You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดสุขภาพสุขภาพ (ผู้ดูแล: ญิบสลิล ณ นคร, หมอกริชครับ...คมกริช... คมกริช)กระดูกพรุน ป้องกันได้ 6 วิธีง่ายๆ เซฟกระดูกไว้ให้แข็งแรง
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: กระดูกพรุน ป้องกันได้ 6 วิธีง่ายๆ เซฟกระดูกไว้ให้แข็งแรง  (อ่าน 1480 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2558, 08:13:55 AM »

Permalink: กระดูกพรุน ป้องกันได้ 6 วิธีง่ายๆ เซฟกระดูกไว้ให้แข็งแรง




กระดูกพรุน ป้องกันได้ 6 วิธีง่ายๆ เซฟกระดูกไว้ให้แข็งแรง






กระดูกพรุน คำนี้เมื่อฟังผ่านๆ แล้วคงรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ห่างไกลตัว
 เป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัว ไม่อันตราย แต่จะมีสักกี่คนที่ใส่ใจกับอาการนี้และรู้ว่ากระดูกพรุนเป็นเรื่องที่น่ากลัว อันตราย
 เป็นภัยเงียบที่ต้องพึงระวังอย่างยิ่ง ถ้าเป็นแล้ว อาจจะทำให้ชีวิตประจำวันหรือกิจวัตรประจำวันเปลี่ยนไปทั้งชีวิตเลยก็ได้
       
       อาการเตือนของโรคกระดูกพรุน ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดง จนกระทั่งเกิดภาวะกระดูกหัก ก็จะเกิดอาการเจ็บปวด
หรือความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก เช่น ปวดข้อมือ สะโพก หลัง หรือมาพบแพทย์ เพราะมีปัญหาว่าตัวเตี้ยลง
หลังค่อมหรือหลังโก่งกว่าเดิม ซึ่งมักจะพบได้ในกรณีที่เป็นกระดูกพรุนและเกิดการหักชนิดทรุดตัวของกระดูกสันหลัง








  ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน คือ       
       1. ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดกระดูกพรุนได้มากกว่าอายุน้อย     
       2. เพศหญิงจะมีการเกิดกระดูกพรุนมากและเร็วกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงวัยทองขาดเอสโตรเจน
ทำให้เกิดการละลายของกระดูกมากกว่าปกติ การรับประทานแคลเซียมเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงของกระดูกหักได้       
       3. สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ลดการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ
 กระดูกจึงขาดอาหารจากขาดเลือดได้อีกด้วย       
       4. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเป็นสาเหตุให้ขาดอาหาร       
       5. มีโรคเรื้อรังต่างๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพ ซึ่งรวมถึงสุขภาพของกระดูกด้วย เช่น โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดสูง       
       6. ขนาดของร่างกาย ผู้ที่ผอมและตัวเล็กจะมีกระดูกพรุนได้ง่าย       
       7. มีพันธุกรรมที่คนในครอบครัวเป็นโรคนี้       
       8. การออกกำลังกายน้อย     
       9. การสร้างกระดูกใหม่จะสัมพันธ์กับแรงที่มากระทำที่กระดูก ดังนั้น หากมีการลงน้ำหนักที่กระดูกน้อย
 กระดูกก็จะบางลงเร็วกว่าปกติ จึงเป็นปัญหาในผู้สูงอายุที่ข้อเข่าข้อเท้าเริ่มเสื่อม ปวด ออกกำลังกายได้น้อย
 คนที่มีอาชีพต้องออกไปอยู่นอกโลกที่ไม่มีแรงโน้มถ่วง หรือคนที่ทำงานนั่งเป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี







  การป้องกันภาวะกระดูกพรุน
       
      1. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เสี่ยงให้หกล้ม
       สิ่งที่ทำให้เกิดกระดูกหักได้บ่อยที่สุด ก็คือ การหกล้ม ที่พักอาศัยควรจะมีแสงสว่างเพียงพอ
ติดตั้งราวจับหรือพื้นผิวที่ไม่ลื่น ป้องกันการล้ม       
       2. การออกกำลังกาย
       การออกกำลังกายจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างมวลกระดูกมากขึ้น ทั้งนี้ชนิดของการออกกำลังกายที่เหมาะสม
ก็ขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวสภาพร่างกายเดิม และความหนาแน่นของมวลกระดูกเดิม     
      3. การรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง
       อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม เนยแข็ง ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก (เช่น ปลาไส้ตัน) กุ้งแห้ง
 เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง ผักสีเขียวเข้ม (เช่น คะน้า ใบชะพู) งาดำคั่ว       
       4. รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์ เพราะคนผอมจะมีมวลกระดูกน้อย เสี่ยงต่อกระดูกพรุนได้       
       5. ไม่กินอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะอาหารพวกนี้จะกระตุ้นให้
ไตขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากเกินปกติ       
      6. ระวังการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสตีรอยด์ ซึ่งจะเร่งการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย
       
       กระดูกพรุนเป็นโรคที่ไม่มีอาการมาก่อน ไม่มีสัญญาณเตือน เกิดขึ้นมาแบบเงียบๆ แต่เมื่อเป็นแล้ว
จะสร้างความเสียหายแก่คนที่เป็นได้มากเลยทีเดียว เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราควรจะหันมาใส่ใจสุขภาพของเรา
ดูแลรักษาร่างกายก่อนจะสายเกินแก้กันดีกว่า



โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์



บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: