หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: นิทานเตือนสติ สอนใจ  (อ่าน 1831 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 661
กระทู้: 193
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« เมื่อ: 09 มิถุนายน 2556, 12:26:13 PM »

Permalink: นิทานเตือนสติ สอนใจ

จุดจบของนักเพ้อฝัน


             เต่าตัวหนึ่งอิจฉาท่าบินงามสง่าของพญานกอินทรี จึงฝันเฟื่องว่า สักวันหนึ่งมันจะบินได้บ้าง
คิดเช่นนี้แล้ว เต่าก็เดินทางไปหาพญานกอินทรี พร้อมกับขอให้พญานกอินทรียสอนบิน
นกอินทรีบอกมันว่า เต่าเป็นสัตว์ที่บินไม่ได้ แต่เต่ากล่าวหาว่านกอินทรีหวงวิชา กลัวว่าเต่า
จะได้ดีเกินหน้า นกอินทรีจนใจ จำต้องโฉบเต่าบินสู่ท้องฟ้าแล้วปล่อยให่มันร่วงตกลงมา
ในที่สุดเต้าตัวนั้นก็โหม่งพื้นตายอย่างน่าอนาถ

คติ

      1. ผู้ที่ไม่รู้จักตัวเอง ไม่เข้าใจตัวเอง ไม่รู้ความสันทัดจัดเจน ความสามารถของตนเอง
      จะเป็นทุกข์เสมอ การหลับหูหลับตาเลียนแบบผู้อื่นเป็นการหาทุกข์ใส่ตัว และพาชีวิตไปสู่ความวอดวาย



นานวันเข้าก็จะคุ้นเคยไปเอง


          สุนัขจิ้งจอกที่ไม่เคยพบเห็นสิงโตมาก่อน วันหนึ่ง สุนัขจิ้งจอกพบกับสิงโตโดยบังเอิญ
มันเห็นสิงโตมีท่าทางสง่างามน่าเกรงขาม ก็รู้สึกกลัวจนตัวสั่น เจอสิงโตครั้งที่สอง
แม้ว่าสุนัขจิ้งจอกจะยังคงหวาดกลัวยู่บ้าง แต่ก็ไม่กลัวจนสั่นเหมือนครั้งแรก เจอหนที่สาม
ความกลัวของมันหายสิ้น มันใจกล้าถึงกับเดินเข้าไปทักทายปราศรัยกับสิงโต

     คติ

        1. ความคุ้นเคยสามารถเปลี่ยนสิ่งที่น่าหวาดกลัวให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัว
        2. ถ้าอยากทำความรู้จักต่อสิ่งใหม่ ๆ เราก็ต้องมีความอดทน ต้องใจกล้าเข้าไปทำความรู้จัก
        กับสิ่งนั้นอย่างใกล้ชิด จึงจะรู้ชัดว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร



 
ไล่กวาง เสียกระต่าย

         สิงโตจับกระต่ายป่าที่กำลังนอนหลับอยู่ใต้ต้นไม้ได้ตัวหนึ่ง ขณะที่กำลังจะกินกระต่ายตัวนั้น
มันก็เหลือบเห็นกวางตัวหนึ่งวิ่งผ่านไป สิงโตทิ้งกระต่ายทันที ไล่ตามกวางตัวนั่นไป
วิ่งไปไกลโขแต่ยังจับกวางไม่ได้ มันจึงวิ่งกลับมายังต้นไม้ที่มีกระต่ายป่านอนหลับอยู่
แต่กระต่ายป่าหนีไปเสียแล้ว

      สิงโตพูดขึ้นด้วยความเสียใจว่า “สมน้ำหน้าตัวเองนัก โลภมาก ลาภจึงหาย”

      คติ

      1. โลภมากลาภมักหาย
      2. สิ่งที่มองเห็นอยู่ข้างหน้าเรานั้น อาจไม่ใช่ของเราเสมอไป     เพราะฉะนั้นผู้ที่รู้จักพอจึงจะมีความสุขอย่างแท้จริง
      3. ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ เราควรคำนึงถึงกำลังและความสามารถของตัวเองเป็นหลัก
    แล้วจึงเลือกงานที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด และตั้งใจทำงานชิ้นนั้นให้ดี อย่าฝันเฟื่อง
    โดยไม่ยอมเริ่มต้นจากเรื่องเล็ก ๆ ไม่เช่นนั้นจะไม่เช่นนั้น จะไม่ประสบความสำเร็จเลยแม้แต่เรื่องเดียว



ไก่โต้งเสียงดี


          ขโมยคนหนึ่งย่องเข้าไปในบ้านหลังหนึ่ง แต่ขโมยอะไรไม่ได้
พอดีเหลือบไปเห็นไก่โต้งตัวหนึ่ง จึงจับไก่ตัวนั้นติดมือมาหมายจะฆ่ากิน
ไก่โต้งร้องขอชีวิตจากขโมงว่า

“โปรดไว้ชี้วิตฉันเถิด ฉันเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ทุก ๆ เช้า ฉันจะขันปลุกมนุษย์ให้ตื่นขึ้นทำงาน”

เจ้าหัวขโมยได้ยินไก่โต้งพูดเช่นนี้ ก็โกรธมาก กล่าวว่า

“ก็เพราะแกปากโป้ง ชอบขันปลุกชาวบ้าน ฉันจึงขโมยอะไรไม่ได้นะสิ เพราะฉะนั้น ฉันจะต้องเชือดแกทิ้งเสีย”


คติ


1. สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนดี สิ่งนั้นมักจะเป็นอุปสรรค ต่อคนชั่ว
2. ประโยชน์กับโทษเป็นของคู่กัน ไม่มีของสิ่งใดมีประโยชน์ล้วน ๆ หรือมีโทษล้วน ๆ
    ขอเพียงเรารู้จักนำสิ่งเหล่านั้นไปใช้อย่างเหมาะสมก็จะเกิดคุณอนันต์ แต่ถ้านำใปใช้อย่างไม่เหมาะสม
    มันก็จะกลายเป็นอุปสรรค สร้างความยุ่งยากแก่เราสารพัด



ลาบรรทุกเกลือ


               มีลาตัวหนึ่ง บรรทุกเกลือข้ามแม่น้ำ แต่ท้องน้ำลื่นมาก ไม่ทันระวังตัว เจ้าลาจึงลื่นหกล้ม
เกลือส่วนหนึ่งถูกน้ำในแม่น้ำละลายสูญหายไป พอลาลุกขึ้นยืน ก็รู้สึกว่าหลังของมันเบาขึ้นตั้งเยอะ มันดีใจมาก

คราวต่อไป เมื่อมันบรรทุกสำลีข้ามแม่น้ำ มันจึงแสร้งหกล้ม เพราะคิดว่าการหกล้มในแม่น้ำ
จะทำให้สัมภาระบนหลังเบาขึ้น แต่สำลีกลับดูดน้ำจนอิ่ม มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นหลายเท่า
ภาระบนหลังหนักอึ้งจนเจ้าลาลุกไม่ขึ้น จมน้ำตายในเวลาต่อมา

คติ

1. คนบางคนฉลาดเกินไป ชอบคิดเล็กคิดน้อย คำนึงถึงผลได้ผลเสียเฉพาะหน้า
    แถมยังคิดแบบเอาแต่ได้ ในที่สุดก็ถูก “ความฉลาด” ของตนเองเล่นงานจนย่ำแย่
    ฟลุ๊คครั้งหนึ่ง แทนที่จะดีใจ กลับนึกเสียใจที่ได้กำไรน้อยเกินไป จึงคิดที่จะฟรุ๊คอีก
    แต่โชคมันเข้าข้างคนฉวยโอกาส ในที่สุดก็พลาดท่า ต้องได้รับความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส



ซุ้มองุ่น



     กวางตัวหนึ่งถูกนายพรานตามล่า มันวิ่งหนีหัวซุกหัวซุนเข้าไปหลบอยู่ใต้ซุ้มองุ่น
นายพรานไล่ตามมาติดๆ เขาเหลียวซ้ายมองขวา แต่ไม่เห็นกวางจึงวิ่งจากไป

     พอเห็นนายพรานผละจากไป กวางก็คิดว่าปลอดภัยดีแล้ว จึงโผล่หัวออกมาอย่างชะล่าใจ
พร้อมกับกัดกินใบองุ่นอย่างเพลิดเพลินอารมณ์ นายพรานได้ยินเสีงใบไม้ไหว
จึงหันกลับมามองกิ่งองุ่นที่ไหวยวบยาบ คิดในใจว่า คงจะมีอะไรหลบซ่อนอยุ่ใต้ซุ้มองุ่นแน่ๆ

     นายพรานยกคันธนูขึ้น ยิงตรงไปยังซุ้มองุ่น ลูกธนูแล่นฉิวเข้าเสียบอกกวางตัวนั้นพอดิบพอดี
ก่อนตาย กวางพูดขึ้นด้วยความเสียใจว่า “กรรมคงจะตามสนองเรากระมัง เราไม่ควรทำร้ายผู้มีพระคุณของเราเลย”

คติ

     1.ผู้ที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นแบบ “ยามดีเรีกใช้ ยามไข้ไล่ส่ง” ผลสุดท้าย ตนเอง จะประสบความยุ่งยากไม่สิ้นสุด
     2.ผู้ที่ลืมพระคุณคนที่เคยช่วยเหลือตน หรือตอบแทนคุณงามความดีขอผู้อื่นด้วยความโฉดชั่ว
กรรมจะตามสนองอย่างแน่นอน 



ใครจะรับอาสา นำกระดิ่งไปผูกคอแมว


     หนูฝูงหนึ่งมักจะถูกแมวจับไปกินเป็นประจำ ดังนั้น พวกมันจึงปรึกษากันว่าจะหาวิธีป้องกันแมวอย่างไรดี

     หนูที่เฉลียวฉลาดตัวหนึ่งกล่าวขึ้นว่า “เอากระดิ่งไปผูกคอแมวดีกว่า พอแมวเดินมา
พวกเราก็จะได้ยินเสียงกระดิ่งแว่วมาแต่ไกล ทำให้มีเวลาวิ่งหนีได้ทันไงล่ะ”

     หนูทุกตัวต่างเห็นด้วย แต่หนูตัวหนึ่งกลับตั้งคำถามขึ้นว่า “แล้วใครล่ะจะอาสาเอากระดิ่งไปผูกคอแมว”

     เมื่อถูกถามเช่นนี้พวกหนูต่างสั่นหัว ไม่มีใครกล้าเสี่ยงอันตรายนำกระดิ่งไปผูกคอแมว... 

คติ

      1.ข้อเสนอที่ไม่สอดคร้องกับความเป็นจริง ผลสุดท้ายก็เป็นเพียงความเพ้อฝันลม ๆ แล้ง ๆ เท่านั้น
      2. อย่าคิดว่าการกำจัดคนร้ายนั้นเป็นเรื่องกล้วย ๆ โดยทั่วไปคนร้ายมักมีทีเด็ด ในการวางแผนขจัดคนชั่วนั้น
เราจะต้องวางแผนอย่างรัดกุม ไม่ควรแหวกหญ้าให้งูตื่น ไม่เช่นนั้น แผนการที่คิดไว้กลับจะนำภัยมาสู่ตัว
      3.องค์กรบางแห่งค่อนข้างเผด็จการ พนักงานจึงไม่กล้าวิพากษวิจารณ์ เจ้านายอย่างเปิดเผย
ยามอัดอั้นตันใจก็ได้แต่นินทาลับหลัง แม้พฤติกรรมเช่นนี้จะน่ารังเกียจ แต่ทุกคนก็จำต้องทำเช่นนี้
เพราะผู้ที่พลั้งปากวิจารณ์เจ้านายซึ่ง ๆ หน้า แทนที่จะเป็นวีรชน ผลกลับกลายเป็นหมาหัวเน่า
และมีหวังโดนไล่ออกจากงานเป็นคนแรก



เสียงเห่าจากสุนัขที่ซื่อสัตย์


คืนวันหนึ่ง เจ้าหัวขโมยแอบย่องเข้ามาในบ้าน ทันใดนั้น สุนัขเฝ้าบ้านก็เห่าเสียงดังขึ้น

เจ้าขโมยตกใจมาก รีบโยนขนมปังชิ้นหนึ่งให้สุนัข หวังจะปิดปากของมันด้วยสินบนชิ้นนี้
แต่สุนัขกลับพูดขึ้นว่า “แกให้ขนมปังฉันทำไม หวังจะฉวยโอกาสที่ช่วงที่ฉันกินขนมปัง
ฆ่าเจ้านายของฉัน แล้วขนของหนีใช่ไหม ฉันไม่หลงกลแกง่าย ๆดอก ต่อให้แกเอา
ของกินที่อร่อยกว่านี้มาหลอกล่อฉัน ฉันก็ไม่มีทางทิ้งหน้าที่ของฉันเพื่อไปกินสินบนของแก”

ซึ่งก็ทำให้เจ้าของบ้านตื่นขึ้นมา หัวขโมยเห็นดังนั้นจึงได้หนีไป

คติ

     1.มีแต่คนถ่อยเท่านั่นที่ยอมรับสินบนเล็กๆ น้อย ๆ โดยไม่คำนึงถึงอนาคตอันยาวไกล
และในที่สุดตัวเองก็ต้องเสียชื่อเสียงกลายเป็นคนเลวไร้คุณธรรมเพราะสินบนที่รับมา
     2.เกิดเป็นคน ถ้าหากไม่คิดให้ไกล อนาคตก็จะสั้น โบราณท่านสองว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน”
ถ้าอยากมีอนาคตที่ยาวไกลเราก็จะต้องซื่อตรงต่อหน้าที่ ดุจดังสุนัขที่ซื่อสัตย์ในนิทานเรื่องนี้


ที่มา  :  หนังสือนิทานเตือนสติ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: