หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องของ....พายุ  (อ่าน 1278 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 1676
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 120
ออฟไลน์ ออฟไลน์
หนุ่มภูธร...ผู้ผิดหวังจากการเป็นครู
อีเมล์
   
« เมื่อ: 06 มกราคม 2562, 09:17:18 PM »

Permalink: เรื่องของ....พายุ
....หลังจากเมื่อสองสามวันที่ผ่านมา
ใต้ของไทยเรานั้นได้ประสบกับเหตุวาตภัย "พายุปาบึก"(ภาษาลาว)พัดถล่มหลายจังหวัด
....ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับพายุกันครับ(ครั้งหน้าจะยกเอาพายุที่เคยถล่มบ้านเรามาลงครับ...)

...พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใดๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก
และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ
 ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง ๔๐๐ กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ
 และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด
ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
 
....ซึ่งประเภทของพายุ พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๓ ประเภท คือ
๑. พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน
อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ
ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ
ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด

๒. พายุทอร์นาโด (tornado)
เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา
มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ
ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบกและในทะเล หากเกิดในทะเล
จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ(water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า
แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า "ลมงวง"

๓. พายุหมุนเขตร้อนต่างๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน
ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล
หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา
 โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ....

• พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
 เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
• พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ
 เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
• พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ
 เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
• พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง
ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง
• พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน
ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก

ซึ่งสเต็ปพัฒนาการพายุในโซนบ้านเราคือ....
จากหย่อมความกดอากาศต่ำจะพัฒนาตัวเป็น พายุดีเปรสชั่น ไต่ระดับสู่พายุโซนร้อน และขั้นสูงสุดคือ พายุไต้ฝุ่น....

...ขนาดของพายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อนนั้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๕๐ ถึง ๕๐๐ กิโลเมตร
 มีลมพัดเร็วประมาณ ๑๑๘ ถึง ๒๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผู้ที่อยู่ในเรือหรือบนพื้นดินไม่เห็นพายุนี้ทั้งหมด
 แต่ดาวเทียมที่โคจร อยู่รอบโลกสามารถถ่ายภาพพายุได้ โดยจะเห็นกลุ่มเมฆวนเป็นวงกลมทึบ

....ลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน จะประกอบด้วยเส้นศูนย์กลางที่เรียกว่า ตาของพายุ
มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕-๕๐ กิโลเมตร ซึ่งตรงตาของพายุนี้ลมจะสงบ อุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบ ๆ
กล่าวกันว่าถ้ามีเรือแล่นอยู่ตรงตาของพายุด้วยความเร็วเท่ากับการเคลื่อนที่ของพายุเรือนั้นจะไม่ได้รับอันตราย
พายุหมุนเขตร้อนก่อให้เกิดคลื่นแรง ฝนตกหนักเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และชีวิตดังเช่นพายุไต้ฝุ่นเกย์

...ทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุหมุนและทิศทางของลมที่พัด ประเทศไทยนั้นตั้งอยู่บริเวณซีกโลกเหนือ
 คือเหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมา พายุจะเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกเข้าสู่ตะวันตก บริเวณจังหวัดที่รับพายุคือ
จังหวัดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่อยลงมาถึงด้านจังหวัด จันทบุรี ตราด
และจังหวัดฝั่งตะวันตกของอ่าวไทยทั้งหมด พายุที่พัดเข้าหาประเทศไทยนั้นจะเป็นชนิดหมุนทวนเข็มนาฬิกา
 ประเทศที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร เช่น นิวซีแลนด์และออสเตรเลียนั้น ต่างจากประเทศไทย
เพราะพายุหมุนหมุนตามเข็มนาฬิกา ความเร็วลมที่หมุน นั้นเร็วกว่าความเร็วของการเคลื่อนที่หลายเท่า

....แรงที่ส่งให้เกิดการหมุนของพายุหมุน พายุหมุนมีแรงที่ส่งให้เกิดการหมุน ได้แก่ แรงดันอากาศ
คือ มีบริเวณ ๒ แห่งที่ความกดอากาศต่างกัน อากาศเคลื่อนที่จากความกดอากาศสูงไปสู่ความกดอากาศต่ำ
การเคลื่อนที่ของอากาศ ไม่ได้เป็นเส้นตรง คือ มีแรงเนื่อง จากการหมุนของโลก ส่งให้กระแสลมพัดโค้งและแรง
 เนื่องจากการหมุนของพายุนี้เอง ที่เรียกว่าแรงสู่ศูนย์กลาง
อีกอย่างหนึ่งรวมเป็น ๓ แรงด้วยกันที่ก่อให้เกิดการหมุนของพายุ

....แหล่งพลังงานของพายุหมุน พลังงานของพายุหมุนนั้นมากมายมหาศาลขนาดที่จะทำลายเมืองทั้งเมืองได้
 แท้ที่จริงก็คือพลังงานจากดวงอาทิตย์นั่นเอง แสงแดดที่ส่องพื้นโลกทำให้อากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้นมีพลังงานความร้อน
พลังงานความร้อนนี้เปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ในการเคลื่อนที่ของมวลอากาศได้พลังงานของพายุหมุนใหญ่ๆ
นั้นมากยิ่งกว่าพลังงานจากระเบิดปรมาณูที่มนุษย์ผลิตขึ้นเสียอีก พายุหมุนเมื่อเคลื่อนที่จากบกลงสู่ทะเล
มักจะมีพลังงานเพิ่มขึ้น เพราะได้รับพลังงานความร้อนจากไอน้ำที่กลั่นตัวเป็นหยอดน้ำ
จึงสรุปได้ว่าพลังงานมหาศาลของพายุไต้ฝุ่นได้จากดวงอาทิตย์

...อันตรายที่เกิดจากพายุ
• พายุไต้ฝุ่น เมื่อพายุที่มีกำลังขนาดไต้ฝุ่น คือ กำลังความเร็วของลมตั้งแต่ ๖๕ น๊อต
หรือ ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปพัดผ่านที่ใดทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงดังนี้
▪ บนบก ทำให้ต้นไม้ล้ม เกิดอันตรายจากต้นไม้ล้มทับบ้านเรือน บ้านเรือนพังทับผู้คนในบ้าน
และใกล้เคียงบาดเจ็บหรือตายสวนไร่นาเสียหาย เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าขาด ไฟฟ้าช็อต
เกิดเพลิงไหม้และผู้คนอาจเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดได้ ผู้คนที่มีอาคารพักอาศัยอยู่ริมทะเล
อาจถูกน้ำพัดพาลงทะเลจมน้ำตายได้ ดังเช่น ปรากฏการณ์ที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช
ฝนตกหนักมากทั้งคืนทั้งวัน เมื่อน้ำจากป่าและภูเขาหลากลงมาอย่างมากมาย ท่วมบ้านช่อง ถนนหนทาง
 และเรือกสวนไร่นาล่มจมอยู่ใต้น้ำ เส้นทางคมนาคม ทางรถไฟ สะพาน ถนนทางขาด
▪ ทะเล ในทะเลนั้นลมจะแรงจัดมาก คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่ๆ อาจจะถูกพัดพาไปเกยฝั่งล่มจมได้
บรรดาเรือเล็กเป็นอันตรายไม่สามารถจะต้านความรุนแรงของพายุได้
 คลื่นใหญ่ซัดขึ้นริมฝั่งจนทำให้ระดับน้ำขึ้นสูงมากจนท่วมอาคารบ้านช่องริมทะเลได้
บรรดาโป๊ะจับปลาในทะเลถูกทำลาย

• พายุโซนร้อน พายุโซนร้อนมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น ความเร็วของลมบริเวณใกล้ศูนย์กลาง
ตั้งแต่ ๓๔ น็อต หรือ ๖๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๖๓ น็อต หรือ ๑๑๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
 ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจมเรือขนาดใหญ่ๆ ได้ ต้นไม้ล้ม
 ถ้าไม่มีกาารเตรียมรับมือที่ดีก็จะเกิดความเสียหายได้

• พายุดีเปรสชั่น พายุดีเปรสชั่นเป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ความเร็วของลมใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน ๓๓ น็อต
 หรือ ๖๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่มีอันตรายรุนแรงแต่ทำให้มีฝนตกทั่วไปตลอดทางที่พายุดีเปรสชั่นผ่านไป
และมีฝนตกหนักเป็นแห่งๆ พร้อมด้วยลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งบางคราวจะรุนแรง
จนทำให้เกิดความเสียหายได้บ้าง ในทะเลค่อนข้างแรงและคลื่นจัด บรรดาเรือประมงเล็กขนาดต่ำกว่า ๕๐ ตัน
 ควรงดเว้นออกทะเลเพราะอาจจะล่มลงได้ และพายุดีเปรสชั่นนี้เมื่ออยู่ในทะเลจะได้รับไอน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา
 และไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมอาจจะทวีกำลังขึ้นได้โดยฉับพลัน สำหรับพายุพัดจัดจะลดน้อยลงเป็นลำดับ
 มีแต่ฝนตกทั่วไปเป็นระยะนาน ๆ และตกได้มากถึง ๑๐๐ มิลลิเมตร ภายใน ๑๒ ชั่วโมง
ซึ่งต่อไปก็จะทำให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าจากภูเขาและป่าใกล้เคียงลงมาท่วมบ้านเรือนได้ในระยะเวลาสั้น ๆ
หลังจากพายุได้ผ่านไปแล้ว

• พายุฤดูร้อน พายุฤดูร้อนเป็นพายุที่ต่างกับพายุดีเปรสชั่น และเกิดบนผืนแผ่นดินที่ร้อนอบอ้าว
ในฤดูร้อนแต่เป็นพายุที่มีบริเวณย่อม ๆ มีอาณาเขตเพียง ๒๐-๓๐ ตารางกิโลเมตร
แต่อาจมีลมแรงมากถึง ๔๗ น็อต หรือ ๘๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังพายุที่เกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น
 เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ และพายุที่เกิดขึ้นที่อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗ พายุนี้มีกำลังแรงที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้มาก
เหมือนกันแต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง อันตรายที่เกิดขึ้นคือ
ต้นไม้หักล้มทับบ้านเรือนผู้คน บ้านเรือนพังทะลาย ฝนตกหนักและอาจมีลูกเห็บตก....

....คราวหน้าเราจะมาว่ากันด้วยประวัติพายุที่เคยถล่มบ้านเราครับผม....
บันทึกการเข้า

รวมบทประพันธ์ของ หนุ่มภูธร ณ ลุ่มน้ำป่าสัก คลิ๊กที่นี่
http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,12043.0.html
ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจาก YouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: