปะในการรำเป็นอย่างไรการว่ามุตโต (กลอนสด) ดีกว่ากัน ถ้าโรงไหนดีกว่าโรงนั้นก็จะมีคนดูมาก และเป็นผู้ชนะ การแข่งมโนรานี้มีพิธีที่คณะมโนราต้องทำมาก กลางคืนก่อนแข่งมีการไหว้ครูเชิญครู แล้วเอาเทริดผูกไว้ที่เพดานโรง เอาหมาก 3 คำ และจุดเทียนตามเอาไว้ จากนั้นหมอก็ทำพิธีปิดตู (ประตู) กันตู (ประตู) โดยชักสายสิญจน์กันไว้ หมอและคณะจะไม่นอนกันทั้งคืน หมอทำพิธีประพรมน้ำมนต์ไปเรื่อย (หมอประจำโรงต้องจ้างเป็นพิเศษไปกับคณะ สมัยก่อนเมื่อมีการแข่งครั้งหนึ่งหมอจะได้รับค่าจ้าง 1 เหรียญ หรือ 50 เบี้ย)

    การเอาเทริดผูกไว้ที่เพดานเพื่อที่จะเสี่ยงทายเอาเคล็ด คือ ให้หันเทริดเวียน 3 ที แล้วคอยดูว่าเมื่อหยุดเทริดจะหันหน้าไปทางไหน ถ้าเทรอดหันหน้าไปทางคู่แข่งมีหมายความว่ารุ่งเช้าจะแข่งชนะ ถ้าเทริดหันไปทางอื่นหมายความว่าแพ้ เมื่อถึงเวลาแข่งก็มีการรำอย่างธรรมดา คือ ออกนางรำทุกๆคน ประมาณ 4-5 คน แล้วก็ถึงตัวมโนราใหญ่ (นายโรง) นายโรงจะออกมารำ แต่ยังไม่สวมเทริดแล้วหมอก็จะนำหน้าลงมาจากโรงเพื่อทำพิธีเวียนโรงเป็นทักษิณาวัด 3 รอบ (ขณะเวียนโรงดนตรีเชิด) หมอถือน้ำมนต์นำหน้า มโนราใหญ่เดินตามหลัง การเวียนโรงทำเพื่อโปรดสัตว์ แผ่เมตตา มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สพเพ สตตา กรุณา อุเบกขา มุทิตา สพเพ สตตา สุขี โหนตุ แผ่เมตตาแก่ผู้ดูและสรรพสัตว์ทั้งหลายให้อยู่เย็นเป็นสุข แล้วก็กลับขึ้นโรงตามเดิม

ท่ารำมโนราห์
ท่ารำของโนราที่เป็นหลัก ๆ นั้นเมื่อแกะออกมารวมประมาณ 83 ท่ารำ

...ตั้งต้นเป็นประถม........ถัดมาพระพรหมสี่หน้า
...สอดสร้อยห้อยเป็นพวงมาลา.....เวโหนโยนช้า....ให้น้องนอน
...พิสมัยร่วมเรียง....เคียงหมอน...ท่าต่างกัน ....หันเป็นมอน
....มรคาแขกเต้าบินเข้ารัง.....กระต่ายชมจันทร์....จันทร์ทรงกลด
....พระรถโยนสาส์น....มารกลับหลัง....ชูชายนาดกรายเข้าวัง
....กินนรร่อนรำ...เข้ามาเปรียบท่า...พระรามาน้าวศิลป์...มัจฉาล่องวาริน
....หลงใหลไปสิ้นงามโสภา...โตเล่นหาง...กวางโยนตัว
....รำยั่วเอแป้งผัดหน้า...หงส์ทองลอยล่อง...เหราเล่นน้ำ
...กวางเดินดง....สุริวงศ์ทรงศักดิ์....ช้างสารหว้านหญ้า...ดูสาน่ารัก
...พระลักษณ์แผลงศรจรลี...ขี้หนอนฟ้อนฝูง...ยูงฟ้อนหาง
...ขัดจางหยางนางรำทั้งสองศรี....นั่งลงให้ได้ที่...ชักสีซอสามสายย้ายเพลงรำ
....กระบี่ตีท่า...จีนสาวไส้...ชะนีร่ายไม้...เมขลาล่อแก้ว
...ชักลำนำ....เพลงรำแต่ก่อนครูสอนมา...ท่าสิบสอง...พนมมือ
....จีบซ้ายตึงเทียมบ่า...จีบขวาตึงเทียมบ่า...จับซ้ายเพียงเอว...จีบขวาเพียงเอว
...จีบซ้ายไว้หลัง...จีบขวาไว้หลัง...จีบซ้ายเพียงบ่า...จีบขวาเพียงบ่า
...จีบซ้ายเสมอหน้า...จีบขวาเสมอหน้า...เขาควาย
...บทครูสอน...ครูเอยครูสอน...เสดื้องกร...ต่อง่า...ผูกผ้า...ทรงกำไล
...ครอบเทริดน้อย...จับสร้อยพวงมาลัย...ทรงกำไลซ้ายขวา
...เสดื้องเยื้องข้างซ้าย...ตีค่าได้ห้าพารา...เสดื้องเยื้องข้างขวา
...ตีค่าได้ห้าตำลึงทอง...ตีนถับพนัก...มือชักแสงทอง
....หาไหนจะได้เสมือนน้อง...ทำนองพระเทวดา
....บทสอนรำ...สอนเจ้าเอย...สอนรำ...รำเทียใบ่า
...ปลดปลงลงมา...รำเทียมพก...วาดไว้ฝ่ายอก
...ยกเป็นแพนผาหลา...ยกสูงเสมอหน้า...เรียกช่อระย้าพวงดอกไม้
...โคมเวียน...วาดไว้ให้เสมือนรูปเขียน...กระเชียนปาดตาล
...พระพุทธเจ้าห้ามมาร....พระรามจะข้ามสมุทร

พิธีกรรม
โนราโรงครู
โนราโรงครูมี 2 ชนิด คือ

โรงครูใหญ่ หมายถึงการรำโนราโรงครูอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะต้องกระทำต่อเนื่องกัน 3 วัน 3 คืนจึงจะจบพิธี โดยจะเริ่มในวันพุธ ไปสิ้นสุดในวันศุกร์ และจะต้องกระทำเป็นประจำทุกปี หรือทุกสามปี ทุกห้าปี ซึ่งต้องใช้เวลาเตรียมการกันนานและใช้ทุนทรัพย์สูง จึงเป็นการยากที่จะทำได้
โรงครูเล็ก หมายถึงการรำโรงครูอย่างย่นย่อ คือใช้เวลาเพียง 1 วันกับ 1 คืน โดยปกติจะเริ่มในตอนเย็นวันพุธแล้วไปสิ้นสุดในวันพฤหัสบดี ซึ่งการรำโรงครูไม่ว่าจะเป็นโรงครูใหญ่หรือโรงครูเล็กก็มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวการณ์และความพร้อม การรำโรงครูเล็ก เรียกอีกอย่าง คือ " การค้ำครู "

โนราโรงครูท่าแค
    การจัดพิธีกรรมโนราโรงครูวัดท่าแค เริ่มตั้งแต่การไหว้พระภูมิโรงพิธีพระ แล้วเข้าโรงในวันแรกซึ่งเป็นวันพุธตอนเย็น จากนั้นจึงทำพิธีเบิกโรง ลงโรง กาศครู เชิญครู กราบครู โนราใหญ่รำถวายครู จับบทตั้งเมือง การรำทั่วไป วันที่สองซึ่งเป็นวันพฤหัสบดีถือเป็นพิธีใหญ่ เริ่มตั้งแต่ ลงโรง กาศโรง เชิญครู เอาผ้าหุ้มต้นโพธิ์ที่เชื่อกันว่าเป็นที่เผาศพและฝังกระดูกของขุนศรีศรัทธา เซ่นไหว้ครูหมอตายายโนราทั่วไป รำถวายครู การรำสอดเครื่องสอดกำไล ทำพิธีตัดจุก ทำพิธีครอบเทริด หรือผูกผ้าใหญ่ พิธีแก้บนด้วยการรำถวายครูและออกพราน พิธีผูกผ้าปล่อย การรำทั่วไปในเวลากลางคืน ส่วนวันที่สาม เริ่มตั้งแต่ลงโรง กาศครู เชิญครู การรำทั่วไป รำบทสิบสองเพลง สิบสองบท เหยียบเสน ตัดผมผีช่อ รำบทคล้องหงส์ รำบทแทงเข้ รำส่งตายาย เป็นอันเสร็จพิธี

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ในการประชุมออนไลน์ของคณะกรรมการอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 16 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส องค์การยูเนสโก (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียนการรำโนราห์ทางภายใต้ของไทย ภายใต้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Nora, dance drama in southern Thailand" เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม) ในประเภท "รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity" นับเป็นการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้รายการที่สามของประเทศไทย


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #71 เมื่อ: 10 มีนาคม 2566, 03:24:00 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @เสรี รุ่งสว่าง













....”จดหมายจากแม่”ช้ำ......................ทุกข์ยาก   ช่วยแน
   เราแค่(คน)แบกกลองอยาก...............ช่วยแท้
   “เสรี รุ่ง(สว่าง)”ดังมาก.....................แรกเริ่ม     ดีนา
   “(ไอ้)หนุ่มทุ่ง(กระ)โจมทอง”แพ้...........พ่ายให้เด็กเทพ....

...”เทพธิดาผ้าซิ่น”.............................แสนงาม  
   “คนกล่อมโลก”เติมตาม...................”ร้อง(เพลง)เพื่อ(แม่)”
   “กระท่อมสาวเมิน”ทราม...................วัยไม่     เหลียวแล
    ป๋าแก่รวยนวลเนื้อ........................“เรียกพี่ได้ไหม”.....



เสรี รุ่งสว่าง (ชื่อจริง : กิตติกร รุ่งสว่าง) เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งจากอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
    มีชื่อเสียงจากเพลง "จดหมายจากแม่", "เทพธิดาผ้าซิ่น", "ไอ้หนุ่มรถซุง" และ "เรียกพี่ได้ไหม" ที่แต่งโดย ชลธี ธารทอง  
    เคยได้รับรางวัลจากงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทยเพลง "ไม้เรียว" และ "เทพธิดาผ้าซิ่น" ผลงานของครูชลธี ธารทอง

ประวัติ
เสรี รุ่งสว่าง เกิดเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 คุณพ่อชื่อนายยุ้ย และคุณแม่ชื่อนางชั้น จบการศึกษาเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วประกอบอาชีพกรรมกรก่อสร้าง รับจ้างทั่วไป  และได้รับการชักชวนจากครูสัมฤทธิ์ รุ่งโรจน์ และเอื้อ อารี ให้มาเป็นนักร้อง โดยเริ่มมีชื่อเสียงจากเพลง “จดหมายจากแม่” แต่งโดยชลธี ธารทอง จากการผลักดันของประจวบ จำปาทอง

เสรี รุ่งสว่าง เป็นเพื่อนสนิทกับยอดรัก สลักใจ เป็นผู้ออกมาปกป้อง จนทำให้มีเรื่องวิวาทกับสายัณห์ สัญญา กรณีกล่าวหาว่ายอดรัก สลักใจไม่ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ภายหลังเมื่อยอดรัก สลักใจเสียชีวิต ก็ได้อุปสมบทเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อชาติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ชีวิตส่วนตัว แต่งงานกับนางนัยนา มีบุตรด้วยกัน 3คน

ผลงานการแสดงภาพยนตร์
400 นักรบขุนรองปลัดชู (2561)
มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545) รับบท พี่ชายของศิรินทรา
ดับเจ้าพ่อ (2527) รับบท เสรี

ผลงานการแสดงละครโทรทัศน์
สวรรค์บ้านทุ่ง (2541) ช่อง 9
มนต์รักแม่นํ้ามูล (2545) ช่อง 5

ผลงานเพลงดัง
...จดหมายจากแม่...เทพธิดาผ้าซิ่น...ไอ้หนุ่มรถซุง...เรียกพี่ได้ไหม...ไอ้หนุ่มทุ่งกระโจมทอง...ร้องเพลงเพื่อแม่...อกหักซ้ำบ่อย บ่อย...คนกล่อมโลก...กอดแก้จน..อเมซิ่งสุพรรณ...ไอ้หนุ่มเครื่องไฟ...จำปาคืนต้น...พอหรือยัง..โชคดีที่รัก...เจ้าชู้ไม่ลง...รักมาห้าปี..รักน้องคนเดียว...เสียน้ำตาที่คาเฟ่...อภัยให้เรียม...รักคนแก่มีแต่รวย...ความรักเหมือนยาขม...ทุ่งร้างนางลืม...ขันหมากเศรษฐี...มนต์รักชาวไร่...พี่มีแต่ให้...อิจฉาตายาย...ไฟกินฟืน...สาวยโสธร...คนถูกทิ้ง...คนบ้านเดียวกัน...ประชามติคือเสียงสวรรค์....คำเตือนของพี่...เสียงจากเสรี...ผู้เสียสละ...เสียงพิณอีสาน...ถึงเธอผู้เป็นดวงใจ...รักคนชื่อน้อย...น้ำลงเดือนยี่...ฝนเดือนหก...ในฝัน...ใต้เงาโศก...ลูกทุ่งเสี่ยงเทียน...แม่สาวลูกหวย...นางโลม...คืนอำลา...ปรารถนา....อยากไปให้พ้น...แด่ผู้หญิงกลางคืน...ขออยู่ด้วยคน...ยืนร้องไห้คอยใคร...ฐานันดรรัก...เตรียมการณ์รัก...นานเท่าไรก็จะรอ...หยาดฟ้ามาดิน...ไม่มีใครรักจริง...เรือนหอน้ำตา...สะใจหรือยัง...ห้องนอนคนจน....วานนี้รักวันนี้ลืม...นางกวักมหาเสน่ห์...น้ำตาสิบล้อ...ไอ้หนุ่ม ต.ช.ด...จดหมายเป็นหมัน...คนชื่อเดือน...วันสุดท้าย...โปรดเถิดดวงใจ...รักเพราะรอยยิ้ม...รักสุดหัวใจ...รอยรักในอารมณ์...กระท่อมทองกวาว...บัวตูมบัวบาน...น้ำตาลาไทร....ลารักจากสวนแตง...มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม...พ่อแห่งแผ่นดิน...พุทธานุภาพ

อัลบั้มเดี่ยว
เทพธิดาผ้าซิ่น (2529)
อดีตรักวังบัวบาน (2534)
แบ่งบุญให้พี่บ้าง (2536)
คนถูกทิ้ง (2541)
เรียกพี่ได้ไหม (2542)
ถอดนวมร้องไห้ (2545)
ไปบ้านคุณอา (2545)
แม่สาวลูกสวย (2546)
อดีตรักริมน้ำน่าน (2547)
คนขวานบิ่น (2547)
กรุงเทพสะอื้น (2547)
เพชรแท้ (2554-2558)

รวมฮิต
• โรสวีดีโอ (โรส มีเดียฯ)

รวมฮิต เสรี รุ่งสว่าง ชุด ผู้เสียสละ
รวมฮิต เสรี รุ่งสว่าง ชุด เทพธิดาผ้าซิ่น
บิ๊กฮิต เสรี รุ่งสว่าง
• อาร์เอส

ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน
• เทโทร เรคคอร์ด

เสรี ฮิตโดนใจ
• มูฟวี่ สตรีต

แม่ไม้เพลงดัง เสรี รุ่งสว่าง
• เอ็มดีเทป

ดีที่สุด เสรี รุ่งสว่าง

อัลบั้มร่วมกับศิลปินคนอื่น
มหกรรมดอนเจดีย์ (2537)
คู่หวาน วันวาน (2541)
มนต์เพลงครูไพบูลย์ บุตรขัน (2543)
สายด่วนลูกทุ่ง (2543)
ต้นตระกูลเพลงดัง (2545)
ต้นตำรับลูกทุ่งไทย (2545)
รวมฮิตเพลงดังเงินล้าน (2545)
ลูกทุ่ง สามทศวรรษ (2546)
16 เพลงซึ้งโดนใจ (2546)
คู่แท้ คู่ฮิต 3 (2547)
เปิดกรุเพลงดัง วิเชียร คำเจริญ (2549-2551)
พ่อแห่งชาติ (2548)
รำวงย้อนยุด คณะ รวมดาวลูกทุ่ง (2549)
ร่วมพลิกชะตากรรมชาติ อ่าน คิด ลงประชามติ รธน. (2550)
ฮิต No.1 (2550)
รวมเพลงฮิต 120 เพลงดัง ดีที่สุด (2551)
ลูกทุ่งที่คิดถึง (2552)
เพลงเพื่อการประชาสัมพันธ์ (2553)
หนึ่งในสยาม รวมศิลปินลูกทุ่งชาย (2554)
ลูกทุ่งคลาสสิค (2554)
ดังคับฟ้า (2556)
ศาลาคนเศร้า (2556)
ต้นฉบับลูกทุ่งไทย (2556)
ท็อปฮิตลูกทุ่งไทย (2556)
ลำนำเพลงลูกทุ่ง (2558)
ลูกทุ่งฮิตโดนใจ (2559)
ขวัญใจรั้วของชาติ (2559)
ลูกทุ่งยอดฮิต (2564)
ลูกทุ่งสุดยอดเพลงฮิต
ลูกทุ่งชูเปอร์ฮิต
คุณขอมา

คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ต ลูกทุ่งโฟร์เอส (2544)
คอนเสิร์ต การกุศล ลูกกรุง vs. ลูกทุ่ง (2545)
คอนเสิร์ต Highlight (29-31 สิงหาคม 2546)
คอนเสิร์ต รักแผ่นดิน (7 กรกฎาคม 2550)
คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน ยอดรัก สลักใจ (16 สิงหาคม 2551)
คอนเสิร์ต ลูกทุ่งจ๋ามหาสนุก (21 – 22 เมษายน 2555)
คอนเสิร์ต คาราบาว ลูกสิงหราช (11 มกราคม 2558)
คอนเสิร์ต 78 ปี ตำนานแห่งสายน้ำ ครูชลธี ธารทอง (16 พฤษภาคม 2558)
คอนเสิร์ต OTOP และของดี อำเภอป่าโมก (24 กันยายน 2559)
คอนเสิร์ต 8 ปี ตำนานแห่งสายน้ำ ครูชลธี ธารทอง (2 พฤษภาคม 2560)
คอนเสิร์ต ลูกทุ่งการกุศล (8 พฤศจิกายน 2561)
คอนเสิร์ต อาลัยพ่อเพลงแห่งแผ่นดิน พ่อไวพจน์ เพชรสุพรรณ (5-7 พฤษภาคม 2565)
คอนเสิร์ต หนึ่งใจ…ช่วยเหลือผู้ประสบภัย (25 ตุลาคม 2565)
คอนเสิร์ต รับเชิญเปิดสนามกีฬาสเตเดี้ยม อ.กะสัง จ.บุรีรัมย์ (25 พฤศจิกายน 2565)
คอนเสิร์ต ครบรอบ 1 ปี ศรเพชร ศรสุพรรณ (8 มกราคม 2566)
คอนเสิร์ต ครบรอบ 1 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (12 มกราคม 2566)

ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่นๆ
เพลง ขันหมากลูกทุ่ง ร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินลูกทุ่ง โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ เสรี)

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #72 เมื่อ: 11 มีนาคม 2566, 04:26:27 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @นกน้อย อุไรพร เสียงอีสาน










...”เสียงอีสาน””นกน้อย.......อุไร    พร”นา
    ลำต่อกลอนเดินใน..........ท้องเรื่อง
    รำสวยม่วนสุขใจ............สวยหล่อ     หลงแล
    หลากเล่นมีตลกเยื้อง.......ไว้ท่าขำดี.....

....มีเพลงดัง”เกี่ยวข้าว........ดอรอ   แฟน”นา
   “นกจ๋า”เหนื่อยผัวหนอ."....”บ้าไก่(ตี)”
   “หัวใจไก่ชน”ขอ............”หญิงเดี่ยว มือ(หนึ่ง)”แล
    โลดเล่นหมอลำไว้.........ได้โล่ตำนาน.....


นกน้อย อุไรพร เป็นศิลปินนักร้องชาวไทยแนวลูกทุ่งหมอลำ ที่มีผลงานการบันทึกเสียงมากมาย อาทิเช่น นกจ๋า เกี่ยวข้าวดอรอแฟน ภาพถ่ายวิญญาณรัก สัจจาหญิง แอบคอย ดำขี่หลี่ คอยรักจากเสียงพิณ สาวอุบลรอรัก เหมือนดังนกขมิ้น เป็นต้น และเป็นผู้ก่อตั้งคณะเสียงอิสาน คณะหมอลำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและโด่งดังทั้งในและต่างประเทศ และยังคงดำเดินวงมาจนถึงปัจจุบันตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2518 จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ
นกน้อย อุไรพร หรือชื่อจริงว่า อุไร ฉิมหลวง (สกุลก่อนสมรส : สีหะวงศ์) เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2500 อยู่ที่บ้านจอม ตำบลยางชุมน้อย อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรสาวคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 6 คน ของนายสม สีหะวงศ์ และ นางผัน สีหะวงศ์ เป็นศิลปินลูกทุ่งหมอลำ
    นกน้อยเริ่มต้นการเข้าสู่วงการบันเทิงโดยเข้าประกวดร้องเพลงที่สถานีวิทยุเธอกวาดรางวัลชนะเลิศมาทุกเวที ด้วยคะแนนที่เป็นเอกฉันท์ปราศจากข้อกังขา โดยเธอมักจะใช้เพลงของ ผ่องศรี วรนุช และ เรียม ดาราน้อยไปประกวด และได้มาสมัครกับพ่อนพดล ดวงพร ในตำแหน่งนักร้อง แต่เนื่องด้วยเธอยังเด็กมากจึงได้รับหน้าที่เลี้ยงลูกให้หัวหน้าวงและเป็นหางเครื่องในเวลาต่อมา ก่อนที่จะได้บันทึกเสียงเพลงแรกในชีวิตคือเพลง"คอยรักจากเสียงพิญ"และยังมีอีกหลายบทเพลงเช่น ดำขี่หลี่ สัจจาหญิง ภาพถ่ายวิญญาณรัก เหมือนดั่งนกขมิ้น คอยอ้ายบ่มา ซึ่งสร้างชื่อให้เธอเป็นที่รู้จักทั่วภาคอิสาน

ต่อมาชื่อ นกน้อย อุไรพร นั้นได้จากการนำเอาเพลงนกจ๋า มาเป็นเหมือนตัวแทนก็คือ นกน้อย และเอาชื่อจริงคือ อุไร มาบวกกับคำสุดท้ายของนามสกุลของนพดล คือคำว่า พร มารวมกันจนกลายเป็น นกน้อย อุไรพรนั่นเอง

ประวัติการดำเนินวงเสียงอิสาน
ได้เข้ามาวงการดนตรีพุทธศักราช2518 หลังจากตะเวนประกวดขับร้องทั่วอีสาน โดยไปสมัครเป็นนักร้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีวงดนตรีเพชรพิณทอง เจ้าของวงพ่อนพดล ดวงพรแล้วตั้งชื่อใหม่ให้เป็นนกน้อย อุไรพร
ต่อมาย้ายมาสังกัดบ้านพักทัมใจโดย อาวทิดหลอดมัยกิจ ฉิมหลวง นักจัดรายการทางสถานีวิทยุชื่อดังในจังหวัดอุดรธานี และได้แต่งงานกัน

หลังจากนั้นก็ตั้งวงดนตรีนกน้อย อุไรพร แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมและขาดทุนเนื่องจากไม่มีการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอน ซึ่งเป็นการนำนิทานพื้นบ้านหรือเรื่องเล่ามาเล่นกันเป็นเรื่องราวแล้วแทรกการร้องเพลงไว้ด้วย เป็นจุดด้อยที่ทำให้ ไม่มีใครจ้าง
     หลังจากพักวงไปได้ไม่นานจึงปรับการแสดงและการจัดวงให้มีขนาดใหญ่ขึ้นภายใต้ชื่อวงเสียงอิสานหลังจากเริ่มวงครั้งใหม่ 10 ปีต่อมา เป็นระยะเวลาที่บ่มเพาะประสบการณ์ของวงทำให้เป็นที่นิยมกันมาในแถบถาคอีสานจนมีงานจ้างทั่วประเทศตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยจุดเด่นใหญ่ที่ให้ผู้ชมนั้นคือ ตลก พร้อมนักแสดงนับ 500 ชีวิต และการแสดงที่หลากหลาย

      เรื่องราวที่เข้ากันได้อย่างลงตัวหลังจากยกเครื่องปรับปรุงทีมงานการแสดงได้ไม่นานนัก วงดนตรีลูกทุ่งหมอลำคณะเสียงอิสานก็ได้รับการกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางเป็นไฟลามทุ่ง นำทีมโดยนกน้อย อุไรพร, ลูกแพร-ไหมไทย อุไรพร ปอยฝ้าย มาลัยพร,คำมอส พรขุนเดช,จั๊กจั่น ดาวไพร,ดาวทอง,ดาวน้อย,ดาวตลก,ดาวรุ่ง เมื่อร้องจนเก่งแล้วจึงลองหัดแต่งกลอนลำร้องเอง ต่อมาก็แต่งให้นักแสดงในวงนำไปร้อง ลำเรื่องต่อกลอนของคณะเสียงอิสาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฮอยปานดำ, ฮอยปูนแดง, วงเวียนชีวิต,และอีกหลายๆเรื่อง ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของนกน้อย อุไรพร ทั้งนี้และทั้งชื่อเสียงของคณะเสียงอิสานเริ่มขยายวงกว้างเป็นไฟลามทุ่ง ด้วยทีมงานที่ยิ่งใหญ่ขบวนคอนวอยที่ยาวเหยียด เวทีแสงสีเสียงและการแสดงอันตื่นตาตื่นใจ และรูปแบบการเวทีใหม่โดยใช้รถ 6 ล้อ 2 คันกางปีกออก จัดสเต็ปใช้ระบบไฮดรอดริกส์ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งและรูปแบบการแสดงใหม่ จนได้ชื่อว่าเป็น "หมอลำก้าวล้ำตลอดกาล" ปัจจุบัน นกน้อย อุไรพร ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชินีหมอลำในยุคปัจจุบันอีกคนหนึ่ง

เสียงอิสานรีแบนด์(New generation)
ปัจจุบันทีมงานเสียงอิสานได้ปรับปรุงรูปแบบใหม่(รีแบนด์) โดยการกลับมาใช้เวทีนั่งร้านเหมือนเดิมและจัดฉากใหม่ให้สวยงาม ตามโปรเจกต์ “เอิ้นขวัญเสียงอิสาน” และได้ผู้บริหารคนใหม่คือ เฮียหน่อย สุชาติและแป้ง ณัฐธิดามาบริหารงานในฤดูกาลนี้

ผลงานเพลง
สตูดิโออัลบั้ม
สาวโรงน้ำตาล (2537) (โฟร์เอส)...สาวโรงน้ำตาล...พรุ่งนี้เมิดปี...ฝากใจไปกรุงเทพ...เด้อ..สิบอกให้....เห็นเดือนสะเทือนใจ...รอรักริมฝั่งโขง....ปากหวานใจเปรี้ยว....พบพี่ที่ชายแดน....หลานสาวแม่ใหญ่ดี...ดังแล้วแยกวง...คิวใจอ้ายว่างบ่...บ้านหลังที่สอง...

นกจ๋า (2539) (ท็อปไลน์มิวสิค)....เหมือนนกขมิ้น...นกจ๋า...ที่รักจ๋า...ภาพถ่ายวิญญาณรัก...ธรณีเป็นพยาน...สัจจาหญิง...ดำขี่หลี่...เพลงชีวิต...รักเพียงเธอ...สวรรค์บ้านนา

อย่าด่วนรัก (2540) (ท็อปไลน์มิวสิค)...อย่าด่วนรัก...แอบคอย...พี่จ๋า...เห็นใจพี่จน...มีซิจ๊ะ...มองฟ้าน้ำตาซึม...สาวครวญ...กลัวรักลวง...สงสารหนุ่มนา...สิ้นแล้วมนต์เพลง...ชีวิตชาวนา...
ไอ่คำรำพัน

สาวหางเครื่อง (2541) (ท็อปไลน์มิวสิค)...สาวหางเครื่อง...อัศวินประจำใจ...สาวแม่มูลคอยแฟน...ศิษย์หลวงปู่พิมพา...พิเศษสำหรับแฟน...ผู้แทนบ้านนอก...แด่ท่านแม่ด้วยดวงใจ...เรือจ้างสังคม...เจ้าหนี้ชีวิต...เจ็บแล้วจำ

ดาวไม่ลืมดิน (2542) (ท็อปไลน์มิวสิค)...จันทร์อ้อน...ดาวไม่ลืมดิน...บัวหลวงรอรัก...ฝนซาน้ำตาซึม...สาวอุบลรอรัก...บ่มีพี่ที่อิสาน...อะบานิบีเสียงอิสาน...รักนกแน่หรือ...มีไหมคนใจจริง...แม่ค้ามือทอง...คนเลวขอร้อง...สาวโรงน้ำตาล

บ้าไก่ตี (2543) (ท็อปไลน์มิวสิค)...บ้าไก่ตี...เกี่ยวข้าวดอรอแฟน...สาวนาคิดถึงบ้าน...ขี้เหร่เสน่ห์แรง...ปอดอ้อยซ้อย...ใจพี่ยังมีเขา...ไม่มีสิทธิ์แต่คิดถึง...พรุ่งนี้เมิดปี...อีสานยังคอย...พอกะเทิน

หัวใจไก่ชน (2544) (ท็อปไลน์มิวสิค)...หัวใจไก่ชน Feat.ไหมไทย หัวใจศิลป์ ,วิ สุพิศตรา...ถ่านไฟเก่า...หนึ่งหญิงสองชาย...สาวอุดรอาดูร...สวนมอนแห่งความหลัง...บุญบั้งไฟ Feat.ลูกแพร อุไรพร...เทิดพระเกียรติ พระบรมฯ...ฝนซาสาวนาเศร้า...พี่จันทร์หลายใจ...อยู่ไกลใครก็ลืม...ขิวปานจี่เกิบ...กินกันก่อมๆ

มนต์เพลงเสียงอิสาน (2545) (ท็อปไลน์มิวสิค)...มนต์เพลงเสียงอีสาน...ซิ่นสองต่อน...รอยยิ้มในรูปเก่า...สองเฒ่ารำพัน...แม่ฮ่างน้อย...นกหลงฟ้า...รักเปลี่ยนเพราะเรียนต่อ...อีเฒ่า...รักต่างวัยใจเดียวกัน...ฝากลูกเฝ้าผัว

ยังฮักยังคอย (2546) (ท็อปไลน์มิวสิค)...ผู้สาวเฒ่า...ยังฮักยังคอย...หัวอกเมียบักเฒ่า...คานทองจองตัว”””อีกสักกี่คน...ฟังลำคิดฮอดอ้าย...คู่หวานบ้านใกล้...เบอร์ไหนกันแน่...แฟนปล่อย...สาวจำปา

ทางฮักทางใจ (2547) (ท็อปไลน์มิวสิค)...ทางฮักทางใจ...บ่มีไผ๋นอกจากพี่...ยอมไปเพราะใจรัก...สุดแล้วแต่พี่...วันนั้นที่บ้านเฮา...อยากเซาเป็นเมีย...อยากให้อ้ายรู้...ราชินีดอกหญ้า...คอยพี่ที่ตะวันแดง...หัวใจนกหัวอกไก่

แม่ลูกอลเวง (2548) (ท็อปไลน์มิวสิค)...แก้ตัวให้หัวใจ...แม่ลูกอลเวง Feat.แป้ง ณัฐธิดา...อยากเป็นนางโกง...เลิกงอนกันนะ...อยากเอาผัวไปเทิน...เส้นทางของนก...หัวอกเมีย..เทพธิดาป่ามอน...คู่ใจคนจน...คึดฮอดสามี

น้ำตาเมีย (2549) (ท็อปไลน์มิวสิค)...น้ำตาเมีย...บ่ยอมแพ้...หัวใจไม่สง่า...ศาลาริมทาง...อายุบ่เป็นใจ...สามหัวใจ...ฝันกลางวัน...ช่องว่างระหว่างวัย...อาหารจานเด็ด...เครื่องมือตอแหล

ดีเจใจเหงา (2550) (ท็อปไลน์มิวสิค)...ดีเจใจเหงา...บังสุกุลหัวใจ...จตุคามห้ามเบิก...แฮงกอดแฮงเหงา...นกน้อย...ลมหยอกใจ...ครูก็คน...ปฏิวัติใจ...พรรคใจรักใจ...ใจโบยบิน

รถไฟสายน้ำตา (2551) (ท็อปไลน์มิวสิค)...รถไฟสายน้ำตา...ผู้หญิงอกหัก...แม่เหนื่อย...บัณฑิตดอกหญ้า...เฒ่าบ่แม่นแนว...ชีวิตหรือละคร..หญิงหม้ายมองจันทร์...จะรอไหวมั้ย...ต้านลมด้วยแรงรัก...วันนี้ที่เมืองไทย

หญิงเดี่ยวมือหนึ่ง (2552) (ท็อปไลน์มิวสิค)...เขานอนในใจอ้าย...บูชารัก...เอิ้นอ้ายคืนนา...หลายใจเพราะชายเลว...ขอดังนำแนสู...ไม่มีพรุ่งนี้สำหรับเรา...หญิงเดี่ยวมือหนึ่ง...วันที่ไม่มีเธอ...ความฝันของแม่...สุสานนก

ฟ้าบ่มีฝน (2553) (ท็อปไลน์มิวสิค)...ฟ้าบ่มีฝน...ผู้รับกรรมคือน้ำตา...เลยเวลาคิดฮอด...ข่อยกับเจ้าเฮาสองคน...คนปั้นดาว...เสียงจากอิสาน...ทั้งที่ยังรัก...ตำนานแม่นก...คนไข้ ไอ.ซี.ยู....นิทานก่อนนอน

สาวเฒ่ากับบ่าวเหล้าขาว (2555) (ท็อปไลน์มิวสิค)...ลำนำพิณแคน...สาวเฒ่ากับบ่าวเหล้าขาว...ผู้หญิงกินเบียร์...จังได๋กะได้ถ้าอ้ายต้องการ..ฮักแท้..ยังหาไม่เจอ..รีเทิร์นมาเอิ้นแฟน..ย้านถูกของคนอื่น...เพื่ออ้ายกับเขาเหงาก็ยอม...กำลังใจ..อยู่ไสน้อ...มาลาฝั่งซ้าย...

ซิงเกิ้ล
...แห่งทุกข์แห่งม่วน...ดอกไม้บานอีสานชื่น...เสน่ห์อีสาน...บ่ออมชอม...ปาฏิหารย์...ขอบฟ้าไกล...ออนซอนอีสาน...เป็นคนข้างใจของอ้ายได้บ่...หัวใจดื้อ
40 ปี เสียงอิสาน
4 ทศวรรษตำนานเสียงอิสาน
เอาผัวไปโผด
ลวกไลน์ป่นเฟสบุ๊ค
60 ปีวิถีนกน้อย
น้ำเน่าสิ้นดี
ป่าศิลปิน
เฉลิมพระเกียรติ ร.๑๐
อาศิรวาทรัชกาลที่ ๑๐
แหล่อาศริวาท ร.๑๐
ขออินดี้นำแหน่สู
ยังยิ้มได้(cover) feat.แป้ง ณัฐธิดา (ต้นฉบับพลพล พลกองเส็ง) (2564)
ฟ้าหลังฝนคนบันเทิง (2564)
เสียงกล่อมโลก (2565)
โอมมหาละลวย (2565)
คาถาเงินล้าน (2565)
โอ้สกุณา…นกจ๋า (2565)

ผลงานรวมศิลปินในนามเสียงอิสาน
2540...4 สาวดาวรุ่ง
2545...ดาวตลกเสียงอิสาน โคตรงก
2547...รวมดาวสาวเสียงอิสาน
2548...รวมดาวสาวเสียงอิสาน 2
        ...ดาวตลกเสียงอิสาน ทายาทอสูร
2549...ดาวทองเสียงอิสาน 1
       ...รวมดาวสาวเสียงอิสาน 3
       ...ดาวตลกเสียงอิสาน หอบสาดแลน
2550...ดาวทองเสียงอิสาน 2
        ...รวมดาวสาวเสียงอิสาน 4
        ..ดาวตลกเสียงอิสาน วัยชราขาร็อค
2551...สืบสานตำนานนก
       ...ดาวทองเสียงอิสาน ดาวทองลองร็อค
       ...ดาวน้อยเสียงอิสาน ดาวน้อยสอยร็อค
       ...ดาวตลกเสียงอิสาน ดาวไถ
2552...ดาวทองเสียงอิสาน ดาวทองลำซิ่ง
       ...ดาวน้อยเสียงอิสาน รวมดาว 1
       ...ดาวตลกเสียงอิสาน มันเลยถอน
2553...ดาวทองเสียงอิสาน นางแมวยั่วสวาท
        ...ดาวน้อยเสียงอิสาน สาวน้อยสก๊อยพันธุ์เลาะ
        ...ดาวตลกเสียงอิสาน ลูกเขยเทวดา
2554...ดาวน้อยเสียงอิสาน สาวหมอลำเร็กเก้
       ...ดาวรุ่งเสียงอิสาน 1
      ...ดาวรุ่งเสียงอิสาน อย่าขอสกา
      ...ดาวตลกเสียงอิสาน กะเทยก่อม็อบ
2555...ดาวน้อยเสียงอิสาน สาวมัธยมกระโปรงเหี่ยน
        ...ดาวตลกเสียงอิสาน ร็อคกากกาก
2556...แห่งทุกข์แห่งม่วน
       ...ดาวรุ่งเสียงอิสาน ห่วงสาวกระโปรงเหี่ยน
2558...ซุปตาร์เสียงอิสาน

ผลงานการแสดงสดลำเรื่องต่อกลอนคณะเสียงอิสาน
2524   ...พระเตมีย์ใบ้        บทบาท พระนางจันทรเทวี   
           ...หูดสามเปา   
2544   ...วงเวียนชีวิต   บทบาทแม่ผู้ใหญ่   
           ...ฮอยปูนแดง   บทบาทแม่บุญธรรมทองศรี   
           ...เงากรรม   บทบาทดาหวัน   
2545   ...วงเวียนชีวิต (ภาค 2)   บทบาทแม่ผู้ใหญ่   

ผลงานภาพยนตร์
2546   ...มนต์เพลงเสียงอิสาน   บทบาทนกน้อย อุไรพร   
2547   ...อลเวง มนต์เพลงเสียงอิสาน
2548   ...วงเวียนชีวิต   บทบาทแม่ผู้ใหญ่   
2560   ...ยองบ่าง เดอะมูฟวี่   บทบาทแม่ครูนก   
2561   ...หลวงพี่มาร์   

รางวัล
-ชนะเลิศการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งของสถานีวิทยุ กวส.1 จังหวัดสุรินทร์
-ได้รับพระราชทานปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีพุทธศักราช 2550
-ได้รับรางวัล คนดีศรีอุดรธานี ในงานทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุดรธานี ประจำปีพุทธศักราช 2551
-ได้รับรางวัลในการใช้ภาษาไทยท้องถิ่นยอดเยี่ยมจาก พลเอกสรยุทธ์ จุลานนท์ ประจำปีพุทธศักราช 2553
-เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรสาขานาฏศิลป์และการละคร จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ มหาวิทยาลัยราฏภัชสกลนคร
-ศิลปินลูกทุ่งหมอลำผู้สร้างชื่อเสียงให้กับภาคอิสาน ในงานประกาศผลรางวัลตุ๊กตาทอง และ รางวัลเมขลา ประจำปีพุทธศักราช 2557
-ได้รับประทานรางวัล บุคคลดีเด่นในรางวัล "แม่พิมพ์ของชาติดีเด่น" เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2557 เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2557
-ได้รับรางวัล "เหมราช" บุคคลต้นแบบแห่งปี สาขาผู้นำด้านวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2559 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2559
-เข้ารับพระราชทานรางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันที่ 14 ธันวาคม 2559
-ได้รับรางวัล "คนดีของสังคม" ประจำปีพุทธศักราช 2560 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร วันที่ 24 มิถุนายน 2560
-ได้รับรางวัล "ศิลปินมรดกอีสาน" สาขาศิลปะการแสดง หมอลำเรื่องต่อกลอน ประจำปีพุทธศักราช 2561 ณ โรงละครคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 2 เมษายน 2561
-ได้รับรางวัลมณีนพรัตน์ราชธานีศรีสยาม (ครั้งที่ 1) สาขารางวัลศิลปินส่งเสริมวัฒนธรรมไทยดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2564


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #73 เมื่อ: 12 มีนาคม 2566, 08:37:31 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @อัสนี วสันต์ โชติกุล











....ตำนานสองพี่น้อง.........................ชนะเลิศ    ดนตรี
    อีสซึ่นวงพาเกิด............................เด่นได้
   “อัสนี”พี่”วสันต์”(น้อง)เจิด...............แจ่มคิด    กันนา
    เพลง“หนึ่งมิตรชิดใกล้”..................เปลี่ยนให้ใจรัก....

....พำนักมาได้ไม่............................นมนาน
    ปรับเปลี่ยนมาหางาน.....................ย้ายค่าย
    ไนท์(ส)ปอตเด่นตำนาน.................เบ่ง”บ้า    หอบฟาง”
    "ไม่เป็นไร”ลงท้าย.......................”น้ำเอย น้ำใจ".....

....สดใสแกรมมี่ได้..........................ชวนเชิญ    ร่วมแล
    เกิดก่อความจำเริญ.................. ....สร้างชื่อ
    “ก็เคยสัญญา”เขิน.......................”ร่ำไร”     “สิทธิ(ของ)เธอ”
    “ลาก่อน””ยินยอม”ยื้อ..................”ได้อย่าง เสียอย่าง”

...นาง”(เธอ)ปันใจ””เกี่ยวก้อย”............”หัวใจ   สะออน”
    “เจ็บแต่ดี””รักใคร.......................”ไม่เป็น”
    “(บัง)อรเอาแต่นอน”ไผ.................”อย่าเลย   ขอบใจ”
    เพลงเด่นดังมากเฟ้น......................แน่แท้ตำนาน....  


อัสนี – วสันต์ (อักษรโรมัน: Asanee – Wasan) เป็นชื่อวงดนตรีร็อคไทยซึ่งประกอบด้วยพี่น้อง ป้อม – อัสนี โชติกุล และโต๊ะ – วสันต์ โชติกุล

ประวัติ
   พ.ศ. 2517 ป้อม – อัสนี โชติกุล และ น้องชาย โต๊ะ – วสันต์ โชติกุล จากอำเภอเมือง จังหวัดเลย ได้เข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพ และได้ร่วมเข้าประกวดวงดนตรีโฟล์คซองในกรุงเทพฯ และได้รางวัลชนะเลิศ อาจารย์ วิมล จงวิไล ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการพาไปอัดเสียง เป็นจุดกำเนิดของวงอีสซึ่น มีผลงานเพลงดังอย่าง แม่สาวตางาม พบกันหน้าสยามสแควร์ และ หนึ่งมิตรชิดใกล้ ซึ่งต่อมาโต๊ะได้นำมาร้องใหม่อีกครั้งในอัลบั้ม ผักชีโรยหน้า เมื่อปี 2530 โดยหลังจากที่ทำงานเพลงได้ไม่นาน ป้อมและโต๊ะได้แยกตัวออกจากวงอิสซึ่นมาทำงานเบื้องหลัง

   ในปี พ.ศ. 2529 ทั้งคู่ตัดสินใจทำผลงานเพลงของตนเองออกมาเพื่อออกอัลบั้มชุดแรกคือ บ้าหอบฟาง สังกัดค่ายไนท์สปอตโปรดักชั่น ในสังกัด WEA แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ก็มีเพลงดังคือ บ้าหอบฟาง ที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ป้อมและโต๊ะย้ายมาสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และมีผลงานชุดที่ 2 ผักชีโรยหน้า ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีเพลงดังคือ ก็เคยสัญญา หนึ่งมิตรชิดใกล้ ซึ่งเป็นเพลงเก่าที่เคยทำร่วมกับวงอิสซึ่น บังอรเอาแต่นอน สายล่อฟ้า และ ทั้งทั้งที่รู้

ปี พ.ศ. 2531 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 3 กระดี่ได้น้ำ มีเพลงดังคือ กระดี่ได้น้ำ ยินยอม บังเอิญติดดิน และ ร่ำไร

ปี พ.ศ. 2532 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 ฟักทอง มีเพลงดังคือ ยินดีไม่มีปัญหา หัวใจสะออน ได้อย่างเสียอย่าง อยากจะลืม วัวลืมตัว และ กรุงเทพมหานคร และอัลบั้มชุดนี้ได้ทำยอดขายเกิน 1 ล้านตลับเป็นชุดแรกของทั้งคู่ และเป็นอัลบั้มเพลงที่ขายดีที่สุดในปีดังกล่าว

ปี พ.ศ. 2533 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 สับปะรด มีเพลงดังคือ เธอปันใจ เกี่ยวก้อย คงเดิม และ กุ้มใจ อัลบั้มนี้เป็นอีกชุดที่ทำยอดขายเกิน 1 ล้านตลับอีกชุดของทั้งคู่เป็นชุดที่ 2

ปี พ.ศ. 2536 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 6 รุ้งกินน้ำ มีเพลงดังคือ รักเธอเสมอ ลาก่อน ลงเอย

จนปี พ.ศ. 2538 พวกเขาทั้งคู่ตั้งค่ายเพลง มอร์ มิวสิก ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

ในปี พ.ศ. 2540 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 7 บางอ้อ มีเพลงดังคือ อยากได้ยินว่ารักกัน ข้าวเย็น I LOVE YOU และ คนหลายใจ ซึ่งแต่งโดยร็อคเกอร์ชื่อดัง "เสก โลโซ" และเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของทั้งคู่ที่มียอดขายเกิน 1 ล้านตลับ

ปี พ.ศ. 2545 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 8 จินตนาการ มีเพลงดังคือ สิทธิ์ของเธอ รับไม่ไหว และ ลูกผู้ชาย

ปี พ.ศ. 2549 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 9 เด็กเลี้ยงแกะ มีเพลงดังคือ อยากให้อยู่ด้วยไหม

ปี พ.ศ. 2554 ทั้งคู่ได้ก่อตั้ง บริษัท สหภาพดนตรี จำกัด ร่วมกับ ดี้ - นิติพงษ์ ห่อนาค, โอม - ชาตรี คงสุวรรณ และจุ๊บ - วุฒินันต์ ภิรมย์ภักดี จากนั้นอัสนี-วสันต์ ก็ได้เปลี่ยนแนวทางการทำเพลงเป็นซิงเกิลเดี่ยวแทน โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 สหภาพดนตรีได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น มิวซิกมูฟ มาจนถึงปัจจุบัน และทั้งคู่กลับมาออกซิงเกิลร่วมกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2562 ในเพลง ใจเย็นเย็น และได้นักแสดงที่เคยเป็นพิธีกรรายการ แบบว่า...โลกเบี้ยว มาร่วมแสดงในมิวสิกวิดีโอด้วย

สมาชิก
อัสนี โชติกุล (เกิด 9 เมษายน พ.ศ. 2498) กีต้าร์ / ร้องนำ
วสันต์ โชติกุล (เกิด 25 มีนาคม พ.ศ. 2500) กีต้าร์ / ร้องนำ

ผลงาน
อัลบั้มร่วมกับวงอีสซึ่น

ทัศนาจร ชีวิต และความรัก (พ.ศ. 2519 , 1976)

กีร์ต้าที่รัก (พ.ศ. 2520 , 1977)

The Isn't 78 (พ.ศ. 2521 , 1978)

นักสู้จากที่ราบสูง (พ.ศ. 2521 , 1978)

กระดิ่งจักรยาน (พ.ศ. 2522 , 1979)


สตูดิโออัลบั้ม
บ้าหอบฟาง (พ.ศ. 2529 , 1986)
ผลงานเพลงชุดแรก เป็นอัลบั้มที่นักวิจารณ์ยอมรับว่าเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดชุดหนึ่ง
ต้นฉบับครั้งที่ออกกับทางค่าย ไนท์สปอต
พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) ได้จำหน่ายอีกครั้งโดย ไนท์สปอต โดยเรียงลำดับชื่อเพลงแบบครั้งแรก และได้เพิ่ม Backing Track (ดนตรี) ไว้ในช่วงท้ายของม้วนเทปของทั้ง 2 หน้าอีกด้วย
และพ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998)ชุดบ้าหอบฟางยัง ได้จำหน่ายอีกครั้งโดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และ มอร์ มิวสิค

ผักชีโรยหน้า (พ.ศ. 2530 , 1987)

กระดี่ได้น้ำ (พ.ศ. 2531 , 1988)

ฟักทอง (พ.ศ. 2532 , 1989)

สับปะรด (พ.ศ. 2533 , 1990)

รุ้งกินน้ำ (พ.ศ. 2536 ,1993)

บางอ้อ (พ.ศ. 2540 , 1997)

จินตนาการ (พ.ศ. 2545 , 2002)

เด็กเลี้ยงแกะ (พ.ศ. 2549 , 2006)

พักร้อน (พ.ศ. 2550 , 2007)

ซิงเกิล
เพลง ใจเย็นเย็น (สังกัด มิวสิกมูฟเอนเตอร์เทนเมนต์) - พ.ศ. 2562
เพลงเทิดพระเกียรติ
ทรงพระเจริญ ขับร้องร่วมกับ แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550 ประพันธ์โดยแอ๊ด
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป ขับร้องเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ประพันธ์โดย ดี้ - นิติพงษ์ ห่อนาค ในอัลบั้มชุด ทองผืนเดียวกัน

เพลงประกอบละคร และ ภาพยนตร์
เพลง คนสุดท้าย (เพลงประกอบละคร เงา) - พ.ศ. 2543
เพลง เธอ (มาจากไหน) (เพลงประกอบภาพยนตร์ บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์) - พ.ศ. 2547
เพลง ยืนหยัด ยืนยง (เพลงประกอบละคร ลอดลายมังกร) - พ.ศ. 2549
เพลง คนหัวใจสิงห์ (เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต คนหัวใจสิงห์ WORLD TOUR 2008) - พ.ศ. 2551
เพลง รักใครไม่เป็น (เพลงประกอบละคร บ่วงรักกามเทพ) - พ.ศ. 2552
เพลง ใช่เธอจริงๆ (เพลงประกอบภาพยนตร์ เราสองสามคน) - พ.ศ. 2553
เพลง ด้วยแรงใจ (เพลงสำหรับนักกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 7 ประเทศเมียนมาร์ Single : สังกัด สหภาพดนตรี) - พ.ศ. 2557

เพลงอื่น ๆ
ร่วมร้องเพลง โลกสวยด้วยมือเรา : ร่วมกับกลุ่มศิลปินแกรมมี่ (เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต Earth Day) - พ.ศ. 2534
ร่วมร้องเพลง คนขายฝัน (ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว , เสก โลโซ , ธงไชย แมคอินไตย์ , ใหม่ เจริญปุระ , แอม เสาวลักษณ์ , มาช่า วัฒนพานิช : เพลงพิเศษจากมหกรรมคอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย) - พ.ศ. 2545
สำเนียงประชาธิปไตย (เพลงรณรงค์คนรุ่นใหม่ออกมาเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 2548 โดย กกต. และ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมร้องเพลง ต้องกล้า (ร่วมกับ หงา คาราวาน , พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ , บอย โกสิยพงษ์ , นภ พรชำนิ , ทาทา ยัง , บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ , ไมค์ ภิรมย์พร , นิติพงษ์ ห่อนาค , ชาตรี คงสุวรรณ , ภราดร ศรีชาพันธุ์ , เก๋ ประภาวดี , ประหยัด มากแสง , สุธิยา จิวเฉลิมมิตร , บัวขาว บัญชาเมฆ , ธงชัย ใจดี : เพลงประกอบรายการ ต้องกล้า) - พ.ศ. 2553

อัลบั้มพิเศษ
ลงเอย (พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์) (พ.ศ. 2543 , 2000)
เป็นการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่โดยศิลปินคนอื่น ๆ

นอกจากนั้นยังมีการแสดงคอนเสิร์ตของอัสนี-วสันต์ เอง และหรือเป็นแขกรับเชิญอีกเป็นจำนวนมาก

รางวัลที่ได้รับ
พ.ศ. 2518 ชนะเลิศการประกวดโฟล์คซอง ของชมรมโฟล์คซองแห่งประเทศไทย โดยครูเอื้อ สุนทรสนานเป็นผู้มอบรางวัล
พ.ศ. 2532 รางวัลส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2531-2532 (เพลงทำดีได้ดี)
พ.ศ. 2536 รางวัลสีสันอวอร์ดส อัลบั้มยอดเยี่ยม “รุ้งกินน้ำ” และสาขาศิลปินยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2536 รางวัลสีสันอวอร์ดส เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม (เพลง ทุกข์ไม่เว้นวันราชการ)
พ.ศ. 2539 ศิลปินยอดเยี่ยม รางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. 2548 รางวัลผู้มีอุปการะคุณห้องสมุดแห่งประเทศไทย พระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ห้องสมุด อัสนี-วสันต์ จ.เลย)
พ.ศ. 2548 รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้กับผู้ทำคุณประโยชน์กับท้องถิ่น จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย
พ.ศ. 2552 รางวัลพิเศษ SEED HALL OF FAME จากงานประกาศผลรางวัล SEED AWARD ครั้งที่ 4 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
พ.ศ. 2554 รางวัลไทยประดิษฐ์ - รางวัลพิเศษมอบให้กับผลงานที่มีชื่อเสียงมายาวนานและเป็นฝีมือคนไทยแท้ จากงานประกาศผลรางวัลแชนแนลวีไทยแลนด์มิวสิกวิดีโออวอร์ดส CHANNEL[V] MUSIC VIDEO AWARD ครั้งที่  7 เพลงของเรา จัดโดยแชนแนลวีไทยแลนด์ ณ คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์







บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #74 เมื่อ: 14 มีนาคม 2566, 01:41:19 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @สดใส รุ่งโพธิ์ทอง














.....”รักน้องพร”บ่าวร้อง.............เพลงยืน      ยันนา
     ดังเด่นเร็วไวคืน..................เช้าค่ำ
  “สดใสรุ่ง(โพธิ์ทอง)”หวนคืน....ปีสี่    ศูนย์แฮ (2540)
     ฟองสบู่แตกชอกช้ำ.............ไม่พ้นรวยจน.....

....จำนนที่”ข้าด้อย..................เพียงดิน”  
    เพลงเริ่มคนยลยิน................รู้ชื่อ
 “รักจางที่(บางปะกง)"โบยบิน....ชื่อเสียง    ดังนา
    พี่”บอกรัก(ฝากใจ)”ตามตื้อ....”ขออยู่ด้วยคน”...

  “เราคนจน”แบ่งชั้น.................แยบยล
  “ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน”.................อย่าไขว้
  “สาวงาม(เมือง)พิจิตร”คน..... สวยเด่น   งามนา
  เสียงพ่อสูงใสให้....................เล่นร้องเพราะดี....


สดใส รุ่งโพธิ์ทอง มีชื่อจริงในอดีตว่า พงษ์ศักดิ์ โรจน์ธนวิชัย ชื่อตามบัตรประชาชน ปัจจุบัน สดใส โรจนวิชัย เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ที่ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีพ่อเป็นคนทำขวัญนาค แม่มีอาชีพชาวนา
   ในวัยเด็กชอบร้องเพลง โดยเฉพาะเพลงลูกทุ่ง
   สดใสบันทึกเสียงตัวเองลงแผ่นเสียงครั้งแรกกับเพลง ข้าด้อยเพียงดิน ซึ่งเป็นเพลงที่เขียนเอง แต่เพลงที่ทำให้ได้ชื่อเสียงและได้รับความนิยมคือ รักจางที่บางปะกง ในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งสดใสเขียนเนื้อเพลงเอง เป็นที่ได้รับความนิยมมากเพราะมีเนื้อร้องที่ไหลลื่นและคลองจองกัน พร้อมกับมีดนตรีที่เป็นจังหวะฉิ่งฉับ ฟังแล้วให้รู้สึกคึกคัก
    หลังจากนั้นมา สดใส ก็ได้มีผลงานบันทึกเสียงกับบริษัท นิธิทัศน์ โปรโมชั่น โดยอยู่ในอัลบั้ม สุดยอดลูกทุ่งเสียงทอง ต่อมาสดใสก็มีผลงานบันทึกเสียงกับค่ายโรสวิดีโอ (ปัจจุบันคือ โรสมีเดียฯ) โดยนำผลงานเพลงของตัวเอง และเพลงของ ศรเพชร ศรสุพรรณ รวมถึงนักร้องท่านอื่น ๆ มาขับร้องด้วย

    สดใส รุ่งโพธิ์ทอง กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2540 กับเพลง รักน้องพร ซึ่งมีเนื้อหาและลีลาการร้องที่ออดอ้อน ซึ่งเพลงนี้ต่อมาได้ถูกนำมาร้องใหม่และแปลงเนื้อร้องโดยนักร้องลูกทุ่งหลายคน
    ในทางการเมือง สดใสสนใจการเมืองมาตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้นำเอาเพลงของคาราวานไปใส่เนื้อร้องใหม่เป็นเพลงลูกทุ่ง เช่นเพลง เราคนจน มาจากเพลง คนกับควาย เพลงโอ้ชาวนา มาจากเพลง เปิบข้าว เป็นต้น

จากนั้น ได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและปริญญาโท รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 สดใสได้ลงสมัครเป็น ส.ว. ที่จ.ปทุมธานี และได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงถึง 52,180 คะแนน เป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด มีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการศิลปวัฒนธรรมของวุฒิสภา

ผลงานเพลง
   มีมากมายทั้งแต่งร้องเอง และนำเพลงเก่ามาร้องเป็นจำนวนมาก

ผลงานการแสดง
ลูกทุ่งเสียงทอง (2528) รับบท สดใส
เพลงรักลูกทุ่ง (2539) รับบท สดใส
สวรรค์บ้านทุ่ง (2541)
ซุปเปอร์ลูกทุ่ง (2541) รับบท สดใส
พ่อ ตอน เพลงของพ่อ (2542) รับบท สดใส
มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ เอ็ม (2545) รับบท ผู้กำกับตำรวจ
มนต์รักแม่นํ้ามูล (2545) รับบท สดใส
2 ผู้ยุ่งเหยิง (2546) รับบท ผิน โพธิ์ทอง
เสน่ห์บางกอก (2554) รับบท ครูเพลง
รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน (2556) รับบท สดใส (รับเชิญ)
เพลงรักเพลงปืน (2562) รับบท นักร้องในงานเลี้ยงวันคล้ายวันเกิดเสี่ยภุชงค์ (รับเชิญ)
จันทร์กระจ่างที่กลางทุ่ง (2562)

คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ต 30 ปี สุรพล สมบัติเจริญ (21 สิงหาคม 2541)
คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 2 (29-30 มกราคม 2542)
คอนเสิร์ต ลูกทุ่งไทย รวมน้ำใจต้านภัยเอดส์ (21 กันยายน 2543)
คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย (17-18 สิงหาคม 2545)
คอนเสิร์ต ป้า คนดนตรี คืนชีวิตสู่ธรรมชาติ (13 - 14 กันยายน 2550)
คอนเสิร์ต รักแผ่นดิน (7 กรกฎาคม 2550)
คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน ยอดรัก สลักใจ (16 สิงหาคม 2551)
คอนเสิร์ต เพลงดี-ดนตรีดัง จิตรกร บัวเนียม ครั้งที่ 2 (14 มิถุนายน 2552)
คอนเสิร์ต ลูกทุ่งจ๋ามหาสนุก (21 – 22 เมษายน 2555)
คอนเสิร์ต รำลึก 20 ปี ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ (17 มิถุนายน 2555)
คอนเสิร์ต รำลึก 30 ปี ล้อต๊อก ตลก 4 แผ่นดิน (30 กันยายน 2555)
คอนเสิร์ต คาราบาว ลูกสิงหราช (11 มกราคม 2558)
คอนเสิร์ต 78 ปี ตำนานแห่งสายน้ำ ครูชลธี ธารทอง (16 พฤษภาคม 2558)
คอนเสิร์ต big mountain music festival 7 (19-20 ธันวาคม 2558)
คอนเสิร์ต OTOP และของดี อำเภอป่าโมก (22 กันยายน 2559)
คอนเสิร์ต รำลึก 26 ปี ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ (25 มิถุนายน 2561)
คอนเสิร์ต รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (26 ธันวาคม 2561)
คอนเสิร์ต หนึ่งใจ...ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (16 กันยายน 2562)
คอนเสิร์ต 84 ปี ปรางทิพย์ บรรลือฤทธิ์ (4 ตุลาคม 2563)
คอนเสิร์ต อาลัยพ่อเพลงแห่งแผ่นดิน พ่อไวพจน์ เพชรสุพรรณ (5-7 พฤษภาคม 2565)
คอนเสิร์ต ครบรอบ 1 ปี ศรเพชร ศรสุพรรณ (8 มกราคม 2566)




บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: