หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: หดหู่-เบื่อหน่าย-ภัยของโรคซึมเศร้า  (อ่าน 5152 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 19 กันยายน 2557, 08:13:59 AM »

Permalink: หดหู่-เบื่อหน่าย-ภัยของโรคซึมเศร้า


"ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์บอกว่า ประเทศไทยประสบวิกฤติสองชั้น ชั้นแรกคือ ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก "

วิกฤติ ที่สองคือ วิกฤติความขัดแย้งภายในประเทศ นอก เหนือจากปัญหาชีวิตประจำวันของแต่ละคน แต่ละครอบครัว
แต่ละหมู่คณะ ทำให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่าย ท้อถอย หดหู่ เศร้าหมอง เหล่านี้คือกลุ่มอาการซึมเศร้า ซึ่งอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้โดยง่าย

เมื่อท่านมีความรู้ว่าเบื้องต้นดังกล่าวคือ ไม่สดชื่น หงุดหงิด หดหู่ เศร้าหมอง อย่าปฏิเสธว่า ไม่ใช่อาการซึมเศร้า อย่าเพิ่งปฏิเสธว่า เราไม่เป็นโรค

 “ปฏิกิริยาอาการเหล่านี้ เกิดจากผลกระทบของร่างกายต่อสิ่งเร้าที่ไม่สบอารมณ์จากภายนอก ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง
 ไปกระตุ้นสมองส่วนที่รับผิดชอบให้เกิดอาการซึมเศร้าอีกทีหนึ่ง”

จึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่ควรรับคำปรึกษาและรีบรักษา
กลุ่มอาการซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบบ่อยมาก แต่ผู้คนมัก ไม่ค่อยตระหนักว่าเป็นโรคที่ต้องปรึกษานักจิตวิทยา
หรือรับการรักษาจากจิตแพทย์ เพราะเข้าใจว่าผู้ป่วยกำลังคิดมากไปเอง และมักแค่ปลอบใจเพียงแค่คำพูดว่า “อย่าคิดมาก”
ซึ่งก็ไม่มีผลช่วยให้อารมณ์เศร้าดีขึ้นแต่อย่าง ใด เนื่องจากอาการเศร้าเป็นมากจนเกิดการเปลี่ยนแปลง
ของสารเคมีในสมอง (Neurotransmitter) เพราะฉะนั้นการรักษาจึงเน้นการใช้ยาต้านอารมณ์เศร้าเป็นหลัก

กลุ่มอาการซึมเศร้ามีผลต่อภาวะอารมณ์ (เช่น ไม่สดชื่น หดหู่ เศร้าหมอง หงุดหงิด) และความคิด
 (เช่น มองตัวเองและผู้อื่นในทางลบ) รวมทั้งอาการต่าง ๆ ของร่างกาย (เช่น ไม่มีสมาธิ อ่อนเพลีย หมดอารมณ์ทางเพศ)
และที่อันตรายมากที่สุดคือพฤติกรรมทำร้ายตนเอง

อาการของกลุ่มอาการซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นโดยมีปัจจัยกระตุ้น เช่น ความเครียดหรือภาวะกดดันในชีวิต
(เช่น ปัญหาหนี้สิน ความเจ็บป่วย ฯลฯ) หรือการสูญเสีย (เช่น สอบตก อกหัก การนอกใจในคู่สมรส ฯลฯ)
แต่ก็พบได้มากที่ผู้ป่วยเกิดโรคซึมเศร้าได้เอง โดยไม่มีเรื่องกระทบจิตใจแต่อย่างใด

อาการและอาการแสดงของกลุ่มอาการซึมเศร้า (เป็นนานเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป)
กลุ่มอาการซึมเศร้ามิได้เป็นเพียงแค่อารมณ์เศร้าที่เกิดจาก “ปัญหาในการปรับตัว” ต่อความเครียดเท่านั้น
(กรณีนี้ภาวะเศร้ามักค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป) หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์
 มีปัญหาบกพร่องในการทำงาน รวมถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง...ควรคิดถึง “โรคซึมเศร้า”

การรักษา
ปัจจุบันการรักษาโรคซึมเศร้า ได้ผลดีมาก โดยการใช้ยาต้านอารมณ์เศร้า (Antidepressants) ซึ่งมีหลายชนิด
ยาเหล่านี้จะไปช่วยสมดุลสารเคมีในสมองให้กลับมาสู่ในภาวะปกติ เราพบว่าผู้ป่วยแต่ละรายมักได้ผลยาแต่ละชนิดแตกต่างกัน
 ซึ่งแพทย์จะเริ่มต้นให้ยาในขนาดน้อย ๆ แล้วพิจารณาปรับเพิ่มขนาดยาจนถึงระดับที่ออกฤทธิ์ได้ผล ซึ่งมักใช้ระยะเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์
 หากไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาเปลี่ยนยา เพราะฉะนั้นผู้ป่วยควรรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากการกินยาแล้ว จิตแพทย์จะให้การบำบัดด้วยการ “ปรับความคิด-เปลี่ยนพฤติกรรม”
(Cognitive-Behavioral Therapy) เพื่อให้ผู้ป่วยมีมุมมองทางบวกต่อตนเองและโลกภายนอก เห็นทางออกของปัญหา
และตระหนักถึงศักยภาพของตนเองในการเผชิญเรื่องท้าทายของชีวิต รวมทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินชีวิต
 (Life style) เพื่อสร้างความรื่นรมย์และความเบิกบานให้แก่ชีวิต

ในกรณีที่อารมณ์เศร้าเป็นรุนแรงมาก (เช่น มีความเสี่ยงสูงที่จะทำร้ายตนเอง) หรือมีอาการโรคจิตร่วมด้วย
 (เช่น ระแวง หูแว่ว ประสาทหลอน) จิตแพทย์จะรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีญาติดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

กรณีที่กินยาจนอาการเศร้าดีขึ้นแล้ว ไม่ควรหยุดยาเองเพราะอาจทำให้อาการเศร้ากำเริบได้ แพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยกินยา
 (ในขนาดต่ำที่สุด) อย่างต่อเนื่องเป็นปีจนสามารถหยุดยาได้ในที่สุด

ความช่วยเหลือจากญาติ
รับฟัง เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความทุกข์ใจ เข้าใจและยอมรับโดยไม่มีการตอกย้ำซ้ำเติม
ชักจูงให้ผู้ป่วยร่วมกิจกรรมที่สนุกสนานหรือท่องเที่ยวสถานที่ธรรมชาติ
ดูแลให้ผู้ป่วยกินยาตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ
รายงานแพทย์ทันที หากพบว่าผู้ป่วยมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง




บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 กันยายน 2557, 08:14:18 AM »

Permalink: Re: หดหู่-เบื่อหน่าย-ภัยของโรคซึมเศร้า

บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #2 เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2566, 05:22:38 AM »

Permalink: Re: หดหู่-เบื่อหน่าย-ภัยของโรคซึมเศร้า
4379
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: