You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดความบันเทิงโคลง (ผู้ดูแล: ครภูธน®)เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์  (อ่าน 24253 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #45 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2566, 02:19:18 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @รุ่งเพชร แหลมสิงห์




“คืนฝนตก”
....อยู่ดีดีน้องหาว่าพี่โกหก....อยู่ดีดีน้องหาว่าพี่โกหก….
.....อยู่ดีดี น้องหาว่าพี่โกหก…….รู้ไหมน้ำตาพี่ไหลตก
เสียอกเสียใจน้องไม่ฟังพี่……เรารักกันมาเป็นเวลาตั้งห้าหกปี
ไปเชื่อข่าวลือเขาได้ว่าพี่.....มีเมียอยู่ที่บางกอก
.....อยู่ดีดีน้องหาว่าพี่พูดปด…..น้องเอยน้ำตาพี่ไหลหยด
จนหมดหัวใจพูดไม่ค่อยออก……มันเจ็บหัวใจเหมือนว่าใครเอาเข็มมาตอก
หัวอกระบมขื่นขมขัดยอก……..พี่อยู่บางกอกเห็นจะไม่นาน
......อะภิโธ่ โอ้ อะภิถังน้องนางบ้านนา……ขอร้องน้องอย่าหูเบาเชื่อเขาประจาน
ถ้าพี่โกหกขอให้ตกเมืองยมบาล……..ถ้าพี่นั่งรถไฟกลับบ้าน
ขอให้รถไฟวิ่งตกราง
.......อยู่ดีดีน้องหาว่าพี่โกหก…….น้องลืมสัญญาคืนฝนตก
หัวอกของพี่ร้อนเหมือนไฟย่าง……ตัวพี่มันจนแม่หน้ามลจึงแกล้งปิดทาง
ลืมสิ้นเมื่อคืนฝนตกเปียกร่าง……..พี่หาร่มกางให้น้องแทบตาย
......อะภิโธ่ โอ้ อะภิถังน้องนางบ้านนา…….ขอร้องน้องอย่าหูเบาเชื่อเขาประจาน
ถ้าพี่โกหกขอให้ตกเมืองยมบาล.......ถ้าพี่นั่งรถไฟกลับบ้าน
ขอให้รถไฟวิ่งตกราง
........อยู่ดีดีน้องหาว่าพี่โกหก……น้องลืมสัญญาคืนฝนตก
หัวอกของพี่ร้อนเหมือนไฟย่าง…..ตัวพี่มันจนแม่หน้ามลจึงแกล้งปิดทาง
ลืมสิ้นเมื่อคืนฝนตกเปียกร่าง…….พี่หาร่มกางให้น้องแทบตาย



… “ฝนเดือนหก” ตกแล้ว.............กบคราง    ครวญนา
     “คืนฝนตก”นวลนาง...............รักมั่น
     “ ไอดินกลิ่นสาว”จาง..............นางล่อง     ลืมรา
       “รุ่งเพชร แหลมสิงห์” ดั้น.......เหน่อได้เพราะดี

 ..... มีเอกลักณ์เริ่ดแร้ว............... ตรึงตรา  
       เสียงเหน่อโขทัยหนา.............คลั่งไคล้
       “รัก(เธอ)จนเซ่อ”พูดจา..........พาซื่อ    
         “แม่เดือนแรม”บอกให้.........“แล้วแต่วาสนา”
.....รุ่งเพชร แหลมสิงห์ (20 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 -) มีชื่อจริงว่า พันตรี วสันต์ จันทร์เปล่ง นักร้องเพลงลูกทุ่งที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง เป็นชาวอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี


เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายเย็นกับนางริ้ว จันทร์เปล่ง  มีพี่น้อง 3 คน    คนแถวบ้านเรียกว่า "ยวน"
-การศึกษาจบที่โรงเรียนประชาบาลบ้านบางสามแพรก แล้วมาต่อจบม. 6 ที่ศึกษาปัญญา และจบม.8 ที่โรงเรียนพรหมานุสรณ์
และสมัครเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก สังกัดเหล่าแพทย์  โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ จบออกมาประจำอยู่หน่วยทหารเสนารักษ์ สังกัดกองพลที่ 1 รักษาพระองค์

รุ่งเพชร ชื่นชอบการร้องเพลงอย่างมาก เขาเป็นนักร้องประจำวงของโรงเรียน โดยเขาชอบแนวเพลงของ คำรณ สัมบุญณานนท์ เคยเข้าประกวดตามงานต่างๆ ก็ชนะเสียเป็นส่วนมาก

เมื่อเข้ามาเป็นทหารอยู่กรุงเทพ ก็ไปเป็นนักร้องประจำอยู่กับวงดนตรีครูพยงค์ มุกดา หลังจากชนะการประกวดเมื่อปี 2504 แต่อยู่ที่นี่ได้ปีเดียว ก็ย้ายไปอยู่กับวงรวมดาวกระจายของครูสำเนียง ม่วงทอง ในช่วงแรกๆ รุ่งเพชร ใช้ชื่อว่ารุ่งเพชร แหลมสน แต่ตอนที่อยู่กับวงรวมดาวกระจาย เขามีโอกาสได้บันทึกแผ่นเสียง แต่แผ่นเสียงที่ผลิตออกมาพิมพ์นามสกุลผิด จากแหลมสน กลายเป็นแหลมสิงห์ ที่ไม่เกี่ยวอะไรกับเพชรบุรี เพราะแหลมสิงห์อยู่ที่จันทรบุรี แต่เมื่อพิจารณาถึงความหมายที่ดีของคำว่าสิงห์ นับตั้งแต่นั้น รุ่งเพชร ก็เลย กลายเป็นแหลมสิงห์ รุ่งเพชร บันทึกเสียงเพลงแรกคือ งามเหลือเกิน แต่งโดย ธร เมธา

ก่อนที่จะมาโด่งดังคับฟ้าจากเพลง ฝนเดือนหก และอื่นๆอีกหลายเพลง รุ่งเพชร มีชื่อเสียงพอเป็นที่รู้จักในระดับหนึ่ง ไม่ได้โด่งดังอะไร และหลังจากที่รู้ว่าไพรวัลย์ ลูกเพชร คนบ้านเดียวกัน โด่งดังมาจากเพลงของครูไพบูลย์ บุตรขันหลายเพลง เขาก็เลยไปขอเพลงจากครูไพบูลย์ บุตรขันบ้าง และครูไพบูลย์ ก็ให้ ไพรวัลย์ ไปตามตัวมาพบที่บ้าน ซึ่งอยู่แถวมาบุญครองปัจจุบัน

ช่วงนั้น รุ่งเพชร มีผลงานเพลงอยู่เพลงหนึ่งชื่อ ตายหยังเขียด ที่แต่งโดยรุ่งทิพย์ ธารทอง ในเพลงนั้น ตอนหนึ่งของเพลง รุ่งเพชร ต้องร้องออกมาในแนวเหน่อวรรณยุกต์ไม้ตรี เมื่อพบกัน ครูได้ให้รุ่งเพชรร้องเพลงในแนวเสียงของนักร้องต่างๆให้ฟังทั้งวัน ตั้งแต่บ่าย 2 โมงจนถึง 3 ทุ่ม ครูไพบูลย์ บอกว่า สำเนียงของเขาเหน่อแบบสุโขทัย จึงจะต้องร้องแบบเหน่อสุโขทัย ครูไพบูลย์ จึงนำจุดนี้มาขยายจนกลายเป็นสัญลักษณ์และแบบฉบับของรุ่งเพชรแหลมสิงห์ โดยเฉพาะ โดยครูบอกว่าจะแต่งเพลงให้ และถ้าไม่ดังภายใน 3 เพลง จะไม่ขอรับค่าเขียนเพลง

รุ่งเพชร เริ่มต้นกับเพลง ไอดินกลิ่นสาว ของครูไพบูลย์ ก่อนที่จะมาดังระเบิดระเบ้อกับฝนเดือนหก และออกมาตอกย้ำความดังด้วยสำเนียงเหน่อไม้ตรีอย่างเพลง คืนฝนตก

หลังจากที่ดังสมใจ รุ่งเพชรไปบวชแก้บน ขณะที่ผู้จัดการวงก็ไปรับงานไว้ยาวเหยียด ขณะที่ครูไพบูลย์ก็ไปตบปากรับคำกับรังสี ทัศนพยัคฆ์ ว่าจะไปพูดให้รุ่งเพชร เล่นหนังให้ แต่เมื่อรุ่งเพชรไม่สามารถมาเล่นให้ได้ ครูจึงโกรธ และหันไปปั้น ศรคีรี ศรีประจวบแทน

รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ก็จึงเริ่มเฉา
กลับมาอีกครั้งในปี 2514 ได้หวนมาปรับความเข้าใจกับครูไพบูลย์ บุตรขัน จึงได้แสดงหนังเรื่อง ทุ่งเศรษฐี ซึ่งสร้างโดย สมนึก เหมบุตร ซึ่งรุ่งเพชรบอกว่าเคยมีบุญคุณกับเขา เมื่อครั้งเขาไม่มีเพลงฮิตแล้ว สมนึกให้รุ่งเพชรร้องเพลง ความรักเจ้าขา ในหนัง ความรักเจ้าขา ที่เขาสร้าง (2512-มิตร-เพชรา) ทำให้ยังไม่ถูกแฟนๆลืม

รุ่งเพชร เกษียณราชการในยศพันตรี สังกัดสุดท้ายคือกองบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อ 1 ตุลาคม 2545 และใช้ชีวิตอย่างสงบ ยึดธรรมะในการครองชีพที่บ้านในจังหวัดนนทบุรี และยังรับร้องเพลงอยู่เป็นระยะ โดยมีลูกชาย 2 คนไปร่วมร้องด้วย


ผลงานเพลง
•   ฝนเดือนหก
•   รักเธอจนเซ่อ
•   คู่เหมาะ คู่เจาะ
•   น้ำลงเดือนยี่
•   คืนฝนตก
•   หมอดูเนื้อคู่
•   สงกรานต์บ้านนา
•   จดหมายจากแนวหน้า
•   ความรักเจ้าขา
•   ควันหลงสงกรานต์
•   ทุ่งเศรษฐี
•   โชครัก
•   ไกลบ้าน
•   หนึ่งนาทีที่พบเธอ
•   ขนมจีนน้ำยา
•   นั่งคิดนอนคิด
•   สาวชาวหอ
•   ไอดินกลิ่นดาว
•   ลานรักลั่นทม
•   รักแล้งเดือนห้า
•   ฝนตกฟ้าร้อง
•   ขี้เหร่ก็รัก
•   หนุ่มนาบ้ารัก
•   มนต์รักแม่กลอง
•   เสียงขลุ่ยเรียกนาง
•   ลาสาวแม่กลอง
•   คิดถึงพี่ไหม
•   แล้วแต่วาสนา
•   รักอันตราย
•   คุณนายโรงแรม

คอนเสิร์ต
•   คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 7 (6 ธันวาคม 2558)
•   คอนเสิร์ต ลูกทุ่งจ๋ามหาสนุก (21-22 เมษายน 2555)

ผลงานการแสดงภาพยนตร์
•   ทุ่งเศรษฐี (2514)
•   กล้าสิบทิศ (2515)
•   มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545)




บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #46 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2566, 12:31:24 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส







----สมิหราราตรี---
.......ราตรี ที่หาด สงขลา
ส มิหรา สวาท
มอง เห็นหาด กับฟ้า
.......รุ่งรังสี รัช-นี โลมหล้า
ล่องลอย เวหา
ล้อมดารา งามน่ายล
.......ทะเลงาม เมื่อยาม อุษา
ส มิหรา พาชื่น
เย็น ระรื่น ทิวสน
.........วิ หคร้อง
ฟ้า คะนอง หมองหม่น
เมฆพา ลมฝน
เหมือนดลใจ อาวรณ์
.......รักเอย ก่อนเคย หวานฉ่ำ
ต้องมาชอกช้ำ
เพราะกรรม จำจร
........หัก  ใจ ไม่หายอาวรณ์
สุด ไถ่ถอน
พร่ำ วอน ธารา.
......ทะเล เอย เจ้าครวญ หาใคร
อก แดนฟ้ากว้างใหญ่
ใคร เขาห่วงคอยหา
........เจ้า หม่นหมอง
หรือมาลอง ใจข้า
โอ้ ส มิหรา
ฝังวิญญา อาดูร
.......ดนตรี.....
........ทะเล เอย เจ้าครวญ หาใคร
อก แดนฟ้ากว้างใหญ่
ใคร เขาห่วงคอยหา
.......เจ้า หม่นหมอง
หรือมาลอง ใจข้า
โอ้ ส มิหรา
ฝังวิญญา อาดูร..........




              ..”สมิหรา(ราตรี)”  นี่นี้..................สำราญ    รักเอย
                 “หลานย่าโม” บนบาน...............หน้าย่า  
                “สตรีที่โลกลืม” พาล..................หดหู่       อยู่นา  
                “รุ่งฤดี(แพ่งผ่อง)ใส” จ้า..............ร่ายร้องตรึงใจ

             ..”สามหัวใจ” อย่างว้าง..................สาปเลย
                  สาว “แม่สอด(สะอื้น)” ริมเมย.....ร่ำไห้
                 “คน(หน้า)เดิม” ที่เธอเคย............ลวงล่อ    แนบเนา
                “เอาความขมขื่นไซร้..... ..............ทิ้งแม่โขง” เอย.......
.

รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส หรือ นางรุ่งฤดี เพ็งเจริญ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2563 (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) นักร้องเพลงไทยสากลรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ จากเพลง "บัวขาว" เมื่อปีพ.ศ. 2514 และเพลง "หลานย่าโม" ในปีพ.ศ. 2522 โดยมีเพลงสร้างชื่ออื่น ๆ เช่น เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง พัทยาลาก่อน คนหน้าเดิม โจโจ้ซัง นักรบชายแดน ช่างเขาเถิดนะหัวใจ เป็นต้น


ประวัติ
......รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2489 พื้นเพครอบครัว อยู่ใกล้ ๆ วัดบ้านหม้อ ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในวัยเด็กมีความชอบและใจรักเรื่องการร้องเพลงมาก โดยทางครอบครัวก็สนับสนุนให้ร้องประกวดตามงานวัด ที่สถานีวิทยุอส.ใต้สะพานพุทธ และเป็นนักร้องประจำโรงเรียนอีกด้วย

ชีวิตนักร้อง

......เมื่อกำลังเรียนอยู่ที่ดุสิตพณิชยการรุ่งฤดีมีความฝันอยากจะไปเป็นนักร้องวงดนตรีสุนทราภรณ์ มนัส รามโยธินผู้ใหญ่ที่นับถือกันจึงพาไปฝาก ครูเอื้อ สุนทรสนาน เพื่อให้เป็นนักร้องประจำวงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่กรมประชาสัมพันธ์ในปี พ.ศ. 2508 แม้ในขณะนั้นยังเรียนอยู่ก็ตาม
ครูเอื้อ สุนทรสนาน ให้เลือกเพลงที่คิดว่าร้องได้ดีที่สุดเพื่อทดสอบ จึงร้องเพลง "ภูกระดึง" ของ มัณฑนา โมรากุล ให้ครูเอื้อฟัง ปรากฏว่าสอบผ่านเลยได้เรียนวิชาการขับร้องกับครูสริ ยงยุทธ ซึ่งเป็นมือเปียโนประจำวงตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

......จากนั้นเธอได้มีโอกาสร้องเพลงภูกระดึงอีกครั้ง โดยร้องสดบนเวทีเป็นครั้งแรกในรายการที่สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังสวนดุสิต ซึ่งรุ่งฤดีได้ยอมรับว่ามีความประหม่าและตื่นเต้นมาก ต่อมาได้บันทึกแผ่นเสียงเพลง "พัทยาลาก่อน" ของครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ เป็นเพลงแรก ตามด้วยเพลง "ร้ายกว่าผี" ได้รับความนิยมชื่นชมจากแฟนเพลงอย่างมากมายเกินความคาดหมาย

รุ่งฤดีได้อยู่กับวงดนตรีสุนทราภรณ์และกรมประชาสัมพันธ์ได้เพียง 3 ปี ก็ลาออกไปใช้ชีวิตเป็นนักร้องตามไนท์คลับที่กำลังมีชื่อเสียงอยู่ในตอนนั้น เช่น สีดาไนท์คลับ ถนนราชดำเนิน ทำให้มีโอกาสได้ร้องเพลงของครูเพลงคนอื่น ๆ อีกหลายคน เช่น ครูทวีพงษ์ มณีนิล, ครู ป.ชื่นประโยชน์, ครูไพบูลย์ บุตรขัน
เพลงที่สำคัญก็คือ "เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง" ซึ่งเพลงนี้ครูพยงค์ มุกดาตั้งใจแต่งให้รุ่งฤดีโดยเฉพาะเมื่อได้ฟังรุ่งฤดีขับร้องเพลงที่ไนท์คลับ ตามความแนะนำของสุเทพ วงศ์กำแหง เลยเป็นที่มาของบทเพลงประจำตัวของรุ่งฤดีจนกระทั่งปัจจุบัน

ในปีพ.ศ. 2519 รุ่งฤดีได้บอกกับบริษัทเมโทรต้องการร้องเพลงญี่ปุ่น ทางบริษัทเมโทรจึงได้ติดต่อครูพยงค์ให้มาใส่คำร้องให้ จึงออกมาเป็นเพลงชัดโจโจ้ซัง โดยมีทั้งคำร้องทั้งไทยและญี่ปุ่น ซึ่งรุ่งฤดีต้องหัดไปเรียนภาษาญี่ปุ่นหลายเดือน
ต่อมา ครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้ให้บันทึกแผ่นเสียงเพลงคู่ "ชุดดำเนินทราย" ของห้างเมโทรเทปและแผ่นเสียงของวรชัย ธรรมสังคีติ ในปี พ.ศ. 2522 ซึ่งก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นเดิม
.......รุ่งฤดีมีผลงานบันทึกแผ่นเสียงไว้มากกว่า 2000 เพลง และมีเพลงที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากอาทิ หลานย่าโม เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง กังหันสวาท แม่สอดสะอื้น แฟนซีชีวิต สามหัวใจ คนหน้าเดิม เธอคือดวงใจ ช่างเขาเถิดนะหัวใจ ชีวิตคนเศร้า สตรีที่โลกลืม วาสนาคนจน โจโจ้ซัง นักรบชายแดน ใจหวนครวญรำพัน ยากจะหักใจลืม เป็นต้น
........ในปัจจุบันรุ่งฤดียังคงร้องเพลงให้กับงานคอนเสิร์ตการกุศลต่าง ๆ และยังทำงานให้กับสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และองค์กรสำคัญต่าง ๆ

รางวัล

•   ปี พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ จากเพลง "บัวขาว" ผลงานของท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์
•   ปี พ.ศ. 2522 ได้รับพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ จากเพลง "หลานย่าโม" ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกของครูพรเลิศ ศาลานิตยกุล
•   ปี พ.ศ. 2563 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2563

ชีวิตครอบครัว

สมรสกับ พลตำรวจเอก จรัส เพ็งเจริญ อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2539 หลังจากครองคู่กันมา 24 ปี มีบุตรสาวเพียงคนเดียวคือ
•   นางวรภัทร ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ สมรสกับ นายแพทย์ไพโรจน์ ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ มีบุตรชายสองคนคือ
o   นายพีรภัทร ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์
o   นายภัทรพล ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์

ตัวอย่างผลงาน
เพลง
เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง, หลานย่าโม, คนหน้าเดิม, กังหันสวาท, โจโจ้ซัง, ชีวิตคนเศร้า, ช่างเขาเถอะนะหัวใจ, แม่สอดสะอื้น, บัวขาว, สามหัวใจ, สตรีที่โลกลืม, วาสนาคนจน, ทับนางรอ, ยากจะหักใจลืม, พัทยาลาก่อน, แฟนซีชีวิต, คุณรักฉันน้อย, เธอคือดวงใจ, คอยพี่, แดนดอกเอื้อง, ดอกเอื้องดอย, ในมือมาร, แบ่งเวลาไปหาฉันบ้าง เป็นต้น




บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #47 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2566, 12:07:59 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @เสกศักดิ์ ภู่กันทอง












---ไม่ตายจะกลับมาแต่ง----

....จะแต่งปีนี้ไม่ได้หรอกน้อง
ขอร้องสักหน่อย
อดใจทนคอยพี่หน่อยได้ไหม
....พี่น้องชาวใต้ไร้สุขบ้านลุกเป็นไฟ
แผ่นดินของไทยจะโดนเขาแบ่ง
...จะให้ใครเขาเข้ามาข่มเหงนักเลงต่างบ้าน
เข้ามารุกรานชาติไทยแอบแฝง
....พี่นี้ก็ชายชาติเชื้อเลือดเนื้อสีแดง
เลือดไทยไหลแรงจะแต่งยังไง
...ขอผลัดไม่มีกำหนดให้หมดเสี้ยนหนามเสียก่อน
น้องจ๋าอย่าทำแง่งอนพี่นอนกอดน้องไม่ได้
...ภาคใต้ทั้งสี่จังหวัดจะถูกเขาตัดแบ่งไป
ถ้าน้องคอยพี่ไม่ไหวจะมีแฟนใหม่ไม่ว่าไม่ว่า
...ก็พี่นั้นชายชาติทหาร ทหารองอาจ
คอยรับใช้ชาติศาสน์กษัตรา
....ศึกรบสงบเสียก่อนจะย้อนกลับมา
กราบเท้าพ่อตาแม้นว่าไม่ตาย
ดนตรี
....ขอผลัดไม่มีกำหนดให้หมดเสี้ยนหนามเสียก่อน
น้องจ๋าอย่าทำแง่งอนพี่นอนกอดน้องไม่ได้
...ภาคใต้ทั้งสี่จังหวัดจะถูกเขาตัดแบ่งไป
ถ้าน้องคอยพี่ไม่ไหวจะมีแฟนใหม่ไม่ว่าไม่ว่า
.....ก็พี่นั้นชายชาติทหาร ทหารองอาจ
คอยรับใช้ชาติศาสน์กษัตรา
...ศึกรบสงบเสียก่อนจะย้อนกลับมา
กราบเท้าพ่อตาแม้นว่าไม่ตาย


 
          
          

           ..”ทหารอากาศเก่งกล้า.........ขาดรัก”   แน่ฤา        
          แสนเท่ห์สาวมากนัก..............คลั่งไคล้      
           การบินเสี่ยงตระหนัก............กลัวม่าย   ตรองนา  
          สุดแต่บุญพาให้....................คู่แท้สมรัก

         ..เสกศักดิ์ฯมาร่วมร้อง............เพลงดี    หลายแฮ
        “กลิ่นฟางนางลืม”(ว)จี............ใช่แล้ว
                 “ไม่ตายจะกลับมี...........มาแต่ง”   รอนา  
              ”ขันหมากเศรษฐี” แจ้ว......หมั้นแต่งจบเรา

เสกศักดิ์ ภู่กันทอง
มีชื่อจริงว่า เสน่ห์ จันทร์ทอง ชื่อเล่นว่าแดง เป็นชาวตำบลไผ่ดำพัฒนา อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

ประวัติ
-----เกิดที่หมู่ 3 ตำบลไผ่ดำพัฒนา อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรของนายสำเภา จันทร์ทอง และนางหนูเล็ก จันทร์ทอง
---- ก่อนที่จะมาเป็นนักร้องดัง เคยบวชเรียนมาตั้งแต่เด็ก จึงชอบใช้ชีวิตเรียบง่าย สมถะ ไม่ยึดติด โดยเมื่อเรียนจบ ป.4 เขาก็ไปบวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง บวชเป็นสามเณรได้ 5 ปี เป็นพระอีก 3 ปี รวมเป็น 8 ปี และได้ศึกษาธรรมะ จนจบนักธรรมเอก ในระหว่างบวชเขาเป็นนักเทศน์นักแหล่ที่ถูกอกถูกใจญาติโยมพอสมควร เนื่องจากเสียงดี
--- ช่วงปี 2518-2519 คือช่วงเวลาทองของชีวิต ชื่อเสียงของเขาเรียกว่าดังระเบิด เพราะมีเพลงดังมากๆติดๆ กันถึง 3 เพลงรวด เริ่มจาก โสภาใจดำ , ขันหมากเศรษฐีเป็นผลงานการประพันธ์ของครูฉลอง ภู่สว่าง และ ทหารอากาศขาดรัก หลายคนแนะนำให้เขาตั้งวงดนตรีและขึ้นเป็นหัวหน้าวงเอง แต่เขาปฏิเสธไปด้วยความถ่อมตน ว่าเพลงดังยังมีน้อย กลัวไม่มีอะไรไปร้องให้แฟนเพลงฟัง
----แต่พอผ่านพ้นช่วงสองสามปีของความดัง ชื่อเสียงของเขาก็เริ่มเสื่อมความนิยมลง ชีวิตช่วงนั้นเขาจึงตระเวนร้องเพลงกับวงลูกทุ่งดัง รวมทั้งวงจีระพันธ์ วีระพงษ์ และ ศรชัย เมฆวิเชียร รวมทั้งรับงานเชิญทั่วไปด้วย

การเสียชีวิต
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่จังหวัดเพชรบุรี กับเพชร โพธาราม มนต์รัก ขวัญโพธิ์ไทย ทำให้ตัวเขา และมนต์รัก ขวัญโพธิ์ไทย เสียชีวิตคาที่ทันที ส่วนเพชร โพธาราม และลูกเมีย ปลอดภัย
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ญาติและ เพื่อน ๆ ในวงการ นำศพของนักร้องทั้ง 2 มาตั้งบำเพ็ญกุศล ที่วัดอัมพวา กรุงเทพมหานคร เป็นวันเดียวกับที่วัดยางพรานนก ทำการฌาปนกิจศพ สังข์ทอง สีใส ซึ่งเสียชีวิตมาก่อนหน้านี้ไม่ถึง 10 วัน ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์เช่นกัน

ผลงานเพลงดัง
•   ทหารอากาศขาดรัก
•   ขันหมากเศรษฐี
•   โสภาใจดำ
•   ไม่ตายจะกลับมาแต่ง
•   กลิ่นฟางนางลืม
•   ปัตตานีที่รัก


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #48 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2566, 05:15:12 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ไข่มุกต์ ชูโต


พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ข่วงสามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่



         พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย   ทุ่งมะขามหย่อง   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล ด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม.




....”ปฏิมากรรม”นี่ใช้......................แรงกาย   หนักนา
     หญิงอย่าเรียนเหมาะชาย..........เท่านั้น
     “ครูศิลป์”ห่วงศิษย์ทาย.................แต่งผัว     จักหยุด
     ฟังแต่จักขอรั้น..........................ใช่ดื้ออยากเป็น.....

....“ฉันจะเป็นช่างปั้น.....................ชอบรัก
      หนักบ่กลัวสมัคร.......................ไม่เลี้ยว
      หญิงแรกเร่งเรียนหนัก...............หมายมุ่ง     สุขนา
    “ไข่มุกต์ ชูโต”เฟี้ยว.....................ปั้นหล่อสมใจ

....สุขสดใสช่างปั้น.........................หญิงแรก      ไทยนา
    เริ่ม”นารายณ์ฯคราแรก..............สร้างชื่อ
    “สามกษัตริย์”ที่ทรงแบก............ รวมก่อ        สยาม
    “สุริโย” “สองกษัตริย์”อื้อ............ หล่อปั้นดีงาม......

ไข่มุกด์ ชูโต
            เป็นประติมากรหญิงคนสำคัญของประเทศไทย โดยได้รับการยกย่องให้เป็นประติมากรหญิงคนแรกของประเทศไทย อาจารย์ไข่มุกด์เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2481 ที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นบุตรีของ อำมาตย์เอก พระมัญชุวาที (โชติ ชูโต) และนางมัญชุวาที (แอ๋ว ชูโต) ข้าหลวงในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อาจารย์อยู่อาศัยที่บ้านขมิ้นบนถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จนวาระสุดท้ายของชีวิต

...อาจารย์จบการศึกษาขั้นเตรียมอุดมศึกษาจากโรงเรียนราชินี และจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) ท่านเริ่มทำงานครั้งแรกให้กับองค์กร USOM และ Getesner ตามลำดับ ก่อนจะลาออกจากงานประจำมาทำงานอิสระ โดยท่านรับทำงานศิลป์หลายชนิด เช่น ประติมากรรม การตกแต่งสวน การตกแต่งภายใน เขียนแบบ ฯลฯ จนเริ่มมีชื่อเสียงในวงการ
ต่อมา นายชูพาสน์ ชูโต ข้าราชการประจำสำนักพระราชวัง ผู้เป็นญาติของอาจารย์ ได้ชักชวนอาจารย์เข้าถวายตัวปฏิบัติงานด้านประติมากรรมต่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยอาจารย์ได้สร้างผลงานชิ้นแรกถวายคือ รูปปั้นกินรีแม่ลูก จำนวน 2 ชุด ปัจจุบันติดตั้ง ณ สวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวัง และในบริเวณสวนของพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ นอกจากนี้อาจารย์ยังถวายงานต่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เช่นกัน

ย้อนกลับไปเมื่อ 60-70 ปีก่อน งานประติมากรรมถูกผูกขาดว่าเป็นงานของผู้ชาย
ยิ่งเป็นการสร้างอนุสาวรีย์ ยิ่งแล้วใหญ่เพราะไม่มีใครเชื่อว่า ผู้หญิงจะทำได้
แต่สำหรับผู้หญิงที่ชื่อว่า ไข่มุกด์ ชูโต เธอได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า ศิลปะไม่จำกัดเพศ แต่สำคัญอยู่ที่จิตใจและความพยายามต่างหาก
ตลอดชีวิตเธอได้สร้างสรรค์ผลงานอนุสาวรีย์ไว้มากมาย ตั้งแต่ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ที่เชียงใหม่ อนุสาวรีย์สองรัชกาลหน้าหอประชุมจุฬาฯ หรือ แม้แต่อนุสาวรีย์พระสุริโยทัยที่ทุ่งมะขามหย่อง

"ฉันจะเป็นช่างปั้น"

“..อย่าเรียนปั้นเลย อีกหน่อยพอแต่งงานไป ก็ต้องดูแลผัว ไม่ทำแล้วงานศิลปะที่ได้เรียนมา..”

ครั้งหนึ่ง อาจารย์ศิลป์ พีระศรี เคยเอ่ยประโยคนี้กับลูกศิษย์สาวนามไข่มุกด์ เพราะเมื่อ 60 ปีก่อน บ้านเราแทบไม่มีช่างปั้นหญิงเลย ประติมากรรมชิ้นสำคัญๆ ล้วนเป็นผลงานของผู้ชาย

“งานปั้นเป็นงานหนัก อย่าว่าแต่ผู้หญิงเลย ผู้ชายก็เรียนไม่สำเร็จตั้งหลายคน ต้องแบกหามเหมือนกรรมกร เวลาเรียนต้องตัดเหล็กที่ใช้เป็นโครงสร้างก่อนขึ้นดิน แล้วก็ต้องศึกษาอย่างจริงจัง ต้องขยันหมั่นเพียรมาก ใช้ความอดทนสูง และยังต้องมองรอบด้าน ทุกด้านต้องถูกต้องและสวยงามหมด”
แต่ด้วยความหลงใหลในศิลปะ เธอจึงไม่ยอมแพ้ และต่อสู้จนเป็นนักปั้นแถวหน้าของประเทศ


จุดเริ่มต้นของคุณไข่มุกด์มาจากคุณพ่อ พระมัญชุวาที อดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ที่มีใจรักเรื่องการออกแบบและต่อเรือยิ่งกว่าสิ่งใด เรือพระที่นั่งประพาสแสงจันทร์ เรือ ต.ต่างๆ ของกองทัพเรือ หรือเรือบรรทุกน้ำมันของบริษัทเชลล์ยุคนั้น ต่างเป็นฝีมือของคุณพระทั้งสิ้น
“ตั้งแต่จำความได้ก็เขียนรูปแล้ว ไปเกาะอยู่กับโต๊ะเขียนแบบในห้องทำงานของพ่อ มีดินสอยางลบพร้อม ท่านเห็นเราชอบขีดเขียนก็เลยสอนให้ แล้วตอนนั้นพ่อมีช้างไม้แกะสลักอยู่ตัวหนึ่ง เราก็หาดินน้ำมันมาปั้นเป็นคนขี่ช้าง เป็นพระนเรศวร บางทีก็เมกเรื่องขึ้นมาเองสนุกดี.. ต่อมาพอเรียนหนังสือ ครูก็สอนไป เราก็แอบเขียนรูปจนกระทั่งถูกครูตี”
ความสามารถของเธอเลื่องลือมาก ถึงขั้นเลียนสไตล์การวาดของครูเหม เวชกร ตั้งแต่ชั้นมัธยม จนขายงานให้สำนักพิมพ์เพลินจิตต์ ได้เงิน 3,000 บาท
พอเรียนจบเลยตัดสินใจเรียนต่อที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งที่ในยุคนั้นมีนักศึกษาหญิงแทบนับคนได้
“เขาบอกคนที่วาดเขียนเก่งมักเข้าสถาปัตย์ จุฬาฯ กัน แต่ทีนี้ระหว่างเรียนอยู่ก็ไปดูการแสดงศิลปกรรมของศิลปากรบ่อย ตอนนั้นยังไม่มีตึกใหญ่โตเป็นแค่โรงไม้สังกะสีเก่าๆ เดินดูก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า เราน่าจะเรียนทางนี้ดีกว่า จึงบอกคุณแม่ว่าจบ ม.6 จะขอไปเรียนเพาะช่าง คุณแม่บอกไม่เอาจะให้เรียนเตรียมอุดมต่อ ก็เลยเริ่มเรียนจนจบ ม.8 ตามคำขอของคุณแม่ จากนั้นก็ไปเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยศิลปากร”

แต่ถึงจะเป็นผู้หญิง คณบดีอย่างอาจารย์ศิลป์ก็ไม่ได้ผ่อนปรนเลย
สองปีในรั้วมหาวิทยาลัย คุณไข่มุกด์ต้องเรียนศาสตร์พื้นฐาน อย่าง ทฤษฎีสี สรีรวิทยา กายวิภาค หรือการหักเหของแสง ซึ่งความยากอยู่ตรงที่เธอไม่มีพื้นความรู้ใดๆ เลย ต่างจากเพื่อนๆ ที่เคยผ่านโรงเรียนเพาะช่างหรือช่างศิลป์มาแล้ว
 

“Anatomy ยากมากต้องดูโครงกระดูกคน ดูกล้ามเนื้อ ช่วงปี 1-3 ต้องเรียน ทั้งปั้นทั้งเพนต์ วิชาเอกตกไม่ได้ ถ้าตกรีไทร์ แรกๆ ก็ท้อเหมือนกัน สอบมิดเทอมคะแนนไม่ดี แต่ปลายปีท็อปหมด พอขึ้นปี 4 มีการแยกแผนก
“ตอนนั้นเราอยากเรียนปั้น แต่อาจารย์ไม่เห็นด้วย บอกว่าเป็นผู้หญิงเรียนลำบาก เราเลยบอกว่า หนูทำได้ หนูแข็งแรง อาจารย์ก็บอกต่อว่าผู้หญิงต้องมีครอบครัว เรียนไปก็เปล่าประโยชน์ ก็เลยบอกอาจารย์ไปว่าหนูไม่แต่งงานหรอก”

หลังเซ้าซี้ขอเรียนอยู่นาน อาจารย์ฝรั่งจึงใจอ่อน ทำให้เธอกลายเป็นสตรีไทยคนแรกที่ได้ศึกษาประติมากรรมอย่างจริงจัง



บทพิสูจน์ของหญิงนักปั้น

จุดเด่นของงานคุณไข่มุกด์ คือ ความพิถีพิถัน ใส่ใจในทุกรายละเอียด
ก่อนปั้นต้องมีการร่างภาพ ตรวจสอบดูว่าแกนเหล็กควรอยู่ตรงไหน สัดส่วนควรเป็นเช่นไร หากมีรูปถ่ายก็ยิ่งดี รวมถึงศึกษาประวัติชีวิต ผลงาน และผลงานของแบบแต่ละคน เพื่อให้ผลงานออกมาแล้วยังคงใกล้เคียงความจริงมากที่สุด เพราะรูปปั้นที่ดีต้องสัมผัสได้ถึงจิตวิญญาณ และความเป็นธรรมชาติ
วิธีปั้นของประติมากรหญิงนั้นเน้นหลักกายวิภาคเป็นสำคัญ โดยจะปั้นเป็นรูปเปลือยก่อน และเมื่อได้รูปทรงหรือสัดส่วนที่น่าพอใจแล้ว จึงค่อยใส่เสื้อผ้าประดับตามไป
บนเส้นทางนักปั้น คุณไข่มุกด์สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเกือบร้อยชิ้น

ชิ้นแรกที่สร้างชื่อคือ รูปปั้นนารายณ์บรรทมสินธุ์ ขนาด 2X8 เมตรที่โรงแรมนารายณ์ ปั้นไว้ตั้งแต่ปี 2506 โดยตกแต่งลวดลายตามศิลปะสมัยลพบุรี ซึ่งยุคนั้นแทบไม่มีใครทำ
จากนั้นก็มีงานปั้นประติมากรรมนูนต่ำที่ผนังโรงหนังเอเธนส์ พระพรหมที่พัทยาพาเลซกับโรงแรมรามาทาวเวอร์ อัปสรสีห์ที่ดุสิตธานี และบุษบก 7 ชั้นที่โรงแรมรอยัล ออร์คิด
แต่ถึงผลงานจะเป็นที่ยอมรับ ก็ยังมีศิลปินบางส่วนที่มองว่า ยังไงผู้หญิงก็ปั้นสู้ผู้ชายไม่ได้อยู่ดี

“เค้าว่าผู้หญิงไฟไม่แรงเท่าผู้ชาย งานอาจจะจืดชืดกว่า แต่ก็ไม่แน่เสมอไป ถ้าเราชอบใจ เรามีใจอยากจะทำ เราก็อาจมีแรงเท่าผู้ชายได้.. ที่ผ่านมาเค้าพูดกันเรื่อยว่า เราเป็นผู้หญิงที่เก่งที่สุดในหมู่ผู้หญิง เค้าไม่เอาเราไปนับกับผู้ชาย ทั้งๆ ที่มีผลงานมากกว่าช่างปั้นผู้ชายตั้งเยอะ”
ทว่าความเชื่อเดิมๆ ก็ถูกลบล้าง เมื่อเธอได้พิสูจน์ตัวเอง ด้วยการสร้างผลงานระดับประเทศเรื่อยมาจนวาระสุดท้ายของชีวิต

ผลงานที่เป็นเสมือนโลโก้ประจำตัวของคุณไข่มุกด์ คงต้องยกให้อนุสาวรีย์ 3 แห่ง
อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ พญามังราย-พญางำเมือง-พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5-6 หน้าหอประชุมจุฬาฯ และอนุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ที่ทุ่งมะขามหย่อง


ผลงานแต่ละชิ้นนั้น คุณไข่มุกด์สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันและบรรจงที่สุด ขณะเดียวกันก็ยังมีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ทั้งประวัติ สภาพสังคมในแต่ละยุคแต่ละสมัย เพื่อให้อนุสาวรีย์นั้นออกมาสวยเด่น เป็นสง่า และสะท้อนถึงภาพประวัติศาสตร์ ตลอดจนความสำคัญของบุคคลที่เป็นแบบ

อย่างตอนปั้นอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ เธอจำลองเรื่องราวเมื่อ 700 ปีก่อน ช่วงที่แต่ละพระองค์กำลังหารือเรื่องชัยภูมิสร้างเมืองใหม่ ซึ่งตอนเริ่มทำงานก็มีเสียงทักท้วงเข้ามาไม่น้อย เช่นกรมศิลปากรต้องการปั้นหน้าของพญามังราย ตามที่เคยจัดสร้างมาก่อน
แต่เธอกลับมองต่างว่า คำสั่งนี้จำกัดสิทธิของช่างเกินไป และเชื่อเหลือเกินว่า ไม่มีใครรู้ว่าหน้าตาที่แท้จริงของกษัตริย์องค์นี้เป็นอย่างไร จึงควรให้เป็นอำนาจของช่างที่จะสร้างงานตามจินตนาการได้

“พ่อขุนเม็งรายที่เขาเคยปั้น หน้าย่นเป็นตาแก่เชียว แถมยังมีกำหนดอีกว่าทั้ง 3 องค์ ควรจะอยู่ในวัย 58-60 แล้วจะไปสวยได้ยังไง เอาตาแก่ 3 คนมาคุยกัน เลยทำหนังสือตอบไปยาวเหยียดเลยว่า สมมติเทพท่านไม่แก่ ไม่ต้องแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น หน้าตาท่านก็ต้องแจ่มใสเบิกบาน เพราะฉะนั้นเราจึงปั้นให้มองแล้วสบายใจ เป็นเทพมากกว่าเป็นมนุษย์ธรรมดา

“ในทำนองเดียวกันถ้าเราปั้นพญางำเมือง ซึ่งยังไม่มีใครปั้นมาก่อน แล้วคนอื่นจะมาปั้นอีก เค้าก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนแบบเราก็ได้ ดูแต่เทพเจ้าของฝรั่ง ลีโอนาโด ดาวินซีสร้างแบบหนึ่ง ไมเคิล แองเจโลก็เป็นอีกแบบ ไม่เห็นเหมือนกันเลย อาร์ตติส ควรมีอิสระที่จะอิมเมจินได้ ไม่เช่นนั้นอาจารย์ศิลป์จะให้พวกเราเรียนวิจารณ์งานศิลป์ทำไม ในเมื่องงานของใครก็แยกไม่ออก เหมือนกับคนๆ เดียวกันทำ”
นอกจากนี้ ยังมีคนวิจารณ์รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่าง ทำไมพ่อขุนรามคำแหงมหาราชไม่อยู่ตรงกลาง ซึ่งคุณไข่มุกด์ก็ตอบว่า เวลาพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปประเทศอื่นก็ต้องให้เจ้าบ้านยืนในจุดที่สำคัญกว่าเสมอ หรือบางคนก็ตั้งข้อสังเกตว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่ใส่เสื้อหรอกหรือ ซึ่งนักปั้นหญิงก็ต้องอธิบายว่า คนสมัยนั้นเขาไม่ใส่เสื้อกัน กระทั่งคำถามต่างๆ ก็หมดไปเอง
ที่ผ่านมาเค้าพูดกันเรื่อยว่า เราเป็นผู้หญิงที่เก่งที่สุดในหมู่ผู้หญิง เค้าไม่เอาเราไปนับกับผู้ชาย ทั้งๆ ที่มีผลงานมากกว่าช่างปั้นผู้ชายตั้งเยอะ

ไข่มุกด์ ชูโต : สตรีนักปั้นอนุสาวรีย์

ความละเอียดของนักปั้น
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ผลงานทุกชิ้นจะใช้หลักการเดียวกันหมด

อย่างพระบรมรูปสองรัชกาล หน้าหอประชุมจุฬาฯ นั้น คุณไข่มุกด์ต้องค้นภาพเก่ามาเปรียบเทียบกันเป็นร้อยๆ รูป เพื่อนำไปสเกตเป็นต้นแบบ โดยต้องคำนึงทั้งรูปร่าง พระพักตร์ หรืออายุ ในห้วงเวลาต่างๆ ที่ต้องเหมือนองค์จริงที่สุด

ครั้งแรกเธอเลือกภาพ รัชกาลที่ 5 นั่งไขว่ห้าง ส่วนรัชกาลที่ 6 ยืนอยู่ข้างๆ จับพระหัตถ์เอาไว้ ซึ่งเป็นภาพถ่ายช่วงเสด็จประพาสยุโรป มาเป็นแม่แบบ แต่คณะกรรมการเกรงว่าท่าไขว่ห้างอาจไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของเมืองไทยสมัยนั้น จึงเปลี่ยนไปใช้ภาพวาดที่ช่างฝรั่งเขียน ซึ่งติดตั้งอยู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทแทน
“รูปนั้นเป็นรูปหมู่ มีพระศรีพัชรินทราฯ และพระโอรสหลายพระองค์ เราก็มาจัดคอมโพสิชันใหม่ เหลือไว้เพียง 2 พระองค์คือรัชกาลที่ 5 ประทับนั่ง และรัชกาลที่ 6 ซึ่งตอนนั้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ประทับยืนอยู่ข้างๆ ส่วนพระพักตร์เราก็เอาพระบรมฉายาลักษณ์หลายรูปมาประกอบกัน แต่คนอาจทักว่า รัชกาลที่ 6 ทำไมทรงสลิมหน่อย ก็เพราะตอนนั้นยังเป็นพระบรมฯ อยู่”

ตลอด 30 ปีที่สร้างอนุสาวรีย์ คุณไข่มุกด์มักบอกเสมอว่า ไม่เคยพอใจกับผลงานใดเป็นพิเศษ บางทีนี่อาจเป็นสัจธรรมของคนทำงานศิลปะที่ต้องมีกิเลสเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง เพื่อจะได้มีแรงผลักดันสร้างผลงานที่ดีขึ้นยิ่งขึ้นไป

น่าเสียดายที่ช่วงชีวิตของเธอนั้นแสนสั้น เพระหลังเสร็จสิ้นการสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยได้ไม่กี่ปี เธอก็ล้มป่วยด้วยอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

....เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2539 อาจารย์เกิดอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน หลังเดินทางกลับจากการตรวจดูงานหล่อพระพุทธรูปถวายต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่โรงหล่อบนถนนพุทธมณฑล สาย 4 อาจารย์ได้รับการปฐมพยาบาลที่โรงพยาบาลธนบุรี ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาจารย์ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช อาจารย์ได้เสียชีวิตลงด้วยอาการปอดบวมและระบบหายใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ด้วยวัย 59 ปี

ผลงานสำคัญ

ผลงานที่เป็นที่จดจำของอาจารย์ไข่มุกด์ ชูโต เช่น
 
...พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล ด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม.

...พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

...พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ข่วงสามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่

...หม่อมเจ้าวงศ์ทิพย์สุดา เทวกุล โรงเรียนราชินีบน กทม.

...สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร  โรงเรียนราชินีบน กทม.

...สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก   อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ด้านหน้ากระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

...เจ้าพระยาสุลวะลือไชยสงคราม (เจ้าทิพย์ช้าง)  จังหวัดลำปาง
 
...สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท   ค่ายมหาสุรสิงหนาท     จังหวัดระยอง

...พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย   ทุ่งมะขามหย่อง   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผลงานแกะสลักที่ตกแต่งภายในอาคารของโรงแรมต่าง ๆ เช่น

o   โรงแรมนารายณ์
o   โรงแรมดุสิตธานี


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #49 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2566, 04:04:35 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @สวลี ผกาพันธ์ุ













เพลง "ให้"    

...หญิงมีสิ่งที่หวงห่วงใย
สิ่งนั้นก็คือหัวใจ
เปี่ยมในรักมั่น
...หัวใจใช่จะมีไว้แบ่งปัน
ถ้าใจไม่รักผูกพัน
จะปันใจรักอย่างไร
...ฉันจึงไม่อาจขายสิ่งหวง
ถ้ารักยอมพลีทั้งปวง
มอบของหวงให้
...รักจึงต้องยอมกระเทาะเปลือกใจ
มอบสิ่งที่หวงให้ไป
แต่ไม่ยอมขายแลกเงิน
...ให้ทองนั้นกองท่วมฟ้า
อย่ามาล่วงล้ำกล้ำเกิน
แม้ทองมากมายใจฉันเมิน
แม้เงินท่วมโลก
หรือจะโยกจิตคลอน
...หัวใจซื่อใครซื้อไม่ขาย
ไม่รักจึงต้องหวงกาย
เก็บใจไว้ก่อน
....แม้นปลงหทัยในรักแน่นอน
อาจให้โดยมิต้องวอน
อย่าทำใจร้อนวู่วาม
ดนตรี
...หัวใจซื่อใครซื้อไม่ขาย
ไม่รักจึงต้องหวงกาย
เก็บใจไว้ก่อน
...แม้ปลงหทัยในรักแน่นอน
อาจให้โดยมิต้องวอน
อย่าทำใจร้อนวู่วาม






....“สนามอารมณ์”แย่แท้..................พิศวาส  
    “เหมือนไม่รักกัน”ขาด..................ใจ ”ให้”
    “รักเธอไม่ถึงบาท”.....................”หนึ่งใน      ร้อย” นา
    “นี่หรือชาย” ”ดอกไม้(ของชาติ)”.....ทิ้งไม่ใยดี....
 
....“สวลี..(ผกาพันธ์)” ร่ายร้อง...........รัญจวน  
     ครวญคร่ำเสียงใสยวน.................ยั่วเย้า
     “พจมาน..สว่างวงศ์ฯ” นวล...........เล่นคน    แรกนา
     สามเด่นคราเคยเข้า....................เฝ้ารับรางวัล

สวลี ผกาพันธุ์ มีชื่อจริงว่า เชอร์รี่ เศวตนันทน์  (สกุลเดิม: ฮอฟแมนน์; 6 สิงหาคม พ.ศ. 2474 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561)

 เป็นนักร้องเพลงลูกกรุง และนักแสดงชาวไทย สวลีมีผลงานบันทึกเสียงมากกว่า 2,000 เพลง และเธอได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลของวงการเพลงลูกกรุง  สวลีถือเป็นนักแสดงรุ่นบุกเบิกของวงการภาพยนตร์ไทยยุคฟิล์ม 16 มิลลิเมตร มีผลงานแสดงสร้างชื่อจากภาพยนตร์เรื่อง ดรรชนีนาง รับบทเป็น "ดรรชนี" และเป็นนักแสดงคนแรกที่รับบทเป็น "พจมาน สว่างวงศ์" จากละครเวทีเรื่อง บ้านทรายทอง

สวลี ผกาพันธุ์ เป็นนักร้องสตรีรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานมากที่สุดถึง 3 ครั้ง และรับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) พ.ศ. 2532

สวลี ผกาพันธุ์ เสียชีวิตจากการสำลักยาจนขาดอากาศหายใจ ที่บ้านพักของตนเองเมื่อเวลา 20.00 น. ของคืนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 สิริรวมอายุ 86 ปี 97 วัน ] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ วัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

สวลี ผกาพันธุ์เกิดวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อจริงแต่แรกเกิดว่า เชอร์รี่ ฮอฟแมนน์ เป็นลูกครึ่งที่เกิดแต่บิดาชาวเดนมาร์กชื่อ ยอร์ช ฮอฟแมนน์ กับมารดาชาวไทยชื่อ น้อม จิตต์ธรรม มีพี่น้องสองคน
สวลีสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม เมื่อปี พ.ศ. 2483 จากนั้นได้เรียนต่อเพิ่มเติมทางด้านชวเลข และพิมพ์ดีด เมื่อเรียนจบแล้วได้เข้าทำงานเป็นเสมียนพิมพ์ดีดอยู่ที่เทศบาลนครกรุงเทพ และบริษัทสหไทยวัฒนา

สู่วงการบันเทิง
ความสนใจทางด้านการขับร้องและดนตรี เริ่มตั้งแต่สมัยเรียนชั้นมัธยม และด้วยความเป็นผู้มีน้ำเสียงดี จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำในการร้องเพลงชาติทุกวัน
 ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ขณะที่อายุได้ 17 ปี และกำลังทำงานที่บริษัทสหไทยวัฒนานั้น คุณมยุรี จันทร์เรือง ครูสอนวิชาขับร้องที่โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม ได้ชวนไปดูการฝึกซ้อมละครของคณะผกาวลี ซึ่งเป็นของญาติ ทำให้มีโอกาสรู้จักกับ ครูลัดดา สารตายน (ศิลปบรรเลง) ผู้ฝึกซ้อมและกำกับการแสดง

ครูมยุรีได้เล่าให้ครูลัดดาฟังว่าเชอร์รี่ร้องเพลงได้ดี สวลีจึงขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์สายฝน ให้ครูลัดดาฟัง ปรากฏว่าเป็นที่พอใจ จึงชวนมาร้องเพลงสลับฉากละครในตอนเย็นหลังเลิกงาน เพลงแรกในชีวิตมีชื่อว่าเพลง หวานรื่น ผลงานเพลงของครูประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง โดยร้องคู่กับ วลิต สนธิรัตน์ ในวันนั้น นอกจากจะเป็นวันที่เริ่มต้นชีวิตการเป็นนักร้องแล้ว ยังเป็นวันที่ครูลัดดาได้ตั้งชื่อให้ท่านใช้ในการแสดงว่า สวลี แปลว่า "น้ำผึ้ง"  ส่วนนามสกุล ผกาพันธุ์ นั้น สด กูรมะโรหิต เป็นผู้ตั้งให้ในเวลาต่อมา โดยมีความหมายว่า "เผ่าพันธุ์ของดอกไม้" ซึ่งนำมาจากชื่อจริงของเธอคือ "เชอร์รี่" จากนั้นมาได้มีโอกาสร้องเพลงสลับฉากเพิ่มขึ้นกับเริ่มแสดงเป็นตัวประกอบ มีบทพูดเล็ก ๆ น้อย ๆ และร้องเพลงในเรื่อง

เมื่องานการขับร้องเพลงและการแสดงละครมีมากขึ้น จึงตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อมาทำงานด้านการบันเทิงอย่างเต็มตัว ต่อมาไม่นานได้รับบทนางเอกครั้งแรกใน ความพยาบาท ทำให้มีชื่อเป็นที่รู้จักทั่วไปและได้แสดงนำอีกหลายเรื่องจนคณะผกาวลีเลิกกิจการลงจึงได้ย้ายไปแสดงอยู่กับคณะอัศวินการละคร
เป็นนางเอกเรื่อง มโนราห์ คู่กับ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ และเรื่องอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ บ้านทรายทอง บทประพันธ์อมตะตลอดกาลของ ก.สุรางคนางค์ (ซึ่งต่อมาเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์อีกหลายครั้ง) รับบทเป็น “พจมาน” คนแรก และได้ร้องเพลงไพเราะ หากรู้สักนิด ผลงานการประพันธ์ของ หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ เป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้ร่วมแสดงกับคณะเทพศิลป์ และคณะศิวารมย์เป็นครั้งคราว

หลังจากมีประสบการณ์ในวงการละครเวทีมาระยะหนึ่ง สวลีและ อดีศักดิ์ เศวตนันทน์ สามี ตั้งคณะละคร นันทน์ศิลป เปิดการแสดงที่ศาลาเฉลิมนคร  และต่อมาในชื่อ คณะชื่นชุมนุมศิลปิน ประสบความสำเร็จเป็นอันดีจนถึงปลายยุคละครเวที ส.อาสนจินดา ได้ชักชวนสมัครพรรคพวกที่เคยร่วมงานละครเวทีกันมาก่อนมาแสดงภาพยนตร์ที่เตรียมสร้างโดยมีสวลีเป็นนางเอกอยู่ระยะหนึ่งกับมีโอกาสทำหน้าที่พากย์หนังด้วย ระยะนี้เริ่มร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียง ผลงานล้วนประสบความสำเร็จอย่างสูง เช่น ลมหวน โรครัก ,หน้าชื่นอกตรม ,รักมีกรรม ฯลฯ

เมื่อมีการก่อตั้งไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2498 คณะชื่นชุมนุมศิลปิน ได้เข้ามาจัดรายการโทรทัศน์เป็นคณะแรก ด้วยการจัดรายการเพลง ซึ่งมี ครูสมาน กาญจนผลิน เป็นผู้ควบคุมวง และนักร้องที่มีชื่อเสียง เช่น สุเทพ วงศ์กำแหง, ชรินทร์ นันทนาคร, นริศ อารีย์, พูลศรี เจริญพงษ์, อดิเรก จันทร์เรือง ฯลฯ และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ยิ่งไปกว่านั้นทั้งยังเป็นผู้พากย์หนังทีวีชุด แลสซี่ สุนัขแสนรู้ อีกด้วย ส่วนงานบันทึกเสียงยังมีประจำทั้งเพลงเดี่ยวและเพลงคู่ นักร้องที่เคยร่วมงานด้วยซึ่งค่อนข้างหาฟังยากในปัจจุบันคือ ชาญ เย็นแข ในบทเพลง สายน้ำผึ้ง , ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ และ สมยศ ทัศนพันธ์

ด้วยประสบการณ์หลายด้านในวงการบันเทิงที่ประสบความสำเร็จถึงจนเป็นหนึ่งในทำเนียบแห่งศิลปินแห่งชาติท่านหนึ่งของประเทศไทย

ผลงานเด่น
 
พจมาน พินิตนันทน์ จากละครเวทีบ้านทรายทอง ฉบับ พ.ศ. 2494 รับบทโดย สวลี ผกาพันธุ์


บท พจมาน พินิตนันทน์ (สว่างวงศ์ ณ อยุธยา)คนแรกในนวนิยาย บ้านทรายทอง คู่กับ ฉลอง สิมะเสถียร ทั้งฉบับละครเวที คณะอัศวินการละคร ที่ ศาลาเฉลิมไทย และฉบับละครโทรทัศน์ คณะกัญชลิกา ทางไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม และเป็นคนแรกผู้ขับร้องเพลงเอกนำเรื่องชื่อเดียวกันด้วย


แผ่นเสียงและผลงานเพลง
สวลี ผกาพันธุ์ มีผลงานเพลงมากมายกว่า 2000 เพลง นี่คือเพลงและแผ่นเสียงที่จะพอรวบรวมได้
•   แผ่นเสียงโดย สวลี ผกาพันธุ์ และ ธานินทร์ อินทรเทพ ชุด ฉงน และ บาป (โดย สุรพล โทณวณิก)
•   แผ่นเสียง ชุด ระฆังทอง ฟ้ามิอาจกั้น
•   แผ่นเสียง ชุด มนต์รักโลมใจ
•   แผ่นเสียง ชุด บำนาญรัก
•   แผ่นเสียง ชุด ปล่อยฉันไป
•   แผ่นเสียง ชุด โธ่เอ๋ย และ จำเลยรัก
•   แผ่นเสียง ชุด สนามอารมณ์
•   แผ่นเสียง ชุด ให้
•   แผ่นเสียง ชุด คนใจดำ | คนใจเดียว
•   แผ่นเสียง ชุด รักสลาย
•   แผ่นเสียง ชุด อย่าลืมรักเราดูดดื่มเสมอ
•   แผ่นเสียง ชุด หนีรัก และ อย่าทรมานอีกเลย
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด พ่อแง่-แม่งอน และ เธออยู่ไหน
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด เหมือนตายจากกัน
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด แผ่นเสียงทองคำ
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด เพื่อเธอ เพื่อเธอ และเพื่อเธอ
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด จำปาทอง
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด สุดดิน สิ้นสวรรค์
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด จอมนางบนกลางใจ และ ชายเดียวในดวงใจ (วงดนตรี พยงค์ มุกดา)
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด น้ำใจ และ ยอดสวาท
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ ดิอิมพอสซิเบิ้ล และ ซิลเวอร์แซนด์ ชุด สตริง แอนด์ สตาร์
•   แผ่นเสียง ชุด ปางไหนจะให้พบ
•   แผ่นเสียง ชุด ขาดกันเพียงนี้
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ ชรินทร์ นันทนาคร ชุด หยาดฝนแรก / งามชมงามชื่น
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ ชรินทร์ นันทนาคร ชุด หลงคอยแต่เงา และ หน้าต่างหัวใจ
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ ชรินทร์ นันทนาคร เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ปรีชา บุญเกียรติ ชุด สัญญาณ และ เทพบุตรของหญิง
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด ฤทธิ์กามเทพ
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด ฝนนี้ และ สุดดินสิ้นสวรรค์
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ ชรินทร์ นันทนาคร สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด รักอย่ารู้คลาย
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด จอมใจจักรพรรดิ และ เพลงรักชาวเรือ
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ จินตนา สุขสถิตย์ ชุด มณฑาทอง
•   แผ่นเสียง ชุด เสียงแห่งสยาม
•   แผ่นเสียง ชุด ขอใจ
•   แผ่นเสียง ชุด ที่ระลึกจาก สวลี ผกาพันธุ์
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ ชรินทร์ นันทนาคร ชุด รักริมน้ำแม่ปิง และ กล่อมสยาม
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด อย่าสงสารฉันเลย
•   แผ่นเสียง ชุด คุณเจ้าขา
•   แผ่นเสียง ชุด อย่าคิด อย่าคิด
•   แผ่นเสียง ชุด บ้านนา และ ลาทีมิใช่ลาจาก
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ จินตนา สุขสถิตย์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด คุณของแม่โพสพ
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ จินตนา สุขสถิตย์ และ สุพัตรา คฤหเดช ชุด โธ่! เธอที่รัก
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด คดีพิศวาท และ จูบประทับใจ
•   แผ่นเสียง ชุด โทรจิตพิศวาท และ ห้วงน้ำตา
•   แผ่นเสียง ชุด ได้โปรดเถิดที่รัก
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด ม่านประเพณี
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพโชว์ ชุด เพชรตัดเพชร
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ ธานี ศรีอุทัย ชุด วิวาห์ลูกทุ่ง และ เชลยสวาท
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ นริศ อารีย์ และ ชาญเย็นแข ชุด จำปาทองเทศ และ รักเดียว
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ พูลศรี เจริญพงษ์ และ ชรินทร์ งามเมือง ชุด ลมปาก และ คอยน้อง
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด อนุญาตรัก และ ฉันรักลูกทุ่ง
•   แผ่นเสียง ชุด ปัญหาชีวิต
•   แผ่นเสียง ชุด โธ่ ไม่น่าเลย
•   แผ่นเสียง ชุด โธ่เอ๋ย รักซึมใจ
•   แผ่นเสียง ชุด ชู้ลา และ ทิ้งน้องร้องไห้
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ มีศักดิ์ นาคราช ชุด แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร และ เห็นกันที่ฮ่องกง
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ พราวตา ดาราเรือง ธานินทร์ อินทรเทพ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด ผู้ร้อง ตราบาป
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ ลินจง บุนนากรินทร์ จรรยา สดแจ่มศรี และ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ชุด ที่รักอย่าร้องไห้
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ ธานินทร์ อินทรเทพ ชุด คาวหัวใจ และ บ้านของเรา
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ชุด คนหลอกลวง และ รักแท้
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ สุเทพ วงศ์กำแหง และ ชาญ เย็นแข ชุด ลาทีความรัก และ รักในยามยาก
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ ธานินทร์ อินทรเทพ ชุด ขนมจากปากน้ำ | เสรีรัก | รักซื่อ | ก็เพราะรัก
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สเกน สุทธิวงศ์ ชุด รักคู่โลก | สายธารสายใจ
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด ฤทธิ์กามเทพ | กามเทพลวง
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ สมยศ ทัศนพันธ์ และ ชรินทร์ งามเมือง ชุด นาทีทอง | คืนนี้
•   แผ่นเสียง ชุด สนามอารมณ์
•   แผ่นเสียง โดย สวลี มนตรี อรอุมา สุเทพ ชุด รักตลอดทาง
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ ลพ บุรีรัตน์ และ จินตนา สุขสถิตย์ ชุด จ้ำจี้มะเขือเปราะ | เพลินไพร
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ อาทิตย์ หิรัญวัฒน์ ชุด ผู้ผิดหวัง
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สุเทพ วงศ์กำแหง ชุด ม่านประเพณี | เสียใจที่รักเธอ | เมฆฟ้าพาฝัน
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ ชรินทร์ นันทนาคร ชุด เรือนแพ | เงาไม้
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ สันติ ลุนเพ่ ชุด ถามคนไทย | ปริศนาไทย
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ ธานินทร์ อินทรเทพ ชุด รำวงลูกเสือชาวบ้าน
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ และ รุ่งฤดี แผ่งพ่องใน ชัด ขวัญใจนักเรียน และ สตรีที่โลกลืม
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ สุเทพ วงศ์กำแหง และ ชรัมภ์ เทพชัย ชุด ตามองตา | รักสาวอีสาน
•   แผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ สมยศ ทัศนพันธ์ ชาญ เย็นแข ชุด แม่นางสรง | เชยยอดชู้

•   ฯลฯ
ผลงานภาพยนตร์
รายชื่อบางส่วน ซึ่งถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม.
•   กฤษดาอภินิหาร (2493) - นำแสดงโดย จมื่นมานิตย์นเรศ, อบ บุญติด, อารีย์ โทนะวนิก, สวลี ผกาพันธุ์, พรรณี เกษแก้ว, ชูศรี ผกาวลี กำกับโดย ลัดดา สารตายน ฉายครั้งแรกวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ที่โรงหนังเฉลิมนคร
•   พระเจ้ากรุงธนบุรี (2495) - นำแสดงโดย ถนอม อัครเศรณี, สวลี ผกาพันธุ์, หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร, ปทุม ประทีปเสน,ไสว ประพันธ์ สร้างโดย บันเทิงไทย กำกับโดย เชื้อ อินทรทูต ฉายปี พ.ศ. 2495 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง
•   สามหัวใจ (2497) - นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, ส.อาสนจินดา, พันคำ, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, สวลี ผกาพันธุ์, จุรี โอศิริ, ทักษิณ แจ่มผล, ไสว ประพันธ์ สร้างโดย โยคีทองมูน กำกับโดย เนรมิต
•   คำสั่งคำสาป (2497) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์, อารี โทณวนิก, มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา, อุโฆษ จันทร์เรือง, วสันต์ สุนทรปักษิณ ฉายปี พ.ศ. 2497 (ต่อจากเรื่อง แผลเก่า ที่โรงหนังเฉลิมบุรี ) โฆษณาว่าเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่อัดเสียงลงฟิล์ม
•   น้ำตาชาย (2497) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, สมควร กระจ่างศาสตร์ ,ทักษิณ แจ่มผล สร้างโดย บาร์โบสภาพยนตร์ กำกับโดย วิเชียร ฉวีวงศ์ ฉายต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2497 ที่โรงหนังควีนส์
•   ศรีราชา (2497) - นำแสดงโดย ส.อาสนจินดา, สมควร กระจ่างศาสตร์, สวลี ผกาพันธุ์, ทักษิณ แจ่มผล, จำรูญ หนวดจิ๋ม, สมพล กงสุวรรณ สร้างโดย วชิราภาพยนตร์
•   เริงริษยา (2498) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์ และ โชติ สโมสร สร้างโดย รัตนภาพยนตร์ ฉายวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2498 ที่โรงหนังเอ็มไพร์
•   แม่พระ (2498) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์, ฉลอง สิมะเสถียร, สาหัส บุญหลง, ฑัต เอกฑัต สร้างโดย ทิดเขียวภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย พันคำ ฉายเดือนเมษายน พ.ศ. 2498 ที่โรงหนังควีนส์
•   ล้มบาง (2498) - นำแสดงโดย ทักษิณ แจ่มผล, ฑัต เอกฑัต, สวลี ผกาพันธุ์, มาลิน เลขะวัฒนพิจารณ์ สร้างโดย บาร์โบสภาพยนตร์ กำกับโดย ส.อาสนจินดา ฉายวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2498 ที่โรงหนังควีนส์
•   ผารีซอ (2498) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์, ฤทธิ์ อินทนันท์, มนูญ ชูเกษ, วิรัติ ภู่จีนาพันธ์, ล้อต๊อก, ด.ช.สำรวย นิลประภา สร้างโดย หนังสือพิมพ์ปิยะมิตร โดย วิรัตน์ คูห์สุวรรณ อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย คุณาวุฒิ ฉายวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ที่โรงหนังศรีราชวงศ์
•   เสือน้อย (2498) - นำแสดงโดย ทักษิณ แจ่มผล, ส.อาสนจินดา, พันคำ, สวลี ผกาพันธุ์, ล้อต๊อก ,จำรูญ ,สาหัส บุญหลง สร้างโดย บาร์โบสภาพยนตร์ กำกับโดย ส.อาสนจินดา (ฉายต่อจากเรื่อง โบตั๋น ปี พ.ศ. 2498) ที่โรงหนังคาเธ่ย์
•   เพลิงโลกันต์ (2498) - นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, สวลี ผกาพันธุ์, แน่งน้อย, มาลิน, ไสล, มนูญ, สุรชาติ สร้างโดย เอราวัณภาพยนตร์ กำกับโดย เสนีย์ บุษปะเกศ ฉายปี พ.ศ. 2498
•   ไฟชีวิต (2499) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์ ,สุรชัย ลูกสุรินทร์ ,สมศรี เทียมกำแหง ,จรูญ ,ชูศรี สร้างโดย เกรียงศักดิ์ หาญวานิช กำกับโดย ลัดดา สารตายน ฉายปี พ.ศ. 2499 ที่โรงหนังนิวโอเดียน
•   ไกรทอง (2501) - นำแสดงโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์, ชนะ ศรีอุบล, สวลี ผกาพันธุ์, ประภาพรรณ นาคทอง, วงทอง ผลานุสนธิ์, แขไข สุริยา, อบ, ดอกดิน, สมศรี อธึก, ทองแถม สร้างโดย ภาพยนตร์สวัสดิการตำรวจ ฉายวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ที่โรงหนังเอ็มไพร์
•   สวรรค์หาย (2501) - นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, อาคม มกรานนท์, อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา, สวลี ผกาพันธุ์, แขไข, สาหัส, ฑัต, จรูญ สร้างโดย บริการสากลภาพยนตร์ โดย สกุล เกตุพันธ์ อำนวยการสร้าง กำกับโดย รังสี ทัศนพยัคฆ์ ฉายวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2501 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง-เฉลิมบุรี
•   ขบวนเสรีจีน (2502) - นำแสดงโดย มิสคูมี่, สุเทพ วงศ์กำแหง, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, สวลี ผกาพันธุ์, ชาลี อินทรวิจิตร, ศรินทิพย์, จรูญ สร้างโดย คันจราภาพยนตร์ โดย เทวะมิตร์ อำนวยการสร้าง กำกับโดย ลัดดา สารตายน ฉายวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ที่โรงหนังคาเธ่ย์
ฯลฯ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
•   พ.ศ. 2536 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)




บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #50 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2566, 02:30:46 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ผ่องศรี วรนุช









เนื้อเพลง  ฝากดิน
...ดินเจ้าเอ๋ยข้าเคยอยู่ใกล้มาก่อน
ดินอุ่นร้อนและเย็นก็เป็นเพื่อนฉัน
ยามเมื่อเขาร้างไปไกล
ใจก็ยังนึกหวั่นหวั่น
นี่อีกสักกี่วันถึงมา
.....ดินอ้างว้างระทมขื่นขมตรมเศร้า
ดินก็เหมือนเช่นเรารักเขาหนักหนา
เขาเป็นเหมือนเจ้าดวงใจ
ดินเรียกเขาคืนมามา
บอกเขาเถิดดินขาข้าคอย
....อภัยเถิดดิน
ได้แนบซบไอกลิ่น
ดินนั้นอุ่นไม่น้อย
อุ่นอกเขา
อุ่นอกเขาเราก็พลอย
อุ่นจากรักที่ฝังรอย
อุ่นไม่น้อยประทับใจ
....ดินช่วยซับน้ำตาข้าขอลาจาก
ช่วยฝากซากรักเศร้าของเราได้ไหม
ถ้าหากเขาไม่มาเยือน
คงได้พบรักใหม่ใหม่
ดินถมร่างฉันไว้ให้จม
ดนตรี....
...อภัยเถิดดิน
ได้แนบซบไอกลิ่น
ดินนั้นอุ่นไม่น้อย
...อุ่นอกเขา
อุ่นอกเขาเราก็พลอย
อุ่นจากรักที่ฝังรอย
อุ่นไม่น้อยประทับใจ
....ดินช่วยซับน้ำตาข้าขอลาจาก
ช่วยฝากซากรักเศร้าของเราได้ไหม
ถ้าหากเขาไม่มาเยือน
คงได้พบรักใหม่ใหม่
ดินถมร่างฉันไว้ให้จม





...วอนถาม “คืนนี้พี่....................นอนกับ    ใคร” ฤา
   “น้ำตาเมียหลวง” คับ...............ค่อนแค้น
   “สาวเหนือเบื่อรัก” กลับ............เชียงใหม่    ขอลา
   “ไหนว่าไม่ลืม” แม้น ...............ห่างล้นเกินปี

...” ผ่องศรี (วรนุช) ฤา “กุ้งแห้ง” ......ครวญเพลง  
    หวานเด่นโทนสูงเกรง................เก่งกล้า
    รา(ชิ)นีแห่งบทเพลง.................ลูกทุ่ง    แรกนา
    รับแผ่นเสียงทองฯจ้า.................เด่นด้วยเสียงดี....

ผ่องศรี วรนุช เป็นศิลปินแห่งชาติ นักร้องเพลงลูกทุ่ง ได้รับฉายาว่า ราชินีลูกทุ่ง(คนแรก) เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท  
...ในวัยเยาว์ ได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดแก่นเหล็ก เมื่ออายุ 15 ปี ได้เริ่มทำงานกับละครเร่คณะคุณหนู โดยเป็นเด็กรับใช้ ก่อนจะได้ร้องเพลงสลับฉากจนได้เป็นนางเอกของคณะ และเริ่มอาชีพนักร้องเมื่อปี พ.ศ. 2498 จนโด่งดังในฐานะนักร้องและประสบความสำเร็จสูงสุดในอาชีพการทำงานในช่วงปี พ.ศ. 2502 ถึงปี พ.ศ. 2523 และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นักร้องลูกทุ่ง) ประจำปีพุทธศักราช 2535

ผ่องศรี วรนุช มีผลงานเพลงที่เป็นปรากฏการณ์ต่อวัฒนธรรมเพลงลูกทุ่งเป็นจำนวนมาก ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ เสียงโทนสูง เช่น ด่วนพิศวาส, กอดหมอนนอนหนาว, วิมานในฝัน, น้อยใจรัก, ภูเก็ต, น้ำตาเมียหลวง, ลืมเสียเถิด, ฝากดิน, สาวเหนือเบื่อรัก, ฝนหนาวสาวครวญ เป็นต้น

ผ่องศรี วรนุช ยังถือเป็นศิลปินต้นแบบของนักร้องลูกทุ่งหญิงไทยเป็นจำนวนมาก เช่น พุ่มพวง ดวงจันทร์, บุปผา สายชล, สุนารี ราชสีมา เป็นต้น

ประวัติ

ผ่องศรี วรนุช เป็นบุตรีของ พ่อฉาก กับ แม่เล็ก วรนุช มีชื่อเล่นว่า กุ้งแห้ง เริ่มต้นการร้องเพลงจากที่ได้ไปอยู่ละครเร่คณะของหนู สุวรรณประกาศ ละครเร่ชื่อดังจากเพชรบุรี ตอนแรกเป็นคนรับใช้ในคณะและฝึกไปก่อน ด้วยฐานะที่บ้านยากจน เลยขอแม่ว่าจะมาหากินถ้าไม่มีที่ดินไม่มีบ้านจะไม่ขอย้อนกลับไปขอไปตายเอาดาบหน้า เพราะตอนนั้นนอนแพไม่มีบ้านไม่มีที่ดิน จนอยู่ในคณะละครเร่มาปีกว่า จนได้ขึ้นร้องเพลงจากนั้นก็มีคนนำของกินของใช้มาให้ โดยที่ไม่ต้องซื้อเอง แต่เส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเมื่อ โดนตบปางตายเพราะเกิดความอิจฉาริษยากันในคณะ แต่เรื่องราวก็จบด้วยดี เพราะ ผ่องศรี ไม่ได้เอาเรื่อง

ต่อมาในปี 2502 ผ่องศรี วรนุช เริ่มเข้าสู่วงการผลงานอย่างเป็นทางการ โดยได้ร้องเพลง ไหนว่าไม่ลืม แก้กับ สุรพล สมบัติเจริญ เลยทำให้เธอเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็มีผลงานต่อมาอย่างต่อเนื่อง และมีเพลงฮิตมากมาย อาทิ ด่วนพิศวาส, กอดหมอนนอนหนาว, วิมานในฝัน, น้อยใจรัก, ภูเก็ต, น้ำตาเมียหลวง, ลืมเสียเถิด, ฝากดิน สาวเหนือเบื่อรัก, ฝนหนาวสาวครวญ จนได้ชื่อว่าเป็น ราชินีลูกทุ่งคนแรกของเมืองไทย

ชีวิตครอบครัว
ผ่องศรี วรนุช เคยใช้ชีวิตอยู่กับ เทียนชัย สมยาประเสิรฐ นักร้องนักแต่งเพลงลูกทุ่งชื่อดัง ก่อนที่จะแยกทางกัน จากนั้นได้มาใช้ชีวิตอยู่กินกับ ราเชนทร์ เรืองเนตร นักดนตรีชื่อดัง จน ราเชนทร์ เสียชีวิตไปเมื่อ พ.ศ. 2541 โดยไม่มีทายาท และบั้นปลายของชีวิตนั้น ผ่องศรี วรนุช ตั้งใจไว้ว่าจะรับงานเป็นครั้งคราว และช่วยกิจกรรมงานการกุศลและสาธารณประโยชน์ ซึ่งเจ้าตัวได้ สร้าง พิพิธภัณฑ์ ผ่องศรี วรนุช เพื่อจัดแสดงประวัติความเป็นมา และรางวัลทรงเกียรติยศที่ได้จากการเป็นนักร้อง โดยเปิดให้ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวในอดีตได้เข้าชมฟรีย่านพุทธมณฑล สาย 5


ผลงานภาพยนตร์

จำปาทอง (2514)
ลมรักทะเลใต้ (2514)
มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545)

รางวัลที่ได้รับ

...ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีลูกทุ่ง) ปี พ.ศ. 2535
...แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน 2 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2509 จากเพลง "กลับบ้านเถิดพี่" และ พ.ศ. 2522 จากเพลง "โธ่ผู้ชาย"
...เสาอากาศทองคำพระราชทาน 3 ปีซ้อน เมื่อ พ.ศ. 2518 จากเพลง "กินข้าวกับน้ำพริก" พ.ศ. 2519 จากเพลง "เขามาทุกวัน" และ พ.ศ. 2520 จากเพลง "จันทร์อ้อน"
...รางวัลพระราชทานพิเศษจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในฐานะนักร้องลูกทุ่งหญิงเกียรตินิยมยอดเยี่ยม เพราะชนะเลิศเสาอากาศทองคำ 3 ปีซ้อน เมื่อ พ.ศ. 2521 ได้รับรางวัลในปีนี้แต่ละสิทธิ์ จากเพลง "สาริกาคืนถิ่น"
...กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยพระราชทาน ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2532 ได้รับรางวัลจากเพลง "ไหนว่าไม่ลืม", "ฝากดิน" และครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2534 จากเพลง "ด่วนพิศวาส"
...ประกาศเกียรติคุณพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะนักร้องผู้ขับร้องเพลงใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง และ ชัดเจน เมื่อ พ.ศ. 2534
...รางวัลบุคคลทรงคุณค่าวงการบันเทิง สาขาดนตรี จากงานสยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2015

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[/color]

พ.ศ. 2556 – Order of the Direkgunabhorn 4th class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)



บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #51 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2566, 01:28:58 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @วงแกรนด์เอ็กซ์










เพลงพบรัก
ลา ล้าลาลาหล่า ลา
ลา ล้าลาลาหล่า ลา
ลา ล้าลาลาหล่า ลา
ลา ล้าลาลาหล่า ลา
...รัก คือการค้นพบ
เป็นจุดจบเป็นทุกสิ่ง
เป็นความฝันเป็นความจริง
เป็นสุขล้ำเมื่อแอบอิง
แม้ยากยิ่งจะฝ่าฟัน
...รักหากเกิดกับใคร
สุขทุกข์ใด
ไม่เคยนึกหวั่น
สร้างความหวังในใจพลัน
จะยากไร้ไม่สำคัญ
ขอรักนั้นมาแนบใจ
...ฉันเมื่อมาพบเธอ
ได้มาพบเจอ
ความรักยิ่งใหญ่
โปรดจงเชื่อใจ
และอย่าให้ฝัน ของฉันต้องมลาย
...ฉันรู้ความรักยากอธิบาย
แต่ความรักจริงมั่นคงมิหน่าย
ไม่แปรผันจากเธอ
...รักหากเกิดกับใคร
สุขทุกข์ใด
ไม่เคยนึกหวั่น
...สร้างความหวังในใจพลัน
จะยากไร้ไม่สำคัญ
ขอรักนั้นมาแนบใจ
...ฉันเมื่อมาพบเธอ
ได้มาพบเจอ
ความรักคงมั่น
...โปรดจงเชื่อกัน
และอย่าให้ฝัน
ของฉันต้องมลาย
...ฉันรู้ความรักยากอธิบาย
แต่ความรักจริงมั่นคงมิหน่าย
ไม่แปรผันจากเธอ
ไม่แปรผันจากเธอ







...“พบรัก””เธอเท่านั้น”...........................”แสนรัก”
    “หนึ่งในดวงใจ”หัก...................”(ขอใจ) ให้พี่”
    “หัวใจที่(ถอดวาง)”“ทาสรัก” ................”เชื่อฉัน”   เถิดแม่
     “ลาก่อนความรัก” นี้...........................”บัวน้อยคอยรัก”....

  ... “แกรนด์เอ็กซ์”นักร้องกลุ่ม..................คนหลาย  
      เพลงเด่นดีมากมาย...........................มุ่งหมั้น
      แฟนชมชื่นมิคลาย.............................แสนหมื่น   ล้านนา
      แตกตื่น(แกรนด์)เอ็กซ์โอนั้น.................แจ่มจ้ายอดขาย....

แกรนด์เอ็กซ์ (อังกฤษ: GRAND EX) เป็นวงดนตรีแนวสตริงคอมโบที่มีชื่อเสียงและประวัติยาวนาน ก่อตั้งโดย นคร เวชสุภาพร ชักชวนเพื่อน ๆ ที่วิทยาลัยบพิตรพิมุข ตั้งวงดนตรีชื่อว่า “Extreme” ต่อมาประกวดวงสตริงคอมโบชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 3 โดยใช้ชื่อแกรนด์เอ็กซ์

ที่มาของชื่อวง
เพราะความชื่นชอบเพลงใต้ดินของวงแกรนด์ฟังก์เรลโรด กับวงเดอะ จิมมี่ เฮนดริกซ์ เอ็กซ์พีเรียนซ์ จึงนำชื่อของทั้งสองวงมารวมกันเป็น GRAND EXPERIENCE แต่เนื่องจากออกเสียงยาก ประกอบกับในช่วงนั้นที่ประเทศญี่ปุ่นมีงานเอ็กซ์โป ซึ่งในโปสเตอร์เขียนว่า EX’ 70 ซึ่งย่อมาจาก “เอ็กซ์โป 1970” จึงได้นำมาใช้และทำให้ชื่อวงถูกทอนลงกลายเป็น EX’ แทน จึงเรียกว่า แกรนด์เอ็กซ์

ประวัติ
ก่อตั้งวง

วงแกรนด์เอ็กซ์ รวมตัวกันก่อตั้งใน พ.ศ. 2512 โดยกลุ่มนักเรียนชั้น ม.ศ. 5 วิทยาลัยบพิตรภิมุข นำโดย นคร เวชสุภาพร (ตำแหน่งกีตาร์โซโลและหัวหน้าวง) ร่วมด้วยเพื่อน ๆวิทยาลัยเดียวกัน คือ กำธร คุณานุกูล (กีตาร์คอร์ด) วราวุธ หิรัญวรรณ (เบส) ดำรง ชื่นเจริญสุข (โฆษกและนักร้องนำ) ณรงค์ เผือกห้าวหาญ (นักร้องนำ), ประสิทธิ์ ไชยะโท (กลอง) และ สมมาตร ธูปจินดา (ออร์แกน)

สมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์เข้าร่วมประกวดวงสตริงคอมโบชิงแชมป์ประเทศไทยใน พ.ศ. 2515 ประเภทนักเรียนนักศึกษา ซึ่งการประกวด 2 ครั้งก่อนหน้านั้น คือ พ.ศ. 2512, และ พ.ศ. 2513 ( พ.ศ. 2514 งดเพราะเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง) โดยวง “ดิอิมพอสซิเบิ้ล” คว้าแชมป์ไปครองทั้งสองครั้ง รวมถึงครั้งที่ 3 ใน พ.ศ. 2515 ด้วย

ผลการประกวดในประเภทนักเรียนนักศึกษานั้น วงมัมมี่ได้เป็นแชมป์ ส่วนแกรนด์เอ็กซ์ได้รางวัลรองชนะเลิศคู่กับรางวัลขวัญใจสื่อมวลชนมาครอง ด้วยแนวทางการแต่งตัวที่เข้าตาสื่อ คือแม้จะเล่นเพลงร็อคดุ ๆ แต่พวกเขาแต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ใส่กางเกงขายาวสีดำ เสื้อเชิ้ตสีขาว ผูกเนคไท สวนทางกับวงอื่น ๆ

หลังการประกวด สมาชิกบางคนเรียนจบ โดยแต่ละคนแยกย้ายกันไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา แต่นคร เวชสุภาพร ยังคงหาสมาชิกวง โดยลงทุนถึงขนาดสละสิทธิ์ไม่เรียนในมหาวิทยาลัยที่เอ็นท์ติด แต่เลือกที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยเปิดที่เพื่อน ๆ นักดนตรีส่วนใหญ่เรียนอยู่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการซ้อมดนตรีและการทำวง

วงแกรนด์เอ็กซ์เริ่มเป็นที่รู้จักจากการเล่นตามคลับ ตามบาร์ และต่างจังหวัด โดยเล่นอยู่สักประมาณ 8 เดือน ก่อนที่เพื่อน ๆ บางคนในวงจะลาออกไป นคร เวชสุภาพรจึงได้ออกเดินทางหาสมาชิกคนใหม่ พร้อมกับปรับแนวทางของวงแกรนด์เอ็กซ์ใหม่เพื่อให้เป็นวงสตริงคอมโบอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการเสริมทัพทีมเครื่องเป่า คือ ชาย แสงชะอุ่ม (แซ็กโซโฟน), เสน่ห์ ศุภรัตน์ (ทรัมเป็ด) และสมศักดิ์ อภิวัฒน์วีรกุล (ทรอมโบน) เข้ามาในราว พ.ศ. 2517 และการเข้ามาของนักร้องนำคนใหม่ คือ วสันต์ แต้สกุล (นามสกุลตอนนั้น)

พ.ศ. 2519 มือเบสในยุคก่อตั้งกับมือคีย์บอร์ดลาออกไป วสันต์จึงต้องหันไปเล่นคีย์บอร์ดอีกทาง ส่วนมือเบสได้แอ๊ด - ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ มาเป็นสมาชิกคนใหม่

ในปีเดียวกันนี้ แกรนด์เอ็กซ์ได้ จำรัส เศวตาภรณ์ มาเพิ่มในฐานะนักร้องนำและกีตาร์คอร์ด ก่อนออกซิงเกิ้ลแรก “คู่นก” ตามมาใน พ.ศ. 2520

หลังจากนั้นวงแกรนด์เอ็กซ์ก็ได้ออกผลงาน ทัวร์คอนเสิร์ต และรับสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ อีกหลายปี จนกระทั่งได้ประกาศยุบวงใน พ.ศ. 2562 โดยจัดคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายในวันที่ 3 สิงหาคม ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี

สมาชิก
สมาชิกดั้งเดิม

นคร เวชสุภาพร - หัวหน้าวงและมือกีตาร์
ประสิทธิ์ ไชยะโท - มือกลอง
วราวุธ หิรัญวรรณ - มือเบส
กำธร คุณานุกูล - มือกีตาร์และคอร์ด
สมมาตร ธูปจินดา - ออร์แกน
ดำรง ชื่นเจริญสุช - โฆษกและร้องนำ
ณรงค์ เผือกห้าวหาญ - ร้องนำ
สมาชิกยุคออกแผ่นซิงเกิ้ล
นคร เวชสุภาพร กีตาร์, ร้องนำ (หัวหน้าวง)
ประสิทธิ์ ไชยะโท กลอง, ร้อง
วสันต์ สิริสุขพิสัย ออร์แกน, ร้อง
เสน่ห์ ศุภรัตน์ ทรัมเป็ต (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว)
สมศักดิ์ อภิวัฒน์ธีรกุล ทรอมโบน, เรียบเรียงเสียงประสาน (ขอลาออกเนื่องจากมีอาการไม่สบาย ได้ โชคดี พักภู่ เข้ามาเล่นทรอนโบน)
ชาย แสงชะอุ่ม แซ็กโซโฟน (ลาออกจากวงต่อมาพนัส หิรัญกสิ เข้ามาเล่นแซกโซแฟนแทน)
ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ เบส
จำรัส เศวตาภรณ์ กีตาร์, ร้องนำ (ลาออกจากวงไปเพราะต้องไปช่วยกิจการของทางบ้าน)

สมาชิกหลัก
นคร เวชสุภาพร กีตาร์, ร้องนำ (หัวหน้าวง) (พ.ศ. 2513-พ.ศ. 2531)
ประสิทธิ์ ไชยะโท กลอง, ร้องนำ (พ.ศ. 2513-พ.ศ. 2531)
วสันต์ สิริสุขพิสัย ออร์แกน, ร้องนำ (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2528)
เสน่ห์ ศุภรัตน์ ทรัมเป็ต,ร้องนำ (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2528) (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว)
ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ เบส,ร้องนำ (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2528)
พนัส หิรัญกสิ แซ็กโซโฟน,ร้องนำ (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2528)
โชคดี พักภู่ ทรอมโบน,ร้องนำ (พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2531)
ดนุพล แก้วกาญจน์ ร้องนำ (พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2528)
ศรายุทธ สุปัญโญ คีย์บอร์ด,ร้องนำ (พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2527)

สมาชิกเพิ่มเติม
ไอศูรย์ วาทยานนท์ เข้ามาเพิ่มภายในวงแกรนเอ็กซ์ในอัลบั้มสายใย
สุธี แสงเสรีชน เข้ามาร่วมงานในตำแหน่งกีตาร์โซโล และร้องนำในอัลบั้มชุดที่ 17 นิรันดร์กาล
อริชัย อรัญนารถ และ จอนนี่ แอนโฟเน่ เข้ามาใน อัลบั้มพิเศษ ขวดโหล 1 และ 2
พิทพล โชติสรยุทธ์ เข้ามาใน อัลบั้มชุดที่ 18 อยากให้ความรักแก่คนทั้งโลก
จาคมัย ศรีวาลัย เข้ามาในอัลบั้มชุดที่ 19 ได้ไหม ทำหน้าที่ตีกลองแทนจอนนี่ที่ตีกลองออกไป


ผลงาน

คู่นก (2519 ซิงเกิลเพลงไทยชุดแรก)...คู่นก (จำรัส)...ช้าหน่อยรัก (จำรัส)...เพ้อรัก (นคร)...เธอเท่านั้น (นคร)

ลูกทุ่งดิสโก้ชุดที่ 1 (สิงหาคม 2521)...สาวอีสานรอรัก...หลังคาแดง...ฉันทนาที่รัก...น้องใส่เสื้อลาย...หิ้วกระเป๋า...ปูไข่ไก่หลง...ดอกอะไร...สาวผักไห่...แสบเข้าไปถึงทรวง...หมดเสียแหละดี...นิ้งหน่อง...บ้านนี้ฉันรัก...เหล้าจ๋า...น้องใส่เสื้อลาย (บรรเลง)...สาวผักไห่ (บรรเลง)...หลังคาแดง (บรรเลง)...สาวอีสานรอรัก (บรรเลง)...ปูไข่ไก่หลง (บรรเลง)   เป็นชุดที่สามารถขายเทปได้ถึง 1 ล้านตลับ

ลูกทุ่งดิสโก้ชุดที่ 2 (มีนาคม 2523)...จำอ้ายได้บ่นาง...สาวอยู่บ้านได๋...เทพธิดาเทวี...ฝนตกรถติด...หงส์ปีกหัก...รักข้ามคลอง...คุณนายโรงแรม...แตงเถาตาย...มอง...ไก่นาตาฟาง...ใครลืมใครก่อน...บ้านใกล้เรือนเคียง...

เขิน (กรกฎาคม 2523)...เขิน (นคร)...เธอคือหัวใจ (ดนุพล)...โอ้รัก (ดนุพล)...รักแรกพบ (พนัส)...กล่อมรัก (ดนุพล)...ดอกไม้ ...พบเธอในฝัน...ช่างเถอะวันนี้ (ประสิทธิ์)...สัญญา (นคร)...ไกลตา ใกล้ใจ (เสน่ห์)

ผู้หญิง (มีนาคม 2524)...แม่ใจร้าย (นคร)...ต้อยติ่ง (ดนุพล)...พลอยหุง (ดนุพล)...มิใช่กากี...เห็นแล้วหวั่นใจ...พระรามหก (หญิง)...พระรามหก (ชาย)...อำแดงป้อม...แม่จ๋า...สิ้นสวาท

แกรนด์เอ็กซ์ โอ (ตุลาคม 2524) (วงเรนโบว์ได้นำอัลบั้มนี้มาร้องใหม่ใน พ.ศ. 2537)...ภาพดวงใจ (เสน่ห์)...ลาก่อนความรัก (ดนุพล)...ลมสวาท (ดนุพล)...เกิดมาพึ่งกัน (นคร)...คนธรรพ์รำพึง (ดนุพล)...บัวน้อยคอยรัก (นคร)...นิราศนุช (ดนุพล)...ไก่ฟ้า (ประสิทธิ์)...ทาสรัก (ดนุพล)...สวรรค์ในเรือเพลง (ร้องหมู่)... เป็นผลงานที่ประสพความสำเร็จเป็นอย่างสูงสามารถขายเทปได้ถึง 1.5 ล้าน ตลับ

บุพเพสันนิวาส (มีนาคม 2525)...กลิ่นดอกโศก (นคร)...อยากมีรัก (ดนุพล)...บุพเพสันนิวาส (ร้องหมู่)...อุษาสวาท (ดนุพล)...นางนวล (พนัส)...ดาวล้อมเดือน (ร้องหมู่, ดนุพล)...สุดดินสุดฟ้า (ดนุพล)...ปทุมไฉไล (ร้องหมู่)...ชีวิตใหม่ (นคร)...รักเดียว (วสันต์)

นิจนิรันดร์ (กันยายน 2525)...บัวตูมบัวบาน (นคร)...ผมไปไม่พ้น (ทนงศักดิ์)...ลืมรัก (นคร)...ง้อเพราะรัก (วสันต์)...เพ็ญโสภา (ประสิทธิ์)...อย่าเห็นกันดีกว่า (ดนุพล)...คิดถึงเธออยู่ทุกลมหายใจ (พนัส)...ชั่วนิจนิรันดร (ดนุพล)...สายทิพย์ (ร้องหมู่)...อย่าหย่า (ดนุพล)

พรหมลิขิต (ตุลาคม 2525)...ฟลอร์เฟื่องฟ้า (ดนุพล)...เดียวดาย (เสน่ห์)...กังหันต้องลม (ดนุพล)...หนึ่งในดวงใจ (ดนุพล)...สู่อนาคต (ประสิทธิ์)...สุขกันเถอะเรา (โชคดี)...พรหมลิขิต (นคร)...คิดถึง (ดนุพล)...ยามรัก (ดนุพล)...ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง (ดนุพล)..

เพชร (กันยายน 2526)...เพียงสบตา (ดนุพล)...ความรักคือการให้ (เสน่ห์)...น้ำค้าง (ประสิทธิ์)...เพื่อน (ดนุพล)...รักในซีเมเจอร์ (นคร)...ทราย (บรรเลง)...เพชร (ศรายุทธ)...เจ้ากบ (วสันต์)...อาลัย (วสันต์)...หญิงหนึ่งคือเธอ (พนัส)...หม้ายหัวใจ (ดนุพล)...ทราย (บรรเลง)

บริสุทธิ์ (เมษายน 2527)...เชื่อฉัน (ดนุพล)...โลกที่ไม่เท่ากัน (ดนุพล)...แอบมอง (ทนงศักดิ์) ...โบว์สีแดง (ประสิทธิ์)...ผูกขวัญ (นคร)...บริสุทธิ์ (บรรเลง)...หนึ่งหทัย (วสันต์)...ป้าแช่ม (โชคดี)...วันที่จากเธอ (นคร)...ไม้ใกล้ฝั่ง (พนัส)...บริสุทธิ์ (ดนุพล)

ดวงเดือน (พฤศจิกายน 2527)...ลาวดวงเดือน (ดนุพล)...เหมือนไม่เคย (ดนุพล)...ถ้าฉันจะรัก (ดนุพล)...ดวงใจในฝัน (ดนุพล)...เท่านี้ก็ตรม (ดนุพล)...จำพราก (ดนุพล)...ร.รอรัก (โชคดี)...ธรณีสายเลือด (เสน่ห์)...ทำบุญด้วยอะไร (วสันต์)...กาลเวลา (พนัส)...พรุ่งนี้ (ประสิทธิ์)...
เนื้อทองของพี่ (นคร)
ลาวดวงเดือน (บรรเลง)

หัวใจสีชมพู (มีนาคม 2528)..หัวใจสีชมพู (ดนุพล)...ระฆังใจ (นคร)...หนทางสู่รัก (ดนุพล)...หัวใจที่ถอดวาง (ดนุพล)...แพรพิศวาส (ร้องหมู่)...ลุงเชย (โชคดี)...จันทร์เจ้า (ประสิทธิ์)...ไกลพี่ (ดนุพล)...ขอใจให้พี่ (ดนุพล)...เกินฝัน (นคร)...

สายใย (กรกฎาคม 2528)...คนธรรพ์รำพัน (ดนุพล)...แปรงสีฟัน (นคร)...รักอำพราง (ไอศูรย์)...สายัณห์รัญจวน (ดนุพล)...ไกลบ้าน (ดนุพล)...สายใย (ไอศูรย์)...กีฬามหาสนุก (โชคดี)...ฝันดี (ประสิทธิ์)...ยังคอย (ดนุพล)...ไม่รักไม่ว่า (ดนุพล)...ยอม (ดนุพล)...รักเอย (นคร)

ขวดโหล 1 (กุมภาพันธ์ 2529)...วัยสีชมพู (นคร)...ทายาท...เหตุผลที่ฉันร้องเพลง...คนสวย...ทรายกับทะเล (อริชัย)...เบื้องหลังตัวโน้ต...วิธีแก้โลกอับเฉา...ไม่มีคำว่าสาย...เสียงครวญจากคนหน้าตาธรรมดา...โลกสวย...วัยสีชมพู (บรรเลง)

ขวดโหล 2 (2529)...ขอภาพไว้คั่นตำรา (สุธี)...บาดเจ็บนิด ๆ (ไอศูรย์)...บ๊าย บายความรัก...ยิ้มแป้น...คำสารภาพของรองเท้าผ้าใบ...ขอภาพไว้คั่นตำรา (บรรเลง)...
ข่าวสด ๆ (โชคดี)...แด่ดาวหางฮัลเล่ย์...หมัดสีชมพู...เพียงความทรงจำ...เพลงอำลา...บาดเจ็บนิด ๆ (บรรเลง)

นิรันดร์กาล (พฤษภาคม 2529)...เก็บรัก...เด็กผู้หญิง...ความรัก (สุธี)...พี่ยังรักเธอไม่คลาย (สุธี)...ฉันอยู่คนเดียว...รักครึ่งใจ...แรกรัก...นิรันดร์กาล...ฝันประหลาด (โชคดี)...ใกล้เพียงลมหายใจ...เพียงสองเรา...ความหวัง

อยากให้ความรัก (แก่คนทั้งโลก) (กุมภาพันธ์ 2530)...หนึ่งนาที...เพียงคนเดียว (สุธี)...ชู-บี-ดู-วา (ตรอกซอกซอยของความรัก)...รักใครหรือยัง (อริชัย)...หากรู้สักนิด...รถไฟสายความรัก (คณิต)...อยากให้ความรัก (แก่คนทั้งโลก) (นคร)...น้อย ๆ หน่อย (ประสิทธิ์)...รักเขาข้างเดียว...เพลิน...ใครนะใคร ?...

คิด คิด คิด ถึงเธอได้ไหม (พฤศจิกายน 2531)...ได้ไหม (สุธี)...ฝืด...เกิดเป็นผู้ชาย (สุธี)...ป.ล. โปรดตอบ...ฉันเข้าใจ...ทนไม่ไหว...สะใจกว่า...ใจหาย (สุธี)...อย่าทิ้งกันไป...ซุบซิบนินทา...ใจมันสั่ง...ผูกพัน (สุธี)

ซิงเกิ้ล

หัวใจมีปีก
พบรัก
แค่หลับตา (พ.ศ. 2545)

อัลบั้มพิเศษ
อัลบั้มชุดพิเศษบทเพลงพระราชนิพนธ์ (ดวงใจกับความรัก) (ธันวาคม 2530) อัลบั้มพิเศษเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530...ชะตาชีวิต...ใกล้รุ่ง...ลมหนาว...OH I SAY...แสงเทียน...อาทิตย์อับแสง...ค่ำแล้ว...พรปีใหม่...แก้วตาขวัญใจ...ยามเย็น...สายฝน...ดวงใจกับความรัก...แสงเดือน...ยิ้มสู้

คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้มเอกซ์โอ ที่โรงละครแห่งชาติ (31 ต.ค. 2524)
คอนเสิร์ต ชุด นิจนิรันดร์ ที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (4 ก.ย. 2525)
คอนเสิร์ต พรหมลิขิต ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (26 ธ.ค. 2525)
Valentine Laser Concert (13 ก.พ. 2526)
Grand Ex’ Fan Club Meeting Summer Holiday:GXFCMSH (with monkey show) เพื่อก่อตั้งมูลนิธิแกรนด์เอ็กซ์ ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (2 พ.ค. 2526)
คอนเสิร์ต Meeting Puppy Love ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (5 มิ.ย. 2526)
GX. Crocodile concert ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (17 ก.ค. 2526)
คอนเสิร์ทเปิดอัลบั้ม เพชร ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (21 ส.ค. 2526)
Snow White Meeting Concert ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (16 ต.ค. 2526)
คอนเสิร์ต เดชไซอิ๋วผจญอภินิหารซานตาครอส หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ (25 ธ.ค. 2526)
คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม บริสุทธิ์ หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ (18 มี.ค. 2527)
Meeting คอนเสิร์ต ลาไปอเมริกึ๋ย ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (15 เม.ย. 2527)
คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม ดวงเดือน-ครั้งสุดท้ายของแกรนด์เอ็กซ์ (23 ต.ค. 2527)
คอนเสิร์ต น้ำหนึ่ง-การกลับมาของสมาชิกแกรนด์เอ็กซ์ยุคคลาสสิก แสดงสดเพื่อการกุศล ที่สนามเสือป่า (30 พ.ค. 2530)
คอนเสิร์ต Grand Exhibition ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (16 มี.ค. 2545)
คอนเสิร์ต แกรนด์ เอกซ์คลูซีฟ แอบรักเธออยู่ในใจ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (13-14 ส.ค. 2546)
คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน แด่โฆษกคนยาก ที่เสรีเซ็นเตอร์ (8 ก.ค. 2550) รวมศิลปิน
คอนเสิร์ต Frame of Melody 50th แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ 2009 ที่พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน (2 พ.ค. 2552) ในฐานะศิลปินรับเชิญ
คอนเสิร์ต Grand Ex' Grand Concerts ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (18 มิ.ย. 2559)
คอนเสิร์ต Grand Ex' บริบูรณ์-คอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายอย่างเป็นทางการของแกรนด์เอ็กซ์ก่อนยุบวง ที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (3 ส.ค. 2562)

บันทึกการแสดงสด
บันทึกการแสดงสดที่แมนฮัตตันคลับ (กุมภาพันธ์ 2523)...TRAGEDY...REACHING OUT...MEDLEY NEW YORK MINING DISASTER/RUN TO ME/WORLD/HOLIDAY/I CAN'T SEE NOBODY/I STARTED A JOKE/MASSACHUSETTS...คู่นก...รักแรกพบ...ในห้วงกรรม...ดอกไม้ในสลัม...อาหารเจ็ดวัน

บันทึกการแสดงสด หอประชุมจุฬา (มิถุนายน 2524)...หัวใจมีปีก...พบรัก...ได้ยังไง...I've Gotta a Message to You...Spirits (Havin' Flown)...Another Brick in the Wall...Babe...More Than I Can Say...ไกลตา ใกล้ใจ...เขิน

Valentine Laser Concert (กุมภาพันธ์ 2526)...หัวใจมีปีก...อยากมีรัก...DADDY'S HOME...เมดเล่ย์ (เขิน - ดอกไม้ - กล่อมรัก - รักแรกพบ - โอ้รัก - ทาสรัก - บัวน้อยคอยรัก)...LET'S TWIST AGAIN...IF YOU LEAVE ME NOW...HOW CAN YOU MEND A BROKEN HEART...I'VE GOTTA A MESSAGE TO YOU
HARD TO SAY I'M SORRY...รักเดียว

เกร็ด
ใน พ.ศ. 2528 สมาชิก 5 คนได้ขอลาออกประกอบด้วย วสันต์ สิริสุขพิสัย, เสน่ห์ ศุภรัตน์, ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ, พนัส หิรัญกสิ, ศรายุทธ สุปัญโญ โดยที่ วสันต์, เสน่ห์, ทนงศักดิ์, พนัส ได้ตั้งวงขึ้นใหม่ในชื่อ “เพื่อน”

โดยยังมีสมาชิกอีก 4 คน นครเวช สุภาพร, ประสิทธิ์ ไชยะโท, โชคดี พักภู่ และ ดนุพล แก้วกาญจน์ ผลิตผลงานต่อไปภายใต้ชื่อใหม่ว่า “แกรนด์เอ็กซ์ แฟมิลี่”

ดนุพล แก้วกาญจน์ ได้ขอลาออกเมื่อเสร็จสิ้นอัลบั้มชุดที่ 16 เรียบร้อยแล้วไปเป็นศิลปินเดี่ยว ส่วน นคร, ประสิทธิ์ และ โชคดี หันไปทำงานเบื้องหลังแทน




บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #52 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2566, 02:28:53 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ธานินทร์ อิทรเทพ












....”เพ็ญโสภา”“ไก่ฟ้า”.....................”หยาดเพ็ชร”  
    “เหมือนไม่เคย”"ดาว” เด็ด..............ฟ้านั่น
     “รอยแผลเก่า””พรานเบ็ด”.............”ครวญ”ค่ำ      
    “เดือนต่ำดาวตก”“ปั้น....................ดินให้เป็นดาว”....

...”ชอบสาวมีคู่ “ชู้..........................ทางใจ”
     “ม่วยจ๋า”งามเกินใคร...................หนุ่มจ้อง
    (เสียง)“ธานินทร์ฯ”นุ่มละมัย............อบอุ่น    
      ดีเด่นรางวัลก้อง.......................เก่งแท้ลูกกรุง......

ธานินทร์ อินทรเทพ มีชื่อจริงว่า ธานินทร์ อินทรแจ้ง ชื่อเล่น เล็ก
         นายกสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นักร้องเพลงลูกกรุงอาวุโส มีชื่อเสียงจากเพลง รักเอย เหมือนคนละฟากฟ้า นกขมิ้น หากรู้สักนิด ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก และ ทำไมถึงต้องเป็นเรา (โดยเฉพาะเพลงขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก มีชื่อเสียงจนถูกนำไปแต่งเพลงล้อเลียน ชื่อ ขาดฉันแล้วเธอจะเซ้งตึก แปลงเพลงโดย ซูม แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)

ประวัติ

เกิดที่จังหวัดธนบุรี (อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ในปัจจุบัน) เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดธนบุรีตั้งแต่ พ.ศ. 2486 - 2489
เรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านมหาชัย และโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ชื่นชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก
เคยเข้าประกวดการร้องเพลง ได้รับรางวัลชนะเลิศหลายครั้ง โดยชอบร้องเพลงของ สุเทพ วงศ์กำแหง ชรินทร์ นันทนาคร และนริศ อารีย์
เข้าร่วมวงดนตรีของครูพยงค์ มุกดา จากการชนะเลิศการประกวดร้องเพลงของสถานีวิทยุพล.1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 มีผลงานอัดแผ่นเสียงเพลง จูบจันทร์ และ เพ็ญโสภา  ต่อมาครูพยงค์ได้นำไปฝากให้อยู่กับวงสุเทพโชว์ ของสุเทพ วงศ์กำแหง ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อในการแสดงให้ว่า ธานินทร์ อินทรเทพ

เป็นบิดาของ ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)
เคยสมรสกับจิตราภรณ์ บุญญขันธ์นักร้องดาวรุ่งแห่งวงดนตรีสุนทราภรณ์

ผลงานเด่น

เริ่มมีชื่อเสียงจากการร้องเพลง รักเอย แต่งโดย แมนรัตน์ ศรีกรานนท์

รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง เหมือนคนละฟากฟ้า พ.ศ. 2506 (แต่งโดย มนัส ปิติสานต์ และ จงรัก จันทร์คณา) นกขมิ้น พ.ศ. 2508 และ หากรู้สักนิด พ.ศ. 2514
รางวัลเสาอากาศทองจากเพลง ฝากเพลงถึงเธอ พ.ศ. 2518
 ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก และ ทำไมถึงต้องเป็นเรา พ.ศ. 2519 (แต่งโดย ทวีพงศ์ มณีนิล) และ ปั้นดินให้เป็นดาว พ.ศ. 2522

แสดงภาพยนตร์ เรื่อง พิมพิลาไลย จำปูน กาเหว่า ชุมทางรัก เป็ดน้อย ระหว่าง พ.ศ. 2507-2511 ร้องเพลงประกอบ เช่น จำปูน (จำปูน ) ,สามคำจากใจ (เป็ดน้อย ) และ ชีวิตละคร (ละครเร่ )

แสดงละครโทรทัศน์หลายเรื่อง เช่น พระบารมีปกเกล้า-เจ้าพระยา คู่กับ เยาวเรศ นิสากร ทางช่อง 7 ขาวดำ ,ศิวา ราตรี (ของ พนมเทียน) และ คมพยาบาท (ของ สุข หฤทัย) ทางช่อง 9 อสมท.[3]
ช่วงปี พ.ศ. 2522 - 2530 เดินทางไปใช้ชีวิตร้องเพลงในสหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาได้หยุดร้องประจำตามสถานบันเทิง แต่รับเชิญร้องตามงานพิเศษ และเป็นเลขานุการของสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ก่อตั้งกองทุนเพื่อศิลปิน

ร่วมหุ้นกับสุเทพ วงศ์กำแหง เปิดร้านอาหารครัวศิลปิน ตั้งอยู่ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

มีคอนเสิร์ตของตนเองและรับเชิญเป็นครั้งคราว แฟนเพลงต้อนรับคับคั่ง

คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ต นี่คือฉันเอง This Is Me! Thanin Live In Concert (2555)
คอนเสิร์ต เพชรในเพลง ครั้งที่ 2 (2555)
คอนเสิร์ต Master Of Voices 3 ตำนานเพลงรักแห่งสยาม (2557)
คอนเสิร์ต กล่อมกรุง (2557)
คอนเสิร์ต กล่อมกรุง 2 (2558)
คอนเสิร์ต เพื่อลมหายใจ (2558)
คอนเสิร์ต รำลึก 100 ปี ชาตกาล ครูแก้ว อัจฉริยะกุล (2558)
คอนเสิร์ต ที่สุดที่ดี เพื่อพี่รี่ สวลี ผกาพันธุ์ (2558)
คอนเสิร์ต 93 ปี ชาลี อินทรวิจิตร เพลงหนังคู่แผ่นดิน (2559)
คอนเสิร์ต มหกรรม แสง สี เสียง ย้อนรอยประวัติศาสตร์ นครีสโตย (2559)
คอนเสิร์ต สองวัยใจเดียวกัน (2559)
คอนเสิร์ต ธานินทร์ แอนด์ ฮิส ดีว่าส์ (2560)

ผลงานการแสดงภาพยนตร์
ลูกสาวกำนัน (2514)
แสนทนง (2515)
หัวใจมีตีน (2515)
คุณครูที่รัก (2517)
ชายผ้าเหลือง (2517)
วิมานดารา (2517)
เหมือนฝัน (2519)
ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก (2522)
โชคดีที่รัก (2523)
ยอดรักผู้กอง (2524)

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #53 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2566, 01:47:01 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พนมเที่ยน (ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ )









...นวนิยายเยี่ยมแท้............”เพชรพระ    อุมา”
   เป็นเรื่องราวคณะ.............ค้นป่า
   หาญาติที่หายจะ............ ช่วยพา      กลับนา
   เดินป่าดงดิบกล้า.............เรื่องลี้ลับเกรียน....

..“พนมเทียน”ผู้แต่ง............นามปาก   กานา
   หาใช่”ฉัตรชัย”หาก..........ชื่อแท้
   แรกเขียน”เห่าดง”ลาก.......พาเก่ง   เพียรแน    
   หลายเรื่องทำหนังแล้........สร้างชื่อรางวัล....

ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 – 21 เมษายน พ.ศ. 2563) นักเขียนนวนิยายและศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2540 เป็นเจ้าของนามปากกา พนมเทียน ผู้แต่ง เพชรพระอุมา

ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิเกิดที่จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรคนสุดท้องของขุนวิเศษสุวรรณภูมิ กับนางสะอาด รัตนกุล
...เริ่มเขียนนวนิยายเรื่องแรกตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เรื่อง “เห่าดง” ลงในสมุดอ่านกันเล่น เมื่อ พ.ศ. 2484 นอกจากเขียนนวนิยายแล้ว ฉัตรชัยยังเป็นคอลัมนิสต์เขียนบทความเกี่ยวกับอาวุธปืน ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารบางฉบับด้วย โดยใช้ชื่อจริง และนามปากกา "ก้อง สุรกานต์"


การศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
มัธยมปลาย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาสันสกฤตและประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบอมเบย์ ประเทศอินเดีย

ที่มาของนามปากกา พนมเทียน
...เป็นชื่อที่มีความหมายถึงเปลวเทียนยามแสงโชนสว่างได้ที่ จะเห็นเปลวเทียนเรียวขึ้นจากปลายแท่งแล้วค่อยแผ่กว้างออกก่อนจะสอบปลายแหลมให้เรียวสะบัดความสว่างขึ้นอีกครั้ง โดยนามปากกานี้ใช้ครั้งแรกในการเขียนเรื่อง จุฬาตรีคูณ

ผลงาน
นวนิยาย

กงกรรม...กัลปังหา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2541 ช่อง3)...กว่าชีวิตนี้จะสิ้น...ก่อนอุษาสาง...
คิมหันต์สวรรค์หาย...จับตาย: ช้องหมู มฤตยูเขี้ยวตัน...จับตาย: เสือดำที่มายอ (ไอ้ดำมหากาฬ)...จับตาย: ไอ้ลายที่บางลาง...จุฬาตรีคูณ...ฆาตกรในเสื้อกาวน์ (ชุด พรานทรชน)...ชั่วฟ้าดินดับ....ทางเสือผ่าน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2564 ช่อง7)...ทิวาถวิล...ทูตนรก ตอน มิคสัญญี...ทูตนรก ตอน ธรณีแดเดือด...ทูตนรก ตอน เลือดสลัดจ้าวทะเล...ดาวประดับใจ....เด็กเสเพล (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2563 ช่อง7)....นางสิงห์....ปฐพีเพลิง...พรายพิฆาต (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2562 ช่อง7)....เพชรพระอุมา ภาค ๑...เพชรพระอุมา ภาค ๒...เพชรพระอุมา ภาค ๓.....ภูตสีชมพู....มัจจุราชสีรุ้ง ตอน สิงห์สาวสาละวิน (กุหลาบไฟ)...มัจจุราชสีรุ้ง ตอน ธิดาพญายม...มัจจุราชสีรุ้ง ตอน มฤตยูผู้โสภิณ...มัจจุราชสีรุ้ง ตอน นรกแตก...มัสยา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2528,2543,2560 ช่อง7)...ไม่มีเสียงเรียกจากสวรรค์....รัตติกัลยา (ภาคต่อ รัตติกาลยอดรัก)...รัตติกาลยอดรัก...รัศมีแข (ภาคต่อ สกาวเดือน)...ละอองดาว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2534และ2560 ช่อง7 2550 ช่อง5)....ล่าพระกาฬ ตอน จักรมเหศวร...ล่าพระกาฬ ตอน ผลาญพระยม...ล่ามัจจุราช (ชุด พรานทรชน)...โลกียสูตร ...

นามปากกา: รพินทร์
เล็บครุฑ (นวนิยาย) (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2561 ช่อง7)
แววมยุรา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 4 ครั้ง 2519 ช่อง9 2532 ช่อง7 2537 ช่อง5 2555 ช่อง3)
แว่วเสียงรายา....ศิวาราตรี....วีนัสกับศพเปลือย (ชุด พรานทรชน)...สกาวเดือน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2530และ2561 ช่อง7 2538 ช่อง3)...สิงห์สั่งป่า (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2563 ช่อง7)....เห่าดง...เหล็กไหล...อาถรรพ์ป่า : เมื่อคุณหมอหลงป่า...

บทความ/สารคดี
เจาะลึกเบื้องหลังเพชรพระอุมา...ก่อนเทียนจะถึงไฟ...อินไซด์ เพชรพระอุมา ภาค 1....อินไซด์ เพชรพระอุมา ภาค 2...เพียงพิมพ์ดีดพูดได้...ลึกจากลิ้นชัก...Issues of Gun สารพัดเรื่องของ ปืน...

รางวัล
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2540


เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. ไม่ปรากฏ –  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)



นวนิยาย”เพชรพระอุมา”

...เนื้อเรื่องเพชรพระอุมา เป็นเนื้อเรื่องทั้งหมดของนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมาจำนวน 48 เล่ม แบ่งเนื้อเรื่องเป็นสองภาคคือภาคแรก จำนวน 6 ตอน 24 เล่ม และภาคสมบูรณ์ จำนวน 6 ตอน 24 เล่ม

เนื้อเรื่องภาคแรก
เพชรพระอุมา เป็นเรื่องราวการผจญภัยในดินแดนลึกลับที่เต็มไปด้วยอาถรรพณ์ เรื่องราวแปลกประหลาดต่าง ๆ ในป่าดงดิบของรพินทร์ ไพรวัลย์ พรานป่าผู้รับจ้างนำทางในการออกติดตามค้นหาผู้สูญหายของคณะนายจ้างชาวเมือง ที่มี พันโทหม่อมราชวงศ์เชษฐา วราฤทธิ์ เป็นหัวหน้าคณะเดินทางพร้อมด้วย หม่อมราชวงศ์ดาริน วราฤทธิ์ น้องสาวคนเล็ก และ พันตรีไชยยันต์ อนันตรัยเพื่อนชายคนสนิท โดยมีพรานบุญคำ พรานจันพรานเกิดและพรานเส่ยพรานป่าคู่ใจของรพินทร์ ไพรวัลย์ จำนวน 4 คน และแงซาย กะเหรี่ยงลึกลับที่มาขอสมัครเป็นคนรับใช้เพื่อขอร่วมเดินทางในครั้งนี้ด้วย

การเดินทางเต็มไปด้วยอุปสรรคและอันตรายนานาชนิด ที่ทำให้คณะเดินทางต้องเสี่ยงภัยและเผชิญกับสัตว์ร้ายในป่าดงดิบ อาถรรพณ์ของป่า นางไม้ ภูตผีปีศาจหรือแม้แต่สัตว์ประหลาด ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนตลอดระยะเวลาในการเดินทาง พลัดหลงเข้าไปในดินแดนลึกลับของอาณาจักรนิทรานคร ต่อสู้กับจอมผีดิบร้ายมันตรัยที่มีพละกำลังกล้าแข็งและมีอำนาจอย่างแรงกล้า ผ่านห้วงเวลาเหลื่อมซ้อนกันจนหลุดผ่านเข้าไปในยุคของโลกดึกดำบรรพ์ และค้นพบปริศนาความจริงของกะเหรี่ยงลึกลับในฐานะคนรับใช้และองค์รักษ์ประจำตัวของดาริน ที่ติดสอยห้อยตามคณะเดินทางมายังเนินพระจันทร์และมรกตนคร ซึ่งฐานะที่แท้จริงของแงซายถูกเปิดเผยและคณะเดินทางของเชษฐาได้พบเจอกับบุคคลที่ออกติดตามค้นหารวมทั้งช่วยกันกอบกู้บัลลังก์คืนให้แก่แงซายจนสำเร็จ

สามารถอ่านรายละเอียดเนื้อเรื่องย่อตอนต่าง ๆ ในเพชรพระอุมาภาคแรก เพิ่มเติมได้ที่
ไพรมหากาฬ...ดงมรณะ....จอมผีดิบมันตรัย...อาถรรพณ์นิทรานคร...ป่าโลกล้านปี...แงซายจอมจักรา

เนื้อเรื่องภาคสมบูรณ์
ภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจและเดินทางกลับจากเมืองมรกตนครของแงซาย รพินทร์ ไพรวัลย์ ได้ถูกว่าจ้างให้ออกติดตามหาเครื่องบินที่สูญหายพร้อมด้วยระเบิดนิวเคลียร์อีกครั้ง รพินทร์จำใจรับจ้างเป็นพรานผู้นำทางออกติดตามค้นหาซากเครื่องบินที่สูญหายไปจากแผนที่ประเทศไทย โดยมีฝรั่งจำนวน 4 คน เป็นผู้ว่าจ้าง  แต่เมื่อพันโทหม่อมราชวงศ์เชษฐา วราฤทธิ์ และ หม่อมราชวงศ์ดาริน วราฤทธิ์ ซึ่งเป็นอดีตนายจ้างของรพินทร์ ได้ทราบข่าวการรับจ้างเป็นพรานผู้นำทางของรพินทร์ ก็เกรงว่าจะถูกฆ่าทิ้งเมื่อทำงานเสร็จสิ้น เนื่องจากเป็นงานลับขององค์กร จึงออกติดตามคณะนายจ้างใหม่ของรพินทร์

การติดตามค้นหารพินทร์และคณะนายจ้างฝรั่ง คณะเดินทางของเชษฐาได้เผชิญหน้ากับมันตรัยที่ฟื้นคืนชีพที่อาณาจักรนิทรานคร และกับเล่าถึงอดีตชาติของดารินและรพินทร์ที่เคยเป็นศัตรูคู่อาฆาตในชาติปางก่อน รวมทั้งพยายามล่อลวงเอาตัวดารินไปยังอาณาจักรนิทรานคร เพื่อให้ได้ในตัวของจิตรางคนางค์หรือดารินในชาติปัจจุบัน แต่ก็ได้เชษฐาและไชยันต์มาช่วยเหลือไว้อย่างทันท่วงที และปราบมันตรัยด้วยบ่วงนาคบาศย์ได้สำเร็จ รพินทร์นำคณะนายจ้างฝรั่งบุกป่าเพื่อค้นหาซากเครื่องบินและระเบิดนิวเคลียร์จนพบ โดยได้รับความช่วยเหลือจากแงซายในรูปของจิตใต้สำนึก จนภายหลังทั้ง 2 คณะได้เดินทางมาพบกันที่เมืองมรกตนคร แงซายรวบรัดให้ดารินและรพินทร์แต่งงานกันที่เมืองมรกตนคร ก่อนจะอำลากันเป็นครั้งสุดท้ายในการพบกันระหว่างบุคคลทั้งหมด

สามารถอ่านรายละเอียดเนื้อเรื่องย่อตอนต่าง ๆ ในเพชรพระอุมาภาคสมบูรณ์ เพิ่มเติมได้ที่
จอมพราน...ไอ้งาดำ...จิตรางคนางค์....นาคเทวี...แต่ปางบรรพ์....มงกุฎไพร



บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #54 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2566, 03:49:21 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @บุปผา สายชล






เพลงส้มตำ   (พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ)

ต่อไปนี้จะเล่าถึงอาหารอร่อย
คือส้มตำกินบ่อยบ่อยรสชาติแซบดี
วิธีทำก็ง่ายจะบอกได้ต่อไปนี้
มันเป็นวิธี เออเออ พิเศษเหลือหลาย
ไปซื้อมะละกอลูกพอเหมาะเหมาะ
สับสับเฉาะเฉาะไม่ต้องมากมาย
ตำพริกกับกระเทียมยอดเยี่ยมกลิ่นไอ
น้ำปลามะนาวน้ำตาลทราย
น้ำตาลปิ๊ปถ้ามี
ปรุงรสให้แน่หนอใส่มะละกอลงไป
อ้ออย่าลืมใส่กุ้งแห้งป่นของดี
มะเขือเทศเร็วเข้าเอาถั่วฝักยาวใส่เร็วรี่
เสร็จสรรพแล้วสิยกออกจากครัว
กินกับข้าวเหนียวเที่ยวแจกให้ทั่ว
กลิ่นหอมยวนยั่วน่าน้ำลายไหล
จดตำราจำส้มตำลาว
เอาตำรามา
ใครหม่ำเกินอัตราระวังท้องจะพัง
ขอแถมอีกนิดแล้วจะติดใจใหญ่
ไก่ย่างด้วยเป็นไรอร่อยแน่จริงเอย
ปรุงรสให้แน่หนอใส่มะละกอลงไป
อ้ออย่าลืมใส่กุ้งแห้งป่นของดี
มะเขือเทศเร็วเข้าเอาถั่วฝักยาวใส่เร็วรี่
เสร็จสรรพแล้วสิยกออกจากครัว
กินกับข้าวเหนียวเที่ยวแจกให้ทั่ว
กลิ่นหอมยวนยั่วน่าน้ำลายไหล
จดตำราจำส้มตำลาว
เอาตำรามา
ใครหม่ำเกินอัตราระวังท้องจะพัง
ขอแถมอีกนิดแล้วจะติดใจใหญ่
ไก่ย่างด้วยเป็นไรอร่อยแน่จริงเอย


...“คนเหมือนกัน”ห้ามแบ่ง.............รวยจน
    “รูปหล่อถมไป”ทน.....................มั่นไว้
    “สาว(นา)คอยคู่”“รักคน...............แก่ดี   กว่า”นา
    “หัวอกแม่สื่อ”ไห้.........................พี่”ช้ำ(ใน)หัวใจ"...

...“(ซัง)คนหลายใจ”เล่นน้อง............”บุปผา  สายชล”
    แรกเล่นลิเกมา.............................นักร้อง
    เสียงเด่นสวยดุจดา ......................ราเล่น    หนังแฮ
   “มนต์รักลูกทุ่ง”ต้อง........................เล่นร้องหนังดัง.....

บุปผา สายชล (13 เมษายน พ.ศ. 2490 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2533) เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงชื่อดังในครั้งอดีตที่ได้รับความนิยมอย่างสูงฉายา ราชินีลูกทุ่งภาคตะวันออก และนอกจากจะมีผลงานเพลงที่ได้รับความนิยมมากมายหลายสิบเพลงแล้ว ก็ยังมีผลงานทางด้านการแสดงภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง

ประวัติ
บุปผา สายชลมีชื่อจริงว่า สงกรานต์ พยนต์เลิศ เพราะเกิดในช่วงประเพณีสงกรานต์ คือเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2490 มีชื่อเล่นว่า ชื่อเล่น เล็ก เป็นบุตรบุตรีคนที่ 2 ในจำนวน 6 คนของนายสายพิณ พยนต์เลิศและนางบุญมี พยนต์เลิศ บิดามารดาเป็นเจ้าของคณะลิเกชื่อสายพิณวัฒนาและมีอาชีพทำนาอยู่ที่ ตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี โดยบุปผา สายชล มีพี่น้อง 6 คน ได้แก่
•   นายมงคล พยนต์เลิศ
•   นางสงกราน พยนต์เลิศ (บุปผา สายชล)
•   นายสินพร พยนต์เลิศ
•   นายสัมพันธ์ พยนต์เลิศ
•   นางโสภา ปิ่นมณี
•   นางณัฐวดี จุลละบุษปะ

เข้าสู่วงการ
บุปผา สายชล เล่นลิเกในคณะสายพิณวัฒนา ของครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่จะรับบท กัณหา-ชาลี เล่นคู่กับพี่ชาย บุปผา สายชล ชื่นชอบการร้องเพลง เข้าสู่วงการด้วยการเป็นร้องร้องเชียร์รำวง ก่อนจะเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งเต็มตัวเมื่ออายุ 14 ปี จากการชักชวนของ สุชาติ เทียนทอง โดยได้มาอยู่กับวงจุฬารัตน์ ของครูมงคล อมาตยกุล และได้มีโอกาสบันทึกเสียงเพลงแรกชื่อ “ แก้มนวล “ แก้กับเพลง “ หอมหวน “ ของโฆษิต นพคุณ ที่แต่งโดยชาย เมืองสิงห์ ทั้งสองเพลง แต่อาชีพการงานของเธอในวงจุฬารัตน์นั้นไม่ค่อยเจริญรุ่งเรืองนัก เพราะการที่เธอไม่ค่อยมีโอกาสบันทึกเสียง ตอนที่ออกไปแสดงหน้าเวที ก็จึงต้องหยิบยืมเพลงของ ดวงใจ เมืองสิงห์ไปขับร้อง แต่ปรากฏว่าเธอร้องได้ดีกว่าเจ้าของเพลง ทำให้ชาย เมืองสิงห์ ไม่ค่อยกล้าป้อนเพลงให้

โด่งดัง
     ระหว่างนั้น เมื่อมีปัญหา เธอก็ได้หันหน้าไปปรึกษาหารือกับศรีไพร ใจพระ หรือเก่งกาจ จงใจพระในปัจจุบัน ซึ่งตอนนั้นเป็นโฆษกของวง จนกลายเป็นคู่รักกันในที่สุด ในที่สุด ศรีไพร ใจพระ ก็หอบหิ้ว บุปผา ออกมาตั้งวงเองในปี 2508 ชื่อวง กระดิ่งทอง และหาวิธีผลักดันบุปผา สายชล ด้วยการให้ บุปผา สายชล มีโอกาสเล่นลิเก กับชาย เมืองสิงห์ แต่เมื่อเห็นว่าไม่มีหวังได้เพลงจากชาย เมืองสิงห์ ศรีไพร ใจพระ ก็หันไปขอเพลงจากครูไพบูลย์ บุตรขัน

    จากที่เคยมีชื่อเสียงมาบ้างจากเพลงหวานอย่าง "แก้มนวล" ครูไพบูลย์ บุตรขัน เปลี่ยนทางให้บุปผา สายชล หันมาร้องเพลงแนวโฉบเฉี่ยวอย่างเพลง "รักคนแก่ดีกว่า" ซึ่งงานนี้ก็ไม่พลาดอีกเช่นกัน เมื่อเธอมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว จน รังสี ทัศนพยัคฆ์ ต้องนำเธอไปร่วมแสดงในภาพยนตร์หลายสิบเรื่อง เริ่มจาก "ชาติลำชี" และตามมาด้วย “ มนต์รักลูกทุ่ง “ อันลือลั่นในยุคขายนักร้องลูกทุ่ง และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ทำให้เธอโด่งดังมากขึ้นไปอีก เพราะได้บทดี และได้ร้องเพลงหลายเพลง

     หลังการเสียชีวิตของมิตร ชัยบัญชา พระเอกภาพยนตร์ ระดับตำนานของฟ้าเมืองไทย สุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่ง และ คำรณ สัมบุณณานนท์ ราชาเพลงชีวิต ครูไพบูลย์ บุตรขัน ก็แต่งเพลง “ ยมบาลเจ้าขา “ เพื่อปรับทุกข์เรื่องการที่คนดีตายเร็ว คนชั่วตายช้า และก็ไม่ผิดหวังอีก เมื่อเพลงดังระเบิด รวมแล้วเธอมีผลงานบันทึกเสียงราว 1,000 เพลง

ปัญหาครอบครัว]
ปี 2517 ชีวิตครอบครัวของบุปผา สายชล และ ศรีไพร ใจพระ เริ่มมีปัญหาก็เลยเลิกรากัน ศรีไพร ใจพระ หันไปทำวงดนตรีหงษ์ทอง ดาวอุดร ส่วนบุปผา สายชล ก็มุ่งไปสู่วงการภาพยนตร์ และพบรักใหม่กับ สิงหา สุริยงค์ พระเอกภาพยนตร์ที่มีโอกาสร่วมงานกัน และมีบุตรกับสิงหา สุริยงค์ 1 คน ซึ่งก่อนหน้านี้มีบุตรกับ ศรีไพร ใจพระ 1 คน
ในปี 2524 บุปผา สายชล ที่ไม่มี ศรีไพร ใจพระ ผลักดัน ได้พยายามกลับเข้าสู่วงการลูกทุ่งอีกครั้งจากการชักชวนของสุชาติเทียนทองแต่ไม่ประสบความสำเร็จ

ลาลับ
บุปผา สายชล เสียชีวิต เมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 จากอาการเส้นโลหิตในสมองแตก เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูง ที่โรงพยาบาลเอกชล จังหวัดชลบุรี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2533
เสียชีวิตในปีเดียวกับนางบุญมี พยนต์เลิศ คุณแม่ของเธอ ซึ่งเสียชีวิตในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2533
ปัจจุบัน สุรชัย สายชล ทายาทคนหนึ่งของบุปผา สายชล ก็ได้ผลิตผลงานลูกทุ่งตามรอยผู้เป็นมารดา แต่ไม่ได้รับความนิยมนัก

ผลงานเพลง
วอนลมฝากรัก...ส้มตำ...ยมบาลเจ้าขา...สาวนาคอยคู่...รักคนแก่ดีกว่า...คนเหมือนกัน...น้ำลงนกร้อง...น้ำตาน้ำตก...รูปหล่อถมไป...ฉันรักลูกทุ่ง...จะเดินโชว์...ลมจ๋า...ไม่น่าโกหก...หัวอกแม่สื่อ...หลวงพ่อช่วยที...ไทดำรำพัน...ซังคนใจร้าย...ขวัญใจลูกทุ่ง...คนช่างพูด...คนจ๊ะคน  
เป็นต้น

ผลงานภาพยนตร์]



ชาติลำชี (2512)
มนต์รักลูกทุ่ง (2513)
อยากดัง (2513)
ลำพู (2513)
ส้มตำ (2514)
มนต์รักจากใจ (2514)
หยาดฝน (2515)
ขวัญใจลูกทุ่ง (2515)
แก้วกลางนา (2516)
อำนาจเงิน (2516)
มนต์รักแผ่นดินทอง (2521)
ไอ้ฟ้าผ่า (2522)
กำนันโพธิ์ (2522)
ลำตัดรำเตะ (2525)
รักสุดหัวใจ (2527)
เขยเต็กกอ (2529)

รางวัลเกียรติยศ
-แผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลงยมบาลเจ้าขา
-รางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทยครั้งที่ ๑ จากเพลงยมบาลเจ้าขา ปี ๒๕๓๒ (งานนี้บุปผา สายชน ขึ้นร้องเพลงนี้ถวายหน้าพระที่นั่งด้วย)

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #55 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2566, 05:03:28 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ส. อาสนจินดา

....มีฉายา”เชือกกล้วย..................กางเกง     แดง”นา
   “หนึ่งต่อเจ็ด”นักเลง..................สร้างชื่อ
    หนังละครเล่นเอง.......................เขียนบท   กำกับ
    พบผ่านเหตุการณ์ตื้อ................ต่อสู้อาจิณ    
    
.....ยอดศิลปินเด่นแท้....................ลือนาม
     เกิดอยู่กรุง(เทพฯ)ติดตาม..........ผู้ว่าฯ
     พระยาปุ่นเขตุคาม....................เชียงใหม่      ลุงแฮ
     แกส่งเรียนจบ(ม.)แปดอ้า...........เริ่มต้นทำงาน

    การเป็นครูอยู่ได้..........................พอนาน
    กาลเปลี่ยนเชียงรายหาญ............ฟุ้งเฟื่อง
    หาคนเก่งชำนาญ........................ร่างเขียน   พิมพ์นา
    ไปเป่งเสมียนเรื้อง........................เก่งกล้าสหกรณ์  
  
    ครานอนเปรุงแต่งได้.....................ไหลหลาก
    เกิดก่องานเขียนพากษ์.................เรื่องสั้น
    มีคนชื่นชมอยาก..........................ตามอ่าน      
    เลยเปลี่ยนงานโรมรั้น...................เริ่มต้นนักเขียน

    พากเพียรเวียนเปลี่ยนด้วย.............ยอดคน
    มาเล่นละครดล............................สร้างชื่อ
    พบงานใช่ฝึกฝน............................ต่อยอด  
    กอดเกี่ยวกำกับหื้อ........................ส่งสร้างหนังไทย

    หลงใหลงานกล้าต่าง.....................นอกกรอบ
    คนต่างนิยมชอบ...........................ตื่นเต้น
    ผลงานเด่นหลายรอบ....................หลากเรื่อง
    คนเอ่ยฉายาเร้น..........................ชื่อให้พาที

    ศิลปินดีเด่นนี้................................นามสอ
    สอ (ส.)ย่อ” สมชายฯ”หนอ.............เก่งกล้า
    “ส.อาสนจินดา”พอ........................อ๋อนั่น     ดังนา
    รับโล่มากหลายท้า.........................ข้านี่ตำนาน











สมชาย อาสนจินดา หรือ ส. อาสนจินดา (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 – 19 กันยายน พ.ศ. 2536) เป็นนักแสดง นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนบท ผู้กำกับการแสดง และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชายชาวไทย เป็นผู้บุกเบิกวงการละครเวที ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ไทย เป็นเวลากว่า 50 ปี ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ละครเวที ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2533

ประวัติ
ส. อาสนจินดา เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 เกิดที่กรุงเทพมหานคร เติบโตที่เชียงใหม่ โดยติดตามพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) ปลัดมณฑลประจำจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 2471-2481 (ปัจจุบันคือตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด) ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง

การศึกษา
จบชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และมัธยม 8 จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ส. อาสนจินดาสมรสกับ สมใจ เศวตศิลา (ตุ๊) บุตรีของพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) ซึ่งเป็นน้องสาวต่างมารดาของพลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2493  มีบุตร 7 คน


นักหนังสือพิมพ์
....เริ่มงานเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ แล้วไปรับราชการที่จังหวัดเชียงรายเป็นเสมียนสหกรณ์ เวลาว่างตอนกลางคืน เขียนเรื่องสั้นส่งหนังสือ "สุภาพบุรุษ-ประชามิตร" ซึ่งจัดทำโดย วิตต์ สุทธเสถียร กุหลาบ สายประดิษฐ์ มาลัย ชูพินิจ และโชติ แพร่พันธุ์ เรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ "ชีวิตในภาพวาดอันเลอะเลือนของข้าพเจ้า " ได้ตีพิมพ์เป็นเรื่องเอกประจำฉบับ และได้รับการชักชวนให้มาทำงานหนังสือพิมพ์ จึงลาออกจากราชการ และเริ่มงานหนังสือพิมพ์ "บางกอกรายวัน" ร่วมงานกับ อิศรา อมันตกุล เสนีย์ เสาวพงศ์ อุษณา เพลิงธรรม ประหยัด ศ. นาคะนาท แต่ไม่นานก็เลิกกิจการ จึงย้ายไปอยู่หนังสือพิมพ์นวนิยายรายวัน "วันจันทร์" รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา ตีพิมพ์ได้สามเดือนก็ขาดทุนจนเลิกกิจการ

.....เมื่อตกงานได้ไปอาศัยวัดมหรรณพารามอยู่ จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ก็ได้รับการชักชวนให้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน ที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะรัฐประหาร ชื่อ "8 พฤศจิ" จนกระทั่งคณะรัฐประหารได้จับกุมนักหนังสือพิมพ์เกือบ 20 คนไปคุมขัง รวมทั้ง อิศรา อมันตกุล หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "เอกราช" ที่นับถือเป็นการส่วนตัว จึงใช้บทบรรณาธิการเขียนโจมตี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีอย่างรุนแรง และประกาศลาออก โดยขึ้นหัวข่าวหนังสือพิมพ์ เพื่อไม่ให้ผู้ร่วมงานต้องเดือดร้อน  เหลือเพียงงานเขียนเรื่องสั้นหาเลี้ยงชีพ

อาชีพนักแสดง
...เริ่มเข้าสู่วงการแสดงในปี พ.ศ. 2492 หลังจากตกงานหนังสือพิมพ์ โดยรับบทเป็น "หม่อมเจ้านิรันดร์ฤทธิ์ธำรง" พระเอกละครเวทีเรื่อง "ดรรชนีนาง " ของศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) แทนสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ พระเอกเดิมที่ถอนตัวกะทันหัน  ละครเวทีประสบความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงในฐานะนักแสดงในวงการบันเทิงนับแต่นั้น

นักสร้างภาพยนตร์
ส. อาสนจินดาเป็นทั้งผู้ประพันธ์ และ ผู้กำกับการแสดงยุคหนังไทย 16 มม.ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีโรงถ่ายทำ ส.อาสนจินดาภาพยนตร์ ที่เชิงสะพานท่าพระ ย่านฝั่งธนบุรี

เจ้าของความคิดแปลกใหม่ทันยุค ในช่วงทศวรรษ 2500-2520 กับฉายา "เชือกกล้วยกางเกงแดง " จากตัวละครยอดนิยมแนวบู๊นักเลงชุด หนึ่งต่อเจ็ด และ เจ็ดประจัญบาน ซึ่งมีภาคต่อตามมาอีกหลายครั้ง, หนังไทยแนววิทยาศาสตร์สืบสวนกับยานดำน้ำล้ำยุค กระเบนธง ที่ได้แรงบันดาลใจจากยานสติงเรย์ (Stingray) หนังหุ่นชักแนวผจญภัยทางทีวียุค '60 จนถึงจินตนิยายอภินิหารพื้นบ้านไทยที่ผู้แต่งชื่นชอบมากที่สุด ลูกสาวพระอาทิตย์ เป็นต้น ทุกเรื่องประสบความสำเร็จทำรายได้ มีผู้ชมคับคั่ง

เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2536 ด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เนื่องจากการสูบบุหรี่ มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

ผลงานกำกับภาพยนตร์และอำนวยการสร้าง
ขุนตาล (2512)...นางละคร (2512)...ไอ้เปีย (2512)...ต้อยติ่ง (2512)...ตาลเดี่ยว (2512)...ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512)...หาดใหญ่ใจสู้ (2512)....หวานใจ (2513)....ทุ่งมหาราช (2513)...คมแฝก (2513)...ไอ้สู้ (2513)...ท่าจีน (2513)...จอมบึง (2513)...ภูตเสน่หา (2513)...ไอ้ยอดทอง (2513)...วิญญาณดอกประดู่ (2513)...เพชรพระอุมา (2514)...มดตะนอย (2514)...ดอกดิน (2514)...คนใจเพชร (2514)...รักข้ามขอบฟ้า (2514)...ข้าชื่อจ่าแผน (2514)...กระท่อมปรีดา (2515)...หนองบัวแดง (2516)...เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ (2516)...ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ (2516)...อย่ารักฉัน (2517)...ผู้ดีเถื่อน (2517)...โสมสลัว (2517)...ผัวเช่า (2517)...ธิดาพญายม (2517)...ทุ่งใหญ่อินทนนท์ (2517)...ตะวันรอนที่หนองหาร (2517)...คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ (2518)...หัวใจราชสีห์ (2518)...นักเลงป่าสัก (2518)....7 ดอกจิก (2518)...ตะวันลับฟ้า (2518)...โซ่เกียรติยศ (2518)...หนี้รัก (2518)...ผยอง (2518)...สาวแสบ (2518)....ระห่ำลำหัก (2518)...นักเลงเทวดา (2518)....แผ่นดินของเรา (2519)...กบฎหัวใจ (2519)...ท้องนาสะเทือน (2519)...ใครใหญ่ใครอยู่ (2519)...น้ำตาลใกล้มด (2519)...นรกตะรูเตา (2519)...นางงูเห่า (2519)...ลืมตัว (2519)...หมัดไทย (2519)....เผาขน (2519)...เพลิงแพร (2519)...อัศวิน 19 (2519)...17 ทหารกล้า (2519)...ดรรชนีไฉไล (2519)...หนึ่งต่อเจ็ด (2520)...ความรักไม่มีขาย (2520)...จันดารา (2520)...แดงอังคาร (2520)....7 ประจัญบาน (2520)...เกวียนหัก (2521)...รอยไถ (2522)...ไอ้ปืนเดี่ยว (2522)...อินทรีแดง ตอน พรายมหากาฬ (2523)...รักลอยลม (2523)...นรกสาว (2523)...เจ้าพายุ (2523)....หนึ่งน้องนางเดียว (2523)...ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)...ศรีธนญชัย (2524)...กำแพงหัวใจ (2524)...แผ่นดินต้องสู้ (2524)...ชีวิตเลือกไม่ได้ (2524)...ดาวกลางดิน (2525)...เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2526)...กตัญญูประกาศิต (2526)...พยัคฆ์ยี่เก (2526)...เห่าดง (2526)...เหล็กเพชร (2527)....ไอ้หม่าลูกแม่ (2527)...สเว็ตเตอร์สีแดง (2527)...เสือลากหาง (2527)

ผลงานภาพยนตร์
ไอ้เปีย (2512)...ขุนตาล (2512)...นางละคร (2512)...4 สิงห์อิสาน (2512) รับบท ฉกรรจ์อุบล...หาดใหญ่ใจสู้ (2512) รับบท จ่าดับ จำเปาะ....ต้อยติ่ง (2512)...แม่ย่านาง (2513)...ดาวพระเสาร์ (2513)...ไอ้สู้ (2513)...ข้าชื่อจ่าแผน (2514)...สะใภ้ยี่เก (2514)...ดอกดิน (2514)...รอยแค้น (2515)....ภูกระดึง (2516)...ผาเวียงทอง (2516)...เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ (2516)...เวียงพยอม (2516)...ตลาดอารมณ์ (2517)...คุณครูที่รัก (2517)...ด้วยปีกของรัก (2517)...ทุ่งใหญ่อินทนนท์ (2517)...มือปืนพ่อลูกอ่อน ..(2518) รับบท นายพลวังปอ...หัวใจราชสีห์ (2518)...คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ (2518) รับบท นายสุรเดช...มาหยารัศมี (2518)...เพื่อเธอที่รัก (2518)...แผ่นดินของเรา (2519) รับบท พระวรนาถประณต...แผลเก่า (2520) รับบท ผู้ใหญ่เขียน (พ่อขวัญ)...หนักแผ่นดิน (2520)...แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู (2520)...เกวียนหัก (2521) รับบท ตาแอบ...ชาติผยอง (2521) รับบท ศรายุทธ....ผีเพื่อนรัก (2521)...เพลงรักดอกไม้บาน (2522)...เลือดทมิฬ (2522)...สุดห้ามใจรัก (2522) รับบท คุณพระบริรักษ์...เลือดสุพรรณ (2522) รับบท มังมหาสุรนาท...แผ่นดินเถื่อน (2522)...รอยไถ (2522)...สลักจิต (2522) รับบท เจ้าคุณภักดีบดินทร์...หนุ่มบ้านนา สาวนาเกลือ (2523)...อุกาฟ้าเหลือง (2523) รับบท เฒ่าหลัก...เต้าฮวยไล่เหลี่ยว (2523)...พ่อจ๋า (2523) รับบท ท่านเจ้าคุณอภิราชรังสรรค์...คลื่นเสน่หา (2523)...อีพริ้ง คนเริงเมือง (2523) รับบท หลวงเสนาะ...นายอำเภอคนใหม่ (2523)...ไอ้ขุนเพลง (2523)...รุ้งเพชร (2523)...ย. ยอดยุ่ง (2523)...อาอี๊ (2523)...ทองผาภูมิ (2523)...แผ่นดินแห่งความรัก (2523)...ศรีธนญชัย (2524)...กำแพงหัวใจ (2524) รับบท นเรนทร์...แผ่นดินต้องสู้ (2524)...รักข้ามคลอง (2524)...ฟ้าเพียงดิน (2524)...แม่กาวาง (2524)...สามเสือสุพรรณ (2524)...ชายสามโบสถ์ (2524)...ไอ้ค่อม (2524)...นกน้อย (2524)...สาวน้อย (2524) รับบท พระชาญชลาศัย...พ่อปลาไหล (2524) รับบท หลวงณรงค์สงครามชัย...ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)...สายสวาทยังไม่สิ้น (2525)...กระท่อมนกบินหลา (2525)...ดวงตาสวรรค์ (2525) รับบท ตาพ่วง (พ่อของแพน)...นายอำเภอไข่ดาว (2525)...พระเอกรับจ้าง (2525)...สะใภ้ลูกทุ่ง (2525)...ปลากริมไข่เต่า (2525)...รักมหาสนุก (2525)...ขุนแผน ตอนปราบจระเข้เถรขวาด (2525) รับบท พระพันวษา...รักข้ามรั้ว (2525)...ไอ้หนุ่มรถไถ่ (2525)...มาดามยี่หุบ (2525) รับบท กำนันหอกทอง...เฮงสองร้อยปี (2525)...สาวจอมกวน (2525)...สวัสดีไม้เรียว (2525)...พันท้ายนรสิงห์ (2525)...เพชรตัดหยก (2525)...นิจ (2526) รับบท เจ้าคุณสุรแสนสงคราม...แม่ยอดกะล่อน (2526)...หนูเป็นสาวแล้ว (2526) รับบท บุญทิ้ง...สาวแดดเดียว (2526)...เลขาคนใหม่ (2526)...พยัคฆ์ยี่เก (2526) รับบท ลุงพรหม...น.ส. เย็นฤดี (2526)...ยูงรำแพน (2526)...เจ้าสาวเงินล้าน (2526)....กำนันสาว (2526) รับบท กำนันเล็ก...ดรุณี 9 ล้าน (2526)...ผู้ใหญ่บ้านกลองยาว (2526)...อย่าหยุดสู้ (2526)...พญายมพนมรุ้ง (2526)...รักที่ต้องรอ (2527)...แม่มะนาวหวาน (2527)...ลวดหนาม (2527)...เด็กปั๊ม (2527)...รักนี้เราจอง (2527)...คุณนาย ป.4 (2527)...สาวนาสั่งแฟน (2527)...อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง (2527)...ผ่าโลกบันเทิง (2527) รับบท ตาน้ำ....10 คงกระพัน (2527)...ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น (2527)...เสือลากหาง (2527)...ไอ้หม่าลูกแม่ (2527)...รักที่ถูกลืม (2527)...ทับทิมโทน (2528)...หัวใจเถื่อน (2528)...นางฟ้ากับซาตาน (2528)...สามเณรใจสิงห์ (2528)...ผู้การเรือเร่ (2528)...หลานสาวเจ้าสัว (2528)...ตำรวจบ้าน (2528)...เขยบ้านนอก (2528)...นางเสือดาว (2528)...หยุดโลกเพื่อเธอ (2528) รับบท เจ้าคำแสง...สามล้อซี 5 (2528)...ตะวันยิ้มแฉ่ง (2528)...ปลัดเพชรบ่อพลอย (2528)...ครูสมศรี (2529) รับบท ครูทองย้อย...ลูกสาวเถ้าแก่เฮง (2529)...โกยมหาสนุก (2529)...แด่คุณครูด้วยหัวใจ (2529)...เจ้าสาวมะลิซ้อน (2529)...วันนี้ยังมีรัก (2529)...ลูกทุ่งฮอลิเดย์ (2529)...แหม่มกะปิ (2529)...รักหน่อยน่า (2529)...บ้าน (2530)...อย่าบอกว่าเธอบาป (2530)...ปรารถนาแห่งหัวใจ (2530)...ทายาทคนใหม่ (2531)...2482 นักโทษประหาร (2531)...ซอสามสาย (2531)...คุณจ่าเรือแจว (2531)...ผมรักคุณนะ (2531)...แอบฝัน (2531)...รักเธอเท่าฟ้า (2532)...บุญชู 2 น้องใหม่ (2532) รับบท มหาแจ่ม...แม่เบี้ย (2532) รับบท ลุงทิม...บุญชู 5 เนื้อหอม (2533) รับบท มหาแจ่ม...3 กบาล (2533)...เล่นกับไฟ (2533)...ก้อนหินในดินทราย (2533)...ด๊อกเตอร์ครก (2535)...โตแล้วต้องโต๋ (2535)...
รัก ณ สุดขอบฟ้า (2535)...ตามล่าแต่หาไม่เจอ (2535) (รับเชิญ)...บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใคร...อย่าแตะ (2536) รับบท มหาแจ่ม...ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผม (2536) รับบท ลุงสมชาย...มือปืน 2 สาละวิน (2536)...อำแดงเหมือนกับนายริด (2537) รับบท สมภารวัดขนุน...มาดามยี่หุบ ภาค 2 (2537)...ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก (2538) รับบท บ๊อก...

ละครโทรทัศน์
ลูกทาส (2521) ช่อง 3...ขุนศึกมหาราช (2522) ช่อง 5...เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2522) ช่อง 5...สี่แผ่นดิน (2523) ช่อง 5...ในฝัน (2523) ช่อง 5...ข้าวนอกนา (2523) ช่อง 7...ไฟรัก ไฟพยาบาท (2524) ช่อง 3...สลักจิต (2524) ช่อง 3...มายาสีเงิน (2524) ช่อง 3...ข้างหลังภาพ (2524) ช่อง 5...หลง (2524) ช่อง 9...จดหมายจากเมืองไทย (2525) ช่อง 7...ปราสาทมืด (2525) ช่อง 5...ลุงคำ (2525) ช่อง 7...สิ้นสวาท (2526) ช่อง 5...คนเดินดิน (2526) ช่อง 9...พ่อปลาไหล (2526) ช่อง 3...ทัดดาวบุษยา (2527) ช่อง 5...ขยะเปื้อนทอง (2527) ช่อง 9...ขมิ้นกับปูน (2527) ช่อง 9...คำพิพากษา (2528) ช่อง 3...กตัญญูพิศวาส (2528) ช่อง 3...ระนาดเอก (2528) ช่อง 7...พรายนางแก้ว (2529) ช่อง 3...ทองพลุและสหาย (2529) ช่อง 9...สื่อรักภูติน้อย (2530) ช่อง 5...จ้าหญิงขันทอง (2530) ช่อง 3...มหาเวสสันดรชาดก (2530) ช่อง 5...ในม่านเมฆ (2530) ช่อง 9...เล็บครุฑ (2530) ช่อง 5...พินัยกรรมมรณะ (2531) ช่อง 3...เวิ้งระกำ (2531) ช่อง 7...ตะรุเตา (2531) ช่อง 7...เกมกามเทพ (2531) ช่อง 3...จอมศึกเสน่หา (2531) ช่อง 3...คนเริงเมือง (2531) ช่อง 3...สามีตีตรา (2531) ช่อง 3...ระบำไฟ (2531) ช่อง 3...ผู้ชนะสิบทิศ (2532) ช่อง 3...สายลับสองหน้า (2532) ช่อง 7...สมองของเฒ่าสุข (2532) ช่อง 9...ผู้พิชิตมัจจุราช (2532) ช่อง 3...กตัญญูประกาศิต (2533) ช่อง 3...ตะกายดาว ตอน น้ำตาดาว (2533) ช่อง 9 รับเชิญ...โหด เลว อ้วน (2533) ช่อง 3...พิษสวาท (2534) ช่อง 5...ชลาลัย (2534) ช่อง 5...แก้วขนเหล็ก (2534) ช่อง 3...แม่ผัวมหาภัยกับสะใภ้สารพัดพิษ (2534) ช่อง 5 รับเชิญ...วนิดา (2534) ช่อง 3...ลิขิตพิศวาส (2534) ช่อง 9...ผู้การเรือเร่ (2534) ช่อง 5...แม่เบี้ย (2534) ช่อง 7...ละอองเทศ (2534) ช่อง 9...บ่วง (2535) ช่อง 3...เณรน้อย (2535) ช่อง 3...ถ่านเก่าไฟใหม่ (2535) ช่อง 3...ไฟรักอสูร (2535) ช่อง 3 รับเชิญ...อยู่กับก๋ง (2536) ช่อง 3..เงารัก (2536) ช่อง 3

ละครเวที
ผู้ชนะสิบทิศ (2534)...

ผลงานด้านการประพันธ์ (นวนิยาย)
ดอกแก้ว...ชุมทางเขาชุมทอง...ชีวิตพิสดาร (อันแสนจะบัดซบ) ของข้าพเจ้า...พรุ่งนี้ จะรดน้ำศพ...เผาขน

รางวัล

         ปี พ.ศ.                        รางวัล                                    สาขา                                      ผล                    ผลงานที่เข้าชิง

         2500           รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี    ลำดับภาพยอดเยี่ยม                     ได้รับรางวัล                    มงกุฏเดี่ยว
         2501           รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี       บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม                     ได้รับรางวัล          กตัญญูประกาศิต
         2505           รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี       นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม             ได้รับรางวัล               เรือนแพ
         2523           รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ           นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม               ได้รับรางวัล           เลือดสุพรรณ
                             รางวัลมหกรรมเอเซีย-แปซิฟิค   นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม             ได้รับรางวัล                   อุกาฟ้าเหลือง
         2529           รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี   นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม             ได้รับรางวัล                       บ้าน
         2530           รางวัลมหกรรมเอเซีย-แปซิฟิค   นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม             ได้รับรางวัล                  บ้าน
         2533           รางวัลศิลปินแห่งชาติ           ศิลปะการแสดง
                                                                  (ละครเวที ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์)     ได้รับรางวัล   
        
         2536           รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี      นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม             ได้รับรางวัล                ณ สุดขอบฟ้า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2536 – Order of the Crown of Thailand - 3rd Class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)



บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #56 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2566, 09:20:30 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @สุชาติ เที่ยนทอง






....เฮา”ฮักกันบ่ได้”....................”สงสัย”    
   ”เพราะคุณคนเดียว”งัย..........”เหล้าจ๋า”
    “เมาหัวทิ่ม(บ่อ)”ติดจัย..........”ยิ่งเมา   ยิ่งมัน”  
   “เจอ”แว่นวิเศษ”บ้า................ ส่องได้อุบาด...

....“สุชาติฯเซียนแต่งร้อง...............โดนใจ
     แรกเริ่มเสียงหวานใส...............กริ่งก้อง
     คออักเสพผ่า(ตัด)ไป................ต่อมทอน   ซิลนา
     เลยเปลี่ยนแนวการร้อง.............ให้ร่ายรำเพลิน....

.....สรรเสริญครูผู้ช่วย.....................อำนวย    เพลงนา
     “หนิงหน่อง””สังข์ทอง” รวย........เพลงนี้
     “ฉันทนาที่รัก”สวย.....................”เอาแน่”
     “หนูไม่ยอม”มาบี้........................แล้วพี่หนีไป.....



สุชาติ เทียนทอง (9 ธันวาคม พ.ศ. 2481 - 23 มิถุนายน พ.ศ. 2528) เป็นนักร้องลูกทุ่งชายชื่อดังในอดีต มีผลงานเพลงเด่น เช่น เหล้าจ๋า รักกันบ่ได้ และเป็นนักแต่งเพลงเจ้าของนามปากกา ป.เทียนสุวรรณ เคยปั้นนักร้องดังอย่าง รักชาติ ศิริชัย ที่ประสบความสำเร็จในเพลง " ฉันทนาที่รัก " และ "รักข้ามคลอง"

ประวัติ
สุชาติ เทียนทอง ชื่อจริง ประเทือง เทียนสุวรรณ เกิดที่ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2481 มีประสบการณ์ทำงานมาหลายอย่าง เช่น พายเรือขายของ ทำงานรับจ้าง ชกมวย เนื่องจากมีฐานะยากจน

เมื่ออายุ 18 ปี ได้เข้าเป็นสมาชิกวงจุฬารัตน์ ของครูมงคล อมาตยกุล บันทึกเสียงครั้งแรก ด้วยผลงานเพลงจากฝีมือการแต่งเพลงของตัวเอง ในเพลง บ้านนาของเรา และมีเพลงที่ประสบความสำเร็จเช่น ครวญหาแม่, ปักษ์ใต้วิปโยค, ปลาบู่ทอง, วันสุดท้าย และ วิวาห์อาดูร

หลังจากนั้นได้ลาออกจากวงจุฬารัตน์ และมาตั้งวงดนตรีของตนเอง ต่อมาเกิดปัญหาคออักเสบ ต้องผ่าตัดต่อมทอนซิล ทำให้เสียงของสุชาติที่เคยหวาน ก็กลับใหญ่ ไม่สามารถร้องเพลงแบบเดิมได้ สุชาติจึงเปลี่ยนแนวมาร้องเพลงแนวสนุก เช่นเพลง เหล้าจ๋า, เพราะคุณคนเดียว, รักกันบ่ได้ , แว่นวิเศษ ได้รับความนิยมอย่างมาก และยังได้นำเอาเพลงสากล มาแปลงเนื้อเป็นเพลงไทยลูกทุ่ง อย่างมารักกัน และดิงดอง กันบ่

ในปี 2527 สุชาติต้องยุบวงดนตรี และทุ่มเทกับการแต่งเพลง เพื่อเก็บเงินไว้ทำศพแม่ เพลงสุดท้ายที่สุชาติได้แต่งไว้มีชื่อว่า "พบกันที่เชิงตะกอน" รวมแล้ว สุชาติ เทียนทองมีผลงานเพลงที่ประพันธ์ไว้ 484 เพลง

สุชาติ เทียนทอง เสียชีวิตจากโรคประจำตัว เมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2528 สิริรวมอายุ 46 ปี สวดศพที่วัดเชิงหวาย และฌาปนกิจวันที่ 2 ก.ค. 2528 โดยมีนายห้างประจวบ จำปาทอง ดูแลเรื่องการทำศพ เนื่องจากสุชาติ เสียชีวิตในช่วงที่อยู่ในฐานะยากจนมาก

ผลงานเพลงดัง
เหล้าจ๋า
ฮักกันบ่ได้
รำวงกลางทุ่ง
เพราะคุณคนเดียว
แว่นวิเศษ
ยิ่งเมายิ่งมัน
เมาลูกเดียว
ขี้เมาไร้เทียมทาน
วันสุดท้าย
วิวาห์อาดูร
ครวญหาแม่
ปักษ์ใต้วิปโยค
ปลาบู่ทอง
สุภาษิตในวงเหล้า
สงสัย
พ่อค้าหาบเร่
กองทัพขอทาน
เห็นแล้วเฉยไว้
วิธีหารัก
อยากได้
เข็มขัดกันชู้
มารักกัน
สุชาติยอดยูโด
ดิงดองกันบ่
เกลียดคนชื่อต้อย
ฯลฯ

ผลงานแต่งเพลงให้นักร้องคนอื่น
หนิงหน่อง (สังข์ทอง สีใส)
โทน (สังข์ทอง สีใส)
คนสวยใจดำ (ระพิน ภูไท)
ชุมทางเขาชุมทอง (ระพิน ภูไท)
อีแมะ (ระพิน ภูไท)
รักคนชื่อน้อย (เพชร โพธาราม)
หนูไม่ยอม (หฤทัย หิรัญญา)
ฉันทนาที่รัก (รักชาติ ศิริชัย)
รักข้ามคลอง (รักชาติ ศิริชัย)
บัตรเชิญสีเลือด (แมน เนรมิตร)
เอาแน่ (ยอดรัก สลักใจ)


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #57 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2566, 08:33:41 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ดาวใจ ไพจิตร







...“คืนทรมาน”หยาดน้ำ........ฝนหยด    น้ำตา”
    “ลาก่อนที่รัก”งด..............ร่ำไห้
     “ยิ่งกว่าการฆ่า”บท.........”.ส่วนเกิน”    เหงานา
     “ทำไมทำฉันได้”..............”ยิ่งกว่าฆาตรกร”....

.....วิงวร”(ฉัน)ทนไม่ได้”...........”ผิดทาง    รัก” แฮ
     ตัวอย่างเพลงเพราะนาง.......เพริ่ดพริ้ง
     “ดาวใจ”ที่”ไพจิตร”คราง.......ครวญร่ำ  ร้องนา
      รับโล่รางวัลนิ้ง.....................ร่วมด้วยตำนาน....

ดาวใจ ไพจิตร หรือ ดาวใจไพจิตร สุจริตกุล (12 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า หมู ดาวใจ เป็นนักร้องเพลงลูกกรุงที่มีชื่อเสียง เคยเป็นนักร้องประจำวงสุนทราภรณ์ ก่อนจะออกมาร้องเพลงเดี่ยว มีผลงานร้องเพลงกว่า 1000 เพลง

ประวัติ
เตือนใจ ยุ่นสอาด เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี) ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนางเรณู เลอสิงห์
-จบชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 4 ที่โรงเรียนวัดอุทัยธาราม และเรียนต่อที่โรงเรียนวรรณวิทย์ และโรงเรียนสตรีนนทบุรี จบการศึกษาประถมศึกษา 7   แล้วไปร้องเพลงหลังจากนั้นใช้เวลาว่างไปเรียน กศน.จนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย และศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้นศึกษาต่อปริญญาโทคณะศิลปกรรมศาสตร์ (ภาคนอกเวลาราชการ) สาขานฤมิตศิลป์ แขนงวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาคนอกเวลาราชการ) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2555  
สมรสกับนายปรีดี สุจริตกุล อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดภูเก็ต (ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว)

ชีวิตนักร้อง
ดาวใจชอบและสนใจการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กขณะที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนวัดอุทัยธารามดาวใจเป็นนักล่ารางวัลตัวเต็งของโรงเรียนโดยส่วนใหญ่จะเลือกเพลงของรวงทอง ทองลั่นธมประกวด
     ต่อมาดาวใจได้มาสมัครเป็นนักร้องที่โรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรี ฝึกหัดการร้องเพลงกับครูเอื้อ สุนทรสนานอยู่ 2 ปี จึงลาออกมาเป็นศิลปินเดี่ยว ใช้ชื่อว่า "ดาวใจ ไพจิตร" ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งให้โดย ครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการแทนชื่อจริง "เตือนใจ ยุ่นสอาด" (นามสกุลจริงก่อนสมรส) ขับร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกด้วยเพลง "สิ้นหล้า" และ "ไม่อยากอยู่" ของครูศรีสวัสดิ์ กับวงยูงทอง แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก

ดาวใจ ไพจิตร ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด ระหว่างปี พ.ศ. 2515-2525

ปัจจุบัน
ประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นเจ้าของโรงเรียนอนุบาล
ดำรงตำแหน่งอุปนายก สมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ช่วยเหลืองานสังคม

ผลงาน
เพลง

ดาวใจ ไพจิตร มีผลงานร้องเพลงบันทึกเสียงมากกว่า 1000 เพลง

ละคร
แสดงละครเรื่อง ความรักสีดำ (พ.ศ. 2538)

ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียง
เพลง คืนทรมาน
เพลง ส่วนเกิน
เพลง คน
เพลง รักด้วยนํ้าตา
เพลง รักนี้สีดำ
เพลง คนใจมาร
เพลง ขยี้รัก
เพลง คนเดียวในดวงใจ
เพลง อีสานเศร้า
เพลง เพียงคำนั้น
เพลง ขอสูมาเต๊อะ
เพลง บุญเหลือเกิน

อัลบั้มเดี่ยว
อัลบั้มชุด ดาวใจ ไพจิตร 30 ต้นฉบับเพลงฮิตดีที่สุด
อัลบั้มชุด เสียงทิพย์จากดาวใจ
อัลบั้มชุด เพลงรักนิรันดร
อัลบั้มชุด รวมเพลงอมตะ
อัลบั้มชุด ต้นฉบับเพลงฮิต
อัลบั้มชุด สานตำนานรักเพลงสุนทราภรณ์
อัลบั้มชุด 30 ปีทอง
อัลบั้มชุด อย่ามารักฉันเลย
อัลบั้มชุด หัวใจยังสาว
อัลบั้มชุด ทำไมทำฉันได้
อัลบั้มชุด อภิมหาอมตะนิรันดร์กาล (สังกัด นิธิทัศน์)
อัลบั้มชุด แฟนคลับ
อัลบั้มชุด คนเลวของเธอ
อัลบั้มชุด จับปู
อัลบั้มชุด จูบ
อัลบั้มชุด ซังคนใจร้าย
อัลบั้มชุด ตารางดวงใจ
อัลบั้มชุด รอยเล็บเหน็บรัก - รักที่ต้องห้าม
อัลบั้มชุด ใต้ร่มพระบารมี
อัลบั้มชุด อมตะเพลงทอง ความรักไม่รู้จบ (สังกัด โรสวิดีโอ ปัจจุบันคือ โรส มีเดีย)
อัลบั้มชุด สานอดีตเพลงทอง ขยี้รัก
อัลบั้มชุด มิติใหม่ดาวใจ 1-4

รางวัลเกียรติยศ
-ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำ (ส.ส.ส. : สถานีวิทยุเสียงสามยอด) สาขาเพลงยอดนิยมยอดเยี่ยม จากเพลง "อย่ามารักฉันเลย" พ.ศ. 2518
- ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำ (ส.ส.ส. : สถานีวิทยุเสียงสามยอด) สาขาเพลงยอดนิยมยอดเยี่ยม จากเเพลง "หยาดน้ำฝนหยดน้ำตา" พ.ศ. 2521
-ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในเพลง "น้ำตาดารา" เมื่อ พ.ศ. 2523

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #58 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2566, 04:07:04 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @หยาด นภาลัย







....”หนองหารวิมานร้าง”..........โรยรา   รักเอย
    “หยาดนภาลัย”พา..............พร่ำเพ้อ
     โทนเสียงต่ำหวานหนา........นุ่มละ    มุนนา
     เพียงแต่ความดังเก้อ...........ไม่เปรี้ยงตรึงตรา....

....ต่อมา”ลำน้ำพอง”................ถูกใจ    ดีแฮ
    คนใคร่ถามหาใคร................ร่ายร้อง
    สำเนียงที่เหมือนใน..............พ่อ ช(ชะ)  รินทร์ฯนา
    จึงก่อเกิดนักร้อง...................น้องใหม่(ลูก)อุดรฯ....


หยาด นภาลัย หรือชื่อจริง สุริยพงศ์ การวิบูลย์ (15 มีนาคม พ.ศ. 2490 (แต่ภายหลังหยาดก็ได้บอกว่าเกิดปี พ.ศ. 2487) — 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553) เป็นศิลปินเพลง เป็นนักร้องเพลงลูกกรุงชาวไทย ที่มีบทเพลงที่เป็นที่รู้จักเช่น ลำน้ำพอง พ.ศ. 2521 หนองหานวิมานร้าง พ.ศ. 2513 สาวน้ำพองสะอื้น ความช้ำที่จำใจ เนื้อคู่ยังมีมาร ยามจน และเพลง จากปากพนังถึงมหาชัย พระลอคนใหม่ พ.ศ. 2524 และมีเพลงมากกว่า 500 เพลง ในอัลบั้มโปรเจกต์ เพลงอมตะเงินล้าน ทุกอัลบั้ม ในอดีตมีหลายคนคิดว่า สมมาตร ไพรหิรัญ คือหยาด นภาลัย เพราะแสดงในมิวสิกวิดีโอของหยาด นภาลัย ทุกเพลง

ประวัติ
หยาด นภาลัย มีชื่อเดิมว่า หยาดฟ้า กาลวิบูลย์ เกิดที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี เป็นบุตรคนสุดท้อง (ภายหลังหยาดบอกว่าเป็นบุตรคนที่ 16) ในพี่น้อง 18 คน ของคุณพ่อเสมา และคุณแม่อ่อนจันทร์ กาลวิบูลย์ เมื่อตอนเด็กเขาได้ตายแล้วฟื้น 2 ครั้ง จึงต้องขออนุญาตครอบครัวมาบวชเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 7 ขวบ ในปี พ.ศ. 2494 ได้เรียนทั้งภาษาไทย บาลี และอังกฤษที่วัดในบ้านเกิดจนแตกฉาน ต่อมาเมื่ออายุได้ 10 ปี จนจบชั้นป.4 จึงได้ลาสิกขา เพื่อเรียนต่อชั้น ม.ศ.1 ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองอุดรธานี และเมื่อจบชั้น ม.ศ.3 ขออนุญาตทางบ้านมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ แต่ไม่มีใครเห็นด้วย เขาจึงตัดสินใจหนีเข้ากรุงเทพฯ คนเดียว
  
ชีวิตครอบครัว    สมรสกับ พัชรีรัตน์ กาลวิบูลย์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายปุณณรัตน์ การวิบูลย์ และ น.ส.ชมพูนุช การวิบูลย์

งานเพลง
หยาด นภาลัย ได้โอกาสร้องในร้านอาหารพร ดีไลท์ ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (ปัจจุบันปิดกิจการแล้ว) ด้วยน้ำเสียงคล้ายคลึงกับชรินทร์ นันทนาคร และต่อมาก็ได้มีโอกาสเข้ามาแบกกลอง ให้กับวงดนตรี จุฬารัตน์ และมีโอกาสขึ้นร้องคั่นเวลา โดยมีครูเพลงเช่น ครูไพบูลย์ บุตรขัน ครูมงคล อมาตยกุล พร ภิรมย์ และ นคร ถนอมทรัพย์ เป็นคนแนะนำ หยาดก็ได้บันทึกเสียงเป็นครั้งแรกคือ "วันพระไม่มีเว้น" เมื่อปี พ.ศ. 2513
     ด้วยน้ำเสียงคล้ายชรินทร์ นันทนาครเป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อวงจุฬารัตน์ ยุบวง หยาด มีประสบการณ์การแต่งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง ในระดับที่น่าพอใจ จึงออกอัลบั้มชุดแรก แบบทำเอง ขายเอง ในปี พ.ศ. 2513 คือหนองหานวิมานร้าง และลำน้ำพอง ในปี พ.ศ. 2521 แต่ไม่ดัง จนในชุดต่อๆมา คือพระลอคนใหม่ ในปี พ.ศ. 2524 และลำน้ำพอง เมื่อปี พ.ศ. 2527 จึงเริ่มโด่งดัง

   เขาเคยใช้ชื่อหลายชื่อ เช่น ประสพชัย กาลวิบูลย์, นรินทร์ พันธนาคร จนต่อมากลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับชื่อนี้ เพราะพ้องกับชื่อของ ลุงชรินทร์ นันทนาคร แต่ในที่สุดจึงต้องเปลี่ยนเป็น นรินทร์ นภาลัย และต่อมาใช้ หยาด นภาลัย ที่ครูนคร ถนอมทรัพย์ ตั้งให้

ต่อมาหยาดได้บันทึกเสียงเพลงโดยนำเพลงของชรินทร์ นันทนาคร,สุเทพ วงศ์กำแหง,ธานินทร์ อินทรเทพ,ฯลฯ ในโปรเจกต์ เพลงอมตะเงินล้าน ตั้งแต่ชุดที่สอง จนต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ค่ายโรต้าได้ปิดตัวลง หยาดก็ได้ไปเข้าร่วมในสังกัดพีจีเอ็ม และเป็นศิลปินคนแรกของทางค่ายอีกด้วย และได้นำเพลงดังต่างๆที่หยาดได้เคยร้องอยู่นั้นมาร้องใหม่ตั้งแต่ชุด 1 - 51 ถึอเป็นมากที่สุดในขณะที่อยู่ในสังกัดพีจีเอ็ม แต่ถึงแม้หยาดจะไม่ได้ออกมิวสิควิดีโอทุกเพลงด้วยตนเองเพราะเนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับทางค่ายต้นสังกัดโกงเงินค่าแสดงจนต้องจ้างให้สมมาตร ไพรหิรัญ มาแสดงแทน จนทำให้เป็นที่กระแสว่าสมมาตร ไพรหิรัญ คือ หยาด นภาลัย จนในที่วุดเขาก็หมดสัญญากับทางค่าย จนต่อมาได้เข้าร่วมสังกัดนิธิทัศน์ โปรโมชั่น และ อาโซน่า จนอามิโก้ได้ปิดตัวลง จึงตัดสินใจย้ายไปอยู่บ้านเกิดที่ จ.อุดรธานี จนเสียชีวิต แต่เขาได้เคยปั้นศิลปินคนอื่นๆเป็นศิลปินแทนตัวอีกด้วย คือนิตยา นภาลัย ก้อง นภาลัย และ พร นภาลัย ปัจจุบันกลับมาใช้ชื่อ ยอดธง ทองใบ และก่อนหน้านั้นเคยใช้เมื่อตอนอยู่ในค่ายโรส มีเดีย จนได้เปลี่ยนเป็นหลายชื่อ เช่น พร นภาลัย, ยอด หลานนภาลัย, ยอด วณาไลยณ์, ยอด วณาลัย, และในที่สุดเขาได้เปลี่ยนเป็นเพลงแนวหมอลำและลูกทุ่ง แต่ก็ไม่โด่งดัง

บั้นปลายชีวิต
หลังจากที่หยาด นภาลัย ถูกทางค่ายพีจีเอ็มโกงเงินจนเป็นข่าวและหมดสัญญาแล้ว ก็ได้มีปัญหาาเครียดสะสมจนป่วยเป็นโรคเบาหวาน มานานกว่า 13 ปี ในปี พ.ศ. 2540 และได้เสียชีวิตเมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 จากอาการหัวใจวายเฉียบพลันและเส้นเลือดในสมองแตก รวมอายุได้ 63 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ณ วัดโตนดมหาสวัสดิ์


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #59 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2566, 05:23:56 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @จิตติมา เจือใจ



 



"เหวหิน"เพลงที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ



....เกิดมาเป็นสิ่งนี้..................บังเอิญ   แน่ฤา
    เพื่อนบอกเสียงเพราะเชิญ............เกริ่นร้อง
    ลองเสียงผ่านดำเนิน...........อัดแผ่น   เลยนา
    ครวญคล่องเสียงสวยร้อง.....เด่นได้คนชม...

....หรือพรหมลิขิตไว้.................เพลงแรก   ดังเลย
  “ จิตติมา เจือใจ”แตก............ตื่นใด้
    “ถ้าหัวใจฯ”แว่วแหวก...........เสียงผ่าน    ดีแล
     เพลงที่สอง”หลักไม้............เลื้อย”ยิ่งตรึงตรา ...

....สาวจุฬาเก่งด้าน..................บัญชี
     ดีเด่นงานเพลงมี..................ชื่อสร้าง
     รางวัลแผ่นเสียงฯดี...............เสริมส่ง
     “เหวหิน”นี่เพลงปร้าง............เด่นได้รางวัล....

จิตติมา เจือใจ
“จิตติมา เจือใจ” ชื่อจริง “สุนิสา วงศ์วัจฉละกุล”ชื่อเล่น “หน่อย”

  เกิดวันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2494 ก่อนจะมาใช้ชื่อ จิตติมา เจือใจ เมื่อถูกชักชวนให้เป็นนักร้อง มีโอกาสอัดแผ่นทำเพลง เพียงเพลงแรก ''ถ้าหัวใจฉันมีปีก'' ออกอากาศไม่นาน ชื่อของจิตติมา เจือใจ ได้โบกโบยบินไปอยู่กลางใจของนักฟังเพลงเมืองไทย ซึ่งแม้แต่เพลง ''หลักไม้เลื้อย'' ที่มิใช่เพลงเอกในอัลบั้มก็ยังโด่งดังยิ่งหย่อนไม่แพ้กัน

     -คุณจิตติมาเป็นนักร้องหญิงคนเดียวในยุคนั้นที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะบัญชีและ ปริญญาพานิชย์ศาสตร์
นิสัยส่วนตัวเป็นคนโอบอ้อมอารีย์มีน้ำใจกับทุก ๆ คน

   ปี พ.ศ.2520 จิตติมา เจือใจ ออกจากงานด้านสมุห์บัญชี บริษัททุนสยาม ในเครือ ไทยสมุทร ก้าวเข้าสู่วงการเพลงเต็มตัว ความโด่งดังของเพลง ''ถ้าหัวใจฉันมีปีก'' ยังไม่เสื่อมคลาย แม้จะถูกตัดออกจากงานประกวดรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ด้วยเหตุที่ใช้ทำนองเพลงจีนแต่กระนั้นมิใช่อุปสรรคขวางกั้น นอกจาก ทวีพงศ์ มณีนิล แล้วยังมีนักแต่งเพลงดัง อาทิ วราห์ วรเวช และเนรัญชรา มาทำงานอยู่เบื้องหลังคอนป้อนเพลงให้เธอขับกล่อมมากมาย ลำพังผลงานเพลงของทวีพงศ์ก็มีมากกว่า 200 เพลง ซึ่งต่อมาจิตติมาก็ได้กลายเป็นคู่ชีวิตจดทะเบียนใช้นามสกุลมณีนิล

  ชีวิตนักร้องของจิตติมาเริ่มทำงานประจำร้องเพลงยามราตรี เมื่อ เฮียเม้ง ต.ตระกูล เจ้าของห้องอาหารสิงห์ทอง แถวถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ให้คนไปเชิญมาร้องเรียกแขก หลัง จากนั้นก็มีอีกหลายแห่งตามมา เช่น ร้านเฟรนด์ชิพ ทั้งสาขาอินทรา, ดินแดง และบางนา ร้านวาเลนไทน์, โลลิต้า เรียกได้ว่าถนนเพชรบุรีตัดใหม่ยุคสมัยเฟื่องฟู สถานบันเทิงตั้งแต่ต้นถนนไปถึงท้ายถนน ไม่มีที่ไหนที่ จิตติมา เจือใจ ไม่เคยไปสัมผัส

  ความบังเอิญในโชคชะตาบนเข็มชีวิตจิตติมา เสมือนสิ่งคู่กัน ปี พ.ศ.2522 จิตติมา เจือใจ ได้รับพระราชทานแผ่นเสียงทองคำนักร้องเพลงดีเด่น จากเพลง ''เหวหิน'' ที่แต่งโดยชัยวัฒน์ วงศ์เกียรติขจร โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัวมาก่อนว่าครูชัยรัตน์ได้ส่งเพลงเข้าประกวด เพราะตัวเธอก็ส่งเพลง ''รักยามจน'' ของหมอวราห์ วรเวช เข้าประกวดเช่นกัน แต่การตัดสินในสมัยนั้นจะพิจารณาจากทั้งหมด ซึ่งถือเป็นเกียรติในฐานะนักร้องที่ได้รับรางวัลพระราชทาน

   ชีวิตคู่ของจิตติมากับทวีพงศ์ ชื่นมื่นสลับความชุลมุน เพราะชื่อ ทวีพงศ์ มณีนิล เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องเจ้าชู้ แต่ทั้งสองก็ครองรักจนปี 2525 ก็ได้ให้กำเนินโซ่คล้องใจ เฉลิมฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี แต่เสมือนฟ้าลงทัณฑ์หนึ่งปีต่อมา ในวันที่ 14 กันยายน 2526 ทวีพงศ์ มณีนิล ก็ได้เสียชีวิต โดยถูกมือปืนลอบสังหารด้วยปืนขนาด 11 มม. ขณะยืนคุยโทรศัพท์ที่ห้างแผ่นเสียงเมโทร ย่านประตูน้ำ เมื่อบ่าย 15.00 น. ของวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2526 พร้อมกับปริศนาฆาตกรรม ทิ้งไว้เพียงภรรยาและลูกน้อยที่ยังเยาว์วัย

   

ผลงานสร้างชื่อเสียง
   ตั้งแต่อัลบั้มชุดแรกที่แต่งโดย คุณ ทวีพงศ์ มณีนิล (ซึ่งต่อมาคือคู่ชีวิต:เสียชีวิตแล้ว)
  - “ถ้าหัวใจฉันมีปีก” ในปี 2519 และได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจนมีผลงานออกมาอีกหลายอันบั้ม
  - “หลักไม้เลื้อย”  ในปี 2520 ซึงก็ได้รับความนิยมสูงสุดเช่นกัน
  - “รักยามจน” ของหมอวราห์ วรเวช ผลงานของ ป.ชื่นประโยชน์ พยงค์ มุกดา พรพิรุณ นคร ถนอมทรัพย์ เนรัญชรา ฯลฯ

รางวัลเกียรติยศ
-ได้รับแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในปี พ.ศ. 2522 จากเพลงเหวหินผลงานของ คุณชัยรัตน์ วงศ์เกียรติขจร
-เธอยังได้รับหน้าที่ที่ทรงเกียรติด้วยการเป็นพิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ อีกด้วย


   ด้วยอาชีพขายเสียงเพลง จิตติมาขับกล่อมความสุขประทังชีพค้ำจุนครองครัว เพราะความที่เป็นคนสวย เป็นธรรมดาย่อมมีหมู่ภมรหลงใหลตามจีบ ธรรมะคือความสงบสุข การปล่อยวางยึดถือสายกลางทำให้จิตติมามีสติตรึกตรองเข้าใจความต้องการของตน ไม่ได้มีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ และอาชีพที่ดำรงอยู่สามารถดูแลตัวเองกับลูกน้อยได้

  ทุกวันนี้ จิตติมา เจือใจ ยังคงดำรงชีพด้วยการกล่อมเสียงเพลง ดูแลเลี้ยงบุตรสาวโดยร้องเพลงประจำอยู่ที่โรงแรมนิรันดร์ แกรนด์ สุขุมวิท 103 ทุกคืนวันพุธ พร้อมรับงานร้องเพลง ติดต่อได้ที่ 08-1659-2858


  - ขณะนี้คุณจิตติมา มีผลงานชุดใหม่ซึ่งนำเพลงเก่าของครูมนัส ปิติสานต์มาบันทึกใหม่ชื่ออัลบัม ความรักในความทรงจำ ขับร้องร่วมกับคุณวิยะดา ธารินทร์



บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: