-/> หมาลอบกัด

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: หมาลอบกัด  (อ่าน 3335 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 21 ธันวาคม 2555, 05:14:10 PM »

Permalink: หมาลอบกัด
ที่ทำงาน มีหมาอยู่ตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ใต้บันไดนานแล้ว
ใครผ้่านไป มาก็เห็น บางคนก็เอาอาหารมาโยนให้มันกิน แต่หมาตัวนี้ ตอนนี้มันมีลูกอ่อน  นิสัยของมันเปลี่ยนไป
มันไม่น่ารัก  มันชอบลอบกัด  จะไม่กัดซึ่งหน้า เช่นถ้าเราหันหน้ามามองตามัน มันจะทำตาหงอยเศร้า น่าสงสาร
แต่พอเราเผลอปัีบ มันจะย่องมากัดทันที  ที่ทำงานโดนมันกัดมาหลายคนแล้ว  จะให้เขามาเอาไปก็สงสารมัน
สงสารลูกมัน  และสงสารที่มันไม่มีที่อยู่  ก็ได้แต่ระวังตัวเอา และหลีกเลี่ยงที่มันอยู่

จนเดี๋ยวนี้ มันคิดว่า ใต้บันใด เป็นที่อยู่ของมัน
ที่เคยโยนอาหารให้มันกิน ตอนนี้ ใครๆก็เลิกโยนให้มันแล้ว

อยากบอกว่า ถ้าใครที่โดนหมากัด ให้ไปฉีดยาด้วยนะคะ
ตอนนี้ ที่ทำงาน  ฉีดกันหลายคนเลย

ด้วยความห่วงใย ค่ะ



เมื่อสักครู่เลยเอาเจ้ากุยช่าย ไปหาหมอหมา ฉีดยากันโรคกลัวน้ำเสียเลย
พอไปถีงร้านหมอ เจ้ากุยช่าย มุดท้องรถ ไม่ยอมออกมา จนต้องให้หมอมางัดเอาออกมา
มันคงกลัว  เพราะฉีดยามันบ่อย


...........................................................................................

เพิ่มเติม

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) หรือ โรคกลัวน้ำ (Hydrophobia)
----------------------------------------
การฉีดวัคซีนป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า

         สมัยก่อนเราอาจจะคุ้นว่า วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
ต้องฉีดรอบสะดือ 14 เข็ม หรือ 21 เข็ม

 ถ้าหยุดต้องเริ่มต้นใหม่ แต่ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า ที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง
โดยฉีดทั้งหมดเพียง 5 ครั้งเท่านั้น

 และไม่ต้องฉีดทุกวัน โดยมี 2 แบบคือ

 ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และฉีดเข้าชั้นผิวหนัง
 ซึ่งวัคซีนนี้จะไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อระบบประสาท

         อย่างไรก็ตาม หากจะป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้าให้ได้ผลดี ควรฉีดเซรุ่มควบคู่การฉีดวัคซีนด้วย
โดยเฉพาะหากบาดแผลมีเลือดออก แผลลึก ถูกสุนัขเลียที่ตา ริมฝีปาก น้ำลายกระเด็นเข้าตา
โดยเซรุ่มจะจะเข้าไปทำลายเชื้อไวรัสในร่างกายของผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด การฉีดจะฉีดรอบ ๆ แผลก่อนที่จะก่อโรค
 และก่อนที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น
แต่ทั้งนี้ เซรุ่มป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า มีราคาแพงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำมาจากเลือดคน
 ดังนั้นสถานเสาวภาจึงได้ดำเนินการผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจาดเลือด ม้า
 และศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้ผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากเลือดคน
 เพื่อใช้เองภายในประเทศ
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีอยู่ 4 ชนิด

ได้แก่
 1- Lyssavac  
เป็นวัคซีนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสในตัวอ่อนไข่เป็ดที่ฟักแล้ว แนะนำให้ฉีดแบบ เข้ากล้ามเนื้อ
 
2- SII Rabivax
เป็นวัคซีนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสในhuman diploid cellแนะนำให้ฉีดแบบ เข้ากล้าม เท่านั้น


3- Rabipur
เป็นวัคซีนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสใน primary chick embryo fibroblast cell
สามารถฉีดได้ทั้งแบบ เข้ากล้ามเนื้อ และ ใต้ผิวหนัง

4- Verorab
เป็นวัคซีนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสใน vero cells สามารถฉีดได้ทั้งแบบ  เข้ากล้ามเนื้อ และ ใต้ผิวหนัง


  วัคซีนทั้ง 4 ชนิดมีชื่อเรียกรวมๆ ว่า วัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งจะมีความปลอดภัยและมีความบริสุทธิ์มากกว่าวัคซีนแบบเก่า
ที่ผลิตจากการนำเชื้อ Rabies virus จากสมองสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ามาใช้ ซึ่งในปัจจุบัน
 ประเทศไทยไม่มีการนำวัคซีนดังกล่าวมาใช้แล้ว

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
       การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.การฉีดวัคซีนก่อนการสัมผัสสัตว์ มักจะทำในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกสัตว์กัด เช่น สัตวแพทย์ บุรุษไปรษณีย์
 เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า หรือเด็ก เนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเช่นกัน


1.1 การฉีดวัคซีนหลังการสัมผัสสัตว์  จะต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงในการติดเชื้อด้วยเสมอ โดยอาจแบ่งเป็นกรณีได้ดังนี้

2.1 ไม่ต้องฉีดวัคซีนในกรณีที่สัมผัสกับสัตว์โดยที่ผิวหนังไม่มีแผลหรือรอยถลอก เช่น การให้อาหาร ถูกเลีย สัมผัสน้ำลายหรือเลือด
 (ยกเว้น น้ำลายหรือเลือดของสัตว์กระเด็นเข้าทางตา หรือปากจะต้องรับการฉีดวัคซีน)

2.2 ต้องฉีดวัคซีนในกรณีที่

- ถูกงับเป็นรอยช้ำที่ผิวหนัง ไม่มีเลือดออก

- ถูกเลีย หรือ น้ำลายถูกผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือมีแผล

- ถูกข่วนที่ผิวหนังโดยไม่มีเลือดออกหรือออกซิบๆ

- ถูกกัดหรือข่วนเป็นแผล (แผลเดียวหรือหลายแผล) และมีเลือดออก

- มีน้ำลายหรือสารคัดหลั่ง (เช่น เลือด) จากร่างกายสัตว์ ซากสัตว์ เนื้อสมองสัตว์
 รวมถึงการชำแหละหรือลองผิวหนังสัตว์ ถูกเยื่อบุตา ปาก จมูกหรือแผลตามผิวหนัง

ในการเข้ารับการฉีดวัคซีนนั้นสามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง)
ในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เช่น สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลรัฐบาลที่ใกล้ที่สุด (ที่ใดก็ได้) ทันที
จนครบทุกเข็มโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใดๆ

นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายที่ถูกสัตว์กัด หรือข่วนจนเป็นแผลและมีเลือดออก หรือถูกกัดเป็นแผลที่ใบหน้า ศีรษะ คอ มือ และนิ้วมือ หรือมีแผลลึก
 แผลฉีกขาดมาก จะต้องได้รับการฉีดอิมมูโนโกลบุลิน (Immunoglobulin; IG) โดยเร็วที่สุด
 
ส่วนผู้ที่ถูกน้ำลายหรือสารคัดหลั่ง (เช่น เลือด) จากร่างกายสัตว์ ซากสัตว์ เนื้อสมองสัตว์ กระเด็นเข้าสู่เยื่อบุตา ปาก จมูกหรือแผลตามผิวหนัง
 และผู้ชำแหละซากสัตว์หรือลอกหนังสัตว์จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาว่าจะต้องฉีดอิมมูโนโกลบุลินหรือไม่ ตามความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นรายๆ ไป

1.เคยฉีดมาแล้วอย่างน้อย  3 เข็ม (วันที่ฉีดเข็มสุดท้ายผ่านมาเกิน 6 เดือนแล้ว)
ในกรณีนี้ไม่ว่าจะเลือกฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนหรือในผิวหนังบริเวณต้นแขน จะต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนทั้งหมด 2 ครั้ง
เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้นกัน ในวันที่ 0 และ 3โดยไม่จำเป็นต้องฉีดอิมมูโนโกลบุลิน

1.เคยฉีดมาแล้วอย่างน้อย 3 เข็ม (วันที่ฉีดเข็มสุดท้ายผ่านมาไม่เกิน 6 เดือน)
ในกรณีนี้ไม่ว่าจะเลือกฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนหรือในผิวหนังบริเวณต้นแขน จะต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้นกันเพียงครั้งเดียว ในวันที่ 0 เท่านั้น
โดยไม่จำเป็นต้องฉีดอิมมูโนโกลบุลิน
ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกสุนัข แมวหรือสัตว์อื่นๆ กัด?
            เมื่อถูกสัตว์ข่วนหรือกัดโดยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าควรรีบปฐมพยาบาลและปฏิบัติตัวดังนี้
1.ล้างแผลทันทีด้วยน้ำและฟอกด้วยสบู่หลายๆ ครั้ง ล้างสบู่ออกให้หมด ถ้าแผลลึกให้ล้างถึงก้นแผลอย่างน้อย 15 นาที
ระวังอย่าให้แผลช้ำ ห้ามใช้ครีมใดๆ ทา ถ้ามีเลือดออกควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้นแผล เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น
2.เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ควรใช้โพวีโดนไอโอดีน  หรือฮิบิเทนในน้ำ  ถ้าไม่มีให้ใช้แอลกอฮอล์ 70% หรือทิงเจอร์ไอโอดีน
นอกจากนี้ไม่ควรปิดปากแผลยกเว้นว่าเลือดออกมากหรือแผลใหญ่มาก
3.ไปโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยที่ใกล้ที่สุดทันที หรือ เร็วที่สุด เพื่อรับการฉีดป้องกันบาดทะยัก ยาปฏิชีวนะ
 และยาแก้ปวดตามอาการ
4.กักสัตว์ที่กัดไว้ดูอาการอย่างน้อย 15 วัน โดยให้น้ำและอาหารตามปกติ อย่าฆ่าสัตว์ให้ตายทันที
 เว้นแต่สัตว์นั้นดุร้ายกัดคนหรือสัตว์อื่นหรือไม่สามารถกัดสัตว์ไว้ได้ ถ้าสัตว์หนีหายไปให้ถือว่าสัตว์นั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
5.หากสัตว์มีอาการปกติตลอดระยะเวลาที่กักเพื่อดูอาการ สามารถหยุดฉีดวัคซีนได้

            การเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามกำหนดจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ดีที่สุด
อย่างไรก็ดีหากลืมหรือไม่สามารถมาตามกำหนดวันนัดหมาย ก็ควรรีบมารับการฉีดวัคซีนต่อจนครบให้เร็วที่สุด
(ข้อมูลในปัจจุบันระบุว่าการฉีดวัคซีนล่าช้ากว่ากำหนดไป 2-3 วัน จะไม่ส่งผลถึงประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
แต่ถ้าช้าเกินกว่านี้ยังไม่พบข้อมูลการรับรองประสิทธิภาพ)

หญิงตั้งครรภ์สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้หรือไม่ ?        
            หญิงตั้งครรภ์ไม่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีนเนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อตาย
 และอิมมูโนโกลบุลินก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามสำหรับหญิงตั้งครรภ์เช่นกัน
สามารถเปลี่ยนยี่ห้อวัคซีน หรือเปลี่ยนวิธีการฉีดได้หรือไม่ ?
            วัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยงที่ใช้อยู่ในประเทศไทยขณะนี้ มีคุณภาพประสิทธิภาพและความปลอดภัยใกล้เคียงกัน
ในการฉีดเข้ากล้ามเนื้อสามารถใช้ทดแทนกันได้ทุกยี่ห้อ แต่ชนิดที่ฉีดเข้าในผิวหนังนั้นอาจต้องระมัดระวัง
เนื่องจากบางยี่ห้อไม่แนะนำให้ฉีดเข้าในผิวหนังดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยควรมีสมุดบันทึกการฉีดวัคซีน
ที่ระบุทั้งชื่อยี่ห้อวัคซีนและวิธีฉีดวัคซีนไว้ด้วยเสมอ
            การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ควรฉีดวิธีเดียวกันตลอดจนครบชุดไม่ควรเปลี่ยนวิธีการฉีดสลับไปมา
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนน้ำใจ 7755
เหรียญรางวัล:
นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นมีความคิดสร้างสรรค์ผู้ดูแลบอร์ด
กระทู้: 658
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2558, 08:48:05 PM »

Permalink: Re: หมาลอบกัด
 



                                                                                   :thumbs-up:
บันทึกการเข้า

ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2558, 09:13:21 PM »

Permalink: Re: หมาลอบกัด

บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: