หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ของนี้มีที่มา ตอนที่ 6 โทรศัพท์....  (อ่าน 1716 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 1676
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 120
ออฟไลน์ ออฟไลน์
หนุ่มภูธร...ผู้ผิดหวังจากการเป็นครู
อีเมล์
   
« เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2561, 09:43:34 PM »

Permalink: ของนี้มีที่มา ตอนที่ 6 โทรศัพท์....
....ในชีวิตประจำวันเรานั้น...เรามักจะใช้โทรศัพท์กันแทบจะทุกวัน ทั้งในด้านการงานและชีวิตส่วนตัว....แล้วโทรศัพท์ในไทยเริ่มมีตอนไหนละ??? วันนี้เราจะมารู้ไปด้วยกันครับผม...
....วิวัฒนาการโทรศัพท์ในประเทศไทย แยกตามปีได้ดังนี้ครับผม....



- พ.ศ. ๒๔๒๔

....โทรศัพท์ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสมเด็จพระราชปิตุลาบรมวงศาภิมุขเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ เจ้ากรมกลาโหมในขณะนั้น ได้ทรงดำรินำวิทยาการด้านการสื่อสารด้วยโทรศัพท์เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก โดยทดลองนำเครื่องโทรศัพท์มาติดตั้งที่กรุงเทพฯ และที่ปากน้ำจังหวัดสมุทรปราการ อาศัยสายโทรเลขที่กรมกลาโหมสร้างขึ้นสายแรก คือ กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ เพื่อแจ้งข่าวเรือเข้าออกระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ ต่อมามีการจัดตั้งกรมโทรเลขขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ และเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านโทรศัพท์ด้วย....

- พ.ศ. ๒๔๕๐

....ตั้งชุมสายโทรศัพท์แห่งแรก ติดตั้งระบบโทรศัพท์ไฟกลางใช้พนักงานต่อ (CENTRAL BATTERY : CB) ชุมสายโทรศัพท์ระบบแรกที่ถูกผลิตขึ้นมานั้น เป็นแบบชุมสายกึ่งอัตโนมัติ การติดต่อต้องผ่านพนักงาน ผู้ที่ซึ่งทำหน้าที่ต่อสายระหว่างผู้เช่าทั้ง ๒ ทาง โดยติดตั้งที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ....

- พ.ศ. ๒๔๗๘

....เริ่มใช้ชุมสายระบบ STEP BY STEP กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม โดยพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้สั่งซื้อเครื่องชุมสายโทรศัพท์ระบบอัตโนมัติ STEP-BY-STEP จากประเทศอังกฤษ เป็นชุมสายโทรศัพท์ระบบแรกที่ผู้เช่าสามารถหมุนหน้าปัดถึงกันได้โดยตรง ทำการติดตั้งที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ ๒,๓๐๐ เลขหมาย และโทรศัพท์กลางบางรัก ๑,๒๐๐ เลขหมาย เปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๘๐ และเพิ่มชุมสายโทรศัพท์กลางขึ้น ๒ แห่ง คือ ชุมสายเพลินจิต และชุมสายสามเสน


- พ.ศ. ๒๔๘๐

....ติดตั้งใช้ชุมสายอัตโนมัติครั้งแรก เวลา ๐๐.๐๑ น. ของวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๔๘๐ ได้มีการตัดเปลี่ยนเลขหมาย และเปิดใช้ชุมสายอัตโนมัติเป็นครั้งแรก เปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์เป็นหน้าปัดแบบหมุน กำหนดเลขหมาย ๕ ตัว ให้กับผู้เช่า ให้สามารถหมุนตัวเลขบนหน้าปัด ติดต่อถึงกันได้เองโดยไม่ต้องผ่านพนักงานต่อสาย....




- พ.ศ. ๒๔๙๗

....สถาปนา"องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย" เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง "องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย" เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยแยกจากกองช่างโทรศัพท์ กรมไปรษณีย์โทรเลข ให้บริการโทรศัพท์ในเขตนครหลวง ประกอบด้วย ชุมสายวัดเลียบ,ชุมสายบางรัก.ชุมสายเพลินจิต และชุมสายสามเสน โดยมีพนักงานทั้งหมด ๗๓๒ คน ทรัพย์สิน ๕๐ ล้านบาท

- พ.ศ. ๒๕๐๒

....เริ่มใช้ชุมสายครอสบาร์ สั่งซื้อชุมสายอัตโนมัติระบบ CROSS BAR จากสวีเดน มาติดตั้งครั้งแรกในไทย ที่ชุมสาย ชลบุรี ๑,๐๐๐ เลขหมาย

- พ.ศ. ๒๕๐๓

....เริ่มรับโอนโทรศัพท์ในส่วนภูมิภาคจากกรมไปรษณีย์โทรเลข ครั้งแรก ๑๐ ชุมสาย จำนวนเลขหมาย ประมาณ ๑,๖๐๐ เลขหมาย และครั้งที่ ๒ จำนวน ๓๗ ชุมสาย จำนวน ๘,๑๐๐ เลขหมาย

- พ.ศ. ๒๕๐๗

....ติดตั้งชุมสายครอสบาร์ในนครหลวง และรับโอนโทรศัพท์ทางไกลนำชุมสาย CROSS BAR มาติดตั้งที่ชุมสายชัยพฤกษ์เป็นแห่งแรก และที่ชุมสายทุ่งมหาเมฆอีก ๔,๐๐๐ เลขหมาย รับโอนชุมสายโทรศัพท์ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากกระทรวงคมนาคม จนปี ๒๕๑๒ จึงรับโอนชุมสายโทรศัพท์จากภาคเหนือ และภาคใต้ มาอยู่ในความรับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ....

- พ.ศ. ๒๕๑๗

....เปลี่ยนเลขหมายเป็น ๖ หลัก ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ได้ดำเนินการตัดเปลี่ยนเลขหมายโทรศัพท์ (CUT OVER) ในชุมสายระบบ CROSS BAR จาก ๕ ตัว เป็นเลขหมาย ๖ ตัว ยกเว้นชุมสาย STEP-BY-STEP ๓ ชุมสาย คือ บางรัก, พหลโยธิน และสามเสน จำนวน ๒๐,๐๐๐ เลขหมาย

- พ.ศ. ๒๕๑๘

....ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ เปิดให้บริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ โดยไม่ต้องใช้พนักงานต่อ ระหว่างเชียงใหม่ – กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อเวลา ๐๙:๐๕ น.ของวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๑๘

- พ.ศ. ๒๕๑๙

....เปลี่ยนใช้เลขหมายโทรศัพท์ ๗ ตัว ในนครหลวงในวันที่ ๒๔ เมษายน ตัดเปลี่ยนเลขหมายโทรศัพท์ในเขตนครหลวง จาก ๕ ตัว และ ๖ ตัว เป็นเลขหมาย ๗ ตัว ทั้งหมด และในเขตโทรศัพท์ภูมิภาค เปลี่ยนเป็นเลข ๖ ตัวทุกชุมสาย

- พ.ศ. ๒๕๒๐

....เริ่มใช้เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่ม นำเครื่องโทรศัพท์ชนิดกดปุ่ม มาเปิดให้บริการครั้งแรกในเขตนครหลวง

- พ.ศ. ๒๕๒๑

....ให้บริการโทรศัพท์ไร้สาย นำบริการโทรศัพท์ไร้สาย (MULTI ACCESS RADIO TELEPHONE) มาให้บริการแก่ผู้อยู่นอกพื้นที่ข่ายสายโทรศัพท์ทั่วประเทศ โดยให้บริการในรัศมี ๓๐ กิโลเมตร รอบชุมสายที่ติดตั้งสถานีฐาน

- พ.ศ. ๒๕๒๒

....เปิดบริการโทรศัพท์สาธารณะแบบไม่มีผู้ดูแล นำโทรศัพท์สาธารณะแบบผู้ใช้หยอดเหรียญ (BOOTH) และไม่มีผู้ดูแล มาติดตั้งในเขตโทรศัพท์นครหลวง ๑๐๐ เครื่อง และเปิดใช้โทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติทางเดียวแห่งที่ ๒ กรุงเทพฯ – พัทยา

- พ.ศ. ๒๕๒๓

....ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติทั่วประเทศ พร้อมยกเลิกชุมสายระบบพนักงานต่อทุกแห่ง

- พ.ศ. ๒๕๒๕

....ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลอัตโนมัติ เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลสาธารณะอัตโนมัติ ๒๐ แห่ง ในเขตโทรศัพท์นครหลวง เป็นครั้งแรก

- พ.ศ. ๒๕๒๖

....เปิดใช้ชุมสายโทรศัพท์ระบบเอสพีซี : นำชุมสายโทรศัพท์ระบบ SPC (STORED PROGRAM CONTROL) มาใช้ครั้งแรกที่ชุมสายภูเก็ต เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติระหว่างไทย – มาเลเซีย

- พ.ศ. ๒๕๒๗

....ให้บริการโทรศัพท์ต่างประเทศระบบทางไกลอัตโนมัติระหว่างประเทศครั้งแรก สำหรับผู้เช่าในเขตกรุงเทพฯ





- พ.ศ. ๒๕๒๙

....เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นำบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ NMT (NORDIC MOBILE TELEPHONE) ๔๗๐ MHZ มาเปิดให้บริการ โดยใช้ร่วมกับโครงข่าย SPC ปรับปรุงระบบค้นหาเลขหมาย ๑๓ และ ๑๘๓ จากการเปิดสมุดโทรศัพท์เป็นการใช้คอมพิวเตอร์(COMPUTERIZED DIRECTORY ASSISTANCE SYSTEM : CDAS) ซึ่งใช้เวลาเพียง ๓๐ วินาที ต่อการค้นหา ๑ เลขหมายเท่านั้น

- พ.ศ. ๒๕๓๐

....ผู้เช่าซื้อเครื่องโทรศัพท์ได้เอง เปิดโอกาสให้ผู้เช่าซื้อเครื่องโทรศัพท์ใช้เอง โดยต้องผ่านการรับรองคุณภาพจาก ทศท. และยังให้ผู้เช่าเดินสายโทรศัพท์ภายในอาคารได้เองด้วย เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะยกเว้นค่าใช้จ่าย ติดตั้งที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อบริการข้อมูลท่องเที่ยวแก่ชาวต่างชาติ

- พ.ศ. ๒๕๓๑

....ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะถึง ๑ ล้านเลขหมาย เปิดให้บริการพิเศษ SPC อันประกอบด้วย บริการเปลี่ยนเรียกเลขหมาย, บริการเรียกซ้ำอัตโนมัติ, บริการเลขหมายด่วน, บริการรับสายเรียกซ้อน, บริการเลขหมายย่อ และบริการประชุมทางโทรศัพท์ เปิดวงจรเคเบิลใต้น้ำ เพื่อให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างไทย – มาเลเซีย เส้นทาง ชุมพร – กวนตัน โดยความร่วมมือระหว่างทศท กับ โทรคมนาคมมาเลเซีย

- พ.ศ. ๒๕๓๒

....เชื่อมโยงเครือข่ายด้วยเคเบิลใยแก้ว และไมโครเวฟ ดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายโทรคมนาคมกับประเทศมาเลเซีย ด้วยระบบเคเบิลใยแก้ว นำแสง และระบบวิทยุไมโครเวฟ เปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สาธารณะบนรถไฟ

- พ.ศ. ๒๕๓๓

....ให้บริการหลากหลายรูปแบบ เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลฟรี ๐๘๘ (TOLL FREE CALL ๐๘๘) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลระบบดาต้าเน็ต(DATANET) เปิดให้บริการโทรศัพท์ติดตามตัว (PAGING) โฟนลิงค์ และเพจโฟน เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบความถี่ ๙๐๐ MHz

- พ.ศ. ๒๕๓๔

....สู่เทคโนโลยีนำสมัย เปิดให้สัมปทานโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตร (CARDPHONE) ในเขตนครหลวง ติดตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน เพื่อใช้เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมสำรอง เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลเพื่อธุรกิจผ่านดาวเทียม (ISBN) เพื่อรับ-ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรศัพท์ และอื่นๆ วางระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำในอ่าวไทย ระยะทาง ๑,๓๐๐ กิโลเมตร ใช้เป็นโครงข่ายพัฒนาระบบโทรคมนาคมการติดต่อสื่อสารทางภาคใต้ของประเทศ เปิดโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงตามเส้นทางรถไฟสายหลักของประเทศ ๓ สาย คือ สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ รองรับความต้องการใช้โทรศัพท์ทางไกลในเขตภูมิภาคและนครหลวง เปิดบริการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ(TELECONFERENCE)

- พ.ศ. ๒๕๓๕

....ขยายบริการโทรศัพท์ ๓ ล้านเลขหมาย  สำหรับเขตนครหลวง ๒ ล้านเลขหมาย และภูมิภาค ๑ ล้านเลขหมาย  เปิดให้บริการวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่เฉพาะกลุ่มธุรกิจ (TRUNK MOBILE RADIO)






- พ.ศ. ๒๕๓๖

....ความก้าวหน้าของบริการและโครงการใหญ่   เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลต่างประเทศชนิดหยอดเหรียญ(INTERNATIONAL SUBSCRIBER DIALING COIN PHONE : ISD) เปิดให้บริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตัล (ISDN) เปิดบริการระบบข้อมูลธุรกิจ (VIDEOTEX)
....เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สาธารณะ แบบใช้บัตรบนรถโดยสารปรับอากาศรุ่นใหม่ (ใช้ก๊าซธรรมชาติ NGV) โดยต่อเชื่อมโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ ๔๗๐ MHz เข้ากับ Card Phone

- พ.ศ. ๒๕๓๗

...ส่งเสริมคุณภาพบริการ เปิดให้บริการโทรศัพท์ในโครงการพัฒนากิจการโทรคมนาคมในพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะแหลมฉบังจ.ชลบุรี และมาบตาพุต จ.ระยอง (TELEPORT) เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศอัตโนมัติไทย – ลาว เปิดให้บริการโทรศัพท์ติดตามตัวรายที่ ๓ ในชื่อ “WORLD PAGE”

- พ.ศ. ๒๕๓๘

....ส่งเสริมคุณภาพบริการปีที่สอง จัดวางเคเบิลใยแก้วนำแสง ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากโรงเรียนวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังสถานีดาวเทียมไทยคม จ.นนทบุรี เพื่อลดช่องว่างทางการศึกษา และพัฒนาเยาวชน





- พ.ศ. ๒๕๓๙

...วันที่ ๒๒ เม.ย. เปิดให้บริการโทรศัพท์รหัสส่วนตัว PIN PHONE ๑๐๘ ในเขตนครหลวง ทดลองขยายพื้นที่ให้บริการ PIN PHONE ไปยังจังหวัดต่าง ๆ

- พ.ศ. ๒๕๔๐
....ปรับเปลี่ยนโทรศัพท์ระบบครอสบาร์ (แบบหมุน) เป็นระบบเอสพีซี (แบบกดปุ่ม) ทั้งหมด

- พ.ศ. ๒๕๔๑

• มกราคม เปิดให้บริการโฮมคันทรีไดเร็ค (Home Country Direct : HCDS) ระหว่างไทยและมาเลเซีย ด้วยรหัส ๑๘๐๐-๘๐๐๐-๖๖
• ธันวาคม เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้ TOT CARD ระยะแรกติดตั้งในเขตนครหลวง และภูมิภาคบางส่วน รวมทั้งให้บริการในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้ง ๑๓

- พ.ศ. ๒๕๔๒

• ๒๙ เม.ย. เปิดให้บริการข้อมูลด้วยเสียงทางโทรศัพท์ (Audiotex) ด้วยรหัส ๑๙๐๐ XXX XXX กับ บริษัท อินโฟเทลคอมมูนิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
• ๘ ส.ค. บริษัทไทยออดิโอเท็กซ์ เซอร์วิส จำกัด
• ๒๙ ส.ค. บริษัทสามารถ อินโฟมีเดีย จำกัด
กันยายน เปิดให้บริการโทรฟรีระหว่างประเทศ IFS (International Freephone Service) ด้วยรหัส ๑๘๐๐+๘๐+เลขหมาย IFS
• ๑๕ พ.ย. เปิดให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานใช้นอกสถานที่ PCT ร่วมกับ TA อย่างเป็นทางการ
• ๑๙ พ.ย. เปิดให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศอัตโนมัติ ไทย-พม่า
• ๑๗ ธ.ค. เปิดให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศอัตโนมัติ ไทย – กัมพูชา

- พ.ศ. ๒๕๔๓
• ๑๔ ม.ค. เปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตสาธารณะที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นครั้งแรก เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศ มีโอกาสใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ในอัตราครั้งละ ๓ บาท
• ๗ เม.ย. ปรับปรุงอัตราค่าบริการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนรูปแบบใหม่ ๓ รูปแบบ
• ๑ พ.ค. ปรับปรุงอัตราค่าบริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลภายในประเทศ เป็นอัตรา ๓,๖, ๙,๑๒ บาท/นาที ลดค่าเช่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ๔๗๐ MHz จากอัตรา ๔๕๐ บาท/เดือน เป็นอัตรา ๓๐๐ บาท/เดือน ปรับปรุงอัตราค่าบริการโทรศัพท์ PIN PHONE ๑๐๘ โทรในท้องถิ่น ๓ นาที/ บาท โทรทางไกลภายในประเทศอัตรา๓, ๖, ๙, ๑๒ บาท/นาที
• เดือน ส.ค. เปิดบริการโฮมคันทรีไดเร็ค โทรจากประเทศไทยไปมาเลซีย (๑๘๐๐-๐๐๖๐-๙๙ , ๑๘๐๐-๐๐๖๐-๘๘) โทรไปสิงค์โปร์ (๑๘๐๐-๐๐๖๕-๙๙) โทรไปไต้หวัน (๑๘๐๐-๐๘๘๖-๑๐)
• ๑๒ ตุลาคม เปิดให้บริการโทรศัพท์ทางไกลราคาประหยัด Y-tel ๑๒๓๔
• เดือน ธ.ค. ขยายการให้บริการโฮมคันทรีไดเร็ค จากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกา ด้วยรหัส (๑๘๐๐-๐๐๐๑-๒๐) และญี่ปุ่น ด้วยรหัส (๑๘๐๐-๐๐๘๑-๑๐) และ ทศท. รับบริการเวิลด์เพจ (Worldpage) ๑๔๑,๑๔๒,๑๔๓ มาดำเนินการเอง





- พ.ศ. ๒๕๔๔
• ๕ ก.ค. เพิ่มเลขหมายโทรศัพท์ทั่วประเทศ (Numbering Plan) จากเลขหมาย ๗ หลัก เป็นเลขหมาย ๘ หลัก (กดรหัสพื้นที่ตามด้วยหมายเลขเดิม) พร้อมเปลี่ยนหมายเลข แจ้งเหตุเสียจาก ๑๗ เป็น “๑๑๗๗″
• เดือน ก.ค. เปิดให้บริการ โฮมคันทรีไดเร็ค (HCDS) จากประเทศไทยไปประเทศเกาหลี ด้วยรหัส (๑๘๐๐-๐๐๘๒-๒๐)
• ๒๐ ก.ค. เปิดให้บริการ Family Card หรือบริการบัตรรหัสโทรศัพท์สำหรับผู้ต้องขัง

- พ.ศ. ๒๕๔๕
• ๑ ม.ค. เปิดให้บริการ TOT online “๑๒๒๒″ ในอัตรา ๓ บาท ทั่วประเทศ
• ๖ ก.พ. เปิดให้บริการ e-learning การเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต
• ๒๕ มี.ค. เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ ๑๙๐๐ MHz THAI MOBILE เป็นการดำเนินการร่วมระหว่าง กสท.และ ทศท
• ๑๗ พ.ค. ให้บริการอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมระหว่างกรมอุตุนิยมวิทยากับ ทศท.
• ๒๙ พ.ค. PIN Phone ๑๐๘ สามารถใช้บริการ AUDIOTEX ได้
• ๓๑ ก.ค. แปลงสภาพเป็น บริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน (TOT Corporation Public Company Limited)
• ๙ ส.ค. เปิดให้บริการ TOT POSTPAID บริการบัตรรหัสโทรศัพท์ และบริการ PRIVATE NET บริการโครงข่ายเฉพาะกลุ่ม บนโครงข่าย IN
• ๑๒ ก.ย. เปิดให้บริการ BROADBAND-ISDN บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

- พ.ศ. ๒๕๔๖
• ๑๗ มี.ค. จัดตั้ง TOT Shop เป็นแห่งแรก ณ ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่า จ.เชียงใหม่
• ๖ ก.ย. เปิดร้าน TNET เป็นแห่งแรก ภายในห้างสรรพสินค้า The Mall จ.นครราชสีมา

- พ.ศ. ๒๕๔๗
• ๔ก.พ. เปิดให้บริการโครงการการให้บริการระบบเครือข่ายสำหรับ Electronic Draff Capture (EDC Network Pool) ภายใต้ชื่อการค้า “EDC Pool”
• ๑ ก.ค. เปิดบริการโทรต่างประเทศผ่านรหัส ๐๐๗ นาทีละ ๙ บาท ๙ ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เยอรมัน และสิงคโปร์
• ๓๐ ส.ค. เปิดให้บริการชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทั่วประเทศ คิดอัตราค่าบริการ ๑๐ บาท/๑ ใบแจ้งหนี้
• ๒๐  ต.ค. เปิดบริการโทรทางไกลระหว่างประเทศผ่านรหัส ๐๐๗ ครอบคลุม ๒๑๒ ประเทศทั่วโลก อัตราค่าบริการ ๙–๔๕บาท / นาที และบริการโทรทางไกลระหว่างประเทศผ่านรหัส ๐๐๘ ครอบคลุม ๑๕๑ ประเทศทั่วโลก อัตราค่าบริการ ๖ –๓๒ บาท / นาที
• ๒๙ ต.ค. เปิดให้บริการร้าน TNET สาขาเพลินจิต
• ๑๕  พ.ย. บมจ.ทศท ร่วมกับ ฮัทชิส้น ซีเอที ไวร์เลส มีเดีย เปิดให้บริการรับชำระค่าบริการายเดือน โทรศัพท์เคลื่อนที่ HUTCH ได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้า ทศท. ในเขตนครหลวง โดยไม่เสีย ค่าธรรมเนียม





- พ.ศ. ๒๕๔๘
• ๔ ม.ค. เปิดรับชำระค่าบริการ (Easy Buy) ผ่านศูนย์บริการลูกค้า ทศท. ในเขตนครหลวง
• ๑๔ ก.พ. เปิดศูนย์บริการลูกค้า ทศท. สาขาคาร์ฟูร์ สาขาหาดใหญ่ และร้าน TNET
• ๒๔ ก.พ. เปิดศูนย์บริการลูกค้า ทศท. สาขาทุ่งมหาเมฆ
• ๑๙ เม.ย. เปิดศูนย์บริการลูกค้าสาขาบางแค
• ๑ ก.ค. เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT Public Company Limited)
• ๔ ส.ค.ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง และแบบที่สาม และใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง จาก กทช. ซึ่งออกให้ตามมาตรา ๗๐ แห่ง พรบ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม
• ๒๓ ส.ค. ศูนย์บริการลูกค้าทีโอทีในเขตนครหลวง เป็นตัวแทนรับชำระค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ AIS และบริษัท DPC
• ๑ ก.ย. ศูนย์บริการลูกค้าทีโอทีในเขตนครหลวง เปิดรับชำระค่าบัตรเครดิต HSBC และเปิดชำระค่าไฟฟ้าจังหวัดปทุมธานี

....ก็ขออนุญาติตัดจบประวัติโทรศัพท์ในไทยไว้เพียงเท่านี้นะครับ สวัสดีครับผม....



บันทึกการเข้า

รวมบทประพันธ์ของ หนุ่มภูธร ณ ลุ่มน้ำป่าสัก คลิ๊กที่นี่
http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,12043.0.html
ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจาก YouTube
คะแนนน้ำใจ 7152
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดนักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นมีความคิดสร้างสรรค์
กระทู้: 617
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2561, 09:57:05 AM »

Permalink: Re: ของนี้มีที่มา ตอนที่ 6 โทรศัพท์....
 
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: