-/> Computer Vision Syndrome

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: Computer Vision Syndrome  (อ่าน 4658 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 15 กันยายน 2557, 05:39:09 AM »

Permalink: Computer Vision Syndrome




Computer Vision Syndrome



ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวัน ทั้งที่ทำงานและที่บ้าน
 ทั้งเพื่อประโยชน์ในการทำงาน อำนวยความสะดวก รวมถึงเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน อย่างไรก็ตามการใช้คอมพิวเตอร์อาจ
มีผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะสุขภาพทางตาที่เรียกว่า โรคตาจากจอคอมพิวเตอร์ (CVS หรือ Computer Vision Syndrome)
          คือกลุ่มอาการทางตาที่ประกอบไปด้วยอาการปวดตา แสบเคืองตา เมื่อยตา น้ำตาไหล ตาแดง ตามัวมองเห็นภาพซ้อน
หรือมองเห็นภาพไม่ชัด ภายหลังจากการใช้จอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน นอกจากนี้การใช้ Computer อาจทำให้เกิดปัญหา
ทางระบบกล้ามเนื้อเนื่องจากลักษณะ ท่านั่งในการใช้งาน เช่นการปวดต้นคอ ปวดข้อมือ ปวดหลัง ซึ่งจะไม่ได้กล่าวอย่างละเอียดในที่นี้

          พบอุบัติการณ์ของกลุ่มอาการนี้มากถึง 70-80% ของจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหมด จักษุแพทย์มักเป็นผู้ที่ต้องให้การวินิจฉัยโรคนี้
ซึ่ง ผู้ป่วยมักมีอาการต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้น แต่อาการอาจแสดงไม่ชัดเจนนัก บางรายอาจมีเพียงอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าอย่างเรื้อรังค
ล้ายความผิดปกติ ที่เกิดจากความเครียด ดังนั้นท่านผู้อ่านอาจพิจารณา จากอาการดังกล่าว ร่วมกับถามตัวเองว่า
ท่านใช้คอมพิวเตอร์บ่อยมากน้อยเพียงใด ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการนี้มักจะพบว่ามีการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 2 ชั่วโมง
อย่างต่อเนื่องต่อวันเป็นประจำ แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ จักษุแพทย์คงต้องหาสาเหตุอื่นๆ
ที่ทำให้เกิดอาการล้าในตา ปวดตา ไม่สบายตา รวมทั้งปวดคอ ไหล่ และหลังก่อน
          ปัจจุบันมีผู้มีปัญหาโรคตาจากจอคอมพิวเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยแบ่งเป็นกลุ่มอาการใหญ่ๆ ดังนี้
          1.ปัญหาปวดตาหรือเมื่อยตา (Eye Strain, Tired Eye) เกิดจากการเพ่งใช้สายตาติดต่อกันอย่างยาวนาน
 ทำให้มีอาการเมื่อยล้าจากการใช้สายตา โดยปรกติการอ่านจาก Computer Monitor เราต้องเพ่งมากกว่าปกติเนื่องจาก
ตัวหนังสือเกิดขึ้นเกิดจากจุดหลายจุดมาต่อกัน ไม่เหมือนกับการอ่านตัวหนังสือที่พิมพ์บนกระดาษซึ่งจะชัดเจนมากกว่า
ข้อแนะนำคือ ควรมีการหยุดพักสายตาเป็นระยะ โดยทุกๆ 20 ถึง 30 นาที ให้พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์
โดย มองไปบริเวณพื้นที่กว้างหรือนอกหน้าต่างหรือหลับตา เพื่อลดการเพ่งของสายตาประมาณ ครึ่งถึง 1 นาที
 ก่อนกลับมาเริ่มทำงานกับจอคอมพิวเตอร์ต่อไป

          2.ปัญหาเคืองตา แสบตา (Ocular Surface Problems)ปกติตาคนเราจะมีน้ำตาเคลือบผิวอยู่ตลอดเวลา
เป็นการหล่อเลี้ยงตา ช่วยในเรื่องการหักเหของแสงที่เข้าตาทำให้มองเห็นชัด แต่ถ้าเมื่อใดน้ำตาเคลือบผิวตาได้น้อยกว่าปกติ
ก็จะเกิดอาการตาแห้ง มีอาการแสบตา เคืองตา ตาแดง มีตาพร่ามัวเป็นพักๆได้ ปัญหาเคืองตาจากการใช้คอมพิวเตอร์อาจเกิดจาก
 การที่เราใช้ตาดูจอคอมพิวเตอร์นานๆ เรามักจะจ้องอย่างต่อเนื่องเป็นผลให้การกระพริบตาลดน้อยลงอย่างมากถึง 66 % เมื่อเทียบกับปกติ
 จากการที่มีสมาธิอย่างมาก รวมทั้งมีระยะการกลอกตาค่อนข้างจำกัด ผลก็คือทำให้เกิดน้ำตาระเหยออกไปมาก ก่อให้เกิดปัญหาตาแห้งตามมา
ซึ่งก็เป็นตัวก่อให้เกิดอาการไม่สบายตา เมื่อยล้า ตาสู้แสงไม่ได้ นอกจากนี้อาการเหล่านี้ยังเป็นผลมาจากแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์
 รวมทั้งแสงสว่างที่ไม่เหมาะสม ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ซึ่งควรมีการกระพริบตาประมาณ 10 - 15 ครั้งต่อนาทีเพื่อป้องกันภาวะตาแห้ง
 หรือเมื่อรู้สึกเคืองตา แสบตา ให้หลับตาพัก 3-5 วินาที เพื่อให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาจากเปลือกตาบนด้านในมาฉาบให้ความชุ่มชื้นต่อลูก ตา
 แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาชนิดน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเทียมเพื่อบรรเทาปัญหาดัง กล่าวได้

          3.ปัญหาตามัว ( Blurred Vision) เป็นปัญหาที่มักพบในผู้ที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากเกินไป
โดยทั่วไปมักไม่ได้มีผลต่อเสียต่อสายตาอย่างถาวร แต่การใช้สายตาเพ่งเกมหรือคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
อาจทำให้เกิดการปวดเมื่อยตา ศีรษะ และทำให้มีการเพ่งตาค้าง เกิดภาวะคล้ายสายตาสั้น คือมองไกลไม่ชัด
แต่มักเป็นอยู่เพียงชั่วคราวก็จะกลับสู่ภาวะปกติ ดังนั้นแม้ว่าการเล่นเกมหรือเพ่งมากๆจะไม่ทำให้สายตาสั้นอย่างถาวร
แต่ก็ควรใช้แต่พอเหมาะ เพื่อสุขภาพของตา

          4.ปัญหามองเห็นภาพซ้อน (Double Vision) เมื่อใช้งานเป็นเวลานานมากๆ
เฉลี่ยมากกว่า 3.5 ชั่วโมง อาจเกิดการเพ่งมากจนกล้ามเนื้อตาอ่อนล้า จึงพบอาการมองเห็นเป็นภาพซ้อนได้ ซึ่งมักดีขึ้นหลังจากได้พักสายตา

วิธีแก้ปัญหาอาการ Computer Vision Syndrome มีดังนี้
          1. การจัดสิ่งแวดล้อม ได้แก่การจัดวางโต๊ะคอมพิวเตอร์ให้จอคอมพิวเตอร์อยู่ในระยะที่ห่างจากลูกตา
ประมาณ 20 – 24 นิ้ว วางในระดับที่ต่ำกว่าระดับตาประมาณ 10 – 20 องศาเพื่อจะได้ไม่ต้องเหลือบตาขึ้นสูง
 ความสว่างของห้องต้องเพียงพอ อย่าใช้คอมพิวเตอร์ในห้องที่มืด ความสว่างในห้องหรือบริเวณโดยรอบจอคอมพิวเตอร์ต้องใกล้เคียงกัน
แสงไฟไม่ควรส่องมาจากทางด้านหลังจอคอมพิวเตอร์ และที่สำคัญห้ามส่องตรงเข้าหาจอคอมพิวเตอร์เพราะจะทำให้เกิดแสงแตกกระจาย
 ผู้ที่จ้องมองจอเป็นเวลานานๆจะเกิดอาการแสบตาและปวดล้าในที่สุด นอกจากนี้ยังอาจใช้แผ่นกรองแสง (Anti-reflection screen filter)
ที่มีขายตามท้องตลาดวางด้านหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยลดแสงสะท้อนและแสง ที่แตกกระจายด้วย เป็นต้น

          2. การควบคุมรวมทั้งการใช้งานจอคอมพิวเตอร์
ได้แก่ ความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์
ควรจะปรับให้สว่างเท่าๆกับความสว่างของห้อง ส่วนการแยกความแตกต่าง(Contrast) ของหน้าจอซึ่งเราสามารถปรับ
ที่จอคอมพิวเตอร์ได้นั้นควรจะปรับให้สูงสุดเท่า ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ยังรู้สึกสบายตา ขนาดของตัวหนังสือควรจะมีขนาดประมาณ 3 เท่า
ของขนาดตัวหนังสือที่เล็กที่สุดที่ท่านยังสามารถอ่านได้จากจอ คอมพิวเตอร์ในระยะเดียวกัน ส่วนสีของตัวหนังสือ
ควรเป็นสีดำบนพื้นสีขาวจะเหมาะสมที่สุด นอกจากนั้นควรวางกระดาษหรือหนังสือที่จะต้องดูให้อยู่ในแนวเดียวกับจอ
คอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันจะมีการใช้ตัวยึดด้านข้างจอคอมพิวเตอร์ที่สามารถหนีบกระดาษ หรือหนังสือที่ต้องดู
เพื่อจะได้ไม่ต้องก้มๆเงยๆมองระหว่างจอคอมพิวเตอร์กับหนังสือหรือกระดาษที่ จะต้องดูเป็นต้น

          3.การแก้ปัญหาทางตา เมื่อเราทราบแล้วว่าการใช้คอมพิวเตอร์แล้วทำให้การกระพริบตาลดน้อยลง
 ดังนั้นควรตระหนักในข้อนี้เสมอ บอกตนเองให้มีนิสัยในการกระพริบตาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก
นอกจากนี้ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำก็จะต้องปรับนิสัยตัวเองให้มีการ คลายกล้ามเนื้อที่ใช้ในการมองใกล้
โดยบังคับให้มองไปในที่ไกลๆนานประมาณ 1-2 นาทีเช่นการมองออกไปนอกหน้าต่างเป็นครั้งคราวหรืออย่างน้อย 1-2 ครั้งทุกชั่วโมง
หรือให้มีการหยุดพักการทำงานทุกชั่วโมงประมาณ 5-15 นาที เป็นต้น การใช้น้ำตาเทียมหยอดตาก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหาตาแห้งได้
 แนะนำให้ใช้ได้เมื่อรู้สึกเมื่อยล้า แสบตาหรือตาแห้งเป็นครั้งคราว

          4.ในผู้ที่อายุเริ่มมีสายตายาวตามอายุ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
 ซึ่งจะพบอาการจากการใช้ Computer ได้มากกว่าในกลุ่มอายุน้อย ควรใส่แว่นแก้ไขสายตาที่เหมาะสม ในวัยนี้
โดยปกติจะมีแว่นตาที่ใช้ในการมองที่ใกล้หรือแว่นตา 2 ชั้นซึ่งมีครึ่งบนไว้มองไกลส่วนครึ่งล่างสำหรับมองใกล้
บางรายอาจมีปัญหาในการมอง Computer เนื่องจากระยะที่ไว้มองใกล้เพื่ออ่านหนังสือนั้นอยู่ใกล้เกินไป
ทำให้มองในระยะ Computer ซึ่งห่างจากตาออกมาอีกระดับหนึ่งไม่ชัดเท่าการอ่านหนังสือ การเปลี่ยนมาเป็น Progressive lens
ซึ่งมีช่วงการมองหรือจุดโฟกัสหลายระดับโดยเฉพาะที่สำคัญคือระยะ กลาง(Intermediate Zone) ซึ่งเป็นตำแหน่งของจอคอมพิวเตอร์
 จะทำให้เห็นได้สบายตาในทุกระยะซึ่งจะมีประโยชน์มาก หรือในบางรายที่ใช้ Computer มากๆอาจมีแว่นที่ใช้สำหรับมอง Computer
โดยเฉพาะอีกแว่นหนึ่ง นอกจากนี้หากใช้แว่นตาก็ควรจะเคลือบสารที่ป้องกันการสะท้อน(Anti-Reflective Coat)
จะช่วยลดการสะท้อนของแสงเข้าตาได้อีกระดับหนึ่ง

          5.การแก้ปัญหาปวดคอ ปวดไหล่และปวดหลัง นอก จากจะจัดระดับจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมดังกล่าวแล้ว
ท่านั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็มีความสำคัญ ควรจะต้องนั่งตัวตรง หลังเอนไปด้านหลังเล็กน้อย แขนทั้งสองในขณะกดแป้นพิมพ์ให้อยู่ในแนวขนานกับพื้น
ส่วนเท้าควรวางราบกับพื้น
"







บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2564, 11:33:30 AM »

Permalink: Re: Computer Vision Syndrome
3144
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: