หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: อวกาศน่ารู้ ตอน ระบบสุริยะ(๑)  (อ่าน 1436 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 1676
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 120
ออฟไลน์ ออฟไลน์
หนุ่มภูธร...ผู้ผิดหวังจากการเป็นครู
อีเมล์
   
« เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2562, 09:11:13 PM »

Permalink: อวกาศน่ารู้ ตอน ระบบสุริยะ(๑)


....ทุกๆท่านเคยมองไปบนฟ้าตอนกลางคืนกันไหมครับ
....รู้ไหมว่า ท่ามกลางดวงดาวที่สว่างไสวนั้น มีอะไรมากมายอยู่บนนั้น วันนี้เราจะนำมาเสนอให้ทุกๆท่านอ่านกันครับ
โดยเริ่มจาก ระบบสุริยะ ของเราก่อนเลย.....

....ระบบสุริยะ(Solar Systems) คือ ระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางมีดาวเคราะห์ (Planets) ๘ ดวง
ดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์แต่ละดวง (Moon of sattelites) ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets)
ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ
ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจรภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์....

ทฤษฎีการเกิดระบบสุริยะ
๑. ทฤษฎีจุดกำเนิดระบบสุริยะของบูฟง (Georges Louis leclere Buffon)
....เมื่อ พ.ศ. ๒๒๘๘ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้เสนอว่า มีดาวฤกษ์ดวงหนึ่งเคลื่อนที่
เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มีขนาดใกล้เคียงกัน แล้วแรงดึงดูดระหว่างกันทำให้มวลส่วนหนึ่งหลุดออกมา
กลายเป็นดาวเคราะห์โลก และวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะ....

๒. ทฤษฎีจุดกำเนิดระบบสุริยะของลาพลาส
....เสนอโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ลาพลาส (Piere Simon Laplace) ได้ร่วมงานกับ คานท์
เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๙ เสนอว่า ระบบสุริยะเกิดมาจากมวลของกลุ่มก๊าซฝุ่นละออง หมอกควัน
ซึ่งมีขนาดใหญ่และร้อนจัด รวมกลุ่มกันหมุนรอบตัวเองอย่างช้าๆ ทำให้มีมวลขนาดใหญ่ขึ้น ยุบตัวลง
อัดแน่นมากขึ้น หมุนเร็วมากขึ้น ทำให้มวลบางส่วนหลุดออกมาเป็นวงแหวน และวงแหวน
มีการหมุนจนหดตัวเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ
จึงเรียกทฤษฎีของคานท์และลาพลาสว่า “The Nebula Hypothesis”

๓. ทฤษฎีจุดกำเนิดระบบสุริยะของเจมส์ ยีนส์ (Sir James Jeans)
....เสนอโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ เสนอทฤษฎีว่าด้วยแรงดึงดูดระหว่างกัน
(Tidal Theory หรือ Two-star) ก่อนหน้านั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ มีนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน ๒ คน
 คือ โทมัน แซมเบอร์ลิน (Thomas Chamberlin) และ เอฟ. อาร์. โมลตัน (F. R. Moulton)
โดยใช้หลักการของบูฟง และเชื่อว่าเนื้อสารของดวงอาทิตย์ในตอนแรกนั้นน่าจะกระจายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อน
แล้ว มารวมกันเป็นก้อนใหญ่ขึ้นและหลอมรวมกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ

๔. ทฤษฎีจุดกำเนินระบบสุริยะของ เฟรด ฮอยล์ (Fred Hoyle) และ ฮานส์ อัลเฟน (Hans Alphen)
....เสนอโดยสองนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เสนอทฤษฎีว่าด้วยกลุ่มเมฆหมอก
(Interstellar Cloud Theory) โดยกล่าวสนับสนุน คานท์ และลาพลาส แต่เชื่อว่ามีดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก่อน
แล้วมีแสงสว่างภายหลัง ส่วนกลุ่มเมฆหมอกที่อยู่รอบดวงอาทิตย์
ก็จะหมุนและถูกดูดจนอัดแน่นรวมกันเป็นดาวเคราะห์โลก และวัตถุอื่นๆ

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
....ดาวเคราะห์ หมายถึง ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่สะท้อนแสงอาทิตย์ส่องเข้าไปตาเรา
 ดาวเคราะห์แต่ละดวง มีขนาดและจำนวนดวงจันทร์บริวารไม่เท่ากัน อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์
เป็น ระยะทางต่างกัน และดวงต่างก็อยู่ในระบบสุริยะ โดยหมุนรอบตัวเองโคจร
รอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วต่างกันไป นักดาราศาสตร์ได้แบ่งดวงดาวออกเป็น ๒ ประเภท
ตามวงโคจรดังนี้ คือ

• ดาวเคราะห์วงใน (Interior planets) หมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก
ได้แก่ดาวพุธ และดาวศุกร์
• ดาวเคราะห์วงนอก (Superior planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากโลกออกไป
 ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
....ทั้งนี้ ดาวเคราะห์ทั้ง ๘ ดวง ยังสามารถจำแนกออกเป็น ๒ จำพวกใหญ่ตามลักษณะพื้นผิวด้วย ดังนี้

• ดาวเคราะห์ก้อนหิน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ทั้ง ๔ ดวงนี้
มีพื้นผิวแข็งเป็นหิน มีชั้นบรรยากาศบางๆ ห่อหุ้ม ยกว้นดาวพุธที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่มีบรรยากาศ

• ดาวเคราะห์ก๊าซ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
จะเป็นก๊าซทั่วทั้งดวง อาจมีแกนหินขนาดเล็ก อยู่ภายในพื้นผิวจึงเป็นบรรยากาศที่ปกคลุมด้วยก๊าซมีเทน
 แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และฮีเลียม ( สำหรับดาวพลูโตนั้นยังสรุปไม่ได้ว่าเป็นพวกใด เนื่องจากยังอยู่ห่างไกลจากโลกมาก)

....คราวหน้าเราจะมาจำแนกดาวเคราะห์แต่ละดวงกันครับผม ว่าจะมีอะไรบ้าง....สวัสดีครับผม....



บันทึกการเข้า

รวมบทประพันธ์ของ หนุ่มภูธร ณ ลุ่มน้ำป่าสัก คลิ๊กที่นี่
http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,12043.0.html
ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจาก YouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: